TAI Audits การตรวจสอบเงินแผ่นดินรูปแบบใหม่ที่ทั่วโลกนำมาใช้ในวิกฤติ COVID-19
01
Jun
ณัยญิกา สุจารี
นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติการ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
TAI Audits การตรวจสอบเงินแผ่นดินรูปแบบใหม่ที่ทั่วโลกนำมาใช้ในวิกฤติ COVID-19
องค์กรสถาบันการตรวจสอบสูงสุดระหว่างประเทศ International Organization of Supreme Audit Institution (INTOSAI) เป็นองค์กรระหว่างประเทศด้านการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งองค์กรตรวจเงินแผ่นดินของประเทศไทยนั้นเป็น 1 ในประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกจากทั้งหมด 195 ประเทศทั่วโลก
ในสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัส COVID-19 หน่วยงาน INTOSAI Development Initiatives (IDI) จึงเปิดตัวโครงการ “Global Cooperative Compliance Audits of the Transparency, Accountability and Inclusiveness of the Use of Emergency Funding for COVID-19” หรือที่เรียกว่า “TAI Audits” เพื่อให้องค์กรการตรวจเงินแผ่นดินทั่วโลกนำไปปรับใช้ในการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างเร่งด่วน เน้นความรวดเร็วแต่ยังคงยึดหลักการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานสากล
TAI Audits คือ
T : Transparency ความโปร่งใส คือ การเปิดเผยเกี่ยวกับข้อมูลโครงการ นโยบาย กฎหมาย และข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจให้สาธารณะทราบ อย่างเข้าใจง่าย และทันท่วงที
A : Accountability เป็นความรับผิดชอบตามหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติงานครอบคลุมถึงกรอบการปฏิบัติตามกฎหมายทั้งหมด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนว่าทุกการตัดสินใจ ทุกการใช้จ่ายงบประมาณจะเป็นไปอย่างถูกต้อง
I : Inclusiveness การครอบคลุม การบริหารจัดการงบประมาณในสถานการณ์เร่งด่วน โดยต้องคำนึงถึงการช่วยเหลือที่ทั่วถึง เป้าหมายหลักของ Inclusiveness คือ การไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง หรือ “Leave no one behind” เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้รับโอกาสเข้าถึงสิทธิประโยชน์จากโครงการภาครัฐ
IDI กำหนดหัวข้อการตรวจ TAI Audits ไว้ 3 หัวข้อหลัก ได้แก่
(1) การตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเร่งด่วนฉุกเฉิน (Auditing emergency public procurement)
(2) การตรวจสอบแพ็กเกจภาครัฐทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยเหลือเยียวยาผู้เดือดร้อนในสถานการณ์วิกฤต Covid-19 (Auditing Socio-economic package)
(3) การตรวจสอบการกระจายวัคซีน (Auditing Vaccine roll out)
ข้อมูลจาก : www.audit.go.th