การจัดเก็บภาษีจากสินค้าเครื่องดื่ม การวางแผนภาษี และสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ
17
Jan
การจัดเก็บภาษีจากสินค้าเครื่องดื่ม การวางแผนภาษี และสิทธิประโยชน์
สำหรับผู้ประกอบการ
Taxation on beverage products, tax planning and benefits for entrepreneurs
สิริพร กรรณศร
SIRIPORN KANNASORN
E-mail : kannasorn.siriporn@gmail.com
E-mail : kannasorn.siriporn@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบแนวคิดการจัดเก็บภาษีสินค้าเครื่องดื่มจากค่าความหวาน (ปริมาณน้ำตาล) หลักเกณฑ์ในการเสียภาษี แนวคิดในวางแผนการเสียภาษี และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับในการดำเนินธุรกิจ นอกจากการผลิตผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคเครื่องดื่มแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มที่เพิ่มพลังงาน ดับกระหาย เสริมคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงเครื่องดื่มส่งเสริมต่อสุขภาพนั้น การวางแผนการประกอบธุรกิจ การทำความเข้าใจกับภาษีเครื่องดื่มที่เก็บจากค่าความหวาน หลักเกณฑ์ภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงข้อบังคับอื่น ๆ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และไม่สูญเสียสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ ดังนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความเข้าใจและความรู้ในการวางแผน โดยปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและสิทธิประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ จึงมีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ
คำสำคัญ : สินค้าเครื่องดื่ม, ภาษีสรรพสามิต, วางแผนภาษี, สิทธิประโยชน์
Abstract
The objectives of this article were entrepreneurs know the concept of taxing beverage from sweetness. (sugar quantity) regulation of Tax , tax planning ideas and benefits. In addition to producing products to meet the needs of beverage consumers Whether it is a drink that increases energy, quenches thirst, enhances nutrition including drinks that promote health, business planning, understanding taxing beverage from sweetness, regulation of VAT and including other regulations. To grow the business legally and not lose the benefits that should be received. Therefore, entrepreneurs need to have understanding and knowledge in planning, by complying with the regulations of the law. Including other relevant rules and benefits in doing business. This is important and necessary for entrepreneurs.
Keywords : beverage products, excise tax, tax planning, benefits
บทนำ
ภาษีเป็นเครื่องมือสำหรับการจัดเก็บรายได้ของประเทศและใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดระบบเศรษฐกิจ ภาษีจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนนโยบายการคลังของภาครัฐ รวมถึงอิทธิพลต่อการควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม เพราะเมื่อกิจกรรมใดที่มีนโยบายภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ปริมาณกิจกรรมนั้น ๆ จะผันแปรขึ้นลงตามนโยบายภาษีที่เกี่ยวข้อง (ยุทธนา ศรีสวัสดิ์, ออนไลน์) ภาษีเป็นเงินหรือทรัพย์สินที่รัฐหรือสถาบันที่ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่ารัฐเรียกเก็บจากราษฎร ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล เพื่อนำมาใช้ในการบริหารประเทศให้เจริญก้าวหน้า ภาษีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม (เอสวีเค การบัญชีและภาษี, 2559) ผลการจัดเก็บรายได้ ตั้งแต่เดือน ต.ค.-เม.ย. ปีงบประมาณ 64 กรมสรรพากร คิดเป็น 60.59% รองลงมากรมสรรพสามิต คิดเป็น 22.96% (สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง, 2564) ดังนั้น ความรู้ทางหลักเกณฑ์ภาษีและการวางแผนในการดำเนินธุรกิจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการควรทำความเข้าใจ นอกจากเป็นข้อบังคับทางกฎหมายแล้วนั้น ยังมีสิทธิประโยชน์ที่สำคัญ ที่สามารถช่วยลดต้นทุน หรือวางแผนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถสร้างความแข่งขันได้ ความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์และการวางแผนภาษี จึงเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มดำเนินธุรกิจ
