การวิเคราะห์งบการเงิน

UploadImage
 
UploadImage
 
การวิเคราะห์งบการเงิน
FINANCIAL STATEMENTS ANALYSIS
 
ยุพาภรณ์  โมห้างหว้า
Yupaporn  Mohanghva
     E-mail : yupaporn.my@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ
           การวิเคราะห์งบการเงินเป็นการนำข้อมูลจากงบการเงินมาเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีการเงินที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในกิจการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงานของธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินประกอบด้วย 1. การย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common – size Analysis) 2. การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) 3. การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) 4. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)  วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์งบการเงิน คือ  1. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีการเงินที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในกิจการ 2. เพื่อเป็นประโยชน์ให้ผู้บริหารในการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการให้ทันต่อเหตุการณ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงานของธุรกิจ
 
คำสำคัญ : งบการเงิน, อัตราส่วนทางการเงิน,การวิเคราะห์งบการเงิน
 
Abstract
           Analyzing financial statements is the use of data from financial statements to compare relationships. Analyze important financial accounting information related to the financial position of the entity. Operating results and cash flows circulating in the business to obtain useful information for making economic decisions. and the maximum benefit to the management of the business The tools used to analyze financial statements include: 1. Common – size Analysis 2. Trend Analysis 3. Statement of Cash Flow 4. Ratio Analysis. The objectives of analyzing financial statements are: 1. To analyze important financial accounting information related to the financial position of the entity. Operating results and cash flows circulating in the business. 2. For the benefit of the management in making decisions on events related to the business in a timely manner and for the maximum benefit of the management of the business
 
Keywords : FIANANCIAL STATEMENTS, FINANCIAL RATIO,FINANCING STATEMENTS ANALYSIS

บทนำ
          งบการเงินมีความสำคัญต่อบุคคลหลายฝ่าย เช่น ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ พนักงานและบุคคลที่สนใจทั่วไป เพราะงบการเงินแสดงให้เห็นถึงฐานะของกิจการ นโยบายและผลการดำเนินงานของกิจการในอดีตและปัจจุบัน ว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงไร การวิเคราะห์งบการเงินทำให้ทราบจุดเด่นและจุดด้อยของกิจการ ทั้งยังช่วยในการควบคุมทางการเงินในอันที่จะเตือนให้ทราบว่าฐานะของกิจการเป็นอย่างไรบ้าง ความสามารถในการชำระหนี้สิน สมรรถภาพในการหากำไร และสมรรถภาพในการดำเนินงาน หากกิจการพบปัญหาในการดำเนินงานจะได้แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลในงบการเงินมาทำการวิเคราะห์เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์ถึงผลการดำเนินงานของกิจการที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งนโยบายการบริหารที่กิจการควรจะต้องปรับปรุงทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและอนาคต 
          นักบัญชีจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจ และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีการเงินที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในกิจการ เพื่อเป็นประโยชน์ให้ผู้บริหารในการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการให้ทันต่อเหตุการณ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงานของธุรกิจ
 
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีการเงินที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในกิจการ
          2. เพื่อเป็นประโยชน์ให้ผู้บริหารในการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการให้ทันต่อเหตุการณ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงานของธุรกิจ
 
เนื้อหาของบทความ 
          การตรวจสอบและการวิเคราะห์งบการเงินจะช่วยให้ผู้บริหารค้นหาจุดอ่อนและจุดแข็งจากผลการเนินงาน และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียว เพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานและหากลยุทธ์ที่จะเป็นประโยชย์ต่อธุรกิจ
          จุดมุ่งหมายของงบการเงิน คือ
          1. นำเสนอฐานะการเงินและผลการดำเนินงานการเงินของกิจการอย่างมีแบบแผน
          2. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฐานะกาเรงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดของกิจการ
          3. แสดงถึงผลการบริหารงานของฝ่ายบริหาร

         งบการเงินให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจการ ต่อไปนี้
         1. สินทรัพย์     
         2. หนี้สิน
         3. ส่วนของเจ้าของ
         4. ผลกำไรและขาดทุน
         5. เงินทุนที่ได้รับจากผู้เป็นเจ้าของและการจัดสรรส่วนทุนให้ผู้เป็นเจ้าของ
         6. กระแสเงินสด

