การบริหารเงินทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กิจการ

UploadImage
 
UploadImage
 
การบริหารเงินทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กิจการ
THE CAPITAL MANAGEMENT TO CREATE MAXIMUM RETURNS FOR THE BUSINESS
 
ยุภารัตน์ พรประดับ
yuparath pornpradub
yuparath@econ.tu.ac.th
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม


บทคัดย่อ      
          ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงมากยิ่งขึ้น ภายใต้ระบบการค้าเสรี ดังนั้นแต่ละองค์การต้องทำการปรับตัวให้พร้อมที่จะสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ โดยอาศัยปัจจัยในการดำเนินงานที่สำคัญ ซึ่งแต่เดิมจะคุ้นเคยกับ 4 M’s คือ Man, Money, Material และ Management และในปัจจุบันคงจะไม่เพียงพอถ้าต้องการที่จะทำให้องค์การดำเนินงานอยู่ได้และมีความเจริญก้าวหน้า องค์การจะต้องมีข่าวสารหรือข้อมูลที่รวดเร็วและทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) องค์การต้องบริหารปัจจัยเหล่านี้ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยนำหลักบริหารเข้ามาใช้ในทุกๆ ปัจจัยซึ่งถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นการบริหารเงินทุนเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของเงินทุน และกิจการไม่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ
 
คำสำคัญ : การบริหารเงินทุน, ธุรกิจ
 
Abstract
          At present, business operators will face more intense competition. under the free trade system Therefore, each organization must adapt to be ready to be able to defeat its competitors. based on important operational factors. Originally familiar with 4 M's namely Man, Money, Material and Management, and nowadays it is not enough to keep the organization operating and thriving. Organizations must have news or information that is fast and up-to-date. especially information technology. Organizations must manage these limited factors effectively. and maximize benefits by applying management principles in every Factors which are considered necessary and very important. Therefore, capital management is a top priority in order to maximize capital gains. and the business does not lack liquidity in business.
 
Keywords : Capital management, Business
 
บทนำ
          ในปีพ.ศ.2562 เกิดสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทำให้ทั่วโลกเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจจะต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงมากยิ่งขึ้น ภายใต้ระบบการค้าเสรี ดังนั้นแต่ละองค์การต้องทำการปรับตัวให้พร้อมที่จะสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ โดยอาศัยปัจจัยในการดำเนินงานที่สำคัญ ซึ่งแต่เดิมจะคุ้นเคยกับ 4 M’s คือ Man, Money, Material และ Management และในปัจจุบันคงจะไม่เพียงพอถ้าต้องการที่จะทำให้องค์การดำเนินงานอยู่ได้และมีความเจริญก้าวหน้า องค์การจะต้องมีข่าวสารหรือข้อมูลที่รวดเร็วและทันสมัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) องค์การต้องบริหารปัจจัยเหล่านี้ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดโดยนำหลักบริหารเข้ามาใช้ในทุกๆ ปัจจัยซึ่งถือว่ามีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างมาก
           ในการเริ่มต้นทำธุรกิจ เงินทุนถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมากปัจจัยหนึ่ง เพราะไม่ว่าจะทำอะไรก็จำเป็นต้องใช้เงินในการแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จำเป็น วิธีการจัดหาเงินทุนมีหลายรูปแบบ หลายแหล่งที่มา การจะเลือกเงินทุนจากแหล่งใดนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ผู้ประกอบการ เช่น
          เงินทุนส่วนตัว (Self-funding) เป็นเงินที่เกิดจากการออมของผู้ประกอบการเองรวมถึงวงเงินจากบัตรและเงินที่ขอยืมมาจากญาติพี่น้องโดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัว
          การเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร เป็นวิธีมักจะใช้เป็นเป็นจุดเริ่มต้นของการหาทุน แต่ก็อาจเป็นหลักประกันที่น้อยที่สุด เพราะธนาคารอาจยกเลิกวงเงินเชื่อโดยแจ้งอย่างกะทันหันถ้าพิจารณาว่ามีความเสี่ยงสูง
          การระดมทุนจากการขายหุ้น โดยปกติเป็นวิธีการหาเงินโดยธุรกิจขนาดใหญ่และบริษัทที่มีรายชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์ นักลงทุนแสดงความจำนงซื้อหุ้นแล้วรับหุ้นในบริษัทนั้นไปแลกเปลี่ยนกับการลงทุนของพวกเขา เมื่อทุนธุรกิจดูมั่นคงแล้ว เจ้าของอาจขายหุ้นบางส่วนของตนเมื่อต้องการเงินสดก็ได้
 
