การใช้บริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
02
Feb
การใช้บริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
Making the most of the use of cloud computing services for the organization
โชษิตา คลายศรี
Chosita Khlaysri
E-mail: chosita.nok2517@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษา การใช้บริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับบริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ ความหมายและความเป็นมา ประเภทการให้บริการ รูปแบบของการใช้บริการ 2) ศึกษาเกี่ยวกับข้อดี ข้อจำกัดและข้อเสีย ในการนำไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร รวมถึงแนวโน้มของธุรกิจบริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ในอนาคต ผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับบริการระบบประมวลแบบคลาวด์ในการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลเชิงวิชาการจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและค้นคว้าข้อมูลทางออนไลน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการศึกษาในการนำไปใช้ในธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการเลือกใช้บริการให้เหมาะสมกับความต้องการและยังสามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรทำให้การปฏิบัติการผ่านระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งคาดว่าการใช้บริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์จะเป็นบริการที่นิยมใช้ขององค์กรเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้
คำสำคัญ : ระบบประมวลผลคลาวด์, แอพลิเคชั่น, ประโยชน์จากบริการระบบประมวลผลคลาวด์
Abstract
This article studies Making the most of the use of cloud computing services for the organization. Its objectives are to 1) study about cloud computing services. Meaning and Background Service type Forms of service use 2) Study about the advantages Limitations and Disadvantages How to use it for the best benefits of the organization including future trends of cloud computing service business. The author has researched and compiled information on cloud computing services. By analyzing content from academic data from related research and researching information online. To obtain information to answer the objectives of studying for the best use in business and the selection of services to suit the needs It can also reduce overhead costs for the organization. Make the operation through the system efficiently and effectively. It is expected that the use of cloud computing services will become an increasingly popular service of the organization in the near future.
Keywords : Cloud Computing, Applications, Benefit from Cloud Computing Services
บทนำ
โลกในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ก้าวไกลไปอย่างมาก จึงทำให้การทำงานในปัจจุบันต้องอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านั้น โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับใช้ในการดำเนินงานของและองค์กร เพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์จึงได้เข้ามามีบทบาทในองค์กรต่าง ๆ อย่างกว้างขวางในการดำเนินงานขององค์กรให้สามารถขยายขนาดขององค์กรให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้อย่างรวดเร็วและทำให้ธุรกิจด้านขายคอมพิวเตอร์เติบโตอย่างรวดเร็วเพราะทุกองค์กรมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ในจำนวนที่มากขึ้นตามไปด้วย ทำให้การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรนั้นดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรที่แต่ละองค์กรต่าง ๆ ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งอาจจะก่อเกิดปัญหาอันส่งผลให้องค์กรต้องสูญเสียทรัพยากร ทั้งคน เงิน และเวลาไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องทำการติดตั้งและอัพเดทระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ (Operating System) และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ให้กับคอมพิวเตอร์เป็นช่วงระยะเวลานั้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ขององค์กรมีความทันสมัยและสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ สาเหตุหลักอาจเกิดมาจากความล่าช้าเนื่องมาจากจำนวนคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นค่อนข้างมาก แต่การดำเนินการติดตั้งและอัพเดทในแต่ละครั้งนั้นสามารถดำเนินการได้ทีละเครื่องจนครบทุกเครื่อง ซึ่งไม่สามารถดำเนินการผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งได้ สำหรับแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ แยกต่างหากจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นนั้น ก็ยังไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในบางกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะขจัดปัญหาอันเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานขององค์กรให้หมดไป ต่อมาได้มีการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งหนึ่งในเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการขจัดปัญหาเหล่านี้ให้หมดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์หรือที่มีการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการในชื่อของ “การประมวลผลแบบคลาวด์” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีวิวัฒนาการมาจากแนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับเรื่องของ Time-sharing ที่เคยมีมาในอดีต (ชินดนัย สังคะคุณ, 2558)
ด้วยคุณสมบัติที่มีความพิเศษเฉพาะตัวของเทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการกับปัญหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพนี้ จึงทำให้เกิดธุรกิจการให้บริการประมวลผลแบบคลาวด์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับบริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ ความหมายและความเป็นมา ประเภทการให้บริการ รูปแบบของการใช้บริการ
2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ ข้อดี ข้อจำกัดและข้อเสีย ในการนำไปใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร รวมถึงแนวโน้มของธุรกิจบริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ในอนาคต
ความหมายของระบบประมวลผลแบบคลาวด์และความเป็นมา
เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์ ซึ่งผู้เขียนได้รวบรวมเนื้อหาต่างๆของบริการระบบประมวลผลแบบคลาวด์และนำเสนอเพื่อให้ได้เนื้อหาที่ครอบคลุมเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
การประมวลผลระบบแบบคลาวด์ หมายถึง การให้บริการทรัพยากรด้านไอทีตามการกำหนดราคาค่าบริการที่ใช้ตามจริง คุณสามารถเข้าถึงบริการเทคโนโลยี เช่น พลังงานในการประมวลผล พื้นที่จัดเก็บ และฐานข้อมูลได้ตามความต้องการจากผู้ให้บริการระบบคลาวด์เช่น Amazon Web Services (AWS) แทนการซื้อ การเป็นเจ้าของ รวมถึงการดูแลรักษาศูนย์ข้อมูลจริงและเซิร์ฟเวอร์
Cloud คือ การทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล
ชั้นการประมวลผล (Computing layer) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก แม้มีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของลูกค้า เพราะจะสวิทช์การทำงานไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที เว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือนของท่านจะทำงานประมวลผลในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่ท่านใช้งาน และแยกทรัพยากรกับผู้อื่นอย่างชัดเจน พร้อม Firewall ป้องกันระบบของท่านจากผู้ใช้อื่น
ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือเว็บของลูกค้า เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้
ดังนั้นระบบ Cloud เป็นการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก และการแยกส่วนของการทำงานแบบเป็นระบบนี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือน ไม่ติดขัด และมั่นใจได้ตลอดเวลา แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้นๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน
เทคโนโลยีการประมวลผลแบบคลาวด์ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า “ระบบประมวลผลแบบคลาวด์” ซึ่งได้รับการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของ Time –Sharing ที่มีมาในอดีตที่ได้พัฒนาให้มีความทันสมัยและมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้คนในปัจจุบันให้มากขึ้น โดยแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องของ Time-sharing นั้น ได้เริ่มเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1960 – 1970 ซึ่งเป็นยุคของคอมพิวเตอร์เมนเฟรมที่ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับบุคคลทั่วไปเท่าใดนัก เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นยังมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ และมีราคาค่อนข้างสูง การใช้งานคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จึงจำกัดอยู่ในวงแคบเพียงแค่ในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และสถาบันการศึกษา
ต่อมาได้มีการพัฒนาของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) ก็เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ได้มีการปรับลดขนาดให้เล็กลงและมีราคาที่ถูกลงกว่าในอดีตมาก จึงสามารถที่จะหาซื้อซอฟต์แวร์ และคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพในการทำงานมากพอกับความต้องการของตนมาใช้ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้Time-sharing อย่างในอดีตอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ก็เปลี่ยนแปลงไป การจัดการทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรภายใต้แนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบเดิม ก่อให้เกิดอุปสรรคแก่การทำงานขององค์กรเป็นอย่างมาก อีกทั้งแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็ยังไม่อาจตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเกิดแนวคิดที่จะนำระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ และข้อมูลต่างๆมาติดตั้ง และจัดเก็บไว้ในที่ที่บุคคลต่างๆที่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึง เพื่อควบคุมสั่งการและใช้งานร่วมกันผ่านอุปกรณ์พกพาต่างๆได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยให้การสำรองข้อมูล และการเรียกใช้ข้อมูลสำรองต่างๆขององค์กรสามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ( ชินดนัย สังคะคุณ, 2558)
ประเภทการให้บริการของ Cloud Computing
ประเภทของ Cloud Computing ในส่วนที่องค์กรและหน่วยงานทางธุรกิจเลือกใข้จะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท
Infrastructure-as-a-Service (IaaS) เป็นการให้บริการเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและระบบจัดเก็บข้อมูล (Storage) ที่ทำงานอยู่บนระบบเสมือน ( Virtualization) เพื่อรองรับการใช้งาน Software และ Application
Platform-as-a-Service (PaaS) บริการด้าน Platform สำหรับการพัฒนา Software และ Application โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา เช่น Web Application, Database Server ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และ Middleware อื่นๆ เป็นต้น โดยบริการทั้งหมดทำงานภายใต้ระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่าย และสามารถเรียกใช้งานได้ผ่าน Web Application
Software-as-a-Service (SaaS) การให้บริการด้าน Software และ Application ผ่านทางอินเตอร์เน็ต คล้ายกับการเช่าใช้ คิดค่าบริการตามลักษณะการใช้งาน (Pay as you go) ผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งาน Software และ Application ผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจากที่ไหนก็ได้ โดยไม่สนใจว่า ติดตั้งอยู่ที่ไหน ประมวลผลอยู่บน Server อะไร
Data-as-a-Service (DaaS) การให้บริการระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่ไม่จำกัดขนาดข้อมูล รองรับการสืบค้นและการจัดการข้อมูลขั้นสูง
Business Process-as-a-Service (BPaaS) การให้บริการแพ็คเกจ Software และ Application สำหรับการดำเนินธุรกิจโดยรวมเอาบริการพื้นฐาน IaaS, PaaS และ SaaS เข้าไว้ด้วยกัน แพ็คเกจที่ให้บริการถูกออกแบบตามขั้นตอนการทำธุรกิจ (Business Process) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้เฉพาะที่เหมาะสมกับกระบวนการทางธุรกิจแต่ละประเภท แพ็คเกจที่นำมาให้บริการเป็นการเลือกใช้เฉพาะทางหลาย Application มารวมกัน ซึ่งการให้บริการแบบ BPaaS จะต้องสามารถวัดผลประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการใช้แอพลิเคชั่นที่ใช้งานได้
