สินทรัพย์ตัวชี้วัดสภาพคล่องของกิจการ

UploadImage
 
UploadImage
 
สินทรัพย์ตัวชี้วัดสภาพคล่องของกิจการ
Business liquidity indicator assets
 
สิทธิโชค  แซ่ห่าน
Sittichock Saehan
E-mail: lockbig93@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม


บทคัดย่อ
          การลงทุนในหุ้น หนึ่งสิ่งที่นักลงทุนให้ความสำคัญคือความมั่นคงและความสามารถในการเติบโตของกิจการ กิจการที่มีการบริหารสินทรัพย์ที่ดีส่งผลให้สภาพคล่องของกิจการดี การทำธุรกิจมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนตลอดเวลา  สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะสามารถวัด สภาพคล่อง ความมั่นคง และทิศทางการเติบโตของกิจการได้ และหากกิจการสามารถบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนให้อยู่ในระดับเหมาะสมจะสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับกิจการ และลดการสูญเสียโอกาสของกิจการ

คำสำคัญ : สินทรัพย์ , สภาพคล่อง , การเติบโต
 
Abstract
          Investment in stocks One of the things investors focus on is the stability and growth potential of the company. A business with good asset management results in good liquidity of the business. Doing business has risks and uncertainties all the time. Current assets and non-current assets can measure liquidity, stability, and direction of business growth. And if the business can manage current assets at an appropriate level, it can add value to the business. and reduce the loss of business opportunities

Key Word: Assets, Liquidity, Growth

บทนำ
          การตัดสินใจลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ สิ่งที่นักลงทุนมักให้ความสำคัญนอกเหนือจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน คือความมั่นคงและความสามารถในการเติบโตของกิจการนั้น ๆ สินทรัพย์ (Asset) ซึ่งมีทั้งสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) สินทรัพย์ถาวร (Non-Current Asset) ซึ่งส่วนที่มีรายละเอียดมากที่สุดและนักลงทุนมักให้ความสนใจคือสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียนสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ง่าย สินทรัพย์หมุนเวียนยังมีสภาพคล่องที่สูงมาก โดยสินทรัพย์หมุนเวียนที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงแค่เงินสดเท่านั้น แต่สินทรัพย์หมุนเวียนยังครอบคลุมไปถึงสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ทุกชนิดที่ผู้ประกอบการอย่างเรา ๆ นั้นสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ ภายใน 1 ปีซึ่งเราสามารถนำเอาเงินตรงนี้มาใช้จ่ายหมุนเวียนภายในธุรกิจหรือบริษัทได้
          เงินสดเป็นสินทรัพย์ที่หมุนเวียนสูงที่สุด เนื่องจากไม่ต้องเปลี่ยนเป็นเงินสด เพราะเป็นเงินสดอยู่แล้วนั้นเอง ทิพากร ศรีชัยธำรง ชลกนก โฆษิตคณิน และนิกข์นิภา บุญช่วย ได้ศึกษาอิทธิพลของงบกระแสเงินสดต่อสภาพคล่องและความมั่งคั่งสูงสุดของธุรกิจ กรณีศึกษา: กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พบว่า งบกระแสเงินสดมีความสัมพันธ์กับสภาพคล่องและสภาพคล่องมี ความสัมพันธ์กับความมั่งคั่งสูงสุดของธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม โดยงบกระแสเงินสด 3 กิจกรรม มีความสัมพันธ์ทั้งในทิศทาง เดียวกัน และทิศทางตรงกันข้ามกับสภาพคล่อง นั่นคือ กระแสเงินสดที่เป็นบวกส่งผลต่อสภาพคล่องของกิจการได้ทั้งทิศทางที่ดีและไม่ดี ส่วนสภาพคล่องมีความสัมพันธ์ต่อความมั่งคั่งสูงสุด
          บริษัทที่มีสุขภาพทางการเงินที่ดี มีการหมุนเวียนของสินทรัพย์ที่ปกติ ก็จะสามารถรอดพ้นวิกฤตไปได้ วิมลมาศ ริ้วสุวรรณ ปานฉัตร อาการักษ์ และจิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย ได้ศึกษาการวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ภาระหนี้สิน และความสามารถในการอยู่รอดของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย ผลการวิจัยพบว่าเมื่อพิจารณาภาพรวมมีแนวโน้มสภาพคล่องทางการเงินและภาระหนี้สินอยู่ในเกณฑ์ดี ความสามารถในการอยู่รอดอยู่ในเกณฑ์พอใช้ ประสิทธิภาพในการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
          การที่กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียน บอกได้ถึงการเติบโตของธุรกิจที่กำลังดำเนินไปในแต่ละปี ถ้าบริษัทนั้น ๆ มีสินทรัพย์หมุนเวียนสอดคล้องกับหนี้สินที่มีอยู่ นั่นหมายความว่า บริษัทนั้นมีความสามารถที่จะชดใช้หนี้สินในปีนั้นได้ และถ้ามองย้อนหลังไปหลายปีมีความสอดคล้องในลักษณะดังกล่าว บริษัทนั้น ๆ ก็ถือเป็นบริษัทที่มีทิศทางการเติบโตที่ดี และสามารถวัดความมั่นคงของกิจการอย่างดี เพื่อให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน
วัตถุประสงค์
         1. เพื่อศึกษาอิทธิพลของสินทรัพย์หมุนเวียนต่อสภาพคล่องของกิจการ
         2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของสินทรัพย์หมุนเวียนต่อทิศทางการเติบโตของกิจการ
         3. เพื่อศึกษาอิทธิพลของสินทรัพย์หมุนเวียนต่อความมั่งคงของกิจการ

