ปัจจัยที่มีผลต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยง
01
Feb
ปัจจัยที่มีผลต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยง
Factors Affecting Good Corporate Governance and Risk Management
ประวีณา เงินทิพย์
Pravena Ngoenthip
nongapple25372537@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ช่วยให้การกำกับดูแลกิจการมีปะสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การกำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายใน เนื่องจาก การกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นการการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน รวมทั้งเป็นกลไกมาตรการที่ใช้กำกับการตัดสินใจของคนในองค์กรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
คำสำคัญ : การกำกับดีแลกิจกาที่ดี, การควบคุมภายใน, การบริหารความเสี่ยง, การตรวจสอบภายใน
Abstract
The purpose of this study was to study good corporate governance and to study the tools that help the corporate governance to be more effective. by studying concepts, theories and research related The results showed that Good corporate governance consists of internal control. risk management and internal audit due to good corporate governance This is to create sustainable value for the business and build trust among investors. Including as a measure mechanism used to control the decisions of people in the organization to be in accordance with the objectives laid down
Keywords : good governance and good business, Internal Control, Risk Management, Internal Audit
บทนำ
การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นรากฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันและปรับตัวได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มีผลประกอบการที่ดี มีความโปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรุงศรีและบริษัทในเครือต่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่ไปกับการสร้างผลประกอบการที่ดีและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับสากล ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของธุรกิจในระยะยาว
โดยตระหนักถึงความสำคัญและความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทอย่างต่อเนื่อง รวมถึง คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และกำหนดให้มีการทบทวนนโยบายและการปฏิบัติตามนโยบาย ดังนี้
1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
2. ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นและดูแลผู้ถือหุ้นมากกว่าสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน กำกับดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้รับการปฏิบัติ และปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม
3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย ดูแลผู้มีส่วนได้เสียตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย และกำหนดมาตรการชดเชยกรณีผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิ มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคงทางการเงิน และความยั่งยืนของบริษัท
4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส การดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมทั้งดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ
5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง รอบคอบ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกคน โดยมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึงการปฏิบัติตามจรรยาบรรณบริษัท
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การกำกับดูแลกิจการที่ดีถือเป็นเรื่องสำคัญในการกำเนินธุรกิจ
ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้
ในการปฏิบัติงานและการดำเนินงานของธุรกิจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำกับดูแลกิจการ และการบริหารความเสี่ยง
2. เพื่อศึกษาและเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดีและศึกษาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ช่วยให้การกำกับดูแลกิจการมีปะสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การกำกับดูแลกิจการที่ดี ประกอบด้วย การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการตรวจสอบภายใน เนื่องจาก การกำกับดูแลกิจการที่ดี เป็นการการสร้างคุณค่าให้กิจการอย่างยั่งยืนและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน รวมทั้งเป็นกลไกมาตรการที่ใช้กำกับการตัดสินใจของคนในองค์กรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
คำสำคัญ : การกำกับดีแลกิจกาที่ดี, การควบคุมภายใน, การบริหารความเสี่ยง, การตรวจสอบภายใน