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อศึกษาการบริหารเงินทุนและนำไปใช้วิเคราะห์ ประเมินผลและบริหารจัดการเงินทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจ
          2. เพื่อนำข้อมูลจากการบริหารเงินทุนของกิจการแต่ละแห่งสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารเงินทุนขององค์กร
 
การศึกษาการบริหารเงินทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนสูงสุดให้กิจการ
          เกี่ยวข้องกับหลายด้านในการบริหารและการตัดสินใจสำหรับการนำเงินไปลงทุน และบริหารจัดการเงินหมุนเวียนภายในกิจการเพื่อให้เกิดสภาพคล่องและได้ประโยชน์สูงสุด
การตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Capital Investment)
          เมื่อบริษัทเติบโต ยอดขายสูงขึ้น ต้องผลิตมากขึ้น สินทรัพย์ถาวรเดิมอาจมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ การตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเพื่อขยายกำลังการผลิต ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งบริษัทที่เก่งจะมองเห็นว่า การตัดสินใจลงทุนครั้งนี้จะทำให้เกิดต้นทุน (Cost) ผลประโยชน์ (Benefit) หรือจะทำให้บริษัทเติบโตในทุกๆ ด้านอย่างไร ซึ่งการเติบโตอย่างมีภูมิคุ้มกันและยั่งยืน จะทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นสูงสุด
การตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน (Capital Structure)
          เมื่อบริษัทตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ถาวรแล้ว ต้องคิดเชื่อมโยงกับการจัดหาเงินทุนด้วย ซึ่งการตัดสินใจทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเงินทุน ประกอบด้วย จำนวนเงินและสัดส่วนของเงินกู้กับการใช้ทุนของโครงการและบริษัทควรเป็นเท่าใด ควรใช้เครื่องมือทางการเงินใดในการจัดหาเงินทุน เช่น กู้ธนาคาร ออกหุ้นกู้ ออกหุ้นสามัญ เป็นต้น ควรกำหนดราคาของเครื่องมือทางการเงิน เช่น ราคาหุ้น IPO อย่างไร จึงจะเหมาะสมและสะท้อนมูลค่าบริษัทได้ดีที่สุด เมื่อมีผลกำไร จะจ่ายเงินปันผลเท่าใด เก็บเข้ากำไรสะสมเท่าใด ซึ่งการจัดการด้านนี้จะมุ่งไปที่การทำให้ต้นทุนการจัดหาเงินทุนต่ำสุด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่องค์กร
การตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management)
          คือ การบริหารเงินทุนระยะสั้น ซึ่งเป็นกิจกรรมการเงินที่เกิดขึ้นทุกวันของบริษัท ทั้งในเรื่อง การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) เช่น สินค้าคงเหลือ ลูกหนี้การค้า หลักทรัพย์ลงทุนระยะสั้น และเงินสด เป็นต้น การจัดการหนี้สินหมุนเวียน (Current Liabilities) เช่น เงินกู้ระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น
แบบจำลองการบริหารการเงิน
          แบบจำลองการบริหารการเงินที่กิจการจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจหลักทั้ง 3 ประการ ซึ่งการตัดสินใจเหล่านั้นจะกระทบต่อผลตอบแทนและความเสี่ยงของกิจการเสมอ ต้องสร้างสมดุลให้ดี เช่น การตัดสินใจสร้างโรงงานขนาดใหญ่ที่มีกำลังการผลิตสูง ถ้าประสบความสำเร็จ ผลตอบแทนที่ได้รับย่อมสูง แต่ความเสี่ยงก็อาจจะสูงตามไปด้วย และถ้าไม่ประสบความสำเร็จ ก็อาจส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการได้มาก
 