สินทรัพย์หมุนเวียน
          สินทรัพย์สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบคือสินทรัพย์หมุนเวียน(Current Assets) และสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-Current Asset) สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียนคือสินทรัพย์ที่สามารถแปลงเป็นเงินสดและนำมาหมุนเวียนในธุรกิจเพิ่มสภาพคล่องได้ ซึ่งสินทรัพย์หมุนเวียนไม่ใช่แค่เงินสดเท่านั้น ส่วนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนคือสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะสั้น เช่น เงินลงทุนระยะยาว สินทรัพย์ที่มีความคงทนถาวร
สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) คือ สินทรัพย์ที่เป็นเงินสด หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 รอบระยะเวลาของการดำเนินธุรกิจหรือ 1 ปี ได้แก่
          1. เงินสด (Cash) ดูได้ในงบกระแสเงินสด การมีเงินสดอยู่ในบริษัทเยอะกว่าหนี้สินย่อมแสดงถึงเสถียรภาพและความสามารถในการขยายกิจการของบริษัทนั้น ๆ
          2. เงินฝาก (Bank deposit) คือเงินในบัญชีต่าง ๆ ของบริษัท นอกจากนี้ยังรวมเช็คที่ยังไม่ได้ขึ้นเงินแต่จะถึงกำหนดภายในระยะเวลา 1 ปีนี้ด้วย
          3. เงินลงทุนชั่วคราว (Short Term Investment) สินทรัพย์ต่าง ๆ ที่บริษัทสร้างขึ้น หรือจัดหามาเพื่อสร้างดอกผลจากมัน (ไม่ใช่สินค้าที่ผลิตเพื่อขาย) ซึ่งจะสามารถนำมาแปลงเป็นเงินสดได้ในเวลาอันรวดเร็ว
          4. ลูกหนี้การค้า (Accounts Receivable) เราอาจจะคุ้นเคยกับกลุ่มนี้ในแง่ของการให้เครดิต ซึ่งกลุ่มนี้คือคนที่มีสัญญาจะชำระหนี้ให้กับบริษัทในระยะเวลาอันใกล้ สัดส่วนของลูกหนี้การค้าไม่ควรมีมากเกินกว่าเงินสด เพราะยิ่งมีมาก ยิ่งหมายถึงเงินสดที่จมไปกับการผลิตโดยไม่ได้คืน ซึ่งสำหรับผู้ประกอบการแล้วลูกหนี้การค้าสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ด้วยการเก็บหนี้ให้ได้ และการใช้บริการรับซื้อลูกหนี้การค้า Invoice Factoring เพื่อนำเงินมาใช้หมุนเวียนในบริษัท
          5. ตั๋วรับเงิน (Notes Receivable) สัญญาที่จะได้รับเงิน โดยไม่จำกัดว่าเป็นสัญญาอะไรไม่ว่าจะเป็นสัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม เพียงแต่มีการกำหนดว่าจะได้รับการจ่ายเงินสดให้กับบริษัท โดยมีระยะเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน
          6. เงินให้กู้ยืมระยะสั้น (Short Term Loan) เป็นเงินที่บริษัทให้คนอื่นกู้ยืม และมีกำหนดการใช้คืนในระยะเวลาไม่เกิน 12 เดือน
          7. สินค้าคงคลัง (Inventory) สินค้าที่บริษัทนั้นผลิตขึ้นมาเพื่อขายหรือทำกำไรให้กับกิจการสินค้าคงคลังหมายถึงรายได้ในอนาคตของบริษัทก็จริง แต่ถ้ามีเพิ่มมากขึ้นในปริมาณมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ก็เป็นไปได้ว่าบริษัทนั้นมีปัญหาเรื่องการระบายสินค้า ซึ่งหมายถึงความสามารถในการบริหารต้นทุนที่จมไปกับการผลิตด้วย
          8. วัสดุสำนักงาน (Supplies) อุปกรณ์สิ้นเปลืองใช้แล้วหมดไปใน 1 ปีทั้งหลาย เช่นกระดาษปากกา เครื่องเขียนอื่น ๆ ซึ่งถือเป็นต้นทุนแฝง บริษัทที่มีการบริหารจัดการดี สินทรัพย์ในส่วนนี้ต้องไม่มากจนเกินไป
          9. รายได้ค้างรับ (Accrued Revenue) รายได้ที่จะได้รับแน่นอน แต่ยังไม่ได้รับในตอนนี้ เช่นดอกเบี้ยเป็นต้น
         10. ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expenses) ค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปตอนนี้ แต่จะได้ประโยชน์ในอนาคตซึ่งประโยชน์ดังกล่าวไม่ใช่ตัวเงิน แต่เป็นไปในรูปแบบอื่น ส่วนมากเป็นค่าประกัน