1. เพื่อให้ทราบแนวคิดและหลักการจัดเก็บภาษีสินค้าเครื่องดื่มจากค่าความหวาน (ปริมาณน้ำตาล)
2. เพื่อให้ทราบแนวทางการดำเนินงานและสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดในการจัดเก็บภาษี
การจัดเก็บภาษีจากอาหารและเครื่องดื่มที่มีโทษต่อสุขภาพ เป็นการจัดเก็บภาษีในรูปแบบภาษีการบริโภค ซึ่งการจัดเก็บภาษีการบริโภคนั้นจะมีทั้งการจัดเก็บภาษีการบริโภคหรือภาษีการขายโดยทั่วไป และการจัดเก็บภาษีการบริโภคเฉพาะหรือภาษีการขายเฉพาะที่จะนํามาปรับใช้กับการจัดเก็บภาษีจากสินค้า ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต แนวความคิดในการจัดเก็บภาษีนี้อยู่ภายใต้แนวความคิดของการจัดเก็บภาษีจากสินค้าที่มีความเกี่ยวพันทางด้านลบต่อสุขภาพ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีการบริโภคจากสินค้าเฉพาะอย่าง โดยสินค้าดังกล่าวจะต้องเป็นที่พิสูจน์ได้ว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันแนวความคิดดังกล่าวนี้ ได้ขยายขอบเขตรวมไปถึงอาหารและเครื่องดื่มที่มีโทษต่อร่างกายอีกด้วย เช่น การจัดเก็บภาษีจากเครื่องดื่มรสหวานที่มีส่วนผสมของน้ำตาล ซึ่งมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าการบริโภคน้ำตาลในปริมาณมากเกินความต้องการของร่างกายจะส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน อันเป็นสาเหตุปัจจัยสำคัญในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ สำหรับแนวความคิดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานว่าราคามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคกล่าวคือภาษีจะถูกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าอันส่งผลให้สินค้าในกลุ่มดังกล่าวมีราคาเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีผลต่อการตัดสินใจบริโภค (พีรเดช เดชคุ้ม, 2558)
ภาษีสรรพสามิต
ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยมีกรมสรรพสามิตเป็นหน่วยงานที่ดูแลการจัดเก็บ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภครับภาระภาษีสูงกว่าปกติ สินค้าและบริการมีลักษณะฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากภาครัฐ หรือเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วมีผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (PEAK, 2564)
สินค้าเครื่องดื่ม
พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ได้ระบุความหมายของเครื่องดื่ม ไว้ดังนี้
(1) สิ่งซึ่งตามปกติใช้เป็นเครื่องดื่มได้ โดยไม่ต้องเจือปน ซึ่งไม่มีแอลกอฮอล์หรือมีแอลกอฮอล์โดยปริมาตรไม่เกินร้อยละ 0.5 อันบรรจุในภาชนะและผนึกไว้ แต่ไม่รวมถึง
(ก) น้ำหรือน้ำแร่ตามธรรมชาติ
(ข) น้ำกลั่นหรือน้ำกรองสำหรับดื่มโดยไม่ปรุงแต่ง
(ค) เครื่องดื่มซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นเพื่อขายปลีกเองโดยเฉพาะ อันมิได้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ด้วย ทั้งมิได้สงวนคุณภาพด้วยเครื่องเคมี
(ง) น้ำนมจืด น้ำนมอื่น ๆ ไม่ว่าจะปรุงแต่งหรือไม่ ทั้งนี้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(จ) เครื่องดื่มซึ่งมีลักษณะเป็นเกล็ดน้ำแข็ง
(ฉ) เครื่องดื่มตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(2) หัวเชื้อเข้มข้นเฉพาะที่ใช้กับเครื่องผลิตเครื่องดื่มพร้อมดื่มเพื่อขายให้กับผู้บริโภค ณ จุดขายปลีก
(3) อาหารชนิดเหลว หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (กรมสรรพสามิต, 2560)
ประเภทสินค้าเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่ม
ประเภท 02.01 น้ำแร่เทียม น้ำโซดาและน้ำอัดลม ที่ไม่เติมน้ำตาล หรือสารที่ทำให้หวานอื่น ๆ และไม่ปรุงกลิ่นรส
