บทความ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ SPU กับบทบาทงานวิชาการสู่สาธารณะ “ต่อยอดทักษะเดิม… เพิ่มเติมทักษะใหม่… เพื่อรักษาความมั่นคงทางการเกษตรของ”
25
Apr
โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง นำมาซึ่งความท้าทาย และการดิ้นรนเพื่อให้ตัวเองมีงานทำ และอยู่รอด หลายองค์กรและอุตสาหกรรม ต้องปรับตัวให้ทันยุคเศรษฐกิจที่ผันผวนไม่แน่นอน ดังนั้นการเตรียมความพร้อม ปรับตัว ตั้งรับความเปลี่ยนแปลง ให้ตัวเองมีทักษะและความรู้ความสามารถที่อับเดทอยู่ตลอดเวลา เพื่อรองรับกับงานรูปแบบใหม่ ๆ อย่างเช่นการ Upskill และ Reskill จึงมีความสำคัญมาก และถือหัวใจสำคัญ ที่ทำให้เราสามารถอยู่รอดต่อไปได้ในยุค Digital Disruption ต่อจากนี้ไป
อย่างหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเกษตรอัจฉริยะด้วยระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ ถือเป็นอีกหนึ่งงานบริการวิชาการสู่สาธารณะที่ทาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้จัดขึ้น เพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐ ไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ถือเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศอีกทางหนึ่ง
โดยการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรสมัยใหม่ ที่นำภูมิปัญญาการเกษตรผนวกเข้ากับเทคโนโลยีการตรวจรู้ (Sensor Technology) และการควบคุมอัตโนมัติ (Full Automation) นี่จึงเป็นหลักสูตรที่จะให้ทั้งความรู้ด้านการเกษตรแบบละเอียดและความรู้ทางด้านการควบคุมหุ่นยนต์ รวมไปถึงการตรวจสอบและสามารถแก้ไขระบบการควบคุมทั้งหมด โดยสามารถนำมาสร้าง หรือพัฒนาหุ่นยนต์และระบบ ให้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สำคัญคือเป็นการเผยแพร่ความรู้โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 56 ราย และมีการทำโครงการ Smart Farm Projects ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกว่า 15 โครงการในแต่ละสถานประกอบการ
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญที่ทรัพยากรมนุษย์ภาคการเกษตรต้องเร่งปรับตัว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง อันจะทำให้ประเทศไทยยังคงไว้ซึ่งความเป็นมหาอำนาจทางเกษตรกรรมของโลกได้ในอนาคต
อย่างหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญเกษตรอัจฉริยะด้วยระบบหุ่นยนต์และการควบคุมอัตโนมัติ ถือเป็นอีกหนึ่งงานบริการวิชาการสู่สาธารณะที่ทาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้จัดขึ้น เพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐ ไทยแลนด์ 4.0 โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการเกษตร ที่ถือเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศอีกทางหนึ่ง
โดยการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรสมัยใหม่ ที่นำภูมิปัญญาการเกษตรผนวกเข้ากับเทคโนโลยีการตรวจรู้ (Sensor Technology) และการควบคุมอัตโนมัติ (Full Automation) นี่จึงเป็นหลักสูตรที่จะให้ทั้งความรู้ด้านการเกษตรแบบละเอียดและความรู้ทางด้านการควบคุมหุ่นยนต์ รวมไปถึงการตรวจสอบและสามารถแก้ไขระบบการควบคุมทั้งหมด โดยสามารถนำมาสร้าง หรือพัฒนาหุ่นยนต์และระบบ ให้กลายเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ที่สำคัญคือเป็นการเผยแพร่ความรู้โดยไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 56 ราย และมีการทำโครงการ Smart Farm Projects ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมกว่า 15 โครงการในแต่ละสถานประกอบการ
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนจากทางมหาวิทยาลัยศรีปทุม เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ทางการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งถือเป็นทักษะสำคัญที่ทรัพยากรมนุษย์ภาคการเกษตรต้องเร่งปรับตัว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง อันจะทำให้ประเทศไทยยังคงไว้ซึ่งความเป็นมหาอำนาจทางเกษตรกรรมของโลกได้ในอนาคต
บทความ โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาล้ยศาีปทุม