ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562

UploadImage
 
UploadImage
 
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562
Land and Building Tax 2019
 
ณพชร ชินภักดี
Napachara chinphakdee
E-mail poyzaz@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
บทคัดย่อ
          หากกล่าวว่าความเลื่อมล่ำทางสังคมในประเทศไทยนั้น เห็นได้อย่างเด่นชัดมากขึ้น การที่จะลดความเลื่อมล่ำอย่างหนึ่ง ก็คือ การบังคับใช้ภาษีที่ควบคุมกับคนทุกกลุ่ม แต่ด้วยประเทศไทยนั้น ยังไม่มการเก็บภาษีจากสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน จากประชาชนเลย โดยภาษีทีบำรุงท้องที่ ก็ไม่สามารถสะท้อนการเก็บภาษีที่ได้จากคนอย่างเท่าเทียมได้ โดยไม่คำนึงถึงราคาประเมินที่ดินเลย โดยใช้เกณฑ์แค่ไร่ละ 4 บาททุกพื้นที่ ทำให้คนที่มีที่ดินกลางเมืองกับชนลบทมีการจ่ายภาษีที่เท่ากัน ทำให้ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการเก็บภาษีเพื่อลดความเลื่อมล้ำในสังคมเพื่อสะท้อนมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปด้วย
 
คำสำคัญ : ภาษี, ภาษีท้องถิ่น, ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
 
Abstract
          If said that the social veneration in Thailand seen more clearly One of the reductions in inequality is the enforcement of taxes that govern all groups. But with Thailand There is no tax on buildings such as houses from people yet. by the local maintenance tax It cannot reflect equal taxation from people Yes, regardless of the appraised value of the land. using only 4 baht per rai in all areas The people who landed in the middle of the city and the villages had to pay the same amount of tax. As a result, Thailand has changed the taxation to reduce social honor to reflect the value of land and buildings as well
 