ประเภท 02.02 น้ำแร่ และน้ำอัดลม ที่เติมน้ำตาลหรือสารที่ทำให้หวานอื่น ๆ หรือที่ปรุงกลิ่นรสและเครื่องดื่มอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงน้ำผลไม้หรือน้ำพืชผักตามประเภทที่ 02.03
ประเภท 02.03 น้ำผลไม้ (รวมถึงเกรปมัสต์) และน้ำพืชผักที่ไม่ได้หมัก และไม่เติมสุรา ไม่ว่าจะเติมน้ำตาลหรือสารทำให้หวานอื่น ๆ หรือไม่ก็ตาม
ประเภท 02.04 หัวเชื้อเข้มข้นเฉพาะที่ใช้กับเครื่องผลิตเครื่องดื่มพร้อมดื่มเพื่อขายให้กับผู้บริโภค ณ จุดขายปลีก
ประเภท 02.05 อาหารชนิดเหลว หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหารที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ประเภท 02.90 อื่น ๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ประเภท 16.90 (1) ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่มที่มีลักษณะผงเกล็ด หรือเครื่องดื่มเข้มข้นที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและสามารถละลายน้ำได้ (กรมสรรพสามิต, 2560)
ตารางที่ 1 แสดงประเภทสินค้าเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ที่ใช้เป็นเครื่องดื่ม
ประเภท | รายการ |
02.01 |
|
02.02 |
|
02.03 |
|
02.04 |
|
02.05 |
|
02.90 |
|
16.90 (1) |
|
การวางแผนภาษี
การเตรียมการในการดำเนินธุรกิจ และวางแผนเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมถึงใช้สิทธิประประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อบรรเทาภาระภาษี และเป็นการควบคุมต้นทุน หรือวางแผนในการดำเนินธุรกิจ และสร้างขีดความสามารถแข่งขันได้
ก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการ ดังนี้ (คลินิกภาษีกระทรวงการคลัง, 2559)
1. ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรกับกรมสรรพากร เพื่อใช้ในการยื่นแบบแสดง รายการภาษี การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีที่เป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ประสงค์จะจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (กรมสรรพากร, 2549) ผู้ประกอบการที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนแทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก (กรมสรรพากร, 2563)
2. จดทะเบียนพาณิชย์ ในการประกอบกิจการขายสินค้า
3. ขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตเครื่องดื่ม โดยตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด และขออนุญาตสถานที่ผลิตกับหน่วยงานนั้น เช่น เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานครฯ เป็นต้น ทั้งนี้ หากสิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือ โรงเรือนต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินด้วย และถ้าเข้าข่ายโรงงานจะต้องขออนุญาต จากสำนักทะเบียนโรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมรายปี
4. ขออนุญาตผลิตเครื่องดื่มกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
5. ยื่นขอจดทะเบียนสรรพสามิต เนื่องจากเครื่องดื่มเป็นสินค้าที่กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษี หากเข้าหลักเกณฑ์ข้อบังคับต้องทำการจดทะเบียนสรรพสามิต ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่โรงอุตสาหกรรมตั้งอยู่ และดำเนินการตามกระบวนการขอจดทะเบียนสรรพสามิต เช่น ส่งตัวอย่างเครื่องดื่มแจ้งวันทำการผลิตและราคาขายปลีก จัดทำฉลาก รวมไปถึงรับทราบหน้าที่มีอันจะต้องเสียภาษี ซึ่งเกิดขึ้นในเวลานำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม และจัดทำเอกสารประกอบการยื่นเสียภาษี
6. จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีมีรายได้จากยอดขายเครื่องดื่มเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี แต่หากรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท จะเลือกจดหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ (กรณีต้องการเป็นผู้นำเข้าหรือส่งออกเครื่องดื่ม ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย)
การนำเข้า