         งบการเงินฉบับสมบูรณ์ ได้แก่
         1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันสิ้นงวด
         2. งบกำไรขาดทุนและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับงวด (อาจใช้ชื่ออื่น เช่น งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ แทนได้)
         3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของสำหรับงวด
         4. งบกระแสเงินสดสำหรับงวด
         5. หมายเหตุประกอบงบ
         6. ข้อมูลเปรียบเทียบของงวดก่อน และ
         7. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันต้นงวดของงวดก่อน เมื่อกิจการได้นำนโยบายการบัญชีใหม่มาถือปฏิบัติย้อนหลัง หรือการปรับย้อนหลังรายการในงบการเงิน หรือ เมื่อกิจการมีการจัดประเภทรายการใหม่ในงบการเงิน
         กิจการหลายแห่งยังนำเสอนรายงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากงบการเงิน เช่น รายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและงบมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมซึ่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีสาระสำคัญ
         การวิเคราะห์งบการเงิน ควรวิเคราะห์อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป เพื่อที่จะได้เปรียบเทียบและดูแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เครื่องมือที่จะใช้วิเคราะห์ ซึ่งได้แก่
         1. การย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common – size Analysis)
         2. การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)
         3. การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด (Fund Flow Analysis)
         4. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)

