ค่าความนิยมจากการควบรวมธุรกิจ
01
Jun
ภัชญาณีย์ ต้นใหญ่
นักวิชาการเงินและบัญชี
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
ค่าความนิยมจากการควบรวมธุรกิจ
ในปัจจุบันสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย มีการลงทุนในตลาดทุนเป็นจำนวนมาก ผู้ลงทุนต้องพิจารณาเพื่อตัดสินใจการจะเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง นักลงทุนต้องใช้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ และหลากหลายในการพิจารณา ต้องพิจารณาถึงผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ การตัดสินใจของนักลงทุน ต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลของบริษัทและผลกระทบจากนโยบายการบัญชี มาตรฐานการบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เป็นทางเลือกสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนได้แต่ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางการเงินของบริษัทที่ต้องการซื้อขายหลักทรัพย์ในเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงจากผลขาดทุนที่ไม่ตรงตามเป้าหมาย ภายใต้สถานการณ์วิกฤตโรคระบาดนั้น ส่งผลกระทบอย่างมากกับประกอบธุรกิจ หลายบริษัทจำเป็นต้องมีการออกกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อความอยู่รอดของบริษัท สำหรับการควบรวมธุรกิจ กล่าวคือ บริษัทที่ทำการตกลงกันตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป มาควบรวมธรุกิจ ส่งผลให้เกิดบริษัทใหม่ขึ้นมา โดยบริษัทเดิมจะเป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน ตัวอย่างเช่น บริษัท A ซื้อบริษัทหรือควบรวมธุรกิจกับบริษัท B ส่งผลให้เกิดเป็น บริษัท AB เป็นต้น โดยบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่มีระยะที่ยาวนาน มีผลประกอบการที่ดี ประกอบกับ การที่บริษัทเดิมมีฐานข้อมูลลูกค้าที่ภักดี การบริหารจัดการที่เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดแล้ว ย่อมมีผลต่างที่เรียกว่า “ค่าความนิยม” ดังนั้น ข้อดีของการควบรวมธุรกิจนั้น สามารถสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทมากยิ่งขึ้น มีความน่าเชื่อถือ พัฒนาบริษัทให้ก้าวหน้าและเพิ่มมูลค่ากิจการ ด้านการค้าที่สูงมากยิ่งขึ้น และสามารถปรับตัวกับวิกฤตสถานการณ์เข้าสู่บริษัทใหม่และลดความเสี่ยงต่างๆ ในการประกอบธุรกิจมากยิ่งขึ้น