Keywords : Tax, Tax Local, Land and Building,

บทนำ
          บทบาทอำนาจหน้าที่และขั้นตอนในการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในปัจจุบันและจึงจ าเป็นต้องกระจายการพัฒนาและความเจริญไปสู่ท้องถิ่นให้ทั่วถึงจะควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆได้ ทั้งนี้ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้มุ่งเน้นการพัฒนาคนการกระจายอำนาจความเจริญและการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลให้เป็นการพัฒนาประเทศที่ทั่วถึงอย่างแท้จริง นโยบายที่กระจายอ านาจและการกระจายความเจริญให้แก่ท้องถิ่นต่างๆ เพื่อเป็นการปูพื้นฐานในการพัฒนาประชาธิปไตยและสร้างความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชน จึงจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลพ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2538 (กรมการปกครอง : 2522)
          องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) คือ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีฐานะเป็นนิติบุคคลและราชการส่วนท้องถิ่น จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วน ตำบลพ.ศ. 2537 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2538 และมีฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในเวลาต่อมา พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ส่งผลให้มีการกระจายอ านาจสู่องค์กรประชาชนในระดับตำบลอย่างมาก โดยได้ยกฐานะสภาตำบลซึ่งมีรายได้ตามเกณฑ์คือ มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน 3 ปี เฉลี่ยไม่ตำกว่าปีละ 150,000 บาท ขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลกล่าวได้ว่าการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลนี้เป็นผลผลิตหนึ่งของกระแสของสังคมที่ต้องการจะปฏิรูปการเมือง ดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลจึงเป็นมิติหนึ่งของความพยายามในการปฏิรูปการเมืองโดยการกระจายอ านาจสู่ท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลมีความสำคัญต่อท้องถิ่นเป็นอย่างมาก เพราะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุด แต่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ชนบท องค์การบริหารส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตยองค์การบริหารส่วนตำบลในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีส่วนสำคัญยิ่งในการท าให้ประชาชนในชนบทได้มีโอกาสในการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ต้องการกระจายอ านาจให้กับท้องถิ่นมากขึ้น(ส านักบริหารราชการส่วนท้องถิ่น) องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งของไทยที่จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งขึ้นเพื่อกระจายอ านาจการปกครองให้ประชาชนในระดับท้องถิ่นระดับตำบลซึ่งเป็นเขตชนบทอันเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยได้มีโอกาสรับรู้ปัญหาหรือเรียนรู้การแก้ไขปัญหาและการสนองความต้องการของตนเอง โดยการเข้าไปมีบทบาทหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองหรือที่เรียกว่าการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย การจัดเก็บรายได้ของ องค์กรปกคลองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นภาษีอากร ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จะต้องมีกฎหมายให้อ านาจไว้ ปัจจุบันมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกคลอง ส่วนท้องถิ่นแต่รายได้ที่กฎหมายให้อำนาจท้องถิ่นจัดเก็บเองที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ภาษีภาษีป้าย และค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. การสาธารสุของค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด การปกครองท้องถิ่นนั้นจ าเป็นจะต้องมีการกระจายอ านาจทางการคลังควบคู่กันไปด้วยเพื่อให้หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ที่จะน าไปพัฒนาความเจริญในท้องถิ่นของตนท้องถิ่นจึงมีความจ าเป็นเพราะรายได้ที่เพียงพอจะน าไปใช้จ่ายในการด าเนินภาระหน้าที่ที่เป็นการจัดการบริการสาธารณะให้กับประชาชนดังนั้นจะเป็นได้ว่างบประมาณมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อความเจริญก้าวหน้าหรือความสำเร็จของหน่วยงานใดๆ ไม่ว่าเป็นภาครัฐหรือเอกชนเนื่องจากงบประมานจะบอกวัตถุประสงค์เป้าหมาย การน าผลประโยชน์หรือผลตอบแทนให้หน่วยงานในอนาคตและบอกวิธีจะน าไปสู่เป้าหมายนั้นๆ ให้นักบริหารมองเห็นภาพหน่วยงานในอนาคตว่าจะเป็นเช่นไร
          กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นกฎหมายใหม่ที่มาแทนกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบํารุงท้องที่ โดยกฎหมายฉบับใหม่มีจุดมุ่งหมายในการช่วยลดความเลื่อมล้ำในสังคมและเพิ่มการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะเป็นผู้จัดเก็บภาษีโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ดูแล ซึ่งหากมีการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้จริง ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับ อปท. เพื่อนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นในด้านสังคมอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังสามารถลดการถือครองที่ดินเพื่อการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
          ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เป็นภาษีประเภทใหม่ที่จะนำมาใช้จัดเก็บแทนภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดเก็บอยู่ในปัจจุบัน โดยรายได้ จากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมด จะเป็นของ อปท. เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินหรือรายได้ของรัฐบาล

วัตถุประสงค์
          1. ทราบถึงความเป็นมาของพรบ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
          2. ทำให้ทราบถึงประโยชน์ของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 