1. การย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common Size Analysis)
               เป็นการแปลงค่าตัวเลขของรายการต่างๆ ให้อยู่ในรูปเปอรเ์ซ็นต์ของรายการสำคัญในงบการเงิน ที่ต้องทำก็เพราะการดูเป็นตัวเลขเม็ดเงินทําให้เราเปรียบเทียบยากว่าในนปีที่แล้วโครงสร้างทางการเงินในงบดุลหรือโครงสร้างการทำกำไรในงบกำไรขาดทุนเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
               1.1 วิธีการทำ Common - size สรุปได้ดังนี้
                    1.1.1 ในงบดุล รายการต่าง ๆ จะคิดเป็นเปอร์ซ็นต์ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวม หรือเทียบกับหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
                    1.1.2 ในงบกำไรขาดทุน รายการต่าง ๆ จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับยอดขาย
               1.2 วิธีใช้และอ่าน Common - size ของงบดุล
                    1.2.1 ด้านสินทรัพย์ สินทรัพย์หลักได้แก่อะไร (สินทรัพย์หมุนเวียน หรือสินทรัพย์ถาวร) มีสัดส่วน (%) เท่าใด ลักษณะสัดส่วนดังกล่าวเราคิดว่าเป็นปกติหรือไม่ เพราะเหตุใด และถ้ามีสัดส่วนนี้เปรียบเทียบกันหลาย ๆ ปี มีความแตกต่างกันหรือไม่ เพราะเหตุใด นอกจากนี้ยังอาจเจาะลึกดูต่อไปได้ว่า รายการใดในสินทรัพย์หมุนหรือสินทรัพย์ถาวรที่เป็นรายการสำคัญ และสัดส่วน (%) ของรายการเหล่านี้เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวม เราคิดว่ามีรายการใดที่ผิดปกติไปมากบ้างหรือไม่เพราะเหตุใด
                    1.2.2 ด้านหนี้สินและทุน จะพิจารณาว่า
                              (1) โครงสร้างการจัดหาเงินทุนของบริษัทมาจากการกู้ยืม หรือจากเงินทุนภายใน (กำไร และทุนจดทะเบียน) และมีสัดส่วนเท่าใด
                              (2) สัดส่วนการกู้ยืมเน้นไปในระยะสั้นเพื่อใช้หมุนเวียนในการดำเนินงานหรือเน้นไปในระยะยาวเพื่อการลงทุน
                              (3) สัดส่วนของหนี้สินหมุนเวียนเมื่อเทียบกับสินทรัพย์หมุนเวียนมีความสัมพันธ์อย่างไร
          2. การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis)
               การวิเคราะห์แนวโน้มเป็นการวิเคราะห์ตามแนวนอน วัตถุประสงค์ก็เพื่อทำให้เห็นการเจริญเติบโตหรืออัตราการเพิ่ม การลดลงของรายการที่เราสนใจ วิธีการคำนวณเราอาจดูการเปลี่ยนแปลงเทียบกันปีต่อปี หรือใช้เป็นหนึ่งเป็นปีฐานแล้วดูว่าในปีอื่น ๆ เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับปีฐาน วิธีใช้และอ่าน (Trend Analysis)
               2.1. ไม่จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ทั้งงบเหมือน Common - size เลือกเฉพาะรายการที่สนใจ เช่น
                    2.1.1 กรณีสงสัยว่าทำไมกำไรน้อย อาจนำรายการขายและค่าใช้จ่ายมาทำ Trend เปรียบเทียบ
                    2.1.2 กรณีสงสัยว่าสินทรัพย์ที่มีอยู่ ถูกใช้งานทำให้เกิดรายได้ ได้มากน้อยเพียงใด การเติบโตของขายกับสินทรัพย์ถาวร สินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์รวมมาเปรียบเทียบ
               2.2 การอ่าน Trend ควรทำหลังจากอ่าน Common - size แล้ว เห็นปัญหาเป็นจุด ๆ ซึ่งเราสงสัยอยู่แล้วจึงดึงรายการที่สงสัยมาวิเคราะห์ด้วย Trend เช่น ถ้าทำ Common - size แล้วพบว่า สัดส่วนของต้นทุนขายเทียบกับยอดขายสูงมาก ในขณะที่บริษัทยังเพิ่มยอดขายได้สูง ทำไมจึงยังทำกำไรขึ้นต้นได้ไม่มากขึ้น เราอาจเริ่มสงสัยประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุน สามารถนำ Trend ของยอดขายกับต้นทุนขายเปรียบเทียบกันว่าอัตราการเพิ่มของต้นทุนขายเร็วกว่ายอดขายหรือไม่
          3. การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)
               การวิเคราะห์โดยใช้งบกระแสเงินสดนี้เป็นการดูว่าในปีหนึ่ง ๆ บริษัทจัดหาเงินทุนมาจากที่ใด และใช้ไปในที่ใดบ้าง งบกระแสเงินสดถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของงบการเงินที่บริษัทควรจะจัดทำขึ้นมา จากโครงสร้างของงบกระแสเงินสดจะเห็นได้ว่ากิจการได้เงินทุนมาจากทางใด และใช้ไปในทางใด โดยการได้มาของเงินนี้แบ่งได้ออกมาจาก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการดำเนินงาน กิจกรรมการลงทุน และกิจกรรมการจัดหาเงินทุน
               3.1 กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน พิจารณาจากแหล่งของเงินทุนจากผลประกอบการก่อนคือกำไรสุทธิประจำงวด และบวกค่าเสื่อมราคาในปีนั้นกลับเข้าไป เพื่อให้เป็นกำไรที่เป็นเงินสด ผู้ประกอบการควรทราบว่า กำไรเงินสดนี้เป็นแหล่งที่มาของเงินทุนซึ่งเกิดจากการออกแรงทำมาหาได้ของกิจการ เงินทุนนี้ถือว่าบริษัทจะเอาไปใช้ลงทุน/ชำระหนี้ระยะสั้น หรือระยะยาวก็ได้เพราะมักจะไม่มีภาระผูกพัน
                    นอกจากเงินทุนที่ได้มาจากกำไรแล้ว แหล่งเงินทุนจากการดำเนินงานจะได้จากรายการของสินทรัพย์หมุนเวียนที่ลดลง (ให้คิดว่าการลดลงของสินทรัพย์ถาว เปรียบเสมือนหนึ่งการขายสินทรัพย์ออกไป แล้วได้เงินเข้ามาในกิจการจึงถือว่าเป็นแหล่งที่มาของเงินทุน) หรืออาจะได้มาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุมเวียน อนึ่งถ้าสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มขึ้นและหนี้สินหมุนเวียนลดลงให้ถือว่าเป็นแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุน เมื่อบวกลบรายการทั้งที่เป็นที่มาและใช้ไปเงินทุนแล้วผลสุทธิเราจะเรียกว่า กระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน
               3.2 กระแสเงินสดจากการลงทุน ถ้ารายการในสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่นเปลี่ยนแปลงขึ้นจะถือว่าเป็นการใช้ไปของเงินทุนที่เกี่ยวกับการลงทุน (เพราะการลงทุนหมายถึงการได้มาหรือใช้เงินทุนแบบระยะยาว ส่วนถ้ารายการในสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์อื่นเปลี่ยนแปลงลดลง ก็จะถือว่าเป็นการได้มาของเงินทุนประเภทระยะยาว ผลสุทธิของทั้ง 2 ด้านจะทำให้ได้กระแสเงินสดสุทธิจากการลงทุน (ถ้ายอดติดลบแสดงว่าแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุนมากกว่าแหล่งที่มาของเงินทุน)
               3.3 กระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน เป็นการจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะยาว ซึ่งอาจได้จากการเพิ่มขึ้นของหนี้ระยะยาว และทุนจดทะเบียน แต่ต้องหักด้วยรายการที่เป็นด้านตรงข้ามกัน เช่น
การลดลงของหนี้ระยะยาว และการจ่ายเงินปันผล ยอดสุทธิเราจะเรียกว่า กระแสเงินสดสุทธิจากการจัดหาเงินทุน
                    การเคลื่อนไหวของกระแสเงินสดทั้ง 3 ประเภท จะสะท้อนถึงพฤติกรรมได้มาและใช้ไปของเงินทุนของกิจการ ซึ่งเราอาจนำเอาพฤติกรรมต่าง ๆ เหล่านี้มาวิเคราะห์ว่าไปกระทบในทางบวกหรือลบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการได้