Abstract
The purpose of this study was to study good corporate governance and to study the tools that help the corporate governance to be more effective. by studying concepts, theories and research related The results showed that Good corporate governance consists of internal control. risk management and internal audit due to good corporate governance This is to create sustainable value for the business and build trust among investors. Including as a measure mechanism used to control the decisions of people in the organization to be in accordance with the objectives laid down
Keywords : good governance and good business, Internal Control, Risk Management, Internal Audit
บทนำ
การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นรากฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันและปรับตัวได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ มีผลประกอบการที่ดี มีความโปร่งใส และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรุงศรีและบริษัทในเครือต่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
ภายใต้การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ควบคู่ไปกับการสร้างผลประกอบการที่ดีและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึกในการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในระดับสากล ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของธุรกิจในระยะยาว
โดยตระหนักถึงความสำคัญและความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทอย่างต่อเนื่อง รวมถึง คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จึงได้กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และกำหนดให้มีการทบทวนนโยบายและการปฏิบัติตามนโยบาย ดังนี้
1. สิทธิของผู้ถือหุ้น
2. ส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นและดูแลผู้ถือหุ้นมากกว่าสิทธิตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการละเมิดหรือลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน กำกับดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้รับการปฏิบัติ และปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานให้ผู้ถือหุ้นทุกรายได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม
3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย ดูแลผู้มีส่วนได้เสียตามสิทธิที่มีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย และกำหนดมาตรการชดเชยกรณีผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิ มีกระบวนการส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างบริษัทกับผู้มีส่วนได้เสีย
เพื่อสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคงทางการเงิน และความยั่งยืนของบริษัท
4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส การดำเนินงานเป็นไปด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมทั้งดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ทั้งข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โปร่งใส ผ่านช่องทางที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือ
5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง รอบคอบ เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกคน โดยมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และการบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมถึงการปฏิบัติตามจรรยาบรรณบริษัท
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า การกำกับดูแลกิจการที่ดีถือเป็นเรื่องสำคัญในการกำเนินธุรกิจ
ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้
ในการปฏิบัติงานและการดำเนินงานของธุรกิจ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำกับดูแลกิจการ และการบริหารความเสี่ยง
2. เพื่อศึกษาและเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี
แนวคิดเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี
การกํากับดูแลกิจการที่ดีไว้ว่าเป็นระบบที่จัดให้มีกระบวนการ โครงสร้างและการควบคุมของกิจการ ให้บุคลากรของ กิจการทุกคนปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบต่อหน้าที่ด้วยความโปร่งใสทําให้กิจการเกิดการพัฒนา ความสามารถในการแข่งขันเพื่อรักษาเงินลงทุนและเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาวภายใต้กรอบ จริยธรรมที่ดีโดยรวม 5 ซึ่งนอกจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ไมตรีเอื้อจิตอนันต์กุล (2549) ได้ระบุถึง ประโยชน์จากการที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดีในอีกมุมมองหนึ่ง นั่นคือ การที่การกํากับดูแลกิจการที่ดีจะนํามาซึ้งการกระตุ้นการลงทุนของนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะการกํากับดูแลกิจการที่ดีย่อมทําให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายของกิจการได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และในมุมมองของนักลงทุนนั้น นักลงทุนก็คาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติในฐานะผู้ถือหุ้นด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม ได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุนที่ถูกต้อง ครบถ้วน และทันเวลา การกํากับดูแล กิจการที่ดีจึงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งงที่นักลงทุนต่างๆ รวมถึงนักลงทุนสถาบันจะใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน นอกเหนือจากข้อมูลทางการเงินและข้อมูลการดําเนินงานของบริษัท โดยผลการวิจัยพบว่าการ กํากับดูแลกิจการที่ดีมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับของการถือหุ้นที่ถือโดยนักลงทุนสถาบันทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ณญาดา สุขอนันตธรรม (2558)
แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
การควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้มีหน้าที่ในการกาก บดูแล ผู้บริหาร และ บุคคลอื่นได้ออกแบบนำไปปฏิบัติและดูแลให้เหมาะสมอยู่เสมอ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นอยางสมเหตุสมผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการเกี่ยวกบความน่าเชื่อถือได้ของการรายงานทางการเงิน ความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกาหนดที่เกี่ยวข้อง (สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2555) และการควบคุมภายใน หมายความถึง กระบวนการปฏิบัติงานที่ผู้กำกับดูแล ฝ่ายบริหารและบุคลากรของหน่วยรับตรวจจัดขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่า การดำเนินงานของหน่วยงานจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการควบคุมภายในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงานซึ่งรวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกนหรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง หรือการทุจริตในหน่วยรับตรวจ ด้านความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรี(คณะกรรมการตรวจเงินแผนดิน, 2547)
องค์ประกอบของการควบคุมภายใน กระทรวงการคลัง (2561) ได้กําหนดหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ ปฏิบัติการควบคุมภายในสําหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ได้จัดทําขึ้นตามมาตรฐานสากลของ COSO 2013 โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทของระบบการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางการควบคุมภายใน ของหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 17 หลักการ ดังนี้
1. สภาพแวดล้อมการควบคุม ประกอบด้วย 5 หลักการ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดําเนินงานที่ส่งผลให้มีการนําการควบคุมภายใน มาปฏิบัติทั่วทั้งหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ ผู้กํากับดูแลและฝ่ายบริหารจะต้อง สร้างบรรยากาศให้ทุกระดับตระหนักถึงความสําคัญของการควบคุมภายใน รวมทั้งการดําเนินงานที่คาดหวัง ของผู้กํากับดูแลและฝ่ายบริหาร ทั้งนี้สภาพแวดล้อมการควบคุมดังกล่าวเป็นพื้นฐานสําคัญที่จะส่งผลกระทบ ต่อองค์ประกอบของการควบคุมภายในอื่นๆ
2. การประเมินความเสี่ยง ประกอบด้วย 4 หลักการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง และเป็นประจํา เพื่อระบุ และวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐ รวมถึงกําหนดวิธีการจัดการความเสี่ยงนั้น ฝ่ายบริหารควรคํานึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก และภารกิจภายในทั้งหมดที่มีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐ
3. กิจกรรมการควบคุม ประกอบด้วย 3 หลักการ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่กําหนดไว้ในนโยบายและกระบวนการดําเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติตามการสั่งการของฝ่ายบริหารจะลดหรือควบคุมความเสี่ยง ให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์กิจกรรมการควบคุมควรได้รับการนําไปปฏิบัติทั่วทุกระดับของหน่วยงานของรัฐ ในกระบวนการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการดําเนินงานต่างๆ รวมถึงการนําเทคโนโลยีมาใช้ในการดําเนินงาน
4. สารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 หลักการซึ่งเป็นสําหรับหน่วยงานของรัฐที่จะช่วยให้ มีการดําเนินการตามการควบคุมภายในที่กําหนด เพื่อสนับสนุนให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานของรัฐ การสื่อสารเกิดขึ้นได้ทั้งจากภายในและภายนอก และเป็นช่องทางเพื่อให้ทราบถึงสารสนเทศที่สําคัญในการควบคุมการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ การสื่อสารจะช่วยให้บุคลากรในหน่วยงานมีความเข้าใจ ถึงความบผิดชอบ และความสําคัญของการควบคุมภายในที่มีต่อการบรรลุวัตถุประสงค์
