การวัดคุณภาพกำไรจากงบกระแสเงินสด
01
Feb
การวัดคุณภาพกำไรจากงบกระแสเงินสด
PROFIT QUALITY MEASUREMENT FROM CASH FLOW
ชญาดา จวงสังข์
Chayada Juangsang
E-mail: somchayada@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน กรุงเทพ
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เพื่อ ตรวจสอบการได้มาและใช้ไปของเงินสดในบริษัท ซึ่งจะเป็นส่วนอธิบายของงบดุลและงบกำไรขาดทุนงบกระแสเงินสดจะมีส่วนสำคัญมากเกี่ยวกับสภาพคล่องของบริษัท นั่นหมายความว่า ยิ่งบริษัทมีเงินสดในมือมากเท่าไหร่ จะแสดงถึงความสามารถในการดำเนินการหรือตอบสนองการกระทำใดของบริษัทได้อย่างทันทีทันใดเปรียบเทียบกับบริษัทที่มีสินทรัพย์เป็นพันล้านแต่มีเงินสดอยู่เพียงแค่สามล้าน และหนี้สินระยะสั้นอีก หากไม่สามารถขายสินค้าได้ บริษัทก็จะขาดสภาพคล่องทันทีและต้องทำการกู้ยืมเงินมาเพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งการกู้ยืมก็นำมาซึ่งดอกเบี้ยและหนี้สิน มาเสริมหนี้สินส่วนที่มีอยู่แล้วให้มากยิ่งขึ้นไปอีก แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการที่ไม่รัดกุม การศึกษาครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์งบกระแสเงินสดจากการรายงานทางการเงินโดยมุ่งหวังเพื่อสร้างกำไรส่งผลให้องค์กรบางแห่งต้องปิดตัวลง ดังนั้นผู้ที่มีส่วนได้เสียในแต่ละองค์กรจึงควรแสวงหาเครื่องมีอในการวัดคุณภาพกำไรเพื่อให้สะท้อนข้อเท็จจริง
คำสำคัญ : การวัดคุณภาพกำไร, งบกระแสเงินสด
Abstract
Analyzing cash flow statements to monitor the acquisition and use of cash in the company, which explains the balance sheet and income statement, the cash flow statement will play a very important part in the liquidity of the Company, which means that the more cash on hand, the more it will show the ability to act or respond to any of the Company's actions suddenly compared to companies with billions of assets but only three million in cash and short-term liabilities. If the goods cannot be sold, the company will immediately lack liquidity and must borrow money to enhance liquidity, which brings interest and debt to supplement existing debts even further. Demonstrates non-concise conduct This study to analyze cash flow statements from financial reporting aimed at profitable profits has resulted in some organizations shutting down. Therefore, those who have a stakeholder in each organization should seek a profit quality measure to reflect the facts.