          การอ่านและใช้ประโยชน์จากกระแสเงินสด
               1. เริ่มต้นดูว่า เงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ซึ่งอยู่ในกลุ่มกระแสเงินสดจากการลงทุน มีขนาดเท่าใดให้เริ่มคิดก่อนว่า การลงทุนในกลุ่มนี้ถือเป็นการลงทุนแบบระยะยาว เพราะสินทรัพย์ถาวรมีอายุการใช้งานนานกว่า 1 ปี จึงสามารถช่วยสร้างได้ให้เกิดได้ในระยะยาว ดังนั้นเอให้จัดหาเงินทุนได้ถูกประเภทก็ควรจัดหาเงินทุนแบบระยะยาวมาสนับสนุนเช่นกัน ลองดูต่อว่าในงบกระแสเงินสดนี้อะไรที่เป็นแหล่งเงินทุนระยะยาวบ้าง กลุ่มแรกสามารถจัดหามาได้จากกระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุนถ้าดูมูลค่าแล้วว่า เอาเงินทุนจากกลุ่มนี้ไม่พอ ก็ไปดึงมาจากกำไรเงินสด (กำไรสุทธิบวกค่าเสื่อมราคา) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในระยะยาวได้
                    เงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร = เงินทุนที่ได้จากการจัดหาแบบระยะยาว + กำไร
                                                            บางส่วน จาการดำเนินงาน          (1)
               2. พิจารณาว่าการใช้เงินทุนหมุนวียนในการดำเนินงานมีลักษณะอย่างไร โดยดูจากกลุ่มรายการที่ 1 กำหนดความสัมพันธ์ ดังนี้
                    เงินลงทุนเพิ่มในเงินทุนหมุนเวียน = เงินทุนที่จัดหามาเพื่อใช้หมุนเวียน
                    การเพิ่มขึ้นในสินทรัพย์หมุนเวียน + การลดลงของหนี้สินหมุนเวียน
                                                            = การลดลงของสินทรัพย์หมุนเวียน
                                                              + การเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียน
                                                              + กำไรบางส่วนจากการดำเนินงาน        (2)
               ถ้าเงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร ตามสมการ (1) ทำได้ลงตัวก็หมายถึงการใช้เงินทุนระยะยาวของบริษัททำได้ถูกประเภทแล้ว แต่ถ้ารวมกำไรที่เป็นเงินสดในการดำเนินงาน กับเงินทุนระยะยาวอื่นแล้วยังไม่ครอบคลุมเงินลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์ถาวร แสดงว่ามีการนำเงินทุนระยะสิ้นมาช่วยลงทันด้วยจึงจะเพียงพอ อย่างนี้จะไปกระทบต่อเงินทุนหมุนเวียนในระยะสั้น ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องยังสภาพคล่องของกิจการในอนาคต