แบบจำลองการบริหารการเงิน


หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงิน (The Financial Staff’s Responsibilities)
          ไม่ว่าธุรกิจจะมีรูปแบบองค์การเป็นอย่างไรก็ตาม จะเป็นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่หลักในการบริหารเพื่อทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่กิจการ นั่นหมายถึงการบริหารเพื่อให้เกิดผลกำไร และขยายกิจการให้เกิดความเจริญเติบโตในอนาคตอันจะส่งผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดแก่กิจการ ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงินจะมี 5 ประการ คือ
หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน (Forecasting and Planning)
          ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ขององค์การเพื่อรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ซึ่งการพยากรณ์และการวางแผนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะสั้น การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์เกี่ยวกับการรับ และจ่ายเงินสดของกิจการว่าเป็นอย่างไร ในแต่ละเดือนมีเงินสดส่วนเกินหรือเงินสดขาดมือจำนวนเท่าใด ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนว่าถ้าในเดือนที่กิจการมีเงินสดส่วนเกินควรนำเงินไปลงทุนอย่างไร หรือเดือนใดที่เงินสดขาดมือ ควรจัดหาเงินสดมาจากแหล่งใด การพยากรณ์และวางแผนการเงินระยะสั้นนี้ช่วยให้กิจการได้ใช้เงินทุนระยะสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด และรักษาสภาพคล่องของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการพิจารณาการตัดสินใจลงทุน ซึ่งกิจการต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง โดยให้ผลตอบแทนในระยะยาว จึงจำเป็นต้องทำการพิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจลงทุนข้อมูลที่นำมาประกอบการตัดสินใจต้องเป็นข้อมูลที่มีความแม่นยำ เพื่อให้การวิเคราะห์นั้นตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด จึงสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน(Investment and Financial Decision)
          ปัญหาการตัดสินใจของผู้บริหารการเงินแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ปัญหาการตัดสินใจระยะสั้น เช่น ปัญหาในกรณีที่กิจการจะทำการผลิตชิ้นส่วนเอง หรือซื้อปัญหาว่าควรขายสินค้า หรือผลิตต่อแล้วขาย หรือปัญหาว่าควรยกเลิกสินค้าที่มีผลขาดทุนหรือไม่ปัญหาการตัดสินใจระยะยาวซึ่งหมายถึงโครงการลงทุนต่างๆ  เช่น การสร้างโรงงานแห่งใหม่เพื่อทดแทนโรงงานเดิม การผลิตสินค้าใหม่เพิ่มเติม เป็นต้น
          ไม่ว่าจะเป็นปัญหาระยะสั้นหรือระยะยาว การตัดสินใจจะมีประเด็นที่สำคัญอยู่ 2 ประการ คือ การตัดสินใจจัดหาเงินทุน และการตัดสินใจใช้เงินลงทุน โดยมีหลักการว่าในการจัดหาเงินทุนควรเป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำที่สุด และความเสี่ยงต่ำที่สุด โดยเงินทุนจะได้มาจากหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งเงินทุนจากส่วนนี้จะมีต้นทุนในรูปของดอกเบี้ยจ่ายซึ่งจะต่ำกว่าเงินทุนจากส่วนของเจ้าของที่จะมีต้นทุนในรูปของเงินปันผลหรือกำไร (ขาดทุน) นอกจากนี้ความเสี่ยงก็ต่ำกว่าด้วย
          การตัดสินใจนำเงินทุนไปใช้ แบ่งออกเป็น 2 ทาง คือ ใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งจะทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง แต่ความสามารถในการทำกำไรจะต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร
หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control)