ลักษณะเฉพาะของคลาวด์คอมพิวติ้ง
คลาวด์คอมพิวติ้ง มีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้:
ความคล่องตัวสำหรับองค์กรอาจได้รับการปรับปรุง เนื่องจากการประมวลผลแบบคลาวด์อาจเพิ่มความยืดหยุ่นของผู้ใช้ด้วยการจัดสรรใหม่ เพิ่มหรือขยายทรัพยากรโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี
การลดต้นทุนถูกอ้างสิทธิ์โดยผู้ให้บริการระบบคลาวด์ การกำหนดราคาตามการคำนวณยูทิลิตี้เป็นแบบ "ละเอียด" พร้อมตัวเลือกการเรียกเก็บเงินตามการใช้งาน สำหรับการดำเนินโครงการที่ใช้การประมวลผลแบบคลาวด์ พื้นที่เก็บข้อมูลที่ทันสมัยของโครงการ e-FISCAL โดยส่วนใหญ่การประหยัดต้นทุนขึ้นอยู่กับประเภทของกิจกรรมที่รองรับและประเภทของโครงสร้างพื้นฐานที่มี ในบ้าน
ความเป็นอิสระของอุปกรณ์และตำแหน่ง ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบโดยใช้เว็บเบราว์เซอร์โดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งของพวกเขาหรืออุปกรณ์ที่พวกเขาใช้ และเข้าถึงได้ทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อได้จากทุกที่
การบำรุงรักษาแอปพลิเคชั่นคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดตั้งในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้แต่ละราย และสามารถเข้าถึงได้จากที่ต่างๆ
โมเดลการปรับใช้ระบบประมวลผลแบบคลาวด์
1. แบบส่วนตัว (private cloud) เป็นระบบที่มีการใช้งานเฉพาะภายในองค์กรหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น และเหมาะสําหรับผู้ใช้ที่ต้องการการควบคุมหรือการปรับแต่งตามความต้องการโดยเฉพาะ
2. แบบสาธารณะ (Public cloud) เป็นระบบที่ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการเหล่านั้นผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทันทีโดยผู้ใช้จะได้สิทธิ์ในการใช้งานขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ เช่น Google Doc, Amazon Web Service
3. แบบผสม (Hybrid cloud) ระบบที่ทําหน้าที่เชื่อมโยงการใช้งานระหว่างระบบการประมวลผลแบบคลาวด์ส่วนตัวและคลาวด์สาธารณะเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวบนระบบประมวลผลแบบคลาวด์
การรักษาความปลอดภัยระบบคลาวด์คืออะไร
การรักษาความปลอดภัยของระบบคลาวด์ ต้องใช้นโยบาย เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และแอพรวมกันเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลเกี่ยวกับงานที่จัดเก็บออนไลน์ การปกป้องข้อมูลบนระบบคลาวด์ บังคับใช้กับศูนย์ข้อมูลในสำนักงานอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาความปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานของระบบคลาวด์ไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์
การประมวลผลแบบคลาวด์ช่วยทำให้การบริหารจัดการด้านไอทีง่ายขึ้น ด้วยซอฟต์แวร์และแอพเพื่อควบคุมและตรวจสอบข้อมูลจากระยะไกลในสภาพแวดล้อมระบบคลาวด์ นอกจากนี้ ผู้ให้บริการคลาวด์ที่เหมาะสมยังช่วยทำให้ทีมและองค์กรสามารถจัดเก็บข้อมูลและปรับขนาดได้อย่างรวดเร็ว
การรักษาความปลอดภัยระบบคลาวด์ทำงานอย่างไร
ผู้ให้บริการคลาวด์และบริการพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ใช้เครือข่ายของกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ศูนย์ข้อมูลที่ปลอดภัยที่เชื่อมต่อกันเพื่อจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลออนไลน์ของคุณ โซลูชันคลาวด์ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น SaaS, PaaS, IaaS ต่างใช้รูปแบบเครือข่ายที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้
ข้อดีของระบบประมวลผลแบบคลาวด์
1. ระบบการประมวลผลแบบคลาวด์หรือระบบคลาวด์ มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนขนาด(scalability) ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงระดับของการทำงานตามขนาดของผู้ใช้ไม่ว่าจะเปลี่ยนจากงานที่มีปริมาณมากไปสู่งานที่มีปริมาณน้อย ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุน ระบบคลาวด์ยังยืดหยุ่น รองรับการทำงานที่มีปริมาณน้อยไปสู่การทำงานที่มีปริมาณมากได้เป็นผลทำให้เกิดประสิทธิภาพ (performance) ในการรองรับผู้เข้าใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา ตามความนิยม หรือตามการทำโปรโมชั่นได้ดีอีกทั้งระบบคลาวด์ยังสามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก ๆ ได้พร้อมกัน ก่อให้เกิดความเชื่อถือในระบบได้เป็นอย่างดี