               ในลำดับต่อมาเราจะดูเงินทุนหมุมเวียนในสมการ (2) ว่าจัดหามาได้พอดีกับที่ใช่ไปหรือไม่ ถ้าไม่พอสามารถนำกำไรบางส่วนที่เหลือมาใช้ได้ ถ้าพบว่าเงินหมุนเวียนที่จัดหามามากกว่าที่ใช่ไปเป็นจำนวนมากและพิสูจน์ได้ว่าเอาไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร อย่งนี้ถือว่าเป็นการใช้เงินทุนผิดประเภท กิจการที่มีลักษณะใช้เงินแบบนี้ มักจะถูกพบว่ามีการเพิ่มข้นของหนี้สินหมุนเวียน เร็วกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนซึ่งจะทำให้ความสามารถในการชำระหนี้แก่เจ้านี้ระยะสั้นแย่ตามไปด้วย
 
 
          4. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios)
               แม้ว่าการวิเคราะห์ งบกระแสเงินสดจะทำให้เห็นที่มาของปัญหาทางการเงินได้ชัดเจนขึ้น แต่ถ้ามีเครื่องมือ Financial Ratios ไปวิเคราะห์ประกอบด้วยจะทำให้การสรุปปัญหาทำได้กระชับ
               4.1 อัตราส่วนที่วัดสภาพคล่อง (Liquidity) หรือ ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น (Short term solvency)
                    4.1.1 Current Ratio     = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
                    4.1.2 Quick Ratio        = สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้าคงเหลือ/หนี้สินหมุนเวียน
                    4.1.3 จำนวนวันหมุนเวียนของลูกหนี้ = (ลูกหนี้/ขายเชื่อ) * 360 วัน
                    4.1.4 จำนวนวันหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ = (สินค้าคงเหลือ/ต้นทุนขาย) * 360 วัน
                    อัตรส่วนทางการเงินทั้ง 4 ข้างต้นนี้ สามารถวัดสภาพคล่องได้ สภาพคล่องหมายถึง ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นสูง ก็จะสรุปว่าสภาพคล่องสูงด้วย
                    อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน สามารถบอกถึงระดับความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นเพราะ ถ้าสินทรัพย์หมุนเวียน สามารถครอบคลุมหนี้สินหมุนเวียนได้พอดี (1:1) ก็แสดงว่าเจ้านี้ระยะสั้นได้รับความคุ้มครองพอดี ถ้าสูงกว่า 1 เจ้าหนี้ก็จะยิ่งได้รับความปลอดภัยมากเท่านั้น แต่อย่งไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าควรจะปล่อยให้อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนสูงโดยไม่มีขีดจำกัด เพราะสภาพคล่องที่สูงเกินไปจะทำให้ลดความสามารถในการทำกำไรลง เช่น ถ้าถือเงินสดไว้มาก ๆ แม้จะมีสภาพคล่องสูงแต่เงินสดก็ไม่ได้ก่อให้เกิดผลตอบแทนอื่นแต่อย่างใด การหาจุดที่กิจการจะมีสภาพคล่องที่เหมาะสมไม่มีเกณฑ์ที่ตายตัว ขึ้นกับวิจารณญานของแต่ละกัน
                    อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว สามารพิจารณาสภาพคล่องโดย การนำสินทรัพย์ทั้งหมดหักด้วยสินค้าคงเหลือ ซึ่งถือว่ามีสภาพคล่องน้อยที่สุด เจ้าหนี้ระยะสั้นจะได้รับความคุ้มครองแค่ไหน มีข้อระวังไว้ว่าหากพอว่าอัตราส่วนนี้อยู่ในระดับต่ำ ต้องพิจารณาต่อว่าถ้าสินค้าคงเหลือของกิจการยังเป็นที่ต้องการของตลาด และยังขายคล่องอยู่ก็ยังไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องขาดสภาพคล่อง
                    จำนวนการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ ถ้ามีระดับลดลง และต่ำกว่าระยะเวลาที่ให้เครดิตเทอมแก่ลูกค้าถือว่าบริหารลูกหนี้ได้ดีเพราะมีระยะเวลาการเก็บหนี้เฉลี่ยลดลง ส่วนของสินค้าก็เช่นกัน การมีระยะยเวลาหมุนเวียนลดลง หมายถึง การขายสินค้าเป็นไปอย่างคล่องตัว ระยะเวลาที่นำสินค้ามาเก้บในคลังสินค้าจนขายออกไปใช้เวลานอยลง
               4.2 อัตราส่วนวัดประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Efficiency)
                    4.2.1 Fixed Asset Turnover = ขาย/สินทรัพย์ถาวร
                    4.2.2 Total Asset Turnover = ขาย/สินทรัพย์รวม                   
                    อัตราส่วน 2 อัตรานี้สามารถวัดว่ากิจการใช้สินทรัพยในการสร้างรายได้ ได้อย่างมีประสทธิภาพเพียงใด