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (Non-current Assets ) หมายถึง สินทรัพย์ที่มีความคงทนถาวร และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยสินทรัพย์ถาวร ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภทได้แก่ 1. สินทรัพย์ถาวรมีตัวตน (Tangible Fixed Asset) 2. สินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีตัวตน (Intangible Fixed Asset)
           1. เงินฝากธนาคารมากกว่า 1 ปีขึ้นไป (Bank Deposit) เงินฝากที่มีกำหนดถอนเงินจากธนาคารได้เมื่อระยะเวลามากกว่า 1 ปี จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น เงินฝากประจำ 3 ปี เป็นต้น
           2. เงินลงทุนระยะยาว (Long-term Investment) สินทรัพย์ที่กิจการถือไว้เพื่อการลงทุน ไม่ว่าจะเป็น ตราสารหนี้ หุ้น หรือสินทรัพย์อื่นๆ เพื่อลงทุนในระยะยาว หรือมากกว่า 1 ปี
           3. เงินให้กู้ยืมเงินระยะยาว (Long-term Loans) คือเงินปล่อยกู้ระยะยาวที่กิจการให้บุคคลอื่นกู้ยืม และมีกำหนดได้รับชำระเงินคืนนานมากกว่า 1 ปี
           4. ที่ดิน (Land) ที่ดินที่กิจการมีแผนใช้ประโยชน์จากที่ดินในการดำเนินธุรกิจ และไม่มีแผนการขายที่ดินในอนาคตอันใกล้ จัดว่าที่ดินเป็นสินทรัพย์ถาวรประเภทหนึ่งเช่นกัน
           5. อาคารและอุปกรณ์ (Plants and equipment) ที่กิจการมีแผนใช้ประโยชน์จากอาคารอุปกรณ์ในการดำเนินธุรกิจ
           6. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Fixed Asset) คือสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ ไม่มีรูปร่างทางการยภาพ แต่เป็นกรรมสิทธิและถือเป็นสินทรัพย์ของ
           7. กิจการ ที่จะสร้างประโยชน์เชิงเศรษฐกิจให้กับธุรกิจได้ เช่น สิทธิบัตร สัมปทานการทำธุรกิจชื่อเสียงของกิจการ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ เป็นต้น

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย
           สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายเช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักรต่างๆ จะถูกบันทึกไว้ในหมวดหมู่ของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน แต่ในกรณีที่สินทรัพย์ถาวรบางรายการ กิจการมีความตั้งใจต้องการจะขายสินทรัพย์เหล่านั้นออกไป เมื่อเข้าเกณฑ์ดังต่อไปนี้ สินทรัพย์เหล่านี้จะต้องจัดให้เป็น “สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย” โดยมีเงื่อนไขดังนี้
  • มีไว้เพื่อขายทันที สินทรัพย์อยู่ในสภาพปัจจุบันที่เป็นปกติทั่วไปสำหรับการขายสินทรัพย์เหล่านั้น
  • มีความเป็นไปได้ในระดับสูงในการขายสินทรัพย์
  • มีการเริ่มดำเนินเพื่อหาผู้ซื้อ โดยมีการเสนอขายสินทรัพย์อย่างจริงจังในราคาที่สมเหตุสมผลสอดคล้องกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์นั้นในปัจจุบัน
  • การขายดังกล่าวต้องคาดว่าจะสามารถรับรู้รายการเป็นการขายที่เสร็จสมบูรณ์ภายใน 1 ปี