1. การจะนำเข้าสินค้าใด ๆ ต้องมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร และต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรก่อน หลังจากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการของกรมศุลกากร คือ การลงทะเบียนในระบบพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) เพื่อขอเป็นผู้ประกอบการนำเข้า
2. ส่งออกกับกรมศุลกากร โดยสามารถดำเนินการหรือให้ตัวแทนออกของโดยการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องดื่มนั้น จะต้องขอปิดและขีดฆ่าแสตมป์และชำระภาษีสรรพสามิต (กรมศุลกากรจัดเก็บแทน และขอเบิกแสตมป์กับสรรพสามิตพื้นที่ที่ด่านรับอนุญาต (Customs Broker) ดำเนินการลงทะเบียน โดยทำการลงทะเบียนเฉพาะครั้งแรกเท่านั้น
3. หลังจากลงทะเบียน Paperless แล้ว ต้องขออนุญาตนำเข้าเครื่องดื่มกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เมื่อได้รับอนุญาตนำเข้าเครื่องดื่มแล้ว จึงดำเนินการนำเข้าตามพิธีการนำเข้าของกรมศุลกากรศุลกากรตั้งอยู่ก่อนนำเครื่องดื่มผ่านด่านศุลกากร ทั้งยังต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้า และวัตถุดิบเพื่อประกอบ การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีต่อไป
หลักการภาษีเครื่องดื่มที่มีความหวาน
หลักการภาษีเครื่องดื่มที่มีความหวาน (Sugar-sweetened Beverages Tax) มักเรียกกันว่า “ภาษีความหวาน” วัตถุประสงค์จะจัดเก็บผลิตภัณฑ์หวานมากเก็บภาษีมาก ผลิตภัณฑ์ที่หวานน้อยเก็บภาษีน้อย โดยเฟสแรกบังคับใช้ในวันที่ 16 กันยายน 2560 แต่เป็นการจัดเก็บในอัตราตามมูลค่าราคานำเข้าสินค้าเพียงอัตราเดียว โดยให้เวลาผู้ประกอบการปรับตัว 2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการลดปริมาณน้ำตาลในสินค้าตนเอง โดยมีหลักเกณฑ์ คือ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลเกินเกณฑ์ต่อ 100 กรัม จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่กำหนดไว้ คือยิ่งมีปริมาณน้ำตาลมากก็ยิ่งเสียภาษีในอัตราสูง (มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ, 2563)
อัตราภาษีตามปริมาณความหวาน
ปริมาณน้ำตาล ต่อ 100 มิลลิลิตร | 1 ก.ย. 62 ถึง 30 ก.ย. 62 |
1 ต.ค. 62 ถึง 30 ก.ย. 64 |
1 ต.ค. 64 ถึง 30 ก.ย. 66 |
ตั้งแต่ 1 ต.ค. 66 เป็นต้นไป |
ไม่เกิน 6 กรัม | 0 | 0 | 0 | 0 |
เกิน 6-8 กรัม | 0.10 บาทต่อลิตร | 0.10 บาทต่อลิตร | 0.30 บาทต่อลิตร | 1 บาทต่อลิตร |
เกิน 8-10 กรัม | 0.30 บาทต่อลิตร | 0.30 บาทต่อลิตร | 1 บาทต่อลิตร | 3 บาทต่อลิตร |
เกิน 10-14 กรัม | 0.50 บาทต่อลิตร | 1 บาทต่อลิตร | 3 บาทต่อลิตร | 5 บาทต่อลิตร |
เกิน 14 กรัม | 1 บาทต่อลิตร | 3 บาทต่อลิตร | 5 บาทต่อลิตร | |
เกิน 18 กรัม | 5 บาทต่อลิตร |
อัตราอากรขาเข้า
รายการ | พิกัดศุลกากร | อัตราอากรขาเข้า |
น้ำส้ม | 2009,12,00 | 30% หรือ 10บาท/Lit |
น้ำองุ่น | 2009,61,00 | 30% หรือ 10บาท/Lit |
น้ำผลไม้หรือน้ำพืชผักผสมกัน | 2009,90,90 | 30% หรือ 10บาท/Lit |
กรณีศึกษาเพิ่มเติม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายน้ำผลไม้สดคั้น
ข้อกฎหมาย : มาตรา 81(1)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : นาง ก. ทำงานในบริษัท ซึ่งประกอบกิจการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร จึงขอทราบว่า กรณีดังต่อไปนี้จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
1. กรณีบริษัทซื้อผลิตผลทางการเกษตรจากบริษัทผู้ผลิต เช่น องุ่น ส้ม แครอท บล็อกโครี่ มาคั้นเป็นน้ำผลไม้สด ด้วยเครื่องคั้นน้ำผลไม้ หรือคั้นด้วยมือโดยไม่ได้ปรุงแต่งสี รสชาติ ไม่ใส่สารกันบูด หลังจากนั้นนำน้ำผลไม้บรรจุขวดพลาสติกใสปิดฝา (เหมือนขวดน้ำดื่ม) ขนาดต่าง ๆ ติดฉลากชื่อสินค้า และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา เก็บรักษาไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิเพื่อรอการส่งไปจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่างๆ ในประเทศ สินค้ามีอายุ 3-5 วันนับแต่วันผลิต
2. กรณีตาม 1. ถ้าการบรรจุขวด ไม่มีการติดฉลากชื่อสินค้า
3. กรณีบริษัทจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายแจกน้ำผลไม้จากสินค้าเพื่อขาย ซึ่งสินค้ามีลักษณะและขนาดเช่นเดียวกับสินค้าที่ขาย ให้เป็นตัวอย่างเพื่อทดลองชิมก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า โดยส่งพนักงาน PC. ของบริษัทไปประจำตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้า เทน้ำผลไม้ใส่แก้วขนาด 3-5 ซีซี ให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ต้องการจะซื้อสินค้าชิมโดยไม่คิดราคา
แนววินิจฉัย :
1. การขายน้ำผลไม้ที่คั้นจากผลไม้สดด้วยเครื่องคั้นน้ำผลไม้ หรือคั้นด้วยมือ โดยไม่มีการปรุงแต่งสี รสชาติ ไม่ใส่สารกันบูด และนำน้ำผลไม้ที่คั้นได้บรรจุขวดพลาสติกใส ปิดฝาเข้าลักษณะเป็นการขายน้ำผลไม้ น้ำจากพืชตาม 1 และ 2 เฉพาะที่ไม่บรรจุกระป๋อง ภาชนะหรือหีบห่อที่ผนึกในลักษณะมั่นคง จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร
2. การแจกน้ำผลไม้เพื่อขายให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ต้องการจะซื้อชิมก่อนจะตัดสินใจซื้อโดยไม่คิดราคา เพื่อเป็นการแนะนำสินค้าและจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด บริษัทไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าน้ำผลไม้ที่แจกมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (7) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 (4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 (กรมสรรพากร, 2550)
สิทธิประโยชน์ทางภาษี
1. ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มิใช่นิติบุคคลและมีรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
2. ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับการลดภาษี หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง และคิดรายจ่ายที่หักได้มากกว่า 1 เท่า (คลินิกภาษีกระทรวงการคลัง, 2559)
3. สิทธิประโยชน์ทางภาษีสรรพสามิต มีผู้ประกอบการต้องศึกษาเพิ่มเติม ดังนี้
มาตรา 102 สินค้านำเข้าให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามกฎหมายศุลกากร
มาตรา103 ยกเว้น คืน และลดอัตราภาษีกรณีส่งออก
มาตรา 104 สินค้านำออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายศุลกากร หรือเขตปลอดอากร หรือเขตประกอบการเสรีแห่งหนึ่งไปเข้าอีกแห่งหนึ่ง ให้ยกเว้นตามกฎหมายศุลกากร
มาตรา 105 ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิขอลดหย่อนภาษีสำหรับสินค้าที่กำหนด ในกฎกระทรวง กรณีนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าสรรพสามิต
มาตรา 106 ยกเว้นภาษีให้ผู้มีหน้าที่ที่เสียภาษี ในกรณี
(1) สำหรับสินค้าที่นําไปใช้เป็นวัตถุดิบสินค้าสรรพสามิต
(2) สำหรับสินค้าที่นําไปใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการส่งออก
มาตรา 107 ได้รับคืนหรือยกเว้น
(1) บริจาคให้แก่ประชาชนเป็นสาธารณกุศลผ่านส่วนราชการ
(2) บริจาคเป็นสาธารณกุศลแก่ส่วนราชการ
(3) สินค้าที่จําหน่ายให้แก่ผู้ได้รับเอกสิทธิตามข้อผูกพัน
มาตรา 110 ขอคืนภาษีกรณีสินค้าเสียหายและเสื่อมคุณภาพจนใช้การไม่ได้
มาตรา 111 สินค้าที่นําเข้าซึ่งได้เสียภาษีแล้วหากส่งกลับออกไป ให้คืนภาษีตามหลักกฎหมายศุลกากร
มาตรา 112 กรณีสินค้าที่นําเข้ามาซึ่งได้เสียภาษีแล้ว และมีการนําสินค้านั้นไปผลิตเป็นสินค้าส่งออก ให้คืนภาษีตามหลักกฎหมายศุลกากร
มาตรา 113 มีสิทธิได้รับเงินคืน กรณีเสียโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย เสียเกินกว่าที่ควรจะเสีย แต่ต้องไม่ใช่เป็นการเสียภาษีตามการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่ (กรมสรรพสามิต, 2560)
สรุป
ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจ แนวคิดในการจัดเก็บภาษี ประเภทสินค้าเครื่องดื่ม หลักการและอัตราภาษี และปฏิบัติตามข้อบังคับของกฎหมายในการดำเนินธุรกิจ การวางแผนภาษีเป็นสิ่งสำคัญในการเตรียมการในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน รวมถึงใช้สิทธิประประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ สามารถวางแผนควบคุมต้นทุน ทำให้ผู้ประกอบการสร้างขีดความสามารถแข่งขันได้ และไม่สูญเสียสิทธิประโยชน์ที่พึงจะได้รับ
