การจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

UploadImage
 
UploadImage

การจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไร
ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

          Managing Working Capital and Cash Flow Ratio on Profitability of Listed Companies in the Stock Exchange of Thailand      
จิรัญญา ตาวงษ์
Jiranya Tawong
View.jiranya@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ
          ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วารสาร บทความทางวิชาการและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วย 1.แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนหมุนเวียน 2.แนวคิดเกี่ยวกับกระแสเงินสด 3.แนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไร โดยการบริหารเงินทุนหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ การกำหนดและรักษาระดับเงินสดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การพิจารณาหาแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนต่างๆ และ งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดที่ได้รับเข้ามา และกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายออกไปที่เกิดขึ้นภายในกิจการ ซึ่งทั้งสองแนวคิด มีความสำคัญในการบริหารจัดการ หลักทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารเงินสดที่ได้รับเข้ามาจากการขายสินค้าและจ่ายออกไปในการซื้อสินค้าคงเหลือ เพื่อสร้างความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงาน ได้แก่ การเพิ่มปริมาณการขายหรือการให้บริการ การเพิ่มราคาขาย และการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินงานของธุรกิจที่มุ่งเน้นในการแสวงหาผลกำไร
 
คำสำคัญ : เงินทุนหมุนเวียน, กระแสเงินสด, ความสามารถในการทำกำไร
 
Abstract
          In this study, I studied the concepts, theories, journals, academic articles and related literatures in relation to the working capital management and cash flow ratio to profitability of listed companies on the Stock Exchange of Thailand. This study consists of the concept of working capital management, the concept of cash flow and the concept of profitability. The objectives of Working Capital management are to determine and keep cash at the optimal level and to determine suitable short-term investment for these current assets. Cash flow statement is a statement which shows the inflow and outflow of cashes from business operation. Both concepts are important to the securities and investment management in order to easily convert securities into cash. Cash trade accounts, receivable inventories and the preparation for the management of the cash received from the sale of goods and paid out for the purchase of inventories can create profitability from operations. The examples are increasing sales or service volume, increasing selling price, and cost reduction. This is an important part of the operation of any profit-oriented business.
 