2. ระบบการประมวลผลแบบคลาวด์เพิ่มความสามารถในการใช้งานระบบได้โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระบบและเข้าถึงข้อมูลไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด ซึ่งหมายความว่า ผู้ใช้ไม่จำเป็นจะต้องเข้าถึงข้อมูลจากสถานที่ตั้งของอุปกรณ์นั้น ๆ อีกต่อไปนั่นเอง
3. ระบบการประมวลผลแบบคลาวด์ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในระบบทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ถือว่าเป็นการลดค่าใช้จ่ายในส่วนของการจัดซื้อและการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ รวมทั้งการจัดซื้อซอฟต์แวร์และการปรับปรุงรุ่นของซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย นอกจากนั้น ยังสามารถลดต้นทุนในส่วนของสถานที่และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ได้อีกด้วย (เอกชัย บ่ายคล้อย, 2560)
ข้อจำกัดและข้อเสีย
ในระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง การควบคุมโครงสร้างพื้นฐานส่วนหลังจำกัดเฉพาะผู้จำหน่ายระบบคลาวด์เท่านั้น ผู้ให้บริการระบบคลาวด์มักตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายการจัดการ ซึ่งจะกลั่นกรองสิ่งที่ผู้ใช้ระบบคลาวด์สามารถทำได้ในการปรับใช้
ผู้ใช้คลาวด์ยังถูกจำกัดให้ควบคุมและจัดการแอปพลิเคชัน ข้อมูล และบริการของตน ซึ่งรวมถึงdata caps ซึ่งวางบนผู้ใช้ระบบคลาวด์โดยผู้ขายระบบคลาวด์ที่จัดสรรแบนด์วิดธ์จำนวนหนึ่งสำหรับลูกค้าแต่ละรายและมักใช้ร่วมกันระหว่างผู้ใช้ระบบคลาวด์รายอื่น
ความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับเป็นปัญหาใหญ่ในบางกิจกรรม ยกตัวอย่างเช่นนักแปลสามารถทำงานภายใต้ข้อกำหนดในนั้น NDA อาจประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลที่สำคัญที่ไม่ได้เข้ารหัส
การประมวลผลแบบคลาวด์เป็นประโยชน์ต่อหลายองค์กร ช่วยลดต้นทุนและช่วยให้สามารถมุ่งเน้นไปที่ความสามารถแทนเรื่องของไอทีและโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตาม คลาวด์คอมพิวติ้งได้พิสูจน์แล้วว่ามีข้อจำกัดและข้อเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและการหยุดทำงาน จากเหตุขัดข้องทางเทคนิคเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และเกิดขึ้นในบางครั้งเมื่อผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (CSP) ถูกครอบงำในกระบวนการให้บริการลูกค้าของตน ซึ่งอาจส่งผลให้มีการระงับธุรกิจชั่วคราว เนื่องจากระบบของเทคโนโลยีนี้ต้องอาศัยอินเทอร์เน็ตผู้ใช้งานจึงไม่สามารถเข้าถึงแอปพลิเคชัน เซิร์ฟเวอร์ หรือข้อมูลจากระบบคลาวด์ระหว่างที่ไฟฟ้าดับได้
ประโยชน์ของการประมวลแบบคลาวด์สำหรับธุรกิจ
คลาวด์สำหรับธุรกิจ มีประโยชน์ของการประมวลผลระบบคลาวด์นั้นเหนือกว่าบทบาทในฐานะโซลูชันพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่ใช้งานง่าย การประมวลผลระบบคลาวด์ได้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิผล ประสิทธิภาพ การเติบโต และการจัดระเบียบสถานที่ทำงานที่ทันสมัย ประโยชน์หลักบางส่วนของการประมวลผลระบบคลาวด์สำหรับธุรกิจมีดังนี้
ค่าใช้จ่าย เป็นการบริการแบบจ่ายตามการใช้งาน จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลง ไม่เพียงแต่ในส่วนของฮาร์ดแวร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจ้างพนักงานและการใช้พลังงานอีกด้วย นอกจากนี้ การใช้เวลาน้อยลงในการจัดการปัญหาด้านไอทีก็ทำให้คุณมีเวลาให้ความสำคัญกับเป้าหมายของคุณมากขึ้นอีกด้วย
การกู้คืนความเสียหาย การสํารองข้อมูลไฟล์และข้อมูลที่สําคัญทั้งหมดของคุณไปยังคลาวด์นั้นจะให้การป้องกันเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ดังนั้นคลาวด์จึงให้การบริการที่สำคัญอย่างยิ่งโดยการสำรองข้อมูลของคุณบนเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ในหลายๆ ที่
