5 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี

UploadImage
 
UploadImage

กัญญาลักษณ์ สุขพันธ์
นักบัญชีปฏิบัติการ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
 
5 รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี
 
          รายจ่ายต้องห้าม เป็นรายจ่ายที่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการนำมาคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดไว้ในมาตรา 65 ตรี 
          1. รายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารที่อยู่นอกระเบียบบริษัท
             เป็นรายจ่ายที่ผู้บริหารใช้จ่ายในส่วนของตนเป็นการส่วนตัวไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน เงินช่วยเหลืองานบวชพนักงานที่เกินจากสวัสดิการที่กำหนดไว้ รายจ่ายแบบนี้ถ้าไม่มีกำหนดในระเบียบชัดเจนถือว่าเป็นรายจ่ายส่วนตัวของผู้บริหารบริษัทเอง ไม่ใช่ของบริษัท ห้ามนำมาหักภาษีเด็ดขาด
          2. รายจ่ายที่ไม่มีผู้รับ
             เป็นรายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าจ่ายไปให้ใคร พบได้มากในบริษัทขนาดเล็ก เพราะบริษัทต้องตั้งงบเบ็ดเตล็ดไว้จัดการเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หากจ่ายไปเป็นเงินสด และผู้รับไม่มีการออกใบเสร็จให้ จะไม่มีหลักฐานใดๆ ว่าจ่ายไปที่ใคร ซึ่งไม่สามารถนำมาหักภาษีได้
          3. รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม
              คือรายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทอาจนับเป็นรายจ่ายของบริษัทแต่สรรพากรไม่นับ คือการทำธุรกรรมทางการเงินของบริษัทใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือขายสินค้าหรือบริการ มันจะมีเงินส่วนหนึ่งที่ต้องจ่ายไปเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ในทางภาษีรายจ่ายดังกล่าวไม่สามารถนำมาคิดเป็นรายจ่ายได้ 
          4. รายจ่ายให้กับบริษัทแม่หรือบริษัทลูก
             เป็นรายจ่ายเมื่อมีการซื้อสินค้าและบริการจากบริษัทในเครือข่ายที่เป็นบริษัทแม่หรือบริษัทลูก ซึ่งในทางบัญชีปกติ บริษัทก็จะลงเป็นค่าใช้จ่ายกัน แต่ในทางภาษี ไม่ว่าเป็นบริษัทแม่หรือลูกถือเป็นบริษัทเดียวกัน ดังนั้นการซื้อสินค้าและบริการกันเอง ซึ่งนับเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้
          5. รายจ่ายค่าปรับ
             ค่าปรับ ในทางบัญชีทั่วไปก็ต้องคิดเป็นรายจ่าย แต่ในทางภาษี ไม่สามารถนำค่าปรับต่างๆ มาคำนวณในส่วนของรายจ่ายได้ เนื่องจากสรรพากรมองว่ารายจ่ายตรงนี้ไม่ใช่รายจ่ายทางธุรกิจ แต่เกิดจากการที่ธุรกิจทำผิดกฎหมายและได้รับการลงโทษโดยรัฐ จะนำมาคำนวณเป็น “รายจ่าย” ในทางภาษีไม่ได้