การบริหารความเสี่ยงขององค์กร
luxpimol@gmail.com
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการบริหารจัดการเพื่อขจัดความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรและเกิดความเสียหายต่อองค์กร เพื่อการแสวงหาโอกาสที่จะเกิดขึ้นด้วยกลวิธีต่างๆ ความเสี่ยงออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ความเสี่ยงทางด้านสินทรัพย์ ความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงาน ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร ความเสี่ยงด้านการควบคุม ความเสี่ยงด้านการตลาด ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยงมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ 2. ระบุความเสี่ยง 3. ประเมินความเสี่ยง 4. จัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 5. รายงานและติดตามผล การบริหารความเสี่ยงจะช่วยให้องค์กรสามารถพิจารณาความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กรช่วยให้มั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา รวมถึงบ่งชี้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ในเชิงบวกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดสิ่งที่ไม่คาดหวังและการสูญเสียต่อองค์กร และช่วยให้เกิดการพัฒนาการด้านการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
คำสำคัญ : การบริหาร, ความเสี่ยง, องค์กร
Abstract
The purpose of this study is to Importance of risk management and study is to Risk management procedure. By studying concepts, theories and related research. The results of the study showed that risk management is a management process to seek opportunities that arise through various strategies. There are five types of risks Include Asset risk, Operational risk, Technology and Information Risks, Control risk, Market Risk, Strategic Risk. Risk management has five steps Include 1. Define objectives 2. Identify risks 3. Risk Assessment 4. Manage and prepare a risk management plan 5. Report and follow up. Risk management allows organizations to consider acceptable risks that are consistent with their strategy. This ensures that risks are managed appropriately and in a timely manner and to quickly and efficiently identify and take advantage of positive events. Reduce the unexpected and the loss to the organization. This will help to manage and allocate resources effectively.
Keywords : Management, Risk, Organization
บทนำ
การบริหารงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนล้วนมีความเสี่ยง หากผู้บริหารขาดการพิจารณาความเสี่ยงในด้านต่างๆ อาจจะเป็นเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือกล้าเสี่ยงมากเกินไป อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรได้ การบริหารความเสี่ยงโดยเฉพาะความเสี่ยงด้านการเงินจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว การตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงเล็กน้อยย่อมส่งผลกระทบในวงกว้าง การนำเอาการบริหารความเสี่ยงทางบัญชีมาใช้ จะช่วยลดความเสี่ยงด้านการเงินลงได้ (พัชรินทร์ ขำวงษ์, 2554 : 1) องค์กรต่าง ๆ มีการประกอบกิจกรรม เพื่อให้มารดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยมีการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มาร่วมปฏิบัติงานความเสี่ยงอาจเกิดจากหลายสาเหตุโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อจำกัดของโครงการและความไม่แน่นอนอันเนื่องมาจากอิทธิพลการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโครงการ จนเป็นเหตุให้การคำนวณกิจกรรมของโครงการคาดเคลื่อนจากความจริง ผลที่ตามมาที่เห็นได้ชัดเจน คือ หากยอมรับความล่าช้านั้น ก็ต้องเพิ่มงบประมาณและผลกระทบคือ ค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่กำหนดไว้ วันสิ้นสุดของโครงการผิดพลาดและก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของธุรกิจหรือโครงการ ในกรณีที่ต้องจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมผลก็จะจบลงที่ค่าใช้จ่ายของโครงการเกินวงเงินที่กำหนดไว้เช่นเดียวกันการดำเนินงานของภาครัฐ แม้ว่าเป้าหมายสำคัญไม่ได้อยู่ที่กำไรแต่ภาครัฐก็ต้องการผลผลิตที่เป็นประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่คุ้มค่างบดำเนินการนั่นเอง ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง อาจมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบงานขององค์กร บุคลากร การเงินการคลัง การเมืองเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ลูกค้าหรือผู้รับบริการ สภาพการแข่งขัน เป็นต้น และอาจมีแหล่งที่มาของความเสี่ยงทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร
ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษา การบริหารความเสี่ยงขององค์กร ทั้งในด้านความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทั้งในการดำรงชีวิตและการบริหารจัดการองค์กร และยังสามารถประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานต่างๆ ให้มีความราบรื่น รวมทั้งเป็นข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง
2. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง
เนื้อหาของบทความ
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง
ได้กล่าวว่า ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้มีแอบแฝงอยู่ในทุกระบบของการทำงานไม่มีสิ่งใดที่จะหลีกเลี่ยงได้ เป็นความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ความเสี่ยงจึงเปรียบเสมือนฝันร้านที่เกิดขึ้น ดังนั้นแนวความคิดในเรื่องของความเสี่ยงจึงเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะทำให้เกิดความสูญเสียเกิดขึ้น โดยความเสี่ยงแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ความเสี่ยงจากการคาดการณ์ล่วงหน้า (speculative risk) 2) ความเสี่ยงแท้จริง (pure risk)
ได้อธิบายว่า ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และจะส่งผลกระทบสร้างความเสียหายความล้มเหลวหรือลดโอกาสที่จะบรรลุความสำเร็จต่อการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทั้งในระดับองค์การระดับหน่วยงานและระดับบุคคลได้
จากแนวคิดข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า ความเสี่ยง หมายถึง โอกาส หรือ เหตุการณ์ที่ต่างๆ ที่ไม่แน่นอน หรือแผนการดำเนินงานที่กำลังดำเนินการอยู่ไม่บรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่องค์องค์ได้วางไว้ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรและเกิดความเสียหายต่อองค์กร
ประเภทของความเสี่ยง
ความเสี่ยงนั้นมีหลายประเภท ดังนั้น จึงมีการจัดจำแนกประเภทของกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มกลมเพื่อให้เข้าใจถึงประเภทความเสี่ยงซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงสำหรับการวางแผน แนวทางการแก้ไข จึงมีนักวิชาการทางการศึกษาหลายท่านได้กล่าวไว้ดังนี้
ได้แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk: S) คือความเสี่ยงที่เกิดจากการกำหนดแผนกลยุทธ์ แผนดำเนินการ ที่นำไปปฏิบัติไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับปัจจัยภายในสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ หรือสถานะขององค์กร
2. ความเสี่ยงด้าน การดำเนินงาน (Operational Risk: O) คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ งานทุกๆขั้นตอนโดยครอบคลุมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศบุคลากรในการปฏิบัติงานเป็นต้น
3. ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financil.Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเบิกจ่ายงบประมาณไม่เป็นไปตามแผน งบประมาณถูกตัด งบประมาณที่ได้รับ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ของภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้การจัดสรรไม่เพียงพอ
4. ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (Compliance Risk: C) หรือ (Event Risk) คือ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการ ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้หรือกฎหมายที่มีอยู่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน
ได้แบ่งความเสี่ยงออกเป็น 5 ประเภทคือ ความเสี่ยง ทางด้านสินทรัพย์ ความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงานหรือการดำเนินงาน ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารความเสี่ยงด้านการควบคุม/กฎระเบียบ ความเสี่ยงด้านการตลาด ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์
1. ความเสี่ยงด้านสินทรัพย์ ครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงทางด้านเครดิตการลงทุน การโกง การขโมย การกระทำในทางที่ผิด การใช้สติปัญญาในการลงทุน ความละเอียดอ่อนของข้อมูล
2. ความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงานหรือการดำเนินงาน ครอบคลุมไปถึง ความเสี่ยงทางด้านกระบวนการ คุณภาพของการบริการการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ การไร้สมรรถภาพการหยุดชะงักของธุรกิจ กลยุทธ์ในการดำเนินงานและเพื่อนร่วมงาน
3. ความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยี และข้อมูลข่าวสาร มีการครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงทางด้านการหยุดชะงักของธุรกิจ ข้อมูลข่าวสาร คุณภาพของข้อมูล ความล้าสมัยของข้อมูลและเทคโนโลยี
4. ความเสี่ยงทางด้านการควบคุม/ กฎระเบียบ โดยครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงทางด้านอัตราแลกเปลี่ยน สภาพคล่อง การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความพอเพียงของบประมาณ
5. ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ครอบคลุมไปถึงลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องลูกจ้าง การแข่งขัน ทรัพยากร การประสานงานและการสื่อสาร