ข้อเสนอแนะ
1. กรณีที่ผู้ประกอบการเข้าข่ายจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากแม้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามหลักเกณฑ์ จะเป็นสิทธิประโยชน์ที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ แต่ภาระภาษียังคงแฝงอยู่ในต้นทุนของสินค้าที่ผู้ประกอบการไม่สามารถผลักภาระภาษีนี้ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องพิจารณาในการวางแผนต้นทุนที่ต้องรับในส่วนนี้ด้วย
2. ในยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากเทรนด์รักสุขภาพแล้ว การใช้จ่ายผู้บริโภคในช่วงหรือหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ประกอบการต้องตระหนักถึงต้นทุนและผลิตภัณฑ์ในการผลิตออกจำหน่าย เพื่อให้การดำเนินธุรกิจนั้นอยู่รอดและเติบโตไปด้วยดี
บรรณานุกรม
PEAK. (2564). ภาษีสรรพสามิตคืออะไร. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://peakaccount.com/blog/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/
เอสวีเค การบัญชีและภาษี. (2559). ความหมายของภาษี. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : http://svkaccount.com/th/blog/detail/taxmean
กรมสรรพสามิต. (2560). คำอธิบายพระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ตอนที่ 2 สินค้าเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mzq1/~edisp/uatucm345522.pdf
กรมสรรพสามิต. (2560). พระราชบัญญัติ ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/ document/dwnt/mzy0/~edisp/uatucm364712.pdf
กรมสรรพากร. (2549). เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.rd.go.th/14688.html#c3
กรมสรรพากร. (2562). เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.rd.go.th/549.html
กรมสรรพากร. (2562). ข้อหารือภาษีอากร เลขที่หนังสือ กค 0706/พ./4495 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 เลขตู้ 70/34893 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายน้ำผลไม้สดคั้น. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.rd.go.th/35294.html
กิตตินันท์ นาคทอง. (2562). อัตราภาษีความหวาน. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://mgronline.com/columnist/detail/9620000020931
คลินิกภาษีกระทรวงการคลัง. (2559). คลินิกภาษีเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : http://taxclinic.mof.go.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2-98-%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99% E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1.html
นายพีรเดช เดชคุ้ม. (2558) การจัดเก็บภาษีการบริโภคจากอาหารและเครื่องดื่มที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
พิน แสงจันทร์ และแพรวพรรณ จันทร์ประทักษ์. (2562). สัมมนา “ทิศทางภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าเครื่องดื่ม”. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mzy0/~edisp/uatucm364374.pdf
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ. (2563). ภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและมาตรการภาษีเกลือและโซเดียม. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://thainhf.org/work/%E0%B8%A0%E0% B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B9%89/
ยุทธนา ศรีสวัสดิ์. (มปป). ความสำคัญของภาษีกับศาสตร์อื่น ๆ. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.itax.in.th/pedia/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2% E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9% E0%B8%B5/
สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง. (2564). ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://dataservices.mof.go.th/menu3?id=2