                    อัตราการหมุนของสินทรัพย์ถาวร ใช้เพื่อตรวจสอบว่าประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวรในการสร้างยอดขายได้กี่เท่า ถ้าอัตราส่วนนี้ยิ่งสูง ยิ่งดี แสดงถึงความีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร ดูเฉพาะสินทรัพย์ถาวรเนื่องจากในกิจการบางประเภท เช่น กิจการผลิตสินค้าต้องลงทุนในอาคาร โรงงาน เครื่องจักรเป็นเป็นจํานวนมาก บรรดาสินทรพัย์ถาวรเหล่านนี้ใช้เป็นหลักในการสร้างหรือผลิตสินค้าขึ้นมา จึงอยากรู้ว่าประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์เหล่านี้ในการสร้างรายได้เป็นอย่างไร
                    อัตราการหมุนของสินทรัพย์รวม ใช้วัดว่าสินทรัพย์รวมทั้งหมดของกิจการสามารถนํามาใช้สร้างยอดขายได้กี่เท่า ถ้าอัตราส่วนนี้ยิ่งสูง ยิ่งแสดงถึงความีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์รวม
               4.3 อัตราส่วนวัดภาระหนี้สิน (Leverage) และความสามารถในการชำระค่าใช้จ่ายทางการเงิน (Coverage)
                    4.3.1 Debt Ratio                   = หนี้สินรวม/สินทรัพย์รวม
                    4.3.2 Debt to Equity Ratio      = หนี้สินรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น
                    4.3.3 Times Interest Earned    = กำไรจากการดำเนินงาน / ดอกเบี้ยจ่าย
                    ใน 2 อัตราส่วนแรกเป็นการวัดว่ากิจการมีภาระหนี้สินสูงเพียงใด
                    Debt Ratio มีระดับที่สูง หมายถึง การลงทุนในสินทรัพย์ของกิจการส่วนใหญ่จัดหาเงนิมาจากการกู้ การกู้มาสะท้อนถึงภารพผูกพันที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ในอนาคตจะมีมากขึ้น
                    Debt-to-Equity Ratio มีความหมรายไปในทางเดียวกับ Debt Ratio เพราถ้ากู้มาก แสดวว่าใช้เงินทุนมาจากส่วนของผู้ถือหุ้นน้อย อัตรส่วนส่วนนี้ก็จะสูง และสะท้อนถึงภาระหนี้สินที่สูงเช่นกัน
                    Times Interest Earned เป็นการวัดว่าบริษัทมีความสารถในการจ่ายค่าใช้จ่ายทางกาเริง เช่น ดอกเบี้ย ซึ่งเป็นภารพผูกพันที่บริษัทต้องจ่ายเชินกันนอกเหนือจากเงินต้น จากสูตรจะเห็นว่าถ้าอัตราส่วนนี้ยิ่งสูงเกินกว่า 1 เท่าใด แสดงว่ากิจการมีกำไรจากการดำเนินงานมากพอที่จะจ่ายดอกเบี้ยได้มาก
               4.4 อัตราส่วนวัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability)
                    4.4.1 Gross Profit Margin        = (กำไรขั้นต้น/ขาย) * 100
                    4.4.2 Operating Profit Margin  = (กำไรจากการดำเนินงาน/ขาย) * 100
                    4.4.3 Net Profit Margin           = (กำไรสุทธิ/ขาย) * 100
                    4.4.4 Return on Assets (ROA)  = (กำไรสุทธิรวม/สินทรัพย์รวม) * 100
                    4.4.5 Return on Equity (ROE)  = (กำไรสุทธิรวม/ส่วนของผู้ถือหุ้น) * 100 
                    Gross Profit Margin อัตราส่วนหนี้ยิ่งสูง ยิ่งดี วัดประสิทธิภาพของการบริหารต้นทุนผลิต ต้นทุนขาย ว่าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ควบคุมต้นทุนได้ดีพอหรือไม่
                    สำหรับ Operating Profit Margin และ Net Profit Margin ก็เช่นกัน เป็นการตรวจสอบความสามารถในการทำกำไรในจุดอื่น ๆ และกระบวนการผลิต เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการตลาด การขายและการบริหาร ถ้าไม่มีการควบคุมให้ดีก็จะมีผลต่อกำไรจากการดำเนินงานและกำไรสุทธิ
                    Return on Assets (ROA) เป็นการวัดว่า สินทรัพย์รวมของกิจการก่อให้เกิดกำไรได้มากน้อยแค่ไหน บางครั้งแม้ว่า Total Asset turnover จะสูง แต่ถ้าไม่ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดีแล้ว กำไรที่จะได้จากการใช้สินทรัพย์ก็จะน้อยไปด้วย
                    Return on Equity (ROE) เป็นการวัดว่าเงินลงุทนที่ผู้ถือหุ้นลงไปเอาไปสร้างกำไรให้กับกิจการเท่าใด ถ้า ROE สูง สะท้อนว่า กิจการได้ใช้เงินทุนของผู้ถือหุ้นอย่างคุ้มค่า ผู้ถือหุ้นก็จะพอใจเพราะมีโอกาสจะได้เงินปันผลตอบแทนกลับมามาก