จากประเภทความเสี่ยงที่กล่าวมาข้างต้นพอสรุปได้ว่า ความเสี่ยงมีหลากหลายประเภท และอาจเกิดจากปัจจัยที่อยู่ภายนอกองค์กรหรือปัจจัยจากภายในองค์กร ได้แก่ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ความเสี่ยงด้านนโยบาย ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติการ ความเสี่ยงด้าน การเรียนการสอน ความเสี่ยงด้านงบประมาณ ความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการและความเสี่ยงด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งแท้จริงแล้ว
การ จำแนก ประเภทขึ้นอยู่กับองค์กรแต่ละองค์กร โครงสร้างและสภาพแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน แล้วแต่จะพิจารณามุ่งเน้นไปทางทิศทางใด
ความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง
สนั่น เถาชาลี (2553 อ้างถึงใน [6] ได้กล่าวถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงไว้ดังนี้
1. ความสูญเสียและสิ่งที่ไม่คาดหวังจากการดำเนินงาน การบริหารความเสี่ยงช่วยให้องค์กรตระหนักถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในทางเสียหาย ประเมินความเสี่ยงและกำหนดวิธีจัดการ ดังนั้น จึงลดสิ่งที่ไม่คาดหวังและการสูญเสียต่อธุรกิจ
2. สร้างโอกาส การพิจารณาเหตุการณ์ทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นต่อองค์กรโดยไม่จำกัดเฉพาะความเสี่ยงที่เป็นความเสียหายช่วยให้ผู้บริหารสามารถบ่งชี้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ในเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
กล่าวว่า การบริหารความเสี่ยงมีความสำคัญและมีประโยชน์ในการพัฒนาองค์การให้ประสบความสำเร็จผู้บริหารสามารถคาดเดาและเตรียมรับกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นเครื่องมือสำคัญของผู้บริหารในการบริหารงาน และการตัดสินใจในด้านต่างๆ เช่นการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ การติดตามควบคุมและวัดผลการปฏิบัติ ซึ่งส่งผลต่อการประสบความสำเร็จขององค์กร
จากคำอธิบายข้างต้นพอสรุปได้ว่า ความเสี่ยงมีความสำคัญคือ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์
ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น เป็นการแสวงหาโอกาสที่จะเกิดขึ้นด้วยกลวิธีต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง การค้นหาความเสี่ยงเพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการ ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงในองค์กรนั้น ๆ
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง
นักวิชาการและหน่วยงานทางการศึกษาให้ทัศนะเกี่ยวกับขั้นตอนการบริหารความเสี่ยงไว้หลายประการ ดังที่ ได้สรุปว่า
ขั้นที่ 1 ของริส ไซเคิล โมเดล เริ่มต้นที่ คีย์ บิวซิเนส ออฟเจคทีฟ กล่าวคือ การดำเนินงานทุกอย่างผู้บริหารที่รับผิดชอบจะต้องเริ่มต้นงานวางแผนการบริหารการจัดการด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective) หรือเป้าหมาย (Goals) ขององค์กรขึ้นมาเสียก่อน วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดขึ้นมาเพื่อให้องค์การและพนักงานขององค์การรู้ถึงทิศทางและจุดมุ่งหมาย การที่จะทำให้วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายขององค์การประสบความสำเร็จต้องอาศัยการสนับสนุนจากองค์ประกอบเหล่านี้เป็นพื้นฐาน องค์ประกอบของวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ประกอบด้วยนโยบาย (Policies) กระบวนการวิธีปฏิบัติ (Procedures) กฎข้อบังคับ (Rules) กลยุทธ์ (Strategies)
ขั้นที่ 2 ของริส ไซเคิล โมเดล การสำรวจความเสี่ยงที่เรียกว่า ริส เซอร์เวย์ การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของกิจกรรมสำรวจความเสี่ยง ช่วยให้ภาพการให้ความสำคัญต่องานบริหารความเสี่ยงของฝ่ายจัดการมีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้นการกำหนดบุคลากรหรือคณะบุคคลทำหน้าที่เป็นผู้สำรวจความเสี่ยงอาจมี ได้แก่ มอบหมายให้ฝ่ายตรวจสอบเป็นผู้รับผิดชอบ มอบหมายให้ฝ่ายบริหารความเสี่ยง และมอบหมายให้มีคณะทำงานในการสำรวจความเสี่ยงในแต่ละครั้งหรือแต่ละช่วงเวลาแล้วเสร็จ
ขั้นที่ 3 ของ ริส ไซเคิล โมเดล การค้นหา (Searching) และการระบุ (Identify) เพื่อหาความเสี่ยงที่ต้องการ การค้นหาและการระบุความเสี่ยงออกมาจากข้อมูลที่รวบรวมมานั้นอาจมีมากมายหลากหลาย
ผู้ทำการ และควรทำการพิจารณาถึงลำดับความสำคัญของประเภทข้อมูลในเบื้องต้นเสียก่อน เพราะข้อมูลบางประเภทอาจมีความสำคัญน้อยหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในบางเรื่องเท่านั้น
ขั้นที่ 4 ของ ริส ไซเคิล โมเดล คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) กระบวนการวิเคราะห์ความเสี่ยงมีความเกี่ยวโยงใกล้ชิดและต่อเชื่อมระหว่างการ ไอเดินทิฟายน์ ริส กับการประเมิน (Access) ความเสี่ยงเทคนิคการวิเคราะห์ อาจทำให้ได้อย่างกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับลักษณะความเสี่ยงและชนิดของเครื่องมือที่จะพิจารณานำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้น เทคนิคการวิเคราะห์ที่สำคัญที่นิยมใช้อย่างหนึ่ง คือ การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (Analytical Analysis)