การปกป้องข้อมูลและความปลอดภัย ผู้ให้การบริการคลาวด์ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและการปกป้องข้อมูลของคุณเป็นอันดับแรก ซึ่งจะมีการเข้ารหัสทั้งหมด และโดยส่วนใหญ่แล้ว คุณจะสามารถตั้งค่าความปลอดภัยบนคลาวด์ของคุณเองได้ เช่นเดียวกับตู้นิรภัยของธนาคารซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดในการเก็บรักษาของมีค่า คลาวด์ก็ได้รับการออกแบบให้เป็นวิธีการจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยที่สุด
ความสามารถในการปรับขนาด การประมวลผลระบบคลาวด์ช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการเติบโต ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมเสมือนจริงเพื่อช่วยในการเติบโตนี้ได้ การบริการประมวลผลระบบคลาวด์ที่คุณจ่ายเฉพาะสิ่งที่คุณใช้เท่านั้น
ความยืดหยุ่น เนื่องจากมีการเก็บและดำเนินการทุกอย่างผ่านคลาวด์ จึงมีความยืดหยุ่นในการทำงานจากทุกที่ในโลก การประมวลผลระบบแบบคลาวด์จึงมีบทบาทพื้นฐานในการช่วยให้บริษัทต่างๆ ทำงานได้แบบเสมือนจริง นอกจากนี้ การประมวลผลระบบแบบคลาวด์ยังช่วยให้สามารถเข้าถึงและทำงานกับไฟล์และข้อมูลจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อีกด้วย ซึ่งมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ
การทำงานร่วมกัน ไม่เพียงแต่จะสามารถบันทึกไฟล์ลงบนคลาวด์ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างและแก้ไขไฟล์บนคลาวด์ซึ่งเป็นการกระตุ้นการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย การประมวลผลระบบแบบคลาวด์สามารถช่วยให้ทีมงาน 10 คนทำงานจากสถานที่ต่างๆ ในเอกสารเดียวกันได้ ซึ่งทำให้การจัดการองค์กรและทรัพยากรภายในทีมนั้นง่ายขึ้นกว่าที่เคย
ประโยชน์ของการประมวลผลระบบคลาวด์สำหรับการใช้งานส่วนตัว
ประโยชน์ที่ชัดเจนคือ สามารถประหยัดพื้นที่จัดเก็บบนคลาวด์ การบันทึกไฟล์ทั้งหมดไว้ในพื้นที่เสมือนแห่งเดียวที่ไม่กินพื้นที่ส่วนตัว จะช่วยให้จัดระเบียบและควบคุมทุกอย่างไปพร้อมกับช่วยให้ประหยัดเงินในการซื้อฮาร์ดแวร์ได้ และยังช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ในการย้ายไฟล์จำนวนมากไปยังคลาวด์ได้อีก ในขณะเดียวกัน ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานง่ายบนคลาวด์อย่าง Dropbox Paper จะช่วยประหยัดพื้นที่ได้มากและทำให้ทุกอย่างเป็นระเบียบได้ ซอฟต์แวร์นี้ส่วนใหญ่สามารถใช้เป็นแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือแอปพลิเคชันสำหรับเว็บ ดังนั้นการใช้ซอฟต์แวร์บนคลาวด์จะสามารถทำงานและสร้างงานจากอุปกรณ์ใดก็ได้จากทุกๆ ที่ และการแบ่งปันจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นด้วย โดยสามารถตั้งค่าอัลบั้มรูปภาพร่วมกันที่ทุกคนในครอบครัวของคุณสามารถเข้าถึงได้
ประโยชน์ของการประมวลผลระบบคลาวด์นั้นเห็นได้ชัดเจนไม่ว่าจะใช้ที่บ้านหรือที่ทำงาน เพราะคลาวด์สามารถเพิ่มประสิทธิผล ปรับปรุงองค์กร เพิ่มความร่วมมือ และลดค่าใช้จ่าย ไปพร้อมๆ กับรักษาความปลอดภัยและปกป้องข้อมูลได้
แนวโน้มบริการประมวลผลแบบคลาวด์
ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ยังได้เร่งการปรับเปลี่ยนมาใช้การประมวลผลบนระบบคลาวด์ (Cloud computing) เมื่อบริษัทหันมาให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นขององค์กร ระบบการทำงานที่มีความซ้ำซ้อน และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ในช่วงการระบาดของ coronavirus นั้นการประมวลผลบนระบบคลาวด์ได้ช่วยเรื่องการทำงานแบบระยะไกลสำหรับองค์กรต่างๆ ทั่วโลก โดยทีมงานที่อยู่กันคนละสถานที่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มการทำงานแบบรวม ซึ่งนอกเหนือจากการมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนด้วยการไม่ต้องซื้อหรือบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผลแล้ว การประมวลผลแบบคลาวด์นี้ยังได้ให้ความรวดเร็วในการเชื่อมต่อมากขึ้นรวมถึงการปรับใช้และอัพเกรดซอฟต์แวร์ตลอดจนแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ
รายได้จากการให้บริการระบบคลาวด์ทั่วโลกสูงถึง 266.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 15% ในช่วงสองปีข้างหน้า ดังแสดงในรูปที่ 1 ข้อมูลจาก International Data Corporation ระบุว่าในปัจจุบันเม็ดเงินในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ Cloud Computing นั้นมีสัดส่วนที่สูงกว่าหนึ่งในสามของการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีทั่วโลก
