การจัดเก็บภาษี e-Service
01
Jun
เนตรนภา ผกาแก้ว
นักตรวจสอบภาษีปฏิบัติการ
สรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 20
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
การจัดเก็บภาษี e-Service
กรมสรรพากรได้ออกกฎหมายที่เรียกว่าพ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศรวมทั้งอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม ที่มีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านต่อปี จากการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย ซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนในไทย ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบแสดงรายการ และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นรายเดือนให้แก่กรมสรรพากร
สำหรับธุรกิจที่ต้องมาจดทะเบียนและดำเนินการทางภาษี แบ่งเป็น 5 กลุ่มหลักประกอบด้วย
1. ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับขายของออนไลน์ เช่น Amazon
2. ธุรกิจให้บริการโฆษณาออนไลน์ เช่น facebook และ Google
3. ธุรกิจให้บริการจองโรงแรมที่พักและการเดินทาง เช่น Booking และ Agoda
4. ธุรกิจให้บริการเป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย เช่น บริการเรียกรถรับ-ส่ง, ขนส่ง
5. ธุรกิจให้บริการสมาชิกดูหนัง ฟังเพลงออนไลน์ เกม และแอพพลิเคชั่นต่างๆ เช่น App Store, Zoom และ Netflix
การยื่นแบบแสดงรายการและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30.9) ทุกเดือน ตั้งแต่วันที่ 1-23 ของเดือนถัดไปบนระบบ VES โดยไม่ต้องออกใบกำกับภาษี (ฐานภาษีคือรายได้ที่ได้รับจากการให้บริการ)
2. นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายในวันที่ 1-23 ของเดือนถัดไปบนระบบ VES
สำหรับภาษี e-Service นี้ คาดว่าจะทำให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีได้เพิ่มมากยิ่งขึ้นแต่ในขณะเดียวกันอาจจะส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่บริษัทที่ให้บริการนั้นอาจจะเพิ่มค่าบริการไปอีก 7% ส่งผลให้ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
***โดยมีกำหนดการจัดเก็บเริ่มวันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป***