การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
02
Feb
การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
CORPORATE GOVERNANCE OF CORPORATIONS LISTED ON THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND
CORPORATE GOVERNANCE OF CORPORATIONS LISTED ON THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND
ปวีณา แซ่จู
PAWEENA SAEJU
paweena.saj@spumail.net
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอถึงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในด้านโครงสร้างความสัมพันธ์และแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของคณะกรรมการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่มีประชาชนเป็นผู้ถือหุ้น รวมทั้งข้อดี และข้อเสียของการนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อเป็นหลักปฏิบัติให้คณะกรรมการบริษัท ซึ่งเป็นผู้นำหรือผู้รับผิดชอบสูงสุดขององค์กร นำไปปรับใช้ในการกำกับดูแลให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาว และน่าเชื่อถือสำหรับผู้ถือหุ้นและผู้คนรอบข้างเพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน ตรงตามความมุ่งหวังของทั้งภาคธุรกิจ ผู้ลงทุน ตลอดจนตลาดทุนและสังคมโดยรวม
คำสำคัญ : การกำกับดูแลกิจการที่ดี, บริษัทจดทะเบียน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Abstract
This article aims to present the principles of good corporate governance in relation to structure and transparency practices. responsibility of the board to build confidence for investors This is a very important factor for listed companies with people as shareholders including advantages and disadvantages of applying good corporate governance principles as a practice for the Board of Directors which is the leader or the person who is most responsible for the organization applied to supervision for the business to have good performance in the long run and trustworthy for shareholders and people around them for the benefit of creating sustainable business value meet the expectations of the business sector, investors, as well as the capital market and society as a whole.
Keywords : Corporate Governance, Listed Companies, The Stock Exchange of Thailand
บทนำ
จากเหตุการณ์เชิงประจักษ์ในกรณีการล้มละลายของบริษัทขนาดใหญ่เช่นบริษัท Enron และ Worldcom ซึ่งมีผลมาจากการไม่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือไม่มีบรรษัทภิบาล (Corporate Governance: CG) ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางและทำให้เกิดความสูญเสียเป็นมูลค่ามหาศาลหลังจากนั้นหลายหน่วยงานเริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญกับเรื่องของการบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย การกำกับดูแลกิจการเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ในเชิงการกำกับดูแลกิจการระหว่างผู้บริหารของบริษัท คณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ขององค์กร รวมทั้งยังเป็นกรอบของโครงสร้างแนวทางปฏิบัติ และการติดตามการประเมินผลการดาเนินการขององค์กร เพื่อการบรรลุผลตามพันธกิจ
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- เพื่อให้ คณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ขององค์กรนำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้กับองค์กรเพื่อการบรรลุผลตามพันธกิจ
แนวคิดที่เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการ
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) เป็นลักษณะและวิถีทางของอำนาจรัฐเพื่อจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อการพัฒนาโดยเฉพาะกิจการที่มีผลต่อนักลงทุนอย่างมาก กล่าวคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและปัจจุบันกลายมาเป็นปัจจัยหลักของการพิจารณาการลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศที่จะช่วยแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้อธิบายว่า บริษัทจดทะเบียน เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศทั้งในแง่การสร้างรายได้ การจ้างงาน