ความเป็นมาของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
          กล่าวนำว่าภาษีจัดเก็บจากอสังหาริมทรัพย์นั้นถือได้ว่าเป็นภาษีที่เก่าแก่อย่างหนึ่งและมีเหตุผลรองรับทั้งในแง่เกี่ยวกับความสามารถในการเสียภาษีและประโยชน์ที่ผู้เสียภาษีได้รับจากรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐจัดเก็บภาษีประเภทนี้ได้น้อยและกฎหมายที่เกี่ยวข้องค่อนข้างล้าสมัย ทั้งนี้ จะได้มีการยกเลิกกฎหมายเก่า 2 ฉบับ และจะบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทนซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศไทย
          ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างถูกจัดว่าเป็นภาษีชนิดหนึ่งโดยจัดเก็บกับทรัพย์สินเฉพาะอย่าง ซึ่งตลอดระยะที่ผ่านมาได้มีการเรียกร้องให้มีการแก้โขมาโดยตลอด ทั้งนี้ ในอดีตภาษีที่จัดเก็บบนฐานของทรัพย์สินนั้นมีอยู่ 2 ประเภท กล่าวคือ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ โดยได้มีการเสนอให้มีการยกเลิกหรือปฏิรูปมาโดยตลอดเพื่อให้มีกฎหมายชนิดเดียวคือ ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง โดยในเดือนมีนาคม 2562 ได้มีการยกเลิกกฎหมายภาษีทั้งสองประเภทดังกล่าวข้างต้นและประกาศใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน การที่ภาษีดังกล่าวได้รับการสนใจจากทุกภาคส่วนของสังคมนั้นก็เนื่องด้วยกฎหมายดังกล่าวนี้อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบมาก
          ภาษีที่ดินหรือภาษีสิ่งปลูกสร้างนี้เป็นภาษที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยปกครองโดยกษัตริย์ซึ่งที่จัดเก็บจากประชาชนที่ใช้ที่ดิน ภายใต้วิธีคิดที่ว่าที่ดินเป็นของกษัตริย์เหมือนค่าเช่าหรือค่าสัมปทาน ทั้งนี้ ประเทศที่ปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ก็ได้นำเอาแนวคิดนี้ไปปรับใช้เช่นกัน ต่อมาในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนแปลงมากมาสู่ท้องถิ่น ตัวอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นภาษีท้องถิ่นที่ยังรักษาอัตราการจัดเก็บที่สูงได้ ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศไทยในรัชกาลที่ 5 ช่วงการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางนั้น ภาษีที่ดินโดยหลักมณฑลต่าง ๆ จะจัดเก็บภาษีมาเพื่อใช้จ่ายในพื้นที่ของตน ดังนั้นการที่ปกครองแบบจังหวัดจึงเป็นการมอบโอนอำนาจการจัดเก็บให้แก่จังหวัด แต่อย่างไรก็ตาม การที่ท้องถิ่นยังไม่พร้อมและไม่มีหน่วยงานใดทุ่มเทในการจัดเก็บจึงทำให้การจัดเก็บยังไม่ดีเท่าที่ควรทำให้ภาษีดังกล่าวนี้ไม่มีความต่อเนื่องและเชื่อมโดยงกับภาษีที่ดินเดิม ทั้ง ๆ ที่ภาษีทรัพย์สินและภาษีที่ดินเป็นภาษีที่ดีที่สุดในการจัดเก็บเนื่องจากประชาชนพร้อมที่จะเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นและมีแนวโน้มที่อัตราจะสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น อาคารชุดที่จะต้องเสียภาษีทรัพย์สินในรูปของค่าใช้จ่ายทรัพย์ส่วนกลางที่นิติบุคคลซึ่งเป็นเอกชนจัดเก็บ เป็นต้น ในกรณีภาครัฐจัดเก็บโดยที่มีท้องถิ่นเป็นผู้ทำหน้าที่ซึ่งเห็นว่า ในอนาคตเมื่อท้องถิ่นได้ทำหน้าที่จัดเก็บอาจจะขยายการทำงานโดยร่วมมือกับประชาชนในท้องที่ที่จะพัฒนาโดยการเสียภาษีของประชาชนแทนการเรี่ยไรเนื่องจากเป็นการแก้ไขปัญหาความรู้สึกของประชนที่ได้รับประโยชน์โดยตรงกับไม่ได้รับประโยชน์ตรงโดยการแนวคิดค่าส่วนกลางของนิติบุคคล ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นภาษีทรัพย์สินในวงแคบเท่านั้น
          การที่มอบอำนาจให้ท้องถิ่นเช่น เทศบาล ซึ่งทำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและการที่ท้องถิ่นมาจัดเก็บจึงก่อเกิดรายได้จากทุกคนในสังคม ทั้งนี้ ภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น
          ประการแรก สอดรับกับหลักเรื่องความสามารถในการเสียภาษี คือ ผู้ที่มีทรัพย์สินมากย่อมแสดงถึงความมั่งคั่งร่ำรวยย่อมต้องมีความสามารถเสียภาษีมากได้
          ประการที่สอง สอดรับกับหลักผลประโยชน์ เช่น ในด้านสาธารณูปโภค การศึกษา เป็นต้น ตัวอย่างเช่น คนรวยใน New York มักจะย้ายไปอยู่ประเทศที่มีภาษีที่ดินสูงเพราะจะได้รับการศึกษาที่ดี ซึ่งสะท้อนได้ว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากการเสียภาษีก็ยินดีที่จะจ่าย แต่ว่าหากไม่มีจ่ายก็จะเกิดกรณีที่ว่าพื้นที่ที่เจริญจะมีภาษีสูง ส่วนพื้นที่ที่ไม่เจริญก็จะมีภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้ยังสอดรับกับนโยบายที่จะพัฒนาประเทศ
          ทั้งนี้ ในการปฏิรูปภาษีของประเทศไทยโดยการศึกษาของประเทศต่าง ๆ จะพบว่าภาษีดังกล่าวมีข้อดี เช่น การที่เงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดหากนำมาฟอกเงินโดยการซื้อที่ดินก็จะถูกรัฐจัดเก็บคืน และนอกจากนี้ยังไม่สามารถที่จะหนีภาษีได้หากระบบประเมินภาษีดี รวมทั้งส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนพร้อมที่จะจ่ายเพื่อพัฒนาท้องที่ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงโดยการพัฒนาท้องถิ่นตนโดยคนในท้องที่
          จากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ พยายามจะชี้ให้เห็นว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นมีประโยชน์ หากมีการจัดเก็บมากก็จะเป็นการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ฉะนั้นตราบใดที่ยังปกครองแบบอำนาจนิยมย่อมเป็นการยากที่ท้องถิ่นจะพัฒนาเนื่องด้วยผู้ที่มั่งคั่งก็ไม่อยากจะเสียภาษีมาก ดังนี้หากประชาชนเป็นใหญ่ก็จะสามารถพัฒนาประเทศโดยเริ่มจากท้องถิ่นได้โดยให้ท้องถิ่นปกครองกันเองและจัดเก็บภาษีเอง นอกจากนี้ยังจะก่อเกิดความกระหนักรู้เรื่องสิทธิของประชาชนในการใช้เงินของรัฐโดยการส่งตัวแทนเข้าไปตรวจสอบในการใช้เงินพัฒนาท้องถิ่น รวมทั้งยังจะก่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยโดยที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อเสียงเพราะทุกคนเห็นชัดว่าเป็นสิ่งที่กระทบต่อตัวเอง ดังนี้การมองในภาพกว้างจะทำให้เห็นประโยชน์ของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาก
           ในประเด็นต่อมาว่า ด้วยภาษีที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ที่มีการปรับปรุง การที่ค่ารายปีเป็นฐานภาษีนั้นอยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่จึงอาจจะเป็นช่องทางในการทุจริตได้ แต่ในวิธีการประเมินและตีราคานั้นอาจจะได้เงินไม่มาก ทั้งนี้เห็นว่าหากเราสามารถอธิบายกับท้องถิ่นว่าเอามาพัฒนาท้องถิ่นเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าคนในท้องถิ่นยินดีที่จะเสียภาษี คนที่มีรายได้น้อยยิ่งยินดีมากเนื่องจากคนที่มั่งคั่งย่อมจะต้องเสียภาษีมากขึ้นตามไปด้วยแล้วนำเอาภาษีมาลดความเหลื่อมลำทางด้านการศึกษาได้
           สำนักงานเศรษฐกิจการคลังทำหน้าที่ผลักดันกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยพยายามผลักดันการจัดเก็บภาษีจาก 3 ฐานใหญ่ ได้แก่
           ฐานรายได้ เพราะว่าเมื่อประชาชนมีรายได้รัฐก็สามารถวัดและจัดเก็บได้ทั้งภาษีบุคคลธรรมดาหรือภาษีนิติบุคคล
           ฐานการใช้จ่ายเมื่อเกิดการบริโภคแล้วใช้ภาษีมาจับกับการใช้จ่าย
           ฐานทรัพย์สิน เพราะว่าเมื่อคนมีความมั่งคั่งสูง ๆ มักจะผ่องถ่ายมาเป็นทรัพย์สินจึงกลายมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
           ทั้งนี้ ด้วยเหตุผลระยะยาวนั้นการสะสมทรัพย์สินจึงอาจจะกลายเป็นเรื่องของการลงทุน ฉะนั้นการจัดเก็บภาษีในฐานทรัพย์สินจึงอาจจะเรียกได้ว่าเป็นการจัดเก็บจากความมั่งคั่งของคน โดยจัดเก็บในอัตราที่เหมาะสมไม่ลดทอนความสามารถในการทำงานของมนุษย์
           การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินไม่ว่าจะเป็นภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ภาษีที่โรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ในอดีตไม่ประสบผลสำเร็จในเชิงภาษีอากร เพราะว่าเป็นกฎหมายเก่าและมีข้อจำกัดในเชิงปฏิบัติ โดยภาษีโรงเรือนและที่ดินการจัดเก็บจากฐานค่าเช่ารายปีแต่อาจจะเกิดการผิดฝาปิดตัวเนื่องจากเป็นค่าเช่าที่เกิดจากอาคารและโรงเรือนนั้น หากมอบหมายให้กรมสรรพากรจัดเก็บอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ทั้งนี้ เดิมกฎหมายให้กรมสรรพากรจัดเก็บเพราะสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของรายได้ได้ การที่มอบอำนาจให้ท้องถิ่นอาจเกิดให้เกิดปัญหาเรื่องความสามารถในการตรวจสอบที่มาของรายได้ได้ จึงทำให้ประสิทธิภาพของการจัดเก็บภาษีนั้นด้อยลงไป ดังนี้
          ภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยเฉลี่ยสามารถจัดเก็บได้ 29,000 ล้านบาท จาก อปท. เกือบ 7,000 แห่งทั่วประเทศ โดยเงินจำนวนดังกล่าวอาจจะไม่เพียงพอในค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บภาษี สะท้อนประสิทธิที่สามารถวัดได้
          ภาษีบำรุงท้องที่จัดเก็บจากที่ดินเฉพาะที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ถือครองโดยรัฐและเอกชนจำนวนมากกว่า 36 ล้านแปลง โดยสามารถจัดเก็บภาษีได้โดยเฉลี่ย 900 ล้านบาทต่อปี
          หากนำภาษีที่จัดเก็บได้ทั้งสองมารวมกันจะได้รายได้ประมาณ 29,900 ล้านบาทต่อปี จากฐานภาษีที่ใหญ่ที่สุด จึงนำไปสู่คำถามว่าควรจะเก็บภาษีทั้งสองนี้อีกหรือไม่ สะท้อนปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยทำให้ท้องถิ่นไม่สามารถมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีจากความสามารถของท้องถิ่นเองเพราะว่าเงินจำนวนดังกล่าวไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการของส่วนท้องถิ่น รัฐบาลต้องจัดเก็บแทนและแบ่งเงินจำนวนหนึ่งพร้อมกับเงินอุดหนุนมาให้มาให้แก่ท้องถิ่นอันสะท้อนถึงข้อจำกัด นอกจากนี้ยังพ้องกับเรื่องระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยท้องถิ่นที่เป็นแหล่งชุมชนขนาดเล็กควรจะมีรายได้ที่จะบริหารงานเองและสามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นได้มาก ดังนั้นจะทำให้เกิดความจะเป็นในการปฏิรูปภาษีทรัพย์สินในประเทศไทย
          เพราะฉะนั้น หากพิจารณาในเชิงของรายได้ท้องถิ่นนั้นน้อยมากร้อยละ 90 นั้นพึ่งพาการจัดเก็บภาษีและเงินอุดหนุนของรัฐบาล ฉะนั้นเปรียบเสมือนเด็กที่ขอเงินใครก็ต้องเชื่อฟังซึ่งเป็นสภาพปัญหาที่กระทรวงการคลังรับรู้มาโดยตลอดและมีการคิดเรื่องระบบทรัพย์สินและการปฏิรูปตั้งแต่ปี 2530 การผลักดันนั้นมีแรกต่อต้านอย่างมากเนื่องจากประชาชนทั่วไปที่เป็นชนชั้นกลางอันเนื่องมาจากความเสียดายจากการจัดเก็บภาษีเดิม
          ตัวอย่างเช่น การที่ชนชั้นกลางซื้อที่ดิน 80 ตารางวาเพื่อให้ลูกหลายได้สร้างที่อยู่อาศัยแม้ว่าจะเป็นพื้นที่เล็กน้อยก็ตาม แต่ปรากฏว่าไม่มีต้นทุนในการถือครองทรัพย์สิน การจัดเก็บภาษีน้อยมากโดยเฉลี่ยแล้ว 200-300 บาท มาตั้งแต่อดีต หากปรากฏว่าท่านจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่ดินที่ท่านสะสมไว้จำนำไปสู่ความไม่พอใจทั้งนี้แท้จริงแล้วอาจจะไม่กระทบกับภาระทางการเงินของเจ้าของ อันเนื่องมาจากความเคยชินในอดีต
          เพราะฉะนั้น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นปรากฏการใหม่ในประเทศไทย และกระทรวงการคลังถือว่าเป็นการปฏิรูปภาษีทรัพย์สินครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศ ดังนั้นในเชิงหลักการคำนึงถึงเหตุผลทางวิชาการเสมอในการออกแบบกฎหมายโดยการปรับปรุงกฎหมายดังนี้
          จะต้องเป็นธรรมและเป็นกลางในทางภาษีฐานภาษีต้องมีขนาดกว้าง และต้องสอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมคำนึงความจำเป็นของรายได้ของท้องถิ่นโดยไม่ได้จัดเก็บเข้ารัฐบาลแต่จะเป็นการนำไปสู่ท้องถิ่น
          ทั้งนี้ ในการจัดเก็บรายได้ดังกล่าวเพื่อการสร้างมาตรฐานและการจักเก็บภาษีที่เป็นธรรม เป็นกลาง เป็นประโยชน์ต่อประชาชน การพัฒนาประโยชน์เหล่านี้จะส่งกลับไปยังราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญในเชิงนโยบายก็คือ การเคยชินกับสิ่งที่ไม่มีค่าตอบแทนดังนั้นในเชิงนโยบายจึงจะต้องคำนึงถึงการปรับเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการยอมรับในการออกแบบกฎหมาย เพราะฉะนั้นจึงมีลักษณะเป็นการประสานเพื่อให้เกิดการยอมรับการจัดเก็บภาษี

