8 ประเด็นสำคัญในการวางแผนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน
01
Jun
มินธิตา วรสินธ์พันธ์
ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชี
บริษัท ไซแมท เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
8 ประเด็นสำคัญในการวางแผนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน
มนุษย์เงินเดือนสามารถพิจารณาวางแผนภาษี ได้ดังนี้
1. พิจารณาถึงทางเลือกการหักค่าใช้จ่าย อาจเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจำเป็นและสมควร (ทั้งนี้จะต้องมีเอกสารประกอบการหักค่าใช้จ่ายตามจริง
2. พิจารณาใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน เช่น การลดหย่อนบุตรและบุพการี ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย เบี้ยประกันชีวิต ประกันชีวิตแบบบำนาญ เบี้ยประกันสุขภาพบุพการี กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ทั้งนี้ควรพิจาณากระแสเงินสดคงเหลือที่สามารถออมได้จริง กล่าวคือ มีกระแสเงินสดคงเหลือรายปี (รายรับ – รายจ่าย) เพียงพอสำหรับการออม
3. กรณีที่กระแสเงินสดเหลือไม่พอสำหรับการออม ผู้มีเงินได้ไม่ควรไปกู้ผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ เพื่อมาออม เพราะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนบุคคล อาจสูงกว่าอัตราภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องชำระ
4. ควรศึกษาเงื่อนไขของการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของผลิตภัณฑ์การลดหย่อนภาษี กรณีผิดเงื่อนไข ผู้มีเงินได้จะหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษี และยังต้องเสียภาษีสำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมาแล้วด้วย
5. บริหารภาษีให้เป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงิน เพื่อเป้าหมายต่างๆ กล่าวคือ กรณีที่ผู้มีเงินได้ ต้องการออมปีละ 600,000 บาทต่อปี สามารถออมผ่านการซื้อ LTF RMF หรือประกัน นอกจากผู้มีเงินได้จะสามารถมีเงินออมเพื่อวางแผนเกษียณ ยังสามารถนำเงินภาษีคืนไปลงทุนต่อได้ด้วย
6. กรณีเงินได้ประเภทเงินปันผล โดยได้ถูกหักภาษีหัก ณ ที่จ่ายร้อยละ 10 ไปแล้ว ผู้ได้รับเงินปันผลมีสิทธิเลือกเสียภาษี คือ จะไม่นำเงินปันผลมารวมกับเงินได้อื่นเพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลประจำปี หรือใช้วิธีเครดิตภาษีเงินปันผล (นำเงินปันผลมารวมคำนวณกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีสำหรับปีและขอเครดิตภาษีเงินปันผล) ทั้งนี้ ผู้ได้รับเงินปันผลควรคำนวณเพื่อเลือกใช้วิธีที่มีภาระภาษีต่ำ
7. แจ้งรายละเอียดกับฝ่ายบุคคลของบริษัทผู้จ่ายเงินได้ สำหรับรายการหักลดหย่อนต่างๆ เพื่อลดจำนวนภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายเมื่อได้รับเงินได้
8. กรณีที่ผู้มีเงินได้ ถูกหักภาษีไว้ เป็นจำนวนที่มากกว่า ภาษีเงินได้ที่ต้องชำระสำหรับปีนั้น ซึ่งผู้มีเงินได้สามารถขอคืนภาษีจากทางกรมสรรพากรได้ ผู้มีเงินได้สามารถรวบรวมเอกสารเพื่อยื่นภาษีโดยเร็ว เพื่อนำเงินภาษีที่ได้รับคืน มาลงทุนต่อให้ได้ผลตอบแทนเพิ่มเติม