ขั้นที่ 5 ของ ริส ไซเคิล โมเดล คือ การประเมินและการจัดลำดับความเสี่ยง (Risk Assessing and Ranking) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญและสลับซับซ้อนที่เกี่ยวโยงต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดกับกิจกรรมการค้นหาและคัดระบุความเสี่ยงกับการวิเคราะห์ความเสี่ยง ซึ่งหมายถึง การนำผลลัพธ์มาทำการประเมิน (Access) และจัดลำดับ (Ranking or Prioritizing) เพื่อทราบถึงขนาดความรุนแรงและขนาดระดับความสำคัญของความเสี่ยงที่ได้ทำการวิเคราะห์ผลออกมา
ขั้นที่ 6 ของ ริส ไซเคิล โมเดล คือ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) ที่เป็นหัวใจของความสำเร็จขององค์การโดยตรง เนื่องจากความเสี่ยงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อความสำเร็จของวัตถุประสงค์ขององค์การ จึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายจัดการที่ต้องรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรแต่ละองค์การจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับกลยุทธ์และทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่ แต่อย่างน้อยควรตั้งอยู่บนพื้นฐานสำคัญเหล่านี้
ขั้นที่ 7 ของ ริส ไซเคิล โมเดล คือ การตรวจสอบความเสี่ยง (Risk Audit) เป็นกระบวนการ
ที่เกี่ยวกับการควบคุมกำกับและติดตามว่ากลไกการบริหารความเสี่ยงมีการปฏิบัติตามหรือไม่ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสอบทานความเสี่ยงและการควบคุมภายใน การประเมินระบบควบคุมภายใน การวางมาตรฐานการปรับปรุงแก้ไข การสร้างสัญญาณเตือนภัย (Warning signal) ที่มีประสิทธิผลต้นแบบวงจรความเสี่ยงดังกล่าวเป็นภาพของความชัดเจนในพันธกรณีสำคัญที่บรรดาผู้บริหารขององค์การทุกระดับจะต้องปลดเปลื้องพันธกรณี โดยการบริหารจัดการให้องค์การดำเนินไปในทิศทางที่ปลอดภัยโดยไม่มีความเสี่ยง หรือให้สามารถควบคุมป้องกันให้เกิดขึ้นแต่น้อยที่สุด เพื่อให้วัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์รอง
ที่สำคัญขององค์การประสบความสำเร็จสูงสุด
ประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยง
นักวิชาการและหน่วยงานทางการศึกษาให้ทัศนะเกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงไว้หลายประการ ดังที่ นิรภัย จันทร์สวัสดิ์ (2551 อ้างถึงใน พัชรินทร์ ขำวงศ์,2554) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการบริหารความเสี่ยงดังนี้
1. การบริหารความเสี่ยงเป็นฐานข้อมูลความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารและการปฏิบัติงานในองค์กรให้มองเห็นความสอดคล้องระหว่างความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และกลยุทธ์ขององค์กร จึงช่วยให้สามารถพิจารณาความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร
2. การบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารงาน เนื่องจากการบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา
3. การบริหารความเสี่ยง เป็นกระบวนการจัดการความเสี่ยง ช่วยในการพัฒนาองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงช่วยให้ผู้บริหารสามารถบ่งชี้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ในเชิงบวกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
4. การบริหารความเสี่ยง ช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการลดความเสี่ยงและสิ่งที่ไม่คาดหวังในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งช่วยให้องค์กรตระหนักถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทางเสียหายประเมินความเสี่ยงและกำหนดวิธีที่เหมาะสมดำเนินการจัดการ ดังนั้น จึงลดสิ่งที่ไม่คาดหวังและการสูญเสียต่อองค์กร
5. การบริหารความเสี่ยงโดยรวมทั้งองค์กร จะเห็นภาพรวมของความเสี่ยงต่าง ๆ ที่สำคัญได้ทั้งหมด ทำให้เข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กรและตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน และยังทำให้เห็นความเสี่ยงที่มีอยู่และสร้างความเชื่อมโยงทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร
6. การบริหารความเสี่ยงเป็นการสร้างโอกาสให้กับองค์กร การพิจารณาเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับองค์กรโดยไม่จำกัดเฉพาะส่วนที่เป็นความเสี่ยงที่เป็นความเสียหายหรือความเสี่ยงในเชิงลบจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถบ่งชี้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ในเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
7. การบริหารความเสี่ยงช่วยในการพัฒนาองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการบริหารความเสี่ยง ทำให้รูปแบบการตัดสินใจในการปฏิบัติงานขององค์กรมีการพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งในการตัดสินใจโดยที่ผู้บริหารมีความเข้าใจกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ขององค์กร และระดับความเสี่ยงอย่างชัดเจน
8. การบริหารความเสี่ยงช่วยให้เกิดการพัฒนาการด้านการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงในแต่ละกิจกรรมและการเลือกใช้มาตรการในการบริหารความเสี่ยง