Keywords : Earnings Quality Measurement, Cash Flow
บทนำ
นักลงทุนที่มองงบกระแสเงินสดได้อย่างทะลุปรุโปร่ง จะมีโอกาสประเมินศักยภาพในการลงทุนกับบริษัทต่างๆ ได้อย่างแม่นยำมากกว่า เพราะเห็นสภาพคล่อง และความสามารถในการจ่ายเงินของบริษัทนั้นๆ นอกจากนี้งบกระแสเงินสดยังมีประโยชน์ต่อนักลงทุนอีกหลายข้อ เช่นสามารถประเมินศักยภาพในการทำกำไรและดำเนินกิจการรวมถึงการชำระหนี้ จ่ายเงินปันผล และค่าตอบแทนอื่นๆ จากบริษัทได้ หากกำลังพิจารณาซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ออกโดยบริษัทนั้นๆ ทราบที่มาที่ไปของเงินสดภายในบริษัท รวมทั้งสภาพหนี้สิน และการลงทุนมองเห็นโครงสร้างทางการเงินว่าบริษัทนั้นมีความแข็งแรงดีหรือไม่ ทั้งของบริษัทเองและตัวเจ้าของ เพื่อให้มองเห็นความเสี่ยงในการลงทุนนักลงทุนคงทราบดีอยู่แล้วว่า ไม่ว่างบการเงินในอดีตจะดีมากเท่าไหร่ก็ไม่ได้หมายความว่า่ในอนาคตบริษัทนั้นๆ จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนตลอดไปเพราะปัจจัยความเสี่ยงในการลงทุนอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ด้วยผลกระทบทั้งภายนอกและภายในตัวบริษัทเอง แต่การอ่านงบกระแสเงินสดอย่างน้อยจะช่วยให้นักลงทุนมองเห็นภาพรวมและทิศทางการดำเนินกิจการของบริษัทนั้นๆ ซึ่งช่วยในการตัดสินใจได้ดี
วัตถุประสงค์
- เพื่อวิเคราะห์คุณภาพที่แท้จริงของกำไร
- เพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นกรองเบื้องต้นสำหรับการตัดสินใจ
- เพื่อให้ผู้บริหารงานสามารถวิเคราะห์เหตุการณ์เกิดขึ้นเกี่ยวกับงบกระแสเงินสด
- เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
- เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจ
- เพื่อให้ผู้บริหารทราบถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ทำให้กิจการสามารถนำกำไรดังกล่าวไปเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของกิจการอื่นในธุรกิจเดียวกัน
คุณภาพกำไร หมายถึง ความสามารถของกำไรในปัจจุบันเพื่อใช้พยากรณ์กำไรในอนาคตได้ กำไรจะมีคุณภาพดี ถ้าไม่มีการกลับรายการกำไรจากที่เคยพยากรณ์ไว้ แต่ถ้ามีการกลับรายการกำไรที่เคยพยากรณ์ไว้ แสดงว่ากำไรมีคุณภาพไม่ดีหรือต่ำถ้าผู้วิเคราะห์ไม่สามารถตรวจพบว่ากำไรมีคุณภาพต่ำ และผู้วิเคราะห์ใช้กำไรที่มีคุณภาพต่ำในการพยากรณ์หรือแปลความหมายต่างๆ ย่อมมีผลทำให้การพยากรณ์หรือการแปลความหมายนั้นผิดพลาดไปจากความเป็นจริง ซึ่งจะส่งผลอย่างร้ายแรงต่อราคาตลาดของหุ้นของกิจการนั้นจนตกต่ำลงอย่างมากเรียกว่าทอร์ปิโด (Torpedo) ดิ่งลงเหวเมื่อต่อมาภายหลังผู้วิเคราะห์พบว่า กำไรที่พยากรณ์ไว้นั้นผิดพลาด เกิดความตกใจจากกำไร (Earnings Surprises)เพราะว่ากำไรที่เกิดขึ้นจริงภายหลังมีทิศทางตรงกันข้ามกับกำไรที่พยากรณ์ไว้เดิม
The Financial Accountings Standard Board (FASB) อ้างถึงใน วรศักดิ์ ทุมมานนท์(2543) ได้ให้คำนิยามของคุณภาพกำไรไว้ว่า หมายถึง กำไรที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติ สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสดที่เพียงพอต่อเปลี่ยนแทนสินทรัพย์ที่เสื่อมค่าได้และเป็นกำไรที่มาจากรายได้ที่เกิดขึ้นประจำ รวมทั้งกิจกรรมที่มีนัยสำคัญที่ก่อให้เกิดกำไร ได้ดำเนินการแล้วเสร็จสิ้นแล้ว Richardson (2003) คุณภาพกำไร หมายถึง การเกิดกำไรอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอติดต่อกันไปเรื่อย ๆ ตลอดเวลา อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ (2551) หมายถึง การใช้วิธีการและข้อสมมุติทางการบัญชีซึ่งไม่ทำให้รายได้และกำไรในรายงานทางการเงินสูงกว่าที่จะเป็น อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา (2552) คุณภาพกำไร หมายถึง ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอันเกิดจากผลการดำเนินงานของกิจการ และกิจการสามารถนำไปใช้ประโยชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