สรุป
          การวิเคราะห์งบการเงินเป็นการนำข้อมูลจากงบการเงินมาเปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีการเงินที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในกิจการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงานของธุรกิจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินประกอบด้วย 1. การย่อส่วนตามแนวดิ่ง (Common – size Analysis) 2. การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) 3. การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) 4. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis)  วัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์งบการเงิน คือ  1. เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีการเงินที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับฐานะการเงินของกิจการ ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดที่หมุนเวียนในกิจการ 2. เพื่อเป็นประโยชน์ให้ผู้บริหารในการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการให้ทันต่อเหตุการณ์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารงานของธุรกิจ
 
ข้อเสนอแนะ
          การจัดทำงบการเงินเป็นการอาศัยข้อมูลตัวเลขในอดีตเพื่อคาดคะเนอนาคต ตัวเลขบางรายการได้มาจากการประมาณการ นโยบายการบัญชีที่แตกต่างกัน อาจำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ หรือข้อมูลที่ได้อาจะไม่ได้เป็นข้อมูลความจริง

บรรณานุกรม
Thaitrainingzone. (2561). การอ่านและวิเคราะห์งบการเงินhttp://www.thaitrainingzone.com.
ณิชดาภา นาคพงศ์. (2561). การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้วยเครื่องมืออัตราส่วนทางการเงินของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ดร.เบญจพร โมกขะเวส. (2563). Tools of Financial Analysis and Planning. คุณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ตลาดหลักทรัพย์. (2551). การวิเคราะห์งบการเงิน. https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1472551305959.pdf.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองเอก วรรณพฤกษ์. (2563). TFRS สู่การปฏิบัติทางการบัญชีที่ถูกต้อง. คุณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ภาสกร ปาละวัล. (2560). วิเคราะห์งบการเงินเปรียบเทียบระหว่างบริษัท ศรีตรังแอโกรอันดัสตรี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์ คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย)จำกัด (มหาชน). หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
มณีรัตน์ ใจรักสันติสุข. (2560). การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.