ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวิกฤต (โรคระบาด ไวรัส โคโรน่า-19)

UploadImage
 
UploadImage
 
จารึก ศรีนาค
ข้าราชการ (ครู)
วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
 
ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวิกฤต (โรคระบาด ไวรัส โคโรน่า-19)
 
          ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เราทราบกันดีนั้นก็คือ การรับมือกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา ดังเช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สงคราม และที่เลี่ยงไม่ได้นั้นตอนนี้ก็คือโรคระบาด ไวรัสโคโรน่า -19 นานนับเกือบจะสองปีแล้วที่ยังคงระบาดหนัก ขึ้นทุกๆวัน ส่งผลให้ทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างมาก ผู้ประกอบการทั้งรายย่อย รายใหญ่ ก็ได้รับผลกระทบอย่างมากมาย บ้างขาดทุน กิจการปิดตัวลง อย่างน่าสลดใจเพราะรับมือไม่ไหวต่อวิกฤตครั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วโลก แต่เศรษฐกิจทั้งระบบได้รับผลสะเทือนไม่แพ้กันเศรษฐกิจก็ส่งผลต่อผู้ประกอบการ
ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือธุรกิจ จึงไม่เหมือนเดิม และจำเป็นต้องเร่งปรับตัวเพื่อสอดรับกับสิ่งใหม่ โดยภารกิจเร่งด่วนของผู้ประกอบการต้องทำคือการเปลี่ยนต้องทำแผนเพื่อดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาภายในองค์กร เพื่อรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน นั้นก็คือการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดให้ได้แต่ในเวลาเดียวกันคนที่พึ่งพิงการขับเคลื่อนของธุรกิจเหล่านั้นก็ต้องขาดรายได้ไปด้วย แต่ในภาวะวิกฤติแบบนี้ จะมีธุรกิจใดบ้างที่ยังยืนอยู่ได้ ที่ยังเป็นที่ต้องการในสถานการณ์ปัจจุบัน  ธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ เป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากในสถานการณ์ตอนนี้ เพราะคนส่วนใหญ่หันมาจับจ่ายใช้สอยในออนไลน์มากยิ่งขึ้นพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยซื้อหาสินค้าของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอย่างกะทันหัน ดังนั้นจึงทำให้พวกเขาต้องใช้ความระมัดระวังโดยการซื้อขาย ผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นผ่านช่องทาง facebook Instagram Iine Shopee Lazada  และที่เป็นที่นิยมกันมากตอนนี้คือ ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือสร้าง "Smart Video" ของตัวจัดการโฆษณา TikTok และการเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญ Slate & Tell จึงสร้างโฆษณาที่น่าสนใจเข้าถึงผู้ใช้ TikTok และทำเงินให้กับผู้ประกอบการต่างๆเพื่อตอบรับสิ่งใหม่ๆและสร้างสรรค์ให้เกิดธุรกิจต่างๆ ในโลกออนไลน์อย่างมากเพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะประสบความสำเร็จในวิกฤตแบบนี้
          ธุรกิจบันเทิงแบบออนไลน์ เป็นธุรกิจที่เราอาจจะคาดไม่ถึง เนื่องด้วย สถานการณ์มันไม่ดีและเกิดความทุกข์ใจ ออกไปเที่ยวไม่ได้ ออกไปช็อปปิ้งไม่ได้ ไปค่าเฟ หรือพักผ่อนต่างจังหวัดเพื่อท่องเที่ยวไม่ให้เกิดความเครียดขณะอยู่บ้าน ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ถูกขับเคลื่อนอย่างรุนแรง ในช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด19 เพราะไม่เพียงแต่อีคอมเมิร์ซหรือการช้อปปิ้งออนไลน์เท่านั้นที่เติบโตสูง ในช่วงเกิดการระบาด แต่ยังมีในเรื่องของความบันเทิงต่างๆที่เติบโตสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น เกมออนไลน์ หรือ การไลฟ์ (ถ่ายทอดสด) สิ่งเหล่านี้มีสถิติออกมาจากทางบริษัท Tencent ที่พูดถึงการเติบโตอย่างมหาศาลของเกมยอดฮิตที่ชื่อ Honor Of King ในปี 2020 สร้างรายได้ 286 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาคือปี 2019 ที่เติบโต สร้างรายได้ 186 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่มาของข้อมูล ยอดของจำนวนเงิน (https://www.brandingchamp.com)
          ธุรกิจขายอาหารออนไลน์/ส่งอาหารเดลิเวอรี่ ในสถานการณ์เดียวกันนี้ กับการระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าจำเป็นจะต้องหลีกเลี่ยงและลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัสตัวนี้ให้น้อยที่สุด ดังนั้นผู้บริโภคจึงเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมโดยหันมาใช้เรื่องของการจับจ่ายใช้สอยและช้อปปิ้งกันผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสั่งอาหารและการส่งอาหารเดลิเวอรี่ สินค้าประจำวันต่างๆ เช่น ผักสด นม อาหาร ที่แทนการที่จะต้องออกไปซื้อหาเองตามร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต ใช่ครับธุรกิจนี้เติบโตได้รวดเร็วที่สุด จึงเป็นของการขายอาหารและการส่งอาหารอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น Foodpanda Grabfood ทั่วไปตามร้านอาหารต่างๆ ห้าง สรรพสินค้า ทุกคนส่วนใหญ่หันมาใช้บริการกันมาก เราเองในฐานะผู้บริโภคก็เลือกใช้บริการเพื่อความสะดวกและไม่ต้องไปเผชิญกับอากาศร้อน ฝนตก และโรคระบาด ณ ตอนนี้ แค่หยิบมือถือขึ้นมากดสั่งด้วยปลายนิ้วก็ได้แล้ว
          ธุรกิจออนไลน์ที่จะเจริญเติบโตได้นั้น อย่าลืมว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ และสิ่งอย่างหนึ่งที่เราต้องรับมือนั้นก็คือการเสียภาษี รายได้หรือเงินได้จากการขายของออนไลน์ ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ การขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงรายได้จากการ "ขายของออนไลน์" ด้วยจะต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (8) นั่นหมายความว่า สำหรับบุคคลธรรมดา (ใครก็ตามที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้าเป็นนิติบุคคล) จะต้องทำการ "ยื่นภาษี" เพื่อแสดงให้ "สรรพากร" เห็นถึงการมีรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆธุรกิจ ขายของออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ยังถือว่าเป็นบุคคลธรรมดาที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจะเสียภาษีหรือไม่เสียภาษีนี้จะต้องขึ้นอยู่กับว่าเรามี "เงินได้สุทธิ" หรือ "กำไรสุทธิ" เมื่อหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนออกไปแล้วเท่าไร ตามหลักเกณฑ์คือยิ่งมีเงินได้สุทธิมากยิ่งเสียภาษีในอัตราที่มาก ตามขั้นบันไดทำให้เราเห็นได้ว่า
          ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตอย่างไรก็ตาม ก็ยังมีโอกาสดีๆเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าวิกฤตจากไวรัสโควิด 19 นี้ จะเกิดขึ้นในระยะสั้นหรือระยะยาวก็ตาม ในแต่ละธุรกิจจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และมองหาโอกาสจากสิ่งที่เกิดขึ้น ปรับตัวเอง ปรับโครงสร้างต่างๆ ยอมรับเรื่องราวใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ๆและ เมื่อช่วงเวลาเหตุการณ์เลวร้ายของธุรกิจผ่านพ้นไป ย่อมมีแรงและแสงปลายทางให้เราสู้กับวิกฤตต่างๆ คนที่ปรับตัวเท่านั้น ถึงจะอยู่รอดในสถานการณ์นี้ได้