Keywords: Working capital, Cash flow, Profitability
 
บทนำ
          เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2562 ขยายตัว จากไตรมาสที่สี่ของปี 2561 ร้อยละ 1.0 (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2562)เศรษฐกิจไทยปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 – 3.8 (ค่ากลางการประมาณการร้อยละ 3.6) โดยมีแรงสนับสนุนสำคัญ ประกอบด้วย (1) แนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ดีของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งในด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่มีปัจจัยสนับสนุนจากฐานรายได้ที่ขยายตัวต่อเนื่อง อัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมทั้งการดำเนินมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ด้านการลงทุนภาคเอกชนที่มีปัจจัยสนับสนุนจากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในเกณฑ์ ที่เอื้ออำนวยต่อการขยายการลงทุน (2) แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ของเงื่อนไขการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการปรับตัวลดลงของสินค้าคงคลังในประเทศเศรษฐกิจหลัก การผ่อนคลายลงของปัญหาการขาดแคลนหน่วยประมวลผลคอมพิวเตอร์ในตลาดโลก (3) แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของแรงขับเคลื่อนจากภาคการท่องเที่ยว และ(4) ฐานการขยายตัวที่อยู่ ในระดับต่ำในครึ่งหลังของปี ทั้งนี้คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 2.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 4.2 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 – 1.2 และบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 5.9 ของ GDP
          จากข้อความที่กล่าวมาข้างต้นเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นจึงสะท้อนสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ ผู้ประกอบการที่มีโอกาสอยู่รอดจะต้องมีความยืดหยุ่นสูงในการปรับตัวและไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนาจุดแข็งของตนเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุดอยู่เสมอ (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2562)
          การบริหารเงินทุนหมุนเวียนมีวัตถุประสงค์เพื่อ การกำหนดและรักษาระดับเงินสด หลักทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดให้ง่าย ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การกำหนดจำนวนสัดส่วนของเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นต่อเงินทุนระยะยาวที่เหมาะสม และการพิจารณาหาแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนต่างๆ (สุมาลี อุณหะนันทน์, 2548)
          งบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดที่ได้รับเข้ามา (Cash Inflow) และกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายออกไป (Cash Outflow) อันสืบเนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในกิจการ ด้วยเหตุนี้จึงมีการจำแนกกิจกรรมต่างๆ ภายในกิจการออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ (1) กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) เป็นกิจกรรมหลักของกิจการที่ทำให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่าย โดยมักจะเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน (2) กิจกรรมลงทุน (Investing Activities) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดที่ได้รับหรือต้องจ่ายไปเกี่ยวกับ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนอื่นๆ เงินลงทุนระยะสั้น เงินลงทุนระยะยาว นอกจากนี้ยังอาจจะรวมถึงดอกเบี้ยซึ่งหมายถึงดอกเบี้ยรับ และเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ลงทุนต่างๆ (3) กิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดที่ได้รับหรือต้องจ่ายไปในส่วนที่เกี่ยวกับการกู้ยืม หรือส่วนของเจ้าของ
          วิธีการจัดทำงบกระแสเงินสด การจัดทำงบกระแสเงินสด สามารถทำได้ 2 วิธีตามลักษณะการวิเคราะห์และการแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานดังนี้ (1) การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นวิธีทางตรง (Direct Method) วิธีนี้เป็นวิธีที่จัดแสดงกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน ทั้งเงินสดรับและเงินสดจ่ายจากกิจกรรมดำเนินงานต่างๆ โดยมีหลักว่า ให้วิเคราะห์รายการต่างๆ ที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ปรับกระทบด้วยรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รายการที่ก่อ ให้เกิดเงินสดรับจากการขายสินค้า รายการที่ก่อให้เกิดเงินสดจ่ายจากค่าซื้อสินค้า เงินสดจ่ายจากการเกิดจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การจ่ายดอกเบี้ย และภาษีเงินได้ เป็นต้น (2) การจัดทำงบกระแสเงินสดโดยแสดงกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นวิธีทางอ้อม (Indirect Method) วิธีนี้เป็นวิธีที่จัดแสดงกระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานทั้งเงินสดรับและเงินสดจ่าย โดยใช้กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จในปีนั้น แล้วปรับกระทบด้วยรายการที่ไม่เกี่ยวกับเงินสดหรือไม่กระทบต่อเงินสด เช่น หนี้สงสัยจะสูญ ค่าเสื่อมราคา กำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ นอกจากนี้ยังต้องปรับกระทบด้วยผลจากการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดำเนินงานของกิจการรวมถึงการจ่ายดอกเบี้ยจ่ายและการจ่ายภาษีเงินได้ของกิจการ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารีย์ ทิศาวิภาต, 2555)
 
วัตถุประสงค์
          ทำการศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎี วารสาร บทความทางวิชาการและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
เนื้อหาของบทความ 
          ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษา ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วารสาร บทความทางวิชาการและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ของการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วย
          1.แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
          2.แนวคิดเกี่ยวกับกระแสเงินสด
          3.แนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไร
          4.แนวคิดเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
1. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
          เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจนั้น เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่น ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่ผู้บริหารจะละเลยไม่ได้ หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพิจารณาสภาพคล่อง ระดับของความเสี่ยงและกำไรในระดับที่ยอมรับได้ กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม โดยหลักทางการเงินพบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง กำไรสูง แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ

ความหมายของการจัดการเงินทุนหมุนเวียน
          การจัดการเงินทุนหมุนเวียน(working capital management) คือ การบริหารในส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนอันได้แก่ เงินสด หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ และการบริหารหนี้สินหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ธุรกิจพยายามกำหนดปริมาณเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพราะจะทำให้เสียประโยชน์จากโอกาสต่างๆ
เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ (Net Working Capital) หมายถึง สินทรัพย์หมุนเวียน (Current Assets) ที่ประกอบด้วย เงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้และสินค้าคงคลัง ในส่วนที่เกินกว่าหนี้สินหมุนเวียน (Current Liability) การบริหารเงินทุนหมุนเวียนหมายถึง การบริหารเงินสด การบริหารลูกหนี้ การบริหารสินค้าคงคลังและเจ้าหนี้การค้า โดยพยายามให้รายการเหล่านี้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่องที่เพียงพอและมีต้นทุนค่าเสียโอกาสตํ่าที่สุด สินทรัพย์หมุนเวียน
 
2. แนวคิดเกี่ยวกับกระแสเงินสด
          งบกระแสเงินสด หมายถึง งบการเงินที่แสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่ได้รับเข้ามา เงินสดที่จ่ายออกไป และเงินสดเปลี่ยนแปลงสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงินของกิจการในระหว่างงวดบัญชีหนึ่ง โดยการกระทบยอดเงินสดยกมาต้นงวดให้เท่ากับเงินสดคงเหลือปลายงวด
อารีย์ ทิศาวิภาต (2555) งบกระแสเงินสดนอกจากจะแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเงินสดของกิจการว่ามีการได้มาและใช้ไปในแต่ละงวดมากน้อยเพียงใด ยังเป็นงบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ โดยมุ่งเน้นในส่วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเงินสด หรือรายการที่เทียบเท่าเงินสด เช่น เงินฝากธนาคาร หรือเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงเท่ากับเงินสด เป็นต้น งบกระแสเงินสดจึงเป็นแหล่งข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงนโยบายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินสดของกิจการ ตลอดจนการวางแผนการตัดสินใจทางด้านการเงินในอนาคต จึงเห็นได้ว่า งบกระแสเงินสดจะเป็นงบที่ช่วยให้ผู้บริหาร หรือผู้ประกอบธุรกิจ หรือนักลงทุน ได้ทราบข้อมูลที่แท้จริงของธุรกิจเกี่ยวกับเงินสดว่ามีการใช้จ่ายอย่างไร
          งบกระแสเงินสดจึงเป็นงบการเงินที่สำคัญอีกงบหนึ่งที่ธุรกิจควรจัดทำนอกเหนือจากงบอื่นๆ ที่ธุรกิจทำอยู่เป็นปกติ อาทิ งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานทางธุรกิจ งบแสดงฐานะการเงินซึ่งเป็นงบที่แสดงถึงฐานะการเงินของกิจการ งบกระแสเงินสดจัดเป็นงบที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินสดที่แสดงเกี่ยวกับเงินสดที่ได้รับว่ามาจากแหล่งใดและแสดงเกี่ยวกับเงินสดที่ต้องจ่ายออกไปเนื่องจากสาเหตุใด โดยการได้มาหรือใช้ไปของเงินสดในแต่ละงวดนั้น มีผลสืบเนื่องจากกิจกรรมภายในองค์กรธุรกิจ