5. กิจกรรมการติดตามผล ประกอบด้วย 2 หลักการซึ่งเป็นการประเมินผลระหว่างการปฏิบัติงาน การประเมินผลเป็นรายครั้ง หรือเป็นการประเมินผลทั้งสองวิธีร่วมกัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้มีการปฏิบัติ ตามหลักการในแต่ละองค์ประกอบของการควบคุมภายใน ทั้ง 5องค์ประกอบ กรณีที่ผลการประเมินการควบคุม ภายใน จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานของรัฐ ให้รายงานต่อฝ่ายบริหารและผู้กํากับดูแลอย่างทันเวลา ประโยชน์ของการควบคุมภายใน
จันทนา สาขากร ,นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร (2554) ได้กล่าวถึง ประโยชน์ ของระบบการควบคุมภายใน โดยสามารถพิจารณาได้เป็น 3 แนวทาง คือ 1. ประโยชน์สําหรับฝ่ายบริหาร จะเห็นว่าระบบการควบคุมภายในเป็นเครื่องมือช่วยให้ผู้บริหาร เกิดความแน่ใจว่า พนักงานได้มีการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องรวมทั้ง รายงานต่าง ๆ ได้มีการจัดทําขึ้นโดยถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีความทันเวลา ตลอดจนมีระบบการป้องกันการเกิดข้อผิดพลาดการทุจริต หรือการสูญหาย ของทรัพย์สินอย่างรัดกุม 2. ประโยชน์สําหรับพนักงานและลูกจ้าง ระบบการควบคุมภายในจะเป็นเครื่องชี้นําแนวทาง การปฏิบัติงานที่ถูกต้อง และเป็นไปตามนโยบายที่ผู้บริหารวางไว้ เป็นเครื่องช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงาน 3. ประโยชน์สําหรับผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี และผู้ตรวจสอบภายในจะใช้ประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในที่เป็นปัจจัยที่สําคัญในการกําหนดขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบ
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง
การบริหารความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management: ERM) เป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้นโดยคณะกรรมการ ผู้บริหาร และบุคลากรของหน่วยงาน เพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ของทั้งหน่วยงาน กระบวนการบริหารความเสี่ยงถูกออกแบบมา เพื่อใช้ระบุความเสี่ยงหรือเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ที่อาจมีผลกระทบต่อหน่วยงานและบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่หน่วยงานยอมรับได้ ซึ่งจะช่วย
ให้มีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าหน่วยงานจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้
การบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ซึ่งครอบคลุมแนวทางการกำหนดนโยบายการบริหารงาน การดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยง ดังนี้
1) สภาพแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) สภาพแวดล้อมขององค์กร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ในการกำหนดกรอบบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น วัฒนธรรมองค์กร นโยบายของผู้บริหาร แนวทางการปฏิบัติงานบุคลากร กระบวนการทำงานระบบสารสนเทศ ระเบียบ เป็นต้น สภาพแวดล้อมภายในองค์กรประกอบเป็นพื้นฐานสำคัญในการกำหนดทิศทางของกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร
2) การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Setting) องค์กรต้องพิจารณากำหนดวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยง ให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ เพื่อวางเป้าหมายในการบริหารความเสี่ยงขององค์กรได้อย่างชัดเจน และเหมาะสม
3) การบ่งชี้เหตุการณ์ (Event Identification) เป็นการรวบรวมเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ทั้งในส่วนของปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น นโยบายบริหารงาน บุคลากร การปฏิบัติงาน การเงิน ระบบสารสนเทศ ระเบียบ กฎหมาย ระบบบัญชี ภาษีอากร ทั้งนี้ เพื่อทำความเข้าใจต่อเหตุการณ์และสถานการณ์นั้น เพื่อให้ผู้บริหารสามารถพิจารณากำหนดแนวทาง และนโยบายในการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
4) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การประเมินความเสี่ยงเป็นการจำแนกและพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยงที่มีอยู่ โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิด (Likelihood) และผลกระทบ (Impact) โดยสามารถประเมินความเสี่ยงได้ทั้งจากปัจจัยความเสี่ยงภายนอกและปัจจัยความเสี่ยงภายในองค์กร
5) การตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) เป็นการดำเนินการหลังจากที่องค์กรสามารถบ่งชี้ความเสี่ยงขององค์กร และประเมินความสำคัญของความเสี่ยงแล้ว โดยจะต้องนำความเสี่ยงไปดำเนินการตอบสนองด้วยวิธีการที่เหมาะสม เพื่อลดความสูญเสียหรือโอกาสที่จะเกิดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้
6) กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) การกำหนดกิจกรรมและการปฏิบัติต่างๆ ที่กระทำเพื่อลดความเสี่ยง และทำให้การดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร เช่น การกำหนดกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยงให้กับบุคลากรภายในองค์กร เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถจัดการกับความเสี่ยงนั้นได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
7) สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication) องค์กรจะต้องมีระบบสารสนเทศและการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำไปพิจารณาดำเนินการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามกรอบ และขั้นตอนการปฏิบัติที่องค์กรกำหนด
8) การติดตามประเมินผล (Monitoring) องค์กรจะต้องมีการติดตามผล เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินการว่ามีความเหมาะสมและสามารถจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
แนวคิดเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
ความหมายของการตรวจสอบภายใน คือ กิจกรรมการใหค้วามเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างอิสระ
และเที่ยงธรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าและปรับปรุงการปฏิบตัิงานขององค์กร การตรวจสอบภายในสจะช่วยให้องค์กรบรรลุตามวตัถุประสงค์ต่างๆ ที่กำหนด โดยใช้การประเมินและการปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยงการควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและมีระเบียบวิธี
อุษณา ภัทรมนตรี. (2552)
ความสำคัญและประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบภายใน หมายถึง กิจกรรมการให้หลักประกันอย่างเที่ยงธรรมและการให้คำปรึกษาอย่างเป็นอิสระ ซึ่งจัดให้มีขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กรให้ดีขึ้น การตรวจสอบภายในช่วยให้องค์กรบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ (ที่มา :The Institute of Internal Auditors : IIA) ซึ่งการตรวจสอบภายในมีส่วนผลักดันความสำเร็จดังกล่าว ดังนี้
1. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Governance) และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน (Transparency) ป้องกันการประพฤติมิชอบหรือการทุจริต และเป็นการลดความเสี่ยง ที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์
2. ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชีและรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) ทำให้องค์กรได้ข้อมูลหรือรายงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ และเป็นพื้นฐานของหลักความโปร่งใส (Transparency) และความสามารถตรวจสอบได้ (Audittability)
3. ส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน (Efficiency and Effectiveness of Performance) ขององค์กร เนื่องจากการตรวจสอบภายในเป็นการประเมิน วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทุกด้านในการปฏิบัติงาน จึงเป็นข้อมูลที่สำคัญที่ช่วยปรับปรุงระบบงานให้สะดวก รัดกุมลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ตลอดเวลา ช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่าย เป็นสื่อกลางระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในการประสานและลดปัญหาความไม่เข้าใจในนโยบาย
4. เป็นมาตรการถ่วงดุลแห่งอำนาจ ( Check and Balance) ส่งเสริมให้เกิดการจัดสรรการใช้ทรัพยากรขององค์กรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้ได้ผลงานที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร
5. ให้สัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า (Warning Signals) ของการประพฤติมิชอบหรือการทุจริตในองค์กรลดโอกาสความร้ายแรงและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งเพื่อเพิ่มโอกาสของความสำเร็จของงาน
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
จิภัสสร บุญรอด (2558) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ของการกํากับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนสถาบันและผลตอบแทนจากนักลงทุนสถาบันที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า กิจการที่มีการกํากับดูแลกิจการที่ดีจะสามารถดึงดูดให้นักลงทุนสถาบันตัดสินใจลงทุนในกิจการมากขึ้นได้อย่างมีนัยสําคัญ และการมีนักลงทุนสถาบันเข้ามาลงทุนในสัดส่วนที่มากขึ้นจะส่งผลตอบแทนให้กิจการดังกล่าวมีมูลค่ากิจการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ณญาดา สุขอนันตธรรม (2558) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับคุณภาพข้อมูลทางบัญชี ผลการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและการใช้หลักความระมัดระวังทางบัญชีจากตัวแบบที่พัฒนาจากแนวคิดของ Basu (1997) นั้นไม่พบความสัมพันธ์เชิงสถิติจึงไม่สามารถสรุปได้ว่ากิจการที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจะมีการรับรู้ข่าวร้าย (รายการขาดทุน) เร็วกว่าข่าวดี (รายการกำไร) ส่วนการศึกษาด้วยตัวแบบที่พัฒนาจากแนวคิดของ Ball and Shivakumar (2005) พบว่ากิจการที่มีคะแนนการก ากับดูแลกิจการต่ าจะมีระดับของความระมัดระวัง ทางบัญชีที่สูงกว่า อาจสรุปได้ว่ากิจการที่มีการกำกับดูแลกิจการที่อ่อนแอมีความต้องการการใช้หลัก ความระมัดระวังทางบัญชีในลักษณะที่เป็นส่วนทดแทนการการกำกับดูแลกิจการที่ด้อยไป