รูปที่ 1: รายได้จากการให้บริการระบบคลาวด์แบบสาธารณะทั่วโลก (หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
ที่มา: https://www.tmbameastspring.com/insights/asian-tech-5-key-trends-for-the-future
สรุป
บริการประมวลผลแบบคลาวด์คือการให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีทั้งหมด โดยไม่ต้องมีความรู้เชิงลึกหรือเชี่ยวชาญกับแต่ละเทคโนโลยี ระบบคลาวด์มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนและช่วยให้ผู้ใช้มุ่งเน้นที่ธุรกิจหลักของตน โดยแบ่งการบริการเป็น 3 ประเภทคือ 1) แบบส่วนตัว Private cloud 2) แบบสาธารณะ Public cloud และ 3) แบบผสม Hybrid cloud เพิ่มความเร็วในการดำเนินงานด้านไอทีและลดค่าใช้จ่าย โดยโครงสร้างพื้นฐานของการเพิ่มการใช้ประโยชน์ การประมวลผลอัตโนมัติทำให้กระบวนการที่ผู้ใช้สามารถจัดเตรียมทรัพยากรได้ตามต้องการโดยอัตโนมัติ ด้วยการลดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ ระบบอัตโนมัติจะเร่งกระบวนการ ลดต้นทุนแรงงาน และลดความเป็นไปได้ที่จะเกิดข้อผิดพลาดจากมนุษย์และควรศึกษาข้อดี ข้อจำกัดและข้อเสีย รวมถึงเลือกการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร
ข้อเสนอแนะ
สำหรับองค์กรธุรกิจต่างๆที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านไอทีและประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนอุปกรณ์และการติดตั้งระบบเซิร์พเวอร์ในองค์กร เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทางด้านไอทีในการเปลี่ยนหรืออัพเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัยและยังสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคลากรทางด้านไอทีในการดูแลระบบปฏิบัติการที่ค่อนข้างสูงในแต่ละปี สามารถช่วยให้ธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น โดยเลือกการใช้บริการระบบประมวลแบบคลาวด์ทั้ง 3 บริการ ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ ทั้งยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับยุคเศรษฐกิจของการระบาดโรคโควิด 19 นี้ เพราะบางธุรกิจยังต้องให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน ซึ่งบริการระบบประมวลแบบคลาวด์จึงสามารถตอบสนองความต้องการของการดำเนินธุรกิจในขณะนี้และอนาคตได้
บรรณานุกรม
ชินดนัย สังคะคุณ. (2558). การจัดเก็บภาษีเงนได้นิติบุคคลจากการให้บริการของบริษัทต่างประเทศ กรณี
การให้บริการประมวลแบบคลาวด์. (ในวิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
เอกชัย บ่ายคล้อย. (2560). บทความความเสี่ยงและความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศในแบบประมวลแบบ
คลาวด์. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม, ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือนมิถุนายน – กันยายน 2560.
aws.amazon.com. (2019). การประมวลผลบนระบบคลาวด์คืออะไร. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564
จากเว็บไซด์: https://aws.amazon.com/th/what-is-cloud-computing/
aws.amazon.com. (2021). ประเภทของการประมวลผลบนระบบคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม
2564 จากเว็บไซด์: https://aws.amazon.com/th/types-of-cloud-computing/?WICC-N=tile&tile=types_of_cloud
dropbox.com. (2021). Cloud คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564 จากเว็บไซด์: https://www.dropbox.com/th_TH/business/resources/what-is-the-cloud
tmbameastspring.com. (2019). Asian Tech: 5 แนวโน้มที่สำคัญเพื่อมุ่งสู่อนาคต. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564 จากเว็บไซด์:
https://www.tmbameastspring.com/insights/asian-tech-5-key-trends-for-the-future
wikipang.com. (2021) คลาวด์คอมพิวติ้ง. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2564 จากเว็บไซด์:
https://wikipang.com/wiki/Cloud_computing
.salesforce.com. (2021). การประมวลผลแบบคลาวด์ - เข้าถึงแอปมากมายเพียงแค่ปลายนิ้ว. สืบค้นเมื่อ
25 กรกฎาคม 2564 จากเว็บไซด์: https://www.salesforce.com/th/cloudcomputing/