รวมถึงการมีส่วนร่วมดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายจัดการและหน่วยงานภายในองค์กรจึงควรมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้องค์กรมีบรรษัทภิบาลหรือการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้บริษัทสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้งตนเองและสังคมได้อย่างยั่งยืน โดยต้องมีการวางโครงสร้างและระบบการกำกับดูแลกิจการอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการกำกับดูแล การติดตาม และการประเมินผล เพื่อให้ทุกฝ่ายมีแนวปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันตามหลักพื้นฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ตลาดหลักทรัพย์ได้รณรงค์และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกากับดูแลกิจการที่ดี โดยเสนอหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี 15 ข้อ ในปี 2545 ให้แก่บริษัทจดทะเบียนเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในขั้นเริ่มแรก ต่อมาในปี 2549 ได้มีการปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน โดยเทียบเคียงกับหลักการกากับดูแลกิจการของ The Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD Principles of Corporate Governance ปี 2004) และข้อเสนอแนะของธนาคารโลกจากการเข้าร่วมโครงการ Corporate Governance - Reports on the Observance of Standards and Codes (CG-ROSC) ต่อมาในปี 2555 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทำ การปรับปรงุหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนอีกครั้ง โดยเป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของแนวปฏิบัติที่ดีของทั้ง 5 หมวด ได้แก่
1) สิทธิของผู้ถือหุ้น
2) การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
3) บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส
5) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัท
การกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท เนื่องจากเป็นระบบการบริหารจัดการบริษัทให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีแนวปฎิบัติของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปีพ.ศ. 2555 ที่ใช้อยู่เดิมมุ่งเน้นความสำคัญในการประกอบธุรกิจโดยเฉพาะเรื่องการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน แต่สร้างความเชื่อมั่นอย่างเดียวคงไม่พอต่อสภาวะการแข่งขันธุรกิจในปัจจุบัน ควรจะต้องสร้างผลประกอบกิจการที่ดี เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพธุรกิจ สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และความคาดหวังว่าจะรับผิดชอบต่อสังคมที่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมรอบข้างเพื่อให้บริษัทเติบโตในระยะยาวด้วย คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงได้ออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ Corporate Governance Code (CG Code) ฉบับปี พ.ศ.2560 ขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางสำหรับคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนในการปฎิบัติหน้าที่ โดยมุ่งหวังให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงความต่อเนื่องในระยะยาว มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงต่างๆและสำหรับภาพรวมธุรกิจเพื่อพัฒนาตลาดทุนด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มและส่งเสริมคุณค่าตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ และเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมเติบโตอย่างมีคุณภาพ
ตามหลัก CG Code ได้กำหนดหลักปฎิบัติความเป็นผู้นำของคณะกรรมการครอบคลุมตั้งแต่
- การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของกิจการที่เป็นไปเพื่อสร้างคุณค่าให้กิจการยั่งยืนการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ด้วยการมีคณะกรรมการที่เอื้อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ดูแลและพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรให้มีความสามารถ ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างรับผิดชอบ
- การติดตามและเปิดเผยข้อมูลโดยดูแลให้มีระบบควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม
- การรักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล ตลอดจนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
CG Code จะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักปฏิบัติ และหลักปฏิบัติย่อย โดยหลักปฏิบัติหลักมี 8 ข้อ และส่วนที่ 2 แนวปฏิบัติและคำอธิบายในการปฏิบัติในส่วนที่1 ซึ่งหลักปฏิบัติ 8 ข้อ มี ดังนี้
โครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยกลุ่มหลักประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ซึ่งแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลการทำงานของฝ่ายจัดการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงคณะกรรมการยังต้องทำหน้าที่สานประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และให้เกิดความสมดุล ดังนั้นนอกจากบริษัทควรเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีความแตกต่างกันแล้ว ยังต้องกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่มในระบบการกำกับดูแลกิจการไว้อย่างชัดเจนและอย่างมีจริยธรรม รวมถึงสอดคล้องตามที่กฏหมายกำหนดและตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้วย
การกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงหมายถึง การกำกับดูแลกิจการที่เป็นไปเพื่อการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งคณะกรรมการควรกำกับดูแลกิจการให้นำ ไปสู่ผล (governance outcome) อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
1. สามารถแข่งขันได้และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว(Competitiveness and performance with long-term perspective)
2. ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย (Ethical and responsible business)
3. เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม (Good corporate citizenship)
4. สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง (Corporate resilience)
นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่ม บริษัทจึงควรเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดให้มีระบบและกระบวนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้สามารถเข้าใจและตอบสนองความคาดหวังเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่กิจการในระยะยาว
ทฤษฎีตัวแทน
ทฤษฎีตัวแทนมาจากแนวคิดของ Jensen และ Meckling ในปี ค.ศ.1976 โดยเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงปัญหาจากการที่ผู้ถือหุ้นตัดสินใจลงทุนในกิจการ โดยมอบอำนาจ และหน้าที่ให้แก่ผู้บริหารเป็นตัวแทนในการนำเงินลงทุนดังกล่าวไปบริหาร ซึ่งในความเป็นจริงผู้ถือหุ้นจะเสียเปรียบในการที่ไม่สามารถทราบว่าผู้บริหารได้นำเงินไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดจริงหรือไม่ จึงเกิดเป็นปัญหาตัวแทน (Agency Problems) ขึ้น โดยปัญหาตัวแทนเกิดขึ้นจากความไม่สมมาตรของข้อมูล (Information Asymmetry) ที่ 2 ฝ่ายได้รับ ฝ่ายหนึ่งคือตัวการ (Principal) หรือนักลงทุนผู้ซึ่งต้องการให้บริษัทมีกำไรและได้ผลประโยชน์สูงสุดมุ่งเพื่อให้บริษัทมีผลตอบแทนสูง คุ้มค่ากับที่ลงทุนไปให้มากที่สุดโดยจะคำนึงหรือไม่คำนึงถึงวิธีการที่จะได้มาของผลตอบแทนเหล่านั้น และอีกฝ่ายหนึ่งคือตัวแทน (Agent) ซึ่งหมายถึงกลุ่มผู้บริหารที่ทำหน้าที่บริหารกิจการด้วยเงินทุนที่ได้รับจากตัวแทนหรือเปรียบเสมือนลูกจ้างไม่ว่าจะอยู่ในระดับสูงหรือต่ำ ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวการมีความพึงพอใจสูงสุด ด้วยการที่ทั้ง 2 ฝ่าย ได้รับข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ นักลงทุนภายนอกไม่สามารถทราบข้อมูลภายในของกิจการได้เท่ากับผู้บริหาร ทำให้อาจเกิดช่องทางในการที่ผู้บริหารสามารถเอารัดเอาเปรียบนักลงทุนได้ โดยการนำเงินของนักลงทุนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือนำไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยการนำไปลงทุนในโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น หรือกิจการโดยรวม
บทบาทหรือหน้าที่สำคัญของตัวแทนอยู่ในรูปแบบคณะกรรมการบริษัททำหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของผู้บริหารหรือฝ่ายจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักบรรลุตามเป้าหมายของบริษัท และรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกผู้บริหารจึงเปิดเผยข้อมูลทำการพิจารณาถึงต้นทุนเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) สำหรับการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจหากการเปิดเผยสู่ตลาดสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์มากกว่าการที่คู่แข่งได้ประโยชน์จากข้อมูลของบริษัท ผู้บริหารจึงพิจารณาเลือกการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้น ความสำคัญของกลไลการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บริษัทมีความสมัครใจเพิ่มมากขึ้นในการจะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ การกำ กับดูแลกิจการที่ดีจึงเป็นกลไกหนึ่งในการใช้แก้ปัญหาตัวแทนในการดำเนินงานของบริษัท สามารถเห็นได้จากการมีระบบการควบคุม ตรวจสอบ ดูแลจากโครงสร้างของคณะกรรมการต่างๆ ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นของแต่ละบริษัท ดังนั้นคณะกรรมการจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการปฎิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการที่ดี โดยควรเน้นบทบาทหน้าที่และโครงสร้างของคณะกรรมการ รวมทั้งมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่สามารถสร้างกลไกการถ่วงดุลอำนาจภายในได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ให้แนวทางสาหรับคณะกรรมการในการปฎิบัติหน้าที่ให้มีความยุติธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบตามหน้าที่ และความรับผิดชอบในงาน คณะกรรมการควรจัดให้มีคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อช่วยกลั่นกรองงานตามความจาเป็นนอกจากนี้ ประธานกรรมการ (Chairman) เป็นผู้นำคณะกรรมการและทา หน้าที่เป็นประธานการประชุม ควรมาจากกรรมการที่เป็นอิสระและไม่ควรเป็นบุคคลเดียวกับคณะกรรมการผู้จัดการ
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างตัวการและตัวแทน (Agency Problems) ตามการศึกษาของ McColgan (2001) สามารถแยกสาเหตุการเกิดปัญหาได้ดังนี้
1) Moral-Hazard คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากผู้บริหารซึ่งเป็นตัวแทน บริหารงาน โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เช่น ผู้บริหารหรือครอบครัว ของผู้บริหารนําทรัพยากรของบริษัทไปใช้ส่วนตัว ทรัพยากรเหล่านั้นจึงไม่ได้ถูกนํามาใช้ใน กิจกรรมที่มีประโยชน์ในการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท เป็นต้น
2) Earnings Retention คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับขนาดของกิจการ (Firm Size) ที่วัดโดยกําไรสะสมของบริษัท ซึ่งผู้บริหารจะใช้ประโยชน์จากกําไรสะสมโดยการใช้นโยบาย โครงสร้างเงินทุนที่เป็นแหล่งเงินทุนภายใน (กําไรสะสม) มากกว่าการหาแหล่งเงินทุนจาก ภายนอก (เจ้าหนี้) เพื่อลดการถูกตรวจสอบการบริหารงานจากบุคคลภายนอก ซึ่งการใช้โครงสร้าง เงินทุนดังกล่าวทําให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นในรูปเงินปันผลลดลง
3) Time Horizon คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากระยะเวลาการลงทุน โดยผู้ถือหุ้นจะให้ ความสําคัญต่อกระแสเงินสดของบริษัทในอนาคต แต่ผู้บริหารจะให้ความสําคัญต่อกระแสเงินสด ของบริษัทในช่วงระยะเวลาที่ตนบริหารอยู่เท่านั้น ดังนั้นผู้บริหารมักจะลงทุนในโครงการระยะสั้น มากกว่าโครงการระยะยาวถึงแม้ว่าโครงการนั้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวมักเกิด กับผู้บริหารระดับสูงที่ใกล้เกษียณแล้ว
4) Risk Aversion คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากพฤติกรรมการยอมรับความเสี่ยงจาก การลงทุนของผู้บริหาร ซึ่งเกิดจากค่าตอบแทนที่ผู้บริหารได้รับไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลการดําเนินงาน ของบริษัท ผู้บริหารจะได้รับเพียงผลตอบแทนที่เป็นเงินเดือนเท่านั้น โดยเงินเดือนจะเป็นจํานวน ที่คงที่ ดังนั้นผู้บริหารย่อมเลือกลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะผู้บริหารจะไม่ได้รับ ประโยชน์ส่วนเพิ่มจากโครงการนั้นๆ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะประสบความสําเร็จและมีผลตอบแทนสูง แต่โครงการที่มีผลตอบแทนสูงย่อมจะมีความเสี่ยงสูงด้วย ขณะเดียวกัน หากบริหารงานล้มเหลวก็ย่อมมีผลกระทบต่อตําแหน่งหน้าที่งาน ส่วนผู้ถือหุ้นจะชอบผู้บริหาร ที่ตัดสินใจลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงสูงเพราะย่อมจะได้รับผลตอบแทนที่สูงด้วย เท่ากับ เป็นการเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ตัวผู้ถือหุ้นเอง
ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างผู้บริหารและผู้ถือหุ้นนั้น สามารถทำได้โดยการนำหลักการกำกับดูแลกิจการมาใช้ในกิจการ ทั้งนี้การกำกับดูแลกิจการเป็นการกำกับและควบคุมบริหารงานของผู้บริหาร โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นหลัก อีกทั้งยังมีการยอมรับว่า การกำกับดูแลกิจการมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นของการดำเนินกิจการอย่างยั่งยืน เพราะสามารถแสดงให้เห็นถึงว่า กิจการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น