          สภาพคล่อง คือความสามารถในการที่จะมีเงินพอสำหรับใช้เมื่อต้องใช้ หรือความสามารถในการมีเงินจ่ายเมื่อต้องจ่าย ในทางบัญชีจะหมายถึงความสารถในการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสด คือความง่ายในการขายสินทรัพย์บางอย่างเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินสด ซึ่งสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง คือสินสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี หรือก็สินทรัพย์หมุนเวียน แต่ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายใน 1 ปี จะมีสภาพคล่องต่ำ หรือก็คือสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การรักษาสภาภาพคล่องคือการถือสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงเอาไว้ในระดับที่สามารถรับมือกับปัญหาที่อาจะเกิดขึ้น อ้างอิง (greedisgood)
          จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การดูความสามารถในการเติบโต ความแข็งแกร่ง และข้อเสียของแต่ละบริษัท ก็คือการเอาตัวเลขในงบการเงินมาหารเปรียบเทียบกัน เพื่อหาอัตราส่วนหากอยากรู้ว่าบริษัทจะล้มง่ายหรือไม่ นักลงทุนต้องวิเคราะห์สภาพคล่อง การวิเคราะห์สภาพคล่องคือ การดูว่าบริษัทมีเงินใช้คล่องมือหรือไม่ มีเงินเข้ามาพอใช้หรือเปล่า ถ้าเงินขาดมือบ่อยๆ แบบนี้มีปัญหาในดำเนินธุรกิจ อ้างอิง (www.SET.CO.TH)
          สินทรัพย์หมุนเวียนมีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อตัวบริษัทเองและนักลงทุนด้วย สำหรับด้านของกิจการแล้วหากมีสินทรัพย์หมุนเวียนในสัดส่วนที่เหมาะสมจะทำให้นักลงทุนมองเห็นผลประกอบการและสถานะของบริษัทว่าน่าลงทุนไหม โดยเฉพาะบริษัทใหม่ ๆ ยิ่งถ้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แล้วนักลงทุนยิ่งดูละเอียดมากขึ้น เพราะว่าสินทรัพย์ตัวนี้บอกถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านต้นทุนและกำไรได้ ซึ่งก็จะรวมไปถึงหนี้สินของบริษัทด้วยหากการหมุนเวียนของสินทรัพย์ของกิจการนั้นติดขัด ทำให้เงินไปจมกองอยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งใน จะทำให้สภาพคล่องมีปัญหาอย่างมาก เงินหมุนไม่มีเพียงพอที่จะใช้ในกิจการ ปัญหามากมายตามมา นักลงทุนอาจจะหายตามไปด้วยเพราะมองไม่เห็นการก้าวหน้าของบริษัท บริษัทที่ไม่มีสินทรัพย์หมุนเวียนคงจะประคองธุรกิจยากเพราะว่าเป็นสินทรัพย์ที่จะต้องหมุนเวียน กิจการจะต้องมีเอาไว้หมุนเวียนเป็นปกติ ต้องเป็นสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นอกจากเปลี่ยนเป็นเงินแล้วก็ยังรวมไปถึงเพื่อถือสินทรัพย์เพื่อการค้าระยะสั้นหรือคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์นั้น (ที่มาstation-account)
          สินทรัพย์หมุนเวียนในธุรกิจนั้นคือการบ่งบอกสภาพคล่องของธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจของคุณมีความมั่นคงและเป็นธุรกิจที่มีทิศทางการเติบโตที่ดีขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่ธุรกิจเริ่มมีปัญหาสภาพคล่องหรือเงินสดขาดมือก็สามารถเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียนเหล่านี้มาเป็นเงินสดได้ทันที (ที่มา fillgood :online)
          งบกระแสเงินสดมีความสัมพันธ์กับสภาพคล่องและสภาพคล่องมี ความสัมพันธ์กับความมั่งคั่งสูงสุดของธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษากลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม โดยงบกระแสเงินสด 3 กิจกรรม มีความสัมพันธ์ทั้งในทิศทาง เดียวกัน และทิศทางตรงกันข้ามกับสภาพคล่อง นั่นคือ กระแสเงินสดที่เป็นบวกส่งผลต่อสภาพคล่องของกิจการได้ทั้งทิศทางที่ดีและไม่ดี ส่วนสภาพคล่องมีความสัมพันธ์ต่อความมั่งคั่งสูงสุด ทิพากร ศรีชัยธำรง ชลกนก โฆษิตคณิน และนิกข์นิภา บุญช่วย