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้ของประเทศไทย เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและนำเสนอการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้ของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษามีความคิดเห็นต่อการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ผู้บริหารของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีเพศ ศาสนา และประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการนำเสนอการบริหารความเสี่ยง ครอบคลุมถึง ด้านกลยุทธ์ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านความมั่นใจทางการศึกษา และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนควรนำไปใช้ประกอบการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ผลการศึกษาพบว่า ความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการดำเนินงาน ด้านการเงิน และด้านกลยุทธ์ และปัจจัยด้านการสื่อสารที่มีคุณภาพ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร ด้านการติดตามกระบวนการบริหารความเสี่ยง ด้านการประเมินการบริหารความเสี่ยงด้านการพัฒนาบุคลากร และด้านการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมากกับความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สรุป
ความเสี่ยงเป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น เป็นการแสวงหาโอกาสที่จะเกิดขึ้นด้วยกลวิธีต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง การค้นหาความเสี่ยงเพื่อนำไปสู่การกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยงในองค์กรนั้น ๆ ซึ่งโอกาสหรือ เหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่แน่นอน หรือแผนการดำเนินงานที่กำลังดำเนินการอยู่ไม่บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่องค์องค์ได้วางไว้ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อองค์กรและเกิดความเสียหายต่อองค์กร ความเสี่ยงแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ ความเสี่ยงทางด้านสินทรัพย์ ความเสี่ยงทางด้านการดำเนินงาน
ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสาร ความเสี่ยงด้านการควบคุม ความเสี่ยงด้านการตลาด ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยงเป็นกระบวนการบริหารจัดการเพื่อขจัดความเสี่ยง โดยมีขั้นตอนการดำเนินการบริหารความเสี่ยง 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. กำหนดวัตถุประสงค์ 2. ระบุความเสี่ยง 3. ประเมินความเสี่ยง 4. จัดการและจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง 5. รายงานและติดตามผล การบริหารความเสี่ยงจะช่วยให้องค์กรสามารถพิจารณาความเสี่ยงที่ยอมรับได้ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์กร
ช่วยให้ผู้บริหารสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา ช่วยให้ผู้บริหารสามารถบ่งชี้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ในเชิงบวกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดสิ่งที่ไม่คาดหวังและการสูญเสียต่อองค์กร ทำให้เข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์กรและตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อองค์กรได้อย่างครบถ้วน ช่วยให้ผู้บริหารสามารถบ่งชี้และใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์ในเชิงบวกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ช่วยในการพัฒนาองค์กรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกับการบริหารความเสี่ยง และช่วยให้เกิดการพัฒนาการด้านการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
ข้อเสนอแนะ
การบริหารความเสี่ยงขององค์กรเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ควรมีการศึกษาเครื่องมืออื่น ๆ ที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อให้ครอบคลุมนเกี่ยวกับบริหารองค์กรมากขึ้น
บรรณานุกรม
[1]กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 12 พ. ศ. 2560-2564. สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.
[2]ครองยุทธ นบนอบ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.
[3]ชวาลา ละวาทิน. (2559). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารความเสี่ยงของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมป์ สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน หน้าที่ 61 – 69.
[4]น้ำทิพย์ ม่วงปลอด.(2560). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก. ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่,สงขลา.
[5]เผชิญ อุปนันท์. (2563). การบริหารความเสี่ยงองค์กร. https://med. mahidol.ac.th/ risk_mgt/th/article/03202017-1523
[6]พัชรินทร์ ขำวงศ์. (2554). การบริหารความเสี่ยงงานการเงิน บัญชี และพัสดุ ของสถานศึกษาภาครัฐแห่งหนึ่ง. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
[7]สุขะมุกข์ เรืองอ่อน. (2561). การบริหารความเสี่ยงของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน-ธันวาคม หน้า 131 – 143.
[8]James Roth, (2007), Categorizing risk: Risk categories help users identify, Understand, and monitor their organizations’potential risks – Risk Watch, [ออนไลน์] Retrieved: http://findartictes.com., (20 ตุลาคม 2563).