          ในการปฏิบัติงานผู้บริหารการเงินจะต้องประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินกิจการเพื่อมั่นใจว่ากิจการจะมีผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ การตัดสินใจทุกๆ ด้านของกิจการจะต้องมีส่วนสัมพันธ์หรือมีผลกับเรื่องของการเงินเสมอ เช่น การตัดสินใจด้านการตลาดเกี่ยวกับการออกผลิตภัณฑ์ใหม่จะมีผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน การจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ผลกระทบต่อความต้องการในการขยายการลงทุน การจัดหาเงินลงทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม ผลกระทบต่อนโยบายสินค้าคงคลังและความสามารถในการใช้กำลังการผลิตอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ การดำเนินงานเหล่านี้จะเกิดประสิทธิภาพได้จะต้องอาศัยการประสานงานกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะนำข้อมูลมาช่วยตัดสินใจในการวางแผนอันเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน ขณะเดียวกันก็สามารถควบคุมการดำเนินงานโดยการตรวจสอบและประเมินผลตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่
หน้าที่ในการเป็นตัวแทนองค์การทำการติดต่อกับตลาดการเงิน(Dealing with the Financial Market)
          ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องติดต่อตลาดการเงินเพื่อการระดมทุน โดยสามารถแบ่งตลาดการเงินออกได้เป็น 3 ตลาด คือ ตลาดการเงิน (The Financial Market) ตลาดเงิน (Money Market) ตลาดทุน (Capital Market) ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะสั้นที่มีอายุการชำระหนี้ไม่เกิน 1 ปี แหล่งเงินทุนหรือสถาบันที่ทำหน้าที่เป็นตลาดเงิน ได้แก่ เจ้าหนี้การค้า เงินเบิกเกินบัญชี (overdraft account) ตลาดรับซื้อคืน (Repurchase Market) แต่ละตลาดมีหน้าที่ในการระดมเงินทุนหรือจัดหาเงินทุนให้แก่ธุรกิจโดย ทำหน้าที่ในการระดมเงินทุนระยะยาวที่มีอายุการชำระหนี้เกิน 1 ปี โดยมีแหล่งเงินทุน ได้แก่ เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน ตลาดหลักทรัพย์ ตลาด OTC
          ดังนั้นการที่ธุรกิจจัดหาเงินทุนต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ว่าจะนำเงินไปลงทุนอะไร ถ้าลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ควรจัดหาเงินทุนจากตลาดเงิน แต่ถ้าต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรควรจัดหาเงินทุนจากตลาดทุน โดยพิจารณาเงินทุนแต่ละแหล่งว่ามีต้นทุนของเงินทุนและความเสี่ยงเป็นอย่างไร ซึ่งผู้บริหารควรเลือกแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนและความเสี่ยงต่ำสุด
หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง(Risk Management)
          กิจการทุกๆ แห่งต้องเผชิญกับความเสี่ยง 2 ลักษณะ คือ
          -  ความเสี่ยงนอกระบบ (Unsystematic Risk) เป็นความเสี่ยงอันเกิดจากภายในองค์กร และองค์การสามารถควบคุมได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารขององค์กรว่ามีความสามารถบริหารงานเพื่อขจัดความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เช่น ความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่องทางการเงินของกิจการเป็นต้น
          -  ความเสี่ยงภายในระบบ (Systematic Risk) ความเสี่ยงอันเกิดจากภายนอกกิจการ เป็นความเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการพยากรณ์ทิศทางหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) หรืออัตราการแลกเปลี่ยนเงินตรา (Foreign Exchange Rate) การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และประชากรศาสตร์
ในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การบริหารจัดการเงินทุน เพื่อให้ธุรกิจนั้น ๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยดีอย่างมีสภาพคล่อง โดยปราศจากความเสี่ยงใด ๆ ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องรู้ข้อมูลพื้นฐานของธุรกิจตัวเองอย่างถ่องแท้เสียก่อน ทั้งในส่วนของงบประมาณในการลงทุน ขนาดของธุรกิจ สภาพคล่องของธุรกิจ กำไรและความเสี่ยง หรือที่เรียกกันว่าแผนธุรกิจนั่นเอง เพื่อจะได้บริหารจัดการเงินทุนได้ตามสภาพความเป็นจริง รวมถึงการมองภาพการเติบโตของธุรกิจในอนาคตด้วย ทั้งนี้การประกอบธุรกิจโดยทั่วไปสามารถแบ่งเงินทุนได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ เงินทุนคงที่ (Fixed Capital) หมายถึง เงินทุนในการใช้จ่ายเกี่ยวกับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน  อาคาร หรือโรงงาน และ เงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ที่ไว้ใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ

สรุป
          ประโยชน์จากการมีระบบการจัดการเงินที่ดี ได้แก่ กิจการสามารถหาแหล่งเงินทุนสนับสนุนได้ง่ายขึ้น เช่นการขอสินเชื่อจากธนาคาร หรือได้รับเงินทุนสนับสนุนจากนักลงทุน หลังจากแสดงแผนการเงินและผลตอบแทน และความสามารถในการชำระหนี้ กิจการดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีกำไรมากขึ้น โดยการบริหารทรัพยากรอย่างเหมาะสม เช่นการพิจารณาไม่ลงทุนในสินทรัพย์ใดเกินไป การกำหนดราคาที่ให้ผลกำไร การกำหนดระดับจุดคุ้มทุน การบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้เพียงพอกับภาระผูกพันที่ต้องชำระ เป็นต้นเตรียมแผนรับความเสี่ยงต่างๆ ได้ เพราะจะเห็นสัญญาณผ่านตัวเลขว่าจะเกิดอะไรขึ้นล่วงหน้า ดังนั้นจะสามารถกำหนดแผนกลยุทธ์แก้ไขได้ช่วยตัดสินใจที่จะดำเนินงานอย่างมีหลักการและเหตุผลรองรับ ได้แก่การวิเคราะห์โดยการสร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่นเมื่อรายได้ลด หรือค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จะกระทบกับผลกำไรอย่างไร สถานการณ์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นจะช่วยวางแผนเตรียมการและทำงานปรึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องจากข้อมูลเบื้องต้นการจัดทำรายงานทางการเงินเป็นเพียงจุดหนึ่งของการบริหารการเงินของธุรกิจ แต่เป็นเครื่องมือสำคัญ ดังนั้นกิจการจะเริ่มบริหารจัดการเงินได้ดี จำเป็นต้องเริ่มมีระบบการบันทึกบัญชีที่เชื่อถือได้ก่อน ข้อมูลต่างๆ จึงจะสามารถนำมาวิเคราะห์และพัฒนาแผนกลยุทธ์ แผนการเงินไปสู่เป้าหมายของกิจการคือการสร้างผลตอบแทนสูงสุด และกิจการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และธุรกิจมีความมั่งคัง (Wealth) แหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อมถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจำเป็นต้องมีการใช้เงินทุนไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นกิจการ การขยายกิจการ หรือการแก้ปัญหาในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะจากแหล่งเงินทุนภายนอก เพราะมีธุรกิจขนาดย่อมเพียงน้อยรายที่จะมีเงินทุนจำนวนเหลือที่จะเริ่มต้น หรืออยู่ในพื้นฐานครอบครัวที่มีฐานะที่มีเงินทุนเดิมเพียงพอ ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจโดยไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินจากภายนอก แหล่งเงินทุนในการสนับสนุนต่อผู้ประกอบการมีหลายรูปแบบแตกต่างกัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรเลือกแหล่งทุนที่เหมาะสมกับตนเองหรือมีความเป็นไปได้ในการสนับสนุน โดยการตรวจสอบรายละเอียดหรือเงื่อนไชต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่เป็นการเสียเวลาและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการโดยไม่จำเป็น กิจกรรมต่างๆ ทางธุรกิจล้วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนทั้งสิ้น โดยอาจเป็นการได้มาหรือใช้ไปของเงินทุน เช่น การสร้างโรงงาน ซื้อกิจการ การซื้อเครื่องจักรใหม่ การกู้เงินจากธนาคาร การเพิ่มทุน เป็นต้น ในแต่ละวันผู้บริหารจึงเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางการเงินอยู่เสมอ
          ความจำเป็นที่ต้องมีเงินสำรองไว้ อย่างเช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในบ้านเราช่วงนี้ ประกอบกับการส่งออกก็มีปัญหาเนื่องจากประเทศคู่ค้าไม่ว่าจะเป็นจีน สหรัฐหรือยุโรป สั่งซื้อสินค้าน้อยลง ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยจำเป็นต้องพยุงกิจการตัวเองไว้ด้วยการนำเงินเก่าที่สะสมมาไว้ใช้เป็นค่าจ้างแรงงาน เพราะในแต่ละวันขายสินค้าได้ไม่ดีเหมือนแต่ก่อน ผู้คนระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย อีกทั้งนักท่องเที่ยวต่างชาติลดจำนวนลง ทางออกของผู้ประกอบการในภาวะวิกฤตินี้คือ ต้องหาทางลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในทุกวิถีทางเท่าที่จะทำได้
          อันที่จริงแล้วการบริหารจัดการเงินทุนไม่ใช่เรื่องยากหรือสลับซับซ้อนอะไร จุดเริ่มต้นอยู่ที่การวางแผนและมีเป้าหมายชัดเจน มีวินัยทางการเงินที่ดี พร้อมทำตามแผนอย่างเคร่งครัด ซึ่งถ้าบริหารจัดการเงินทุนดี ย่อมหมายถึงการมีเงินสะสมจากผลกำไรที่ได้ในธุรกิจนั้น ๆ และนั่นจะส่งผลให้ธุรกิจมีโอกาสขยายเติบโตได้อย่างแน่นอน

ข้อเสนอแนะ
          1. การบริหารเงินทุนของแต่ละกิจการอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับกิจกรรมการดำเนินงานดังนั้นการบริการเงินทุนอาจต้องใช้องค์ประกอบหลายประการในการบริหาร ควรจัดทำข้อมูลสำหรับผลตอบแทนในอดีตและส่งผลอย่างไรต่ออนาคต เพื่อพยากรณ์ทิศทางผลตอบแทนในอนาคต
 
บรรณานุกรม
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(2564), หลักการบริหารการเงินฉบับย่อสำหรับการลงทุนในบริษัทจด
ทะเบียน สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564. เข้าถึงได้จากhttps://www.set.or.th/set/financialplanning/knowledgedetail.do?contentId
ธนาคารกรุงไทย (2564), การบริหารการเงินทุนม, สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564 เข้าถึงได้จาก
https://sme.krungthai.com/sme/index.action?command=home
นาโนซอฟท์ แอนด์ โซลูชั่น (2564), การบริหารเงินทุน, สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564 เข้าถึงได้จาก
https://www.nanosoft.co.th/tips-business/15.php