วัลลภัคร์ บัวกล่า (2553) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างแนวคิด COSO และระบบการควบคุมภายในของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่”โดยเปรียบเทียบระหวางแนวคิด COSO และระบบการควบคุมภายในของสถาบันสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโดยแบ่งหัวข้อการเปรียบเทียบตามองค์ประกอบของการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO ได้แก่ สภาพแวดล้อมของการควบคุมการประเมินความเสี่ยง กิจกรรมการควบคุม ข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร การติดตามและประเมินผล พบว่าแแนวคิด ด้านการควบคุมภายในของ COSO และระบบการควบคุมภายในของสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความคล้ายคลึงกัน สถาบันฯ มีระบบการควบคุมภายในคล้ายคลึงกบแนวคิดการควบคุมภายในของ COSO ทั้ง 5 องค์ประกอบ เพียงแต่จะแตกต่างกันในองค์ประกอบย่อยบางองค์ประกอบเท่านั้น จึงกล่าวได้ว่า สถาบันฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดีสามารถป้องกนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หรือสามารถบริหารความเสี่ยงให้อยูในระดับที่ยอมรับได้
สรุปผล
การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นเรื่องสำคัญซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสาธารณชน หน่วยงาน กำกับดูแล และผู้บริหารขององค์กร การกำกับดูแลกิจการจะทำให้กิจการมีระบบการบริหาร และการจัดการที่มีคุณภาพ รวมทั้ง มีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสและมีผลการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน เพื่อ ส่งเสริมประสิทธิภาพ สร้างความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าแก่กิจการ ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
นอกจากนี้ การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กร ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ เจ้าของและผู้มีส่วนได้เสียอื่น การกำกับ ดูแลกิจการยังช่วยให้เกิดโครงสร้างที่สำคัญ ซึ่งเป็นกลไกในการกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจการ และการกำหนดวิธีที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น รวมถึง การสอดส่องดูแลผลการปฏิบัติงานของ กิจการการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การกำกับ การติดตาม การควบคุม และการดูแล ผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ไปทำหน้าที่ทางการบริหาร เพื่อให้ทรัพยากรขององค์กรได้นำไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตรงตามเป้าหมาย อย่างคุ้มค่า
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบแทนกลับไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม คือ การกำกับดูแลกิจการช่วยสร้างมูลค่าของกิจการ
ข้อเสนอแนะ
องค์กรควรมีการวางแผนกำกับดุแลกิจการที่ดี และการจัดการที่มีธรรมถิบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการสร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กรและทบทวนผลการดำเนินของทุกปีเพื่อที่จะดำเนินการแก้ไขได้ทันติอความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ ควรศึกษากลไกที่จะช่วยให้องค์กรมีประภาพและประสิทธิผลโดยการยึดถือตามหลักการกำกับดูแลกิจการ เป็นต้น
บรรณานุกรม
ณญาดา สุขอนันตธรรม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการก ากับดูแลกิจการกับคุณภาพข้อมูลทางบัญชี. สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์, (2555) และคณะกรรมการตรวจเงินแผนดิน, (2547). แนวคิดเกี่ยวกับการควบคุมภายใน
กระทรวงการคลัง. (2561). หลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุม ภายในสําหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561
อุษณา ภัทรมนตรี. (2552) . การตรวจสอบภายในสมัยใหม่ (แนวคิดและกรณีศึกษา)บัญชี. กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
จิภัสสร บุญรอด. (2558). ความสัมพันธ์ของการกํากับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนสถาบันและผลตอบแทนจากนักลงทุนสถาบันที่ส่งผลต่อมูลค่ากิจการ. สาขาวิชาการบัญชีธุรกิจแบบบูรณาการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์