การจำแนกกิจกรรมในงบกระแสเงินสด
          เนื่องจากงบกระแสเงินสด เป็นงบการเงินที่แสดงให้เห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสเงินสดที่ได้รับเข้ามา (CASH INFLOW) และกระแสเงินสดที่ต้องจ่ายออกไป (CASH OUTFLOW) อันสืบเนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในกิจการ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการจำแนกกิจกรรมต่างๆ ภายในกิจการออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกันคือ
          1.กิจกรรมดำเนินงาน (OPERATING ACTIVITIES) เป็นกิจกรรมหลักของกิจการที่ทำ ให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่าย โดยมักจะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน ตัวอย่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำ
          2.กิจกรรมลงทุน (INVESTING ACTIVITIES) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดที่ได้รับหรือต้องจ่ายไปเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนอื่นๆ เงินลงทุนระยะสั้น เงินลงทุนระยะยาว นอกจากนี้ยังอาจจะรวมถึงดอกเบี้ยซึ่งหมายถึงดอกเบี้ยรับและเงินปันผลที่ได้รับจากการลงทุนในหลักทรัพย์ลงทุนต่างๆ
          3.กิจกรรมจัดหาเงิน (FINANCING ACTIVITIES) เป็นกิจกรรมที่ทำ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินสดที่ได้รับหรือต้องจ่ายไปในส่วนที่เกี่ยวกับการกู้ยืม หรือส่วนของเจ้าของตัวอย่างกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
เงินสดจ่ายแก่ผู้เป็นเจ้าของเพื่อการซื้อหรือไถ่ถอนหุ้นทุนของกิจการป็นรายการที่แสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องของกิจการ (ชไมพร รัตนเจริญชัย, 2562)
 
3. แนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไร
          ความสามารถในการทำกำไรในเชิงของการบริหาร ประกอบไปด้วย การเพิ่มรายได้ และการลดค่าใช้จ่าย ซึ่งยังสามารถคิดต่อไปได้ว่าการเพิ่มรายได้ ประกอบไปด้วย 2 ส่วน ของการเพิ่มปริมาณ การขายหรือการให้บริการ และการเพิ่มราคาขาย สำหรับในส่วนของการลดค่าใช้จ่ายนั้น เป็นความสามารถเฉพาะของแต่ละธุรกิจ ในกรณีที่ธุรกิจไม่สามารถขยายได้ทั้งปริมาณการขายและเพิ่มราคา ทางเลือกในการลดค่าใช้จ่าย จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยในการเพิ่มกำไรให้ธุรกิจ การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร เป็นการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนซึ่งโดยปกติงบกำไรขาดทุนจะแบ่งออกเป็นแบบขั้นเดียว (Single Step) และแบบหลายขั้น (Multiple Steps) โดยการวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรนั้นจะเกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลในงบกำไรขาดทุนมาใช้วิเคราะห์ โดยหากเป็นงบกำไรขาดทุนแบบหลายขั้นจะให้ข้อมูลได้มากกว่า  (การเงินและการลงทุน. ออนไลน์, 2559)
          อัตรากำไรขั้นต้นบ่งบอกถึงความสามารถในการขายและการควบคุมต้นทุนขาย จะสังเกตุได้ว่าถ้ายอดขายเพิ่มขึ้น ต้นทุนขายลดลง ก็จะทำให้กำไรขั้นต้นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นอัตรากำไรขั้นต้น จึงยิ่งมากยิ่งดี
          อัตรากำไรจากการดำเนินงาน คือกำไรขั้นต้น หักด้วยค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ความแตกต่างระหว่างอัตรากำไรขั้นต้น และอัตรากำไรจากการดำเนินงาน มาจากการควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและค่าใช้จ่ายในการบริหาร หากลดค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าว ก็จะทำให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานดีขึ้น
          อัตรากำไรสุทธิ เป็นอัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไรสุทธิธุรกิจในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี อัตราส่วนกำไรสุทธิยิ่งมาก ยิ่งบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรที่ดีของธุรกิจ
          การประเมินตัวบ่งชี้การทำกำไรคือความสามารถในการทำกำไร (ผลกำไร) ของบริษัท เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญสำหรับนักวิเคราะห์และนักลงทุน เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการที่บริษัททำงานว่ามีประสิทธิภาพในช่วงเวลานั้นมากน้อยเท่าใด ซึ่งรายงานที่ได้ในช่วงเวลานั้น ไม่เพียงพอที่จะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง แต่ท้ายที่สุดมันสามารถเพิ่มขึ้นได้ แต่ในเวลาเดียวกันทั้งค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้น การคำนวณความช่วยเหลือของสูตรตัวบ่งชี้ความสามารถในการทำกำไรในงบแสดงฐานะทางการเงินจะเป็นไปได้ที่จะระบุว่าในช่วงเวลาที่มรจำนวนเงินทุนคงที่และเงินทุนหมุนเวียนต่ำลงเมื่อมีการเติบโตของผลกำไร ซึ่งตัวชี้วัดความสามารถในการทำกำไร เป็นสูตรที่จะกล่าวถึงต่อไปทำให้เราสามารถประเมินตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพเชิงเปรียบเทียบของ บริษัทได้ และสามารถทำได้โดยการเปรียบเทียบจำนวนต้นทุนและผลตอบแทนในช่วงระยะเวลาปฏิบัติการ
 
4. แนวคิดเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
          ตลาดหลักทรัพย์ (stock exchange, securities exchange, หรือ bourse) เป็นสถานที่ที่นายหน้าซื้อขายหุ้น(โบรกเกอร์) และนักลงทุนสามารถซื้อและขายหลักทรัพย์ เช่น หุ้นของทุน พันธบัตร และเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ ตลาดหลักทรัพย์ยังให้บริการอำนวยความสะดวกสำหรับการออกและไถ่ถอนหลักทรัพย์ เช่น ตราสาร และกิจกรรมเงินทุน รวมถึงการจ่ายรายได้และเงินปันผล หลักทรัพย์ที่ลงทุนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ประกอบไปด้วย หุ้นที่ถูกออกโดยบริษัทที่จดทะเบียน หน่วยลงทุน ตราสารอนุพันธ์ ผลิตภัณฑ์การลงทุนรวม และพันธบัตร ตลาดหลักทรัพย์มักจะทำหน้าที่เป็นตลาด"การประมูลขายทอดตลาดอย่างต่อเนื่อง" กับผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำธุรกรรมผ่าน Open outcry ที่ตำแหน่งศูนย์กลาง เช่น ชั้นของการแลกเปลี่ยน หรือการใช้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์
เพื่อให้สามารถลงทุนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์บางแห่ง หลักทรัพย์ต้องมีการแสดงรายการต่างๆ โดยปกตินั้น จะตั้งอยู่ที่ตั้งศูนย์กลางที่เล็กที่สุดสำหรับการเก็บบันทึกข้อมูล แต่การลงทุนนั้นจะเชื่อมโยงกับสถานที่จริงได้น้อยลง เนื่องจากตลาดสมัยใหม่ได้ใช้ระบบเครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งทำให้พวกเขามีความได้เปรียบในด้านความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นและลดต้นทุนในการทำธุรกรรม การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นจำกัดเฉพาะโบรกเกอร์ที่เป็นสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงไม่กี่ปี ช่องทางการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างๆ มากกมาย เช่น ระบบเครือข่ายการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ทางเลือก ซึ่งมีกิจกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีความแตกต่างไปจากตลาดหลักทรัพย์แบบดั้งเดิม
          ตลาดหลักทรัพย์ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน เป็นผู้ให้บริการระบบการซื้อขาย หลักทรัพย์ ธุรกิจเกี่ยวกับการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (clearing house )รับฝากหลักทรัพย์ (securities depository) นายทะเบียน (registrar) และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวเนื่องรวมทั้งธุรกิจอื่นๆที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) อนุมัติ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2562)
 
สรุป
          ผู้บริหารจะต้องวางแผนและตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมต่อกิจการและสภาพธุรกิจ โดยการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจการ ซึ่งผู้บริหารสามารถเลือกแหล่งเงินทุนทั้งภายใน และแหล่งเงินทุนภายนอกนั้นผู้บริหารจะต้องพิจารณาถึงสัดส่วนของโครงสร้างเงินทุนระหว่างการก่อหนี้สินระยะยาวและส่วนของผู้ถือหุ้น (โดยไม่รวมหนี้สินหมุนเวียน) ให้มีความเหมาะสม ในการดำเนินงานกิจการจำเป็นที่จะต้องตัดสินใจว่า กิจการควรจะลงทุนเท่าไหร่