ข้อดีหรือประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีดังนี้
1. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยให้บริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ในการดำเนินงานมากขึ้น เนื่องจากการกำกับดูแลกิจการเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบการทำงานด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งทำให้เกิดแนวทางในการเสนอข้อคิดเห็นให้กับองค์กรเพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน
2. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) เนื่องจากบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะทำให้เกิดรูปแบบกิจการที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เป็นสากล ซึ่งจะทำให้มีคุณลักษณะที่เหนือกว่าผู้อื่น ทั้งในเรื่องกลยุทธ์และการจัดการ
3. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders Confidence) ว่าบริษัทมีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ที่จะช่วยป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากกรรมการและฝ่ายจัดการ กล่าวคือ หากไม่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่อยากที่จะเสี่ยงกับบริษัท
4. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น (Shareholder Values) นั่นคือ การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยสร้างความมั่นใจในการลงทุน ส่งผลให้หุ้นที่นักลงทุนถืออยู่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
สรุป
การกำกับดูแลกิจการได้ว่าหมายถึงกระบวนการและหลักปฎิบัติของบริษัทที่ผู้บริหารใช้บริหารงานและควบคุมการทำงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความยุติธรรมและความโปร่งใสในองค์การ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงานบริษัท เจ้าหนี้การค้า ลูกค้า รัฐบาล ชุมชนรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมด้วย และมีความสำคัญต่อบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นบริษัทที่ระดมทุนจากประชาชนมาใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ จึงมีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการก็ไม่ได้บริหารกิจการเอง แต่ได้แต่งตั้งกรรมการให้เป็นผู้บริหารกิจการแทน จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการกำกับดูแลกิจการเป็นระบบในการกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ากิจการได้ดำเนินไปเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบด้วย อันจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตของบริษัทอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทจดทะเบียนฯ ควรส่งเสริมบทบาทกลไกการกำกับดูแลกิจการ ด้านคะแนนการประเมิน CGR เนื่องจากเป็นการพิจารณาครอบคลุมทุกด้านของการกำกับดูแลกิจการ โดยมีหลักเกณฑ์การประเมินรายงานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน โดยมี 5 หัวข้อ คือ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เนื่องจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ตัวแปรเหล่านี้ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้น โดยแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการลงทุนจากนักลงทุนสถาบันเป็นจำนวนมากจะทำให้มีการจัดการกำไรเกิดขึ้นน้อย ดังนั้นจึงเป็นแนวทางสำหรับตลาดหลักทรัพย์ที่จะสนับสนุนการลงทุนจากนักลงทุนสถาบันให้มากยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. สืบค้นจาก http://www.sec.or.th/cgthailand/TH/Documents/Regulation/CGCode.pdf
สังเวียน อินทรวิชัย. (2558). การกำกับดูแลกิจการที่ดี:Corporate governance. กรุงเทพฯ:คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุวรรณี พีชสิงห์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับประสิทธิภาพในการทำกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ MAI. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จิภัสสร บุญรอด. (2560). การกํากับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนสถาบันและผลตอบแทนจากนักลงทุนสถาบันที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมีทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยกลุ่มหลักประกอบด้วย ผู้ถือหุ้น ซึ่งแต่งตั้งคณะกรรมการเข้ามาทำหน้าที่ควบคุมและกำกับดูแลการทำงานของฝ่ายจัดการให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมถึงคณะกรรมการยังต้องทำหน้าที่สานประโยชน์ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์และให้เกิดความสมดุล ดังนั้นนอกจากบริษัทควรเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่มีความแตกต่างกันแล้ว ยังต้องกำหนดบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกลุ่มในระบบการกำกับดูแลกิจการไว้อย่างชัดเจนและอย่างมีจริยธรรม รวมถึงสอดคล้องตามที่กฏหมายกำหนดและตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้วย