ประโยชน์ของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
          1) ลดความเหลื่อมล้ำผู้มีทรัพย์สินมูลค่าสูงมีภาระต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่าต่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมและช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
          2) เพิ่มประสิทธิภาพโดยลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการประเมินภาษี และกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดปัญหาการกักตุนที่ดินเพื่อเก็งกำไร รวมถึงกระตุ้นให้เกิดการกระจายการถือครองที่ดิน
          3) เพิ่มรายได้ อปท. มีรายได้เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการลงทุนและจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพต่อประชาชนในพื้นที่มากขึ้น
          4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วม กระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่มีการตรวจสอบการดำเนินงานของ อปท. ว่ามีการเก็บภาษีอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมถึงติดตามการใช้จ่ายเงินภาษีซึ่งเก็บภาษีจากประชาชนในพื้นที่ ไปพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของประชาชน

สรุป
          ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่บังคับใช้แล้วนั้น ยังเป็นสิ่งใหม่ในประเทศไทย ในช่วงแรกหากจะยังมีข้อสงสัยไปบ้าง หรือไม่เข้าใจของประชาชน แต่ทุกอย่างก็คงผ่านไปความเข้าใจหรือเข้าถึงของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ก็จะลดความเลื่อมล้ำของผู้มีทรัพย์สินด้านที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไปได้ด้วย ก็จะทำให้การจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปอย่างครบถ้วน มีรายได้มากขึ้น ทำให้การพัฒนาประเทศไปควบคู่กันไปด้วย

ข้อเสนอแนะ
          ด้วยระบบการคิดคำนวณหรือเกณฑ์ต่างๆ ของภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น หากมีระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกับกรมที่ดิน หรือ สปก หรือเจ้าของที่ทราบที่ดินต่างๆ ก็จะทำให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ในช่วงแรก การให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับผิดชอบนั้นก็ดูเป็นการที่ทำให้การจัดเก็บเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งระบบแผนที่ที่แต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ไม่มีเหมือนกันทุกที ระบบแผนที่จะช่วยให้การคิดคำนวณไปอย่างรวดเร็วและระบบจัดการข้อมูล ก็ไม่มีมาเลย บ้างพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้ระบบคิดมือ ซึ่งดูไม่ทันสมัยกับยุคที่ผ่านของ ระบบ ไทยแลนท์ 4.0

 
บรรณานุกรม
สรุปสาระสำคัญจากสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ผลกระทบต่อการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” (ออนไลน์) เข้าถึงได้ https://www.law.tu.ac.th/summary_seminar_land-and-building-tax/
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่คุณต้องรู้ (ออนไลน์) เข้าถึงได้ https://www.trebs.ac.th/th/news_detail.php?nid=117