ดังนั้นคุณภาพกำไร หมายถึง ผลจาการดำเนินธุรกิจที่มีรายได้มากกว่ารายจ่าย และยังสามารถที่จะนำไปสร้างเป็นกระแสเงินสด เพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการได้อย่างเพียงพอ แบบต่อเนื่อง โดยปราศจากการต่อตัวเลขนารายงานทางการเงิน
ลักษณะของกำไรที่มีคุณภาพ
กำไรที่มีคุณภาพควรพิจารณาว่ามีลักษณะดังต่อไปนี้
1. กำไรที่เกิดจากหลักการบัญชีแบบระมัดระวัง (Conservative Accounting)
2. กำไรที่มีเสถียรภาพหรือความมั่นคงอย่างยั่งยืน (Sustainable) สูง ไม่ผันผวนขึ้นลงอย่างมากไปจากเส้นแนวโน้มกำไรในอดีต (Earnings Trend Line)
3. กำไรที่เป็นเงินสด (Cash Earnings) สามารถนำไปจัดสรรจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ (Distributable Cash)
4. กำไรที่เกิดจากการดำเนินงานหลักตามปกติของกิจการอย่างต่อเนื่อง รายการบัญชีที่เข้าใจง่าย และเกิดขึ้นเป็นประจำ (Recurring Items)
5. กำไรที่สะท้อนผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นตรงตามความเป็นจริง และสามารถใช้คาดคะเนกำไรในอนาคตได้ (Predictable Earnings)
ประโยชน์ของคุณภาพกำไร
คุณภาพกำไรนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างที่สำคัญ ได้แก่
1. ใช้ประเมินความเสี่ยงของหลักทรัพย์ กิจการที่มีคุณภาพกำไรสูงย่อมมีความเสี่ยงต่ำกว่ากิจการที่มีคุณภาพกำไรต่ำ
2. ใช้ค้นหาสัญญาณเตือนภัยของข้อมูลทางการบัญชีในงบการเงิน
3. ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของกิจการการวิเคราะห์คุณภาพกำไรของกิจการในอีกมุมหนึ่งจากข้อมูลงบการเงินเปรียบเทียบของกิจการอย่างน้อย 3 ปีที่จะต้องพิจารณารายการกำไรของกิจการแสดงผลกำไรสุทธิเติบโตทุกปี ย่อมบอกถึงอนาคตของกิจการจะมีการเติบโตที่ดี แต่จะเติบโตได้อย่างทีวางแผนไว้หรือไม่คงต้องเปรียบกับงบประมาณที่กิจการได้กำหนดไว้หากในแต่ละปีของกิจการแสดงผลกำไรมีอัตราไม่แน่นอน มีขึ้นมีลง หรือบางปีมีผลขาดทุน ความมั่นคงในกำไรของกิจการไม่แน่นอน หากเป็นเช่นก็ถือว่าคุณภาพกำไรของกิจการไม่ดีเช่นกันอย่างไรก็ตามการวิเคราะห์งบการเงินนอกจากเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้วิเคราะห์แล้ว ผู้วิเคราะห์ต้องมีประสบการณ์ในการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ของธุรกิจ ทั้งปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอกทั้งหลายนำเสนข้อเท็จจริงในบทวิเคราะห์เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินได้รับรู้และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริงคุณภาพกำไรจึงเป็นสิ่งหนึ่งที่ควรพิจารณา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ร่วมกับเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งข้อมูลงบการเงินจะเชื่อถือได้เพียงใดขึ้นกับนักบัญชีที่รับผิดชอบจะต้องทำหน้าที่ให้สมบูรณ์อย่างถูกต้อง
งบกระแสเงินสด
จากมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552) ของสภาวิชาชีพในพระบรมราชากมาตรฐานการบบัญชีฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552)ของสภาวิช'ชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ให้ความหมายของคำว่า "กระแสเงินสด" ไว้ว่า หมายถึงการเข้าและออกของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดและยังได้ให้ความหมายของคำว่า "เงินสด" และ "รายการเทียบเท่าเงินสด" ไว้ว่า "เงินสด" หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารที่ต้องจ่ายนเมื่อทวงถามสำหรับ"รายการเทียบเท่าเงินสด" หมายถึง เงินลงทนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงเงินสดในจำนวนที่ทราบได้ และมีความเสี่ยงที่ไม่มีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าจากความหมายดังกล่าวข้างต้นทำให้ทราบได้ว่าเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดนั้นมีความสำคัญต่อธุรกิจเพราะเป็นส่วนที่จะสามารถนำไปหมุนเวียนในการจ่ายค่าใช้จ่าย รวมถึงหนี้สินต่างๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์จึงกำหนดให้บริษัทจดทะเบียนต้องส่งงบกระแสเงินสด
เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียทราบถึงที่มาที่ไปของเงินสดที่กิจการได้นำเสนอโดยปกติแล้วเงินสดถูกจัดให้เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน(Current Assets) ที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด ด้วยเหตุนี้งบกระเสเงินสดจึงเป็นงบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดที่เกิดขึ้นระหว่างปี และยังสามารถทำให้ทราบถึง แหล่งที่มาและแหล่งใช้ไปของเงินสด ที่เกิดจากกิจกรรมในการประกอบธุรกิจ 3 กิจกรรมคือ กิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงินทุนในขณะเดียวกันงบกระแสเงินสดก็ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเกณฑ์คงค้างอีกด้วย
1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Cashflow from Operations Activities) เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสเงินสดที่ได้มาหรือใช้ไปในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อรายการในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าการให้บริการ เช่น การขายสินค้า การซื้อวัตฤดิบและการจ่ายตำแรงงานเงินสดที่จ่ายออกไปหรือได้รับเข้ามาจากการใช้จ่ายและรายได้อื่นๆการรับชำระหนี้และจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น ด้วยเงินสด
2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (Cashflow from Investing Activities) สำหรับกิจกรรม
ที่สอง เป็นกิจกรรมที่สะท้อนการใช้จ่ายเงินสดเพื่อการลงทุน ในส่วนของการซื้อขายเงินลงทุนและการซื้อขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รายการที่ส่งผลให้กระแสเงินสดเพิ่มขึ้นได้แก่ การขายสินทรัพย์ประเภท ที่ดิน อาคารอุปกรณ์ รวมถึง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุนและหุ้นกู้ สำหรับรายการที่ส่งผลให้กระแสเงินสดลดลงได้แก่ การซื้อสินทรัพย์ประเภท ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์รวมถึง การซื้อเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหุ้นทุนและหุ้นกู้ของกิจการอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีรายการอื่นๆ อีก เช่นเงินสดที่ให้กิจการอื่นกู้ยืมเงิน เงินสดที่นำไปฝากประจำและมีภาระผูกพันเงินสดที่ได้รับจากการจ่ายเงินปันผล
3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Cashflow from Financing Activities) เป็นกิจกรรม
ที่สะท้อนให้เป็นถึงการนำเงินสดไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
ซึ่งอาจจะได้มาจาก แหล่งเงินภายนอกหรือแหล่งเงินภายใน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารว่าต้องการที่จะทำให้โครงสร้างของเงินทุนมีสัดส่วนเป็นอย่างไร เช่นเงินสดที่ใด้รับจากการออกหุ้นกู้หรือหุ้นสามัญของกิจการ
เงินสดที่ได้รับจากการกู้ยืมเงินเงินสดที่จ่ายออกไปเพื่อชำระหนี้สิน เงินสดที่จ่ายออกไปเพื่อการไถ่ถอนหุ้นกู้ของกิจการการวิเคราะห์คุณภาพกำไรด้วยอัตราส่วนจากการวิเคราะห์คุณภาพกำไรด้วยอัตราส่วนจากงบกระแสเงินสด วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (2543) ได้กล่าวถึงเทคนิคในการวิเคราะห์คุณภาพกำไร โดยใช้อัตราส่วนจากงบกระแสเงินสด ซึ่งสามารถกำหนดได้รวม 7 อัตราส่วน ดังนี้
1. ความพอเพียงของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow Adequacy)
2. ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating Cash Index)
3.ผลกระทบของค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสด (Depreciation
Amortization Impact Ratio)
4. อัตราส่วนการนำไปลงทุนต่อ (Reinvestment Ratio)
5. เงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเมื่อเทียบกับแหล่งที่มาของกระแสเงินสด (Capital Investment per Dollar of Cash)
6. อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio)
7. อัตราผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดต่อสินทรัพย์รวม (Cash Flow Return on Assets)
และผลที่ได้จากการคำนวณจะนำไปเทียบกับค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม เพื่อให้สะท้อนถึงคุณภาพกำไรของกิจการเมื่อพิจารณาร่วมกับภาพรวมของอุตสาหกรรมเดียวกันหรืออาจจะนำไปเปรียบเทียบกับอัตราส่วนของกิจการในอดีตเพื่อจะได้ทราบถึงความสามารถในการบริหารงานเพื่อก่อให้เกิดกำไรของผู้บริหารว่ามีความต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งความต่อเนื่องของกำไรก็จะเป็นการสะท้อนถึงคุณภาพของกำไรอีกด้วย
อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด
1. ความพอเพียงของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow Adequacy) เป็นอัตราส่วนความพอเพียงของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เป็นอัตราส่วนที่ต้องการชี้ให้เห็นถึงการที่กิจการจะนำเอากระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินงานมาหมุนใช้ หากจะทำการวิเคราะห์แยกแต่ละรายการ
2 ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating Cash Index) ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เป็นดัชนีที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในกรสร้างกระแสเงินสดจากการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิ/ซึ่งอาจจะแบ่งการวิเคราะห์ได้เป็น 3 กรณี คือ
2.1 ถ้าหากอัตราส่วนนี้มีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่ากำไรสุทธิตามเกณฑ์คงค้างมีมูลค่าเท่ากับกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หรืออาจจะหมายความว่า กิจการสามารถเปลี่ยนกำไรสุทธิมาเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้พอดี
2.2 หากอัตราส่วนนี้มีค่ามากกว่า 1 แสดงให้เห็นว่ากำไรสุทธิตามเกณฑ์คงค้างมีมูลค่าน้อยกว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานหรืออาจจะหมายความว่ากิจการสามารถเปลี่ยนกำไรสุทธิให้เป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงานได้และยังมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเหลือแสดงให้เห็นถึงกำไรของกิจการเป็นกำไรที่มีคุณภาพ
2.3 หากอัตราส่วนมีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่ากำไรสุทธิตามเกณฑ์คงค้างมีมูลค่ามากกว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานหมายความว่า กิจการไม่สามารถเปลี่ยนกำไรสุทธิให้เป็นกระแสเงินสดได้อย่างเพียงพอ
3. ผลกระทบของค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสด (Depreciation Amortization Impact Ratio) อัตราส่วนผลกระทบของค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายที่มีต่อกระแสเงินสด เป็นการแสดงถึงปริมาณของค่าเสื่อมราคาและค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายเพื่อเปรียบเทียบกับกระแสเงินสดจากการดำเนินงานซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายมีมากเป็นกี่เท่าของกระแสเงินสด นั่นก็คืออัตราการส่งผลต่อกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน
4. อัตราส่วนการนำไปลงทุนต่อ (Reinvestment Ratio) อัตราส่วนการนำไปลงทุนต่อ เป็นอัตราส่วนที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการเงินสดที่จะต้องนำไปลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ว่ามีมากหรือน้อยกว่าเงินสดที่ได้รับจากการขายสินทรัพย์ อัตราส่วนนี้ถ้ามีค่าต่ำจะแสดงให้เห็นถึงจำนวนเงินสดที่จะนำไปลงทุนในสินทรัพย์นั้นน้อยกว่าเงินสดที่ได้จากการขายสินทรัพย์และเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการเปรียบเทียบจึงจำเป็นต้องนำค่าเสื่อมราคามาบวกกลับคืนในเงินสดที่ได้รับจากการขายสินทรัพย์ด้วย เพราะในการซื้อสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนนั้นสินทรัพย์ส่วนใหญ่เป็นสินทรัพย์ที่ต้องตัดค่าเสื่อมราคาออกจากราคาทุน
5. เงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเมื่อเทียบกับแหล่งที่มาของกระแสเงินสด (Capital Investment per Dollar of Cash) อัตราส่วนเงินลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเมื่อเทียบกับแหล่งที่มาของกระแสเงินสุดแต่และแหล่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงมูลค่าการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ได้ลงทุนไปนั้น มีมูลค่ามากหรือน้อยเมื่อเทียบกับแหล่งที่มาของกระแสเงินสดแต่ละแหล่งอาจกล่าวได้ว่ากระแสเงินสดที่ได้รับมามีเพียงพอต่อการลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือไม่ อัตราส่วนนี้สามารถเปรียบเทียบกับแหล่งที่มาในแต่ละแหล่งเช่น ต้องการเปรียบเทียบกับแหล่งที่มาของกิจกรรมลงทุน ก็สามารถใช้ตัวเลขของกิจกรรมลงทุนในการคำนวณ
6. ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio) อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยเป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงจำนวนกระแสเงินสดที่สามารถนำไปจ่ายดอกเบี้ยได้ ซึ่งอัตราส่วนนี้ยิ่งมีค่าสูงย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามารถของกิจการในการจ่ายดอกเบี้ยได้ดี สำหรับการคำนวณกระแสเงินสดจาการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยและภาษีเงินได้นั้น จะใช้กระแสเงินสดจาการดำเนินงานแล้วบวกกลับด้วยดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้
7. อัตราผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดต่อสินทรัพย์รวม (Cash Flow Return on Assets)
อัตราส่วนผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดต่อสินทรัพย์รวม เป็นการแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนในรูปของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ได้จากการนำสินทรัพย์ไปบริหารให้เกิดประโยชน์ หากอัตราส่วนนี้มีค่าสูงก็จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถบริหารสินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ และถ้าหากกิจการมีค่าอัตราส่วนนี้
สูงติดต่อกันหลายๆ ปีก็จะแสดงถึงกำไรที่มีคุณภาพเนื่องจากเป็นกำไรที่เกิดจากการนำสินทรัพย์ที่มีไปสร้าง
เป็นกำไรที่เป็นกระแสเงินสด
สรุป
กำไรที่มีคุณภาพที่จะส่งผลถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกๆ องค์กร และจากการวัดคุณภาพกำไรด้วยอัตราส่วนงบกระแสเงินสดทั้ง 7 อัตราส่วน ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้น จะเห็นได้ว่าอัตราส่วนความพอเพียงของกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow Adequacy) และ ดัชนีกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Operating Cash Index) น่าจะเป็นอัตราส่วนที่สามารถ การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีการหนึ่ง
นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวมหลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้วแต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีการวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสดการวิเคราะห์กระแสเงินสดนั้นเราจะมุ่งไปที่เงินสดของกิจการเท่านั้น ซึ่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจนไม่เหมือนกับการวิเคราะห์แบบอื่นๆการวิเคราะห์กระแสเงินสด (Cash Flow Analysis) เป็นการวิเคราะห์แหล่งที่มา และแหล่งที่ไปของเงินสด โดย แหล่งที่มา คือ การได้รับเงินเข้ามาในบริษัท แหล่งที่ไป คือ การจ่ายเงินสดออกไปซึ่งจะดูทั้งเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ว่ามีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างงวดบัญชีที่ต้องการวิเคราะห์อย่างไร เงินสด ของกิจการที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นได้มาจากแหล่งใดและมีการใช้เงินไปในเรืองใด เพื่อทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการไหลเวียนของเงินสดในกิจการ การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด คือการที่กิจกรรมมีเงินสดที่ได้รับมา หรือได้จ่ายไปจากกิจกรรมใดเป็นหลัก และมีความสามารถที่จะดำเนินตอ่ไปได้ในอนาคติหรือไม่
งบกระแสเงินสดเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสนใจ โดยเฉพาะบัญชีเงินสดที่ปรากฎอยู่ในงบการเงิน จัดเป็นรายการหนึ่งที่แสดงถึงสภาพคล่องของกิจการว่าเป็นอย่างไร มีความคล่องตัวในการดำเนินเพียงใด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ในส่วนนที่เกี่ยวข้องกับเงินสดเป็นสำคัญ
ข้อเสนอแนะ
ให้รายงานทางการเงินเป็นรายงานที่เชื่อถือได้แล้ว ผู้บริหารต้องใสใจกับคำว่าคุณภาพกำไร ซึ่งได้ให้ความหมายไว้ว่า คือ กำไรจากการดำเนินธุรกิจตามปกติและเกิดขึ้นจากความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารโดยผู้บริหารสามารถบริหารกิจการให้เกิดกำไรอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกำไรที่ปรากฎในรายงานนั้น กิจการได้นำเสนอโดยไม่ได้มีการตกแต่งตัวเลขในรายงานแต่อย่างใด และยังสามารถที่จะนำไปสร้างเป็นกระแสเงินสดเพื่อนำมาใช้หมุนเวียนในกิจการได้อย่างเพียงพอการวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานจะพิจารณาปัจจัยในระดับมหภาคลงมาสู่การแข่งขันในระดับอุตสาหกรรม และในระดับธุรกิจ ที่เป็นไปตามวิธีที่เรียกว่า Top-down approach) นักลงทุนควรมีความเข้าใจลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจและอุตสาหกรรม เพื่อประเมินว่าธุรกิจและอุตสาหกรรมที่วิเคราะห์อยู่นั้นมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยใดในระบบเศรษฐกิจ
บรรณานุกรม
เขียนตามคู่มือวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระของมหาวิทยาลัยศรีปทุม
นฤมล สอาดโฉม. (2550), การบริหารความเสี่ยงองค์กร. กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์. ประชาชาติธุรกิจ ออนไลน์. (2552). เอ็นรอนแห่งอินเดีย "สัตยัมฯ" ย่ำรอยเมดอฟฟ์ ตกแต่งบัญชีสร้างตัวเลขลวงนักลงทุนเกินจริง. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2554, จาก http://www.prachachat.net
ภาพร เอกอรรถพร. (2549). แกะเงื่อนงบการเงิน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
รัตนา วงศ์รัศมีเดือน. (2554). บัญชีเพื่อการจัดการสำหรับผู้ที่ไม่ใช่นักบัญชี. กรุงเทพฯ: วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2543). คุณรู้จัก Creative Accounting และ คุณภาพกำไรแล้วหรือยัง?. กรุงเทพฯ: ไอโอนิคอินเตอร์เทรด รีชอสเชส.
ศศิวิมล มีอำพล. (2546). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: อินโฟไมนิ่ง.
อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์. (2551). การวิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง.
อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพกำไรกับเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(3), 48-66.