การกำกับดูแลกิจการที่ดี จึงหมายถึง การกำกับดูแลกิจการที่เป็นไปเพื่อการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งคณะกรรมการควรกำกับดูแลกิจการให้นำ ไปสู่ผล (governance outcome) อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
1. สามารถแข่งขันได้และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว(Competitiveness and performance with long-term perspective)
2. ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย (Ethical and responsible business)
3. เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม (Good corporate citizenship)
4. สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง (Corporate resilience)
นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่ม บริษัทจึงควรเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน แล้วจัดให้มีระบบและกระบวนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้สามารถเข้าใจและตอบสนองความคาดหวังเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่กิจการในระยะยาว
ทฤษฎีตัวแทน
ทฤษฎีตัวแทนมาจากแนวคิดของ Jensen และ Meckling ในปี ค.ศ.1976 โดยเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงปัญหาจากการที่ผู้ถือหุ้นตัดสินใจลงทุนในกิจการ โดยมอบอำนาจ และหน้าที่ให้แก่ผู้บริหารเป็นตัวแทนในการนำเงินลงทุนดังกล่าวไปบริหาร ซึ่งในความเป็นจริงผู้ถือหุ้นจะเสียเปรียบในการที่ไม่สามารถทราบว่าผู้บริหารได้นำเงินไปใช้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดจริงหรือไม่ จึงเกิดเป็นปัญหาตัวแทน (Agency Problems) ขึ้น โดยปัญหาตัวแทนเกิดขึ้นจากความไม่สมมาตรของข้อมูล (Information Asymmetry) ที่ 2 ฝ่ายได้รับ ฝ่ายหนึ่งคือตัวการ (Principal) หรือนักลงทุนผู้ซึ่งต้องการให้บริษัทมีกำไรและได้ผลประโยชน์สูงสุดมุ่งเพื่อให้บริษัทมีผลตอบแทนสูง คุ้มค่ากับที่ลงทุนไปให้มากที่สุดโดยจะคำนึงหรือไม่คำนึงถึงวิธีการที่จะได้มาของผลตอบแทนเหล่านั้น และอีกฝ่ายหนึ่งคือตัวแทน (Agent) ซึ่งหมายถึงกลุ่มผู้บริหารที่ทำหน้าที่บริหารกิจการด้วยเงินทุนที่ได้รับจากตัวแทนหรือเปรียบเสมือนลูกจ้างไม่ว่าจะอยู่ในระดับสูงหรือต่ำ ซึ่งมีหน้าที่ต้องทำให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวการมีความพึงพอใจสูงสุด ด้วยการที่ทั้ง 2 ฝ่าย ได้รับข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน กล่าวคือ นักลงทุนภายนอกไม่สามารถทราบข้อมูลภายในของกิจการได้เท่ากับผู้บริหาร ทำให้อาจเกิดช่องทางในการที่ผู้บริหารสามารถเอารัดเอาเปรียบนักลงทุนได้ โดยการนำเงินของนักลงทุนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว หรือนำไปใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยการนำไปลงทุนในโครงการที่ไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น หรือกิจการโดยรวม
บทบาทหรือหน้าที่สำคัญของตัวแทนอยู่ในรูปแบบคณะกรรมการบริษัททำหน้าที่กำหนดกลยุทธ์ ควบคุมดูแลการดำเนินงานของผู้บริหารหรือฝ่ายจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักบรรลุตามเป้าหมายของบริษัท และรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและบุคคลภายนอกผู้บริหารจึงเปิดเผยข้อมูลทำการพิจารณาถึงต้นทุนเปรียบเทียบกับผลประโยชน์ (Cost-Benefit Analysis) สำหรับการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจหากการเปิดเผยสู่ตลาดสามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์มากกว่าการที่คู่แข่งได้ประโยชน์จากข้อมูลของบริษัท ผู้บริหารจึงพิจารณาเลือกการเปิดเผยข้อมูลที่มีคุณภาพมากขึ้น ดังนั้น ความสำคัญของกลไลการกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้บริษัทมีความสมัครใจเพิ่มมากขึ้นในการจะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ การกำ กับดูแลกิจการที่ดีจึงเป็นกลไกหนึ่งในการใช้แก้ปัญหาตัวแทนในการดำเนินงานของบริษัท สามารถเห็นได้จากการมีระบบการควบคุม ตรวจสอบ ดูแลจากโครงสร้างของคณะกรรมการต่างๆ ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นของแต่ละบริษัท ดังนั้นคณะกรรมการจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยผลักดันให้เกิดการปฎิบัติตามหลักการกากับดูแลกิจการที่ดี โดยควรเน้นบทบาทหน้าที่และโครงสร้างของคณะกรรมการ รวมทั้งมีองค์ประกอบของคณะกรรมการที่สามารถสร้างกลไกการถ่วงดุลอำนาจภายในได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ให้แนวทางสาหรับคณะกรรมการในการปฎิบัติหน้าที่ให้มีความยุติธรรม ความโปร่งใส ความรับผิดชอบตามหน้าที่ และความรับผิดชอบในงาน คณะกรรมการควรจัดให้มีคณะกรรมการชุดย่อย เพื่อช่วยกลั่นกรองงานตามความจาเป็นนอกจากนี้ ประธานกรรมการ (Chairman) เป็นผู้นำคณะกรรมการและทา หน้าที่เป็นประธานการประชุม ควรมาจากกรรมการที่เป็นอิสระและไม่ควรเป็นบุคคลเดียวกับคณะกรรมการผู้จัดการ
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างตัวการและตัวแทน (Agency Problems) ตามการศึกษาของ McColgan (2001) สามารถแยกสาเหตุการเกิดปัญหาได้ดังนี้
1) Moral-Hazard คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากผู้บริหารซึ่งเป็นตัวแทน บริหารงาน โดยคํานึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น เช่น ผู้บริหารหรือครอบครัว ของผู้บริหารนําทรัพยากรของบริษัทไปใช้ส่วนตัว ทรัพยากรเหล่านั้นจึงไม่ได้ถูกนํามาใช้ใน กิจกรรมที่มีประโยชน์ในการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท เป็นต้น
2) Earnings Retention คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกี่ยวข้องกับขนาดของกิจการ (Firm Size) ที่วัดโดยกําไรสะสมของบริษัท ซึ่งผู้บริหารจะใช้ประโยชน์จากกําไรสะสมโดยการใช้นโยบาย โครงสร้างเงินทุนที่เป็นแหล่งเงินทุนภายใน (กําไรสะสม) มากกว่าการหาแหล่งเงินทุนจาก ภายนอก (เจ้าหนี้) เพื่อลดการถูกตรวจสอบการบริหารงานจากบุคคลภายนอก ซึ่งการใช้โครงสร้าง เงินทุนดังกล่าวทําให้ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นในรูปเงินปันผลลดลง
3) Time Horizon คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากระยะเวลาการลงทุน โดยผู้ถือหุ้นจะให้ ความสําคัญต่อกระแสเงินสดของบริษัทในอนาคต แต่ผู้บริหารจะให้ความสําคัญต่อกระแสเงินสด ของบริษัทในช่วงระยะเวลาที่ตนบริหารอยู่เท่านั้น ดังนั้นผู้บริหารมักจะลงทุนในโครงการระยะสั้น มากกว่าโครงการระยะยาวถึงแม้ว่าโครงการนั้นจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งปัญหาดังกล่าวมักเกิด กับผู้บริหารระดับสูงที่ใกล้เกษียณแล้ว
4) Risk Aversion คือ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดจากพฤติกรรมการยอมรับความเสี่ยงจาก การลงทุนของผู้บริหาร ซึ่งเกิดจากค่าตอบแทนที่ผู้บริหารได้รับไม่ได้ขึ้นอยู่กับผลการดําเนินงาน ของบริษัท ผู้บริหารจะได้รับเพียงผลตอบแทนที่เป็นเงินเดือนเท่านั้น โดยเงินเดือนจะเป็นจํานวน ที่คงที่ ดังนั้นผู้บริหารย่อมเลือกลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงต่ำ เพราะผู้บริหารจะไม่ได้รับ ประโยชน์ส่วนเพิ่มจากโครงการนั้นๆ แม้ว่าโครงการดังกล่าวจะประสบความสําเร็จและมีผลตอบแทนสูง แต่โครงการที่มีผลตอบแทนสูงย่อมจะมีความเสี่ยงสูงด้วย ขณะเดียวกัน หากบริหารงานล้มเหลวก็ย่อมมีผลกระทบต่อตําแหน่งหน้าที่งาน ส่วนผู้ถือหุ้นจะชอบผู้บริหาร ที่ตัดสินใจลงทุนในโครงการที่มีความเสี่ยงสูงเพราะย่อมจะได้รับผลตอบแทนที่สูงด้วย เท่ากับ เป็นการเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ตัวผู้ถือหุ้นเอง
ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาและลดความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ระหว่างผู้บริหารและผู้ถือหุ้นนั้น สามารถทำได้โดยการนำหลักการกำกับดูแลกิจการมาใช้ในกิจการ ทั้งนี้การกำกับดูแลกิจการเป็นการกำกับและควบคุมบริหารงานของผู้บริหาร โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของเป็นหลัก อีกทั้งยังมีการยอมรับว่า การกำกับดูแลกิจการมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จที่เพิ่มขึ้นของการดำเนินกิจการอย่างยั่งยืน เพราะสามารถแสดงให้เห็นถึงว่า กิจการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น
ข้อดีหรือประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีดังนี้
1. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยให้บริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ในการดำเนินงานมากขึ้น เนื่องจากการกำกับดูแลกิจการเป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบการทำงานด้านต่างๆ ขององค์กร ซึ่งทำให้เกิดแนวทางในการเสนอข้อคิดเห็นให้กับองค์กรเพื่อปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงาน
2. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยให้บริษัทมีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) เนื่องจากบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะทำให้เกิดรูปแบบกิจการที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เป็นสากล ซึ่งจะทำให้มีคุณลักษณะที่เหนือกว่าผู้อื่น ทั้งในเรื่องกลยุทธ์และการจัดการ
3. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นแก่ผู้เกี่ยวข้อง (Stakeholders Confidence) ว่าบริษัทมีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ที่จะช่วยป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากกรรมการและฝ่ายจัดการ กล่าวคือ หากไม่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่อยากที่จะเสี่ยงกับบริษัท
4. การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผู้ถือหุ้น (Shareholder Values) นั่นคือ การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะช่วยสร้างความมั่นใจในการลงทุน ส่งผลให้หุ้นที่นักลงทุนถืออยู่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
สรุป
การกำกับดูแลกิจการได้ว่าหมายถึงกระบวนการและหลักปฎิบัติของบริษัทที่ผู้บริหารใช้บริหารงานและควบคุมการทำงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความยุติธรรมและความโปร่งใสในองค์การ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงานบริษัท เจ้าหนี้การค้า ลูกค้า รัฐบาล ชุมชนรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมด้วย และมีความสำคัญต่อบริษัทจดทะเบียนหรือบริษัทมหาชนที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากเป็นบริษัทที่ระดมทุนจากประชาชนมาใช้เป็นแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ จึงมีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของกิจการก็ไม่ได้บริหารกิจการเอง แต่ได้แต่งตั้งกรรมการให้เป็นผู้บริหารกิจการแทน จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการกำกับดูแลกิจการเป็นระบบในการกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจว่ากิจการได้ดำเนินไปเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของผู้ถือหุ้น โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบด้วย อันจะนำมาซึ่งการเจริญเติบโตของบริษัทอย่างยั่งยืน
ข้อเสนอแนะ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทจดทะเบียนฯ ควรส่งเสริมบทบาทกลไกการกำกับดูแลกิจการ ด้านคะแนนการประเมิน CGR เนื่องจากเป็นการพิจารณาครอบคลุมทุกด้านของการกำกับดูแลกิจการ โดยมีหลักเกณฑ์การประเมินรายงานการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน โดยมี 5 หัวข้อ คือ สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียม การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ เนื่องจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ตัวแปรเหล่านี้ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้น โดยแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการลงทุนจากนักลงทุนสถาบันเป็นจำนวนมากจะทำให้มีการจัดการกำไรเกิดขึ้นน้อย ดังนั้นจึงเป็นแนวทางสำหรับตลาดหลักทรัพย์ที่จะสนับสนุนการลงทุนจากนักลงทุนสถาบันให้มากยิ่งขึ้น
บรรณานุกรม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. สืบค้นจาก http://www.sec.or.th/cgthailand/TH/Documents/Regulation/CGCode.pdf
สังเวียน อินทรวิชัย. (2558). การกำกับดูแลกิจการที่ดี:Corporate governance. กรุงเทพฯ:คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สุวรรณี พีชสิงห์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนการประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีกับประสิทธิภาพในการทำกำไรของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ MAI. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
จิภัสสร บุญรอด. (2560). การกํากับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนสถาบันและผลตอบแทนจากนักลงทุนสถาบันที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.