สรุป
          สินทรัพย์หมุนเวียน ช่วยบ่งบอกสภาพคล่องของธุรกิจได้ การแยกสินทรัพย์ออกเป็นสินทรัพย์ถาวร และสินทรัพย์ไม่ถาวร ช่วยให้งบการเงินของกิจการสะท้อนความเป็นจริงเกี่ยวกับสภาพคล่องของกิจการให้แก่ผู้ใช้งบการเงินเห็น และนำไปตีความได้ถูกต้องและไม่ใช่เพียงแต่บุคคลภายนอกเท่านั้น แต่ในด้านการบริหารจัดการภายใน การจำแนกสินทรัพย์ให้อยู่ในหมวดหมู่ที่ถูกต้อง ยังช่วยระมัดระวังให้ผู้บริหารมองเห็นภาพชัดเจนเกี่ยวกับปัญหาด้านสภาพคล่องที่อาจจะเกิดขึ้น ในกรณีสินทรัพย์ไม่ถาวรมีมากเกินไป
          การที่กิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียน มีสภาพคล่องที่ดีส่งผลให้กิจการมีความมั่นคงและเป็นธุรกิจที่มีทิศทางการเติบโตที่ดีขึ้นด้วยเพราะสามารถรับมือกับปัญหาที่อาจะเกิดขึ้นได้ รวมไปถึงภาระหนี้สินของบริษัทด้วยหากการหมุนเวียนของสินทรัพย์ของกิจการนั้นติดขัด สินทรัพย์ของกิจการไปอยู่กับหลักทรัพย์ประเภทได้ประเภทหนึ่ง จะทำให้สภาพคล่องมีปัญหา เงินหมุนไม่มีเพียงพอที่จะใช้ในกิจการ นักลงทุนอาจจะไม่เห็นความั่นคงของบริษัท
          หากกิจการสามารถบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในสัดส่วนที่เหมาะสมทำ
ให้กิจการมีสภาพคล่องที่ดี ส่งผลให้กิจการมีความมั่งคง และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต เพราะการดำเนินธุรกิจมีมีความเสี่ยงหลายด้าน อาจจะเกิดเหตุไม่คาดฝันเพื่อให้รอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน

ข้อเสนอแนะ
          กิจการควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ ในสัดส่วนที่เหมาะสมทำให้กิจการมีสภาพคล่องทางการเงิน ส่งผลให้กิจการมีความมั่งคง และมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต แต่การบริหาสินทรัพย์เพื่อให้กิจการมีสภาพคล่องที่ดีนั้น ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจในปัจจุบันได้ เราจึงควรมีเครื่องมืออื่นมาช่วยเพิ่มศักยภาพของกิจการเพื่อให้กิจการสามารถมีความมั่นคงและมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในอนาคต และสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่ช่วยให้นักลงทุนนำมาเป็นข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนกับกิจการ การบริหารสินทรัพย์ที่ดีจึงส่งผลในทางบวกต่อกิจการสะท้อนไปยังมูลค่าของของกิจการเพื่อให้กิจการสามารถนำไปต่อยอดและสร้างความมั่นคงให้กิจการต่อไป

บรรณานุกรม
ทิพากร ศรีชัยธำรง,ชลกนก โฆษิตคณิน และ นิกข์นิภา บุญช่วย(2021) อิทธิพลของงบกระแสเงินสดต่อสภาพคล่องและความมั่งคั่งสูงสุดของธุรกิจ กรณีศึกษา: กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/246680
วิมลมาศ ริ้วสุวรรณ ปานฉัตร อาการักษ์ และจิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย (2563) การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ภาระหนี้สิน และความสามารถในการอยู่รอด ของโรงพยาบาลรัฐบาลในจังหวัดเชียงราย จากhttps://so04.tcithaijo.org/index.php/social_crru/article/view/240839
https://www.pangpond.co.th/p=967 เรียกใช้วันที่ 3/8/2564
หนังสือจากตลาดหลักทรัพย์ SET.CO.TH  “The Jitta Way : วิถีจิตตะเพื่อการลงทุนเน้นคุณค่า เขียนโดย ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ จากเรียกใช้วันที่ 3/8/2564
https://www.set.or.th/set/education/knowledgedetail.do?contentId=5871&type=article เรียกใช้วันที่ 3/8/2564
https://www.station-account.com/current-assets/ เรียกใช้วันที่ 3/8/2564
https://fillgoods.co/online-biz/no-shop-what-is-current-asset/ เรียกใช้วันที่ 3/8/2564
https://greedisgoods.com/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/ เรียกใช้วันที่ 3/8/2564
ธนาชัย แจ่มเปี่ยม และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ (2563) ผลกระทบของสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย : กลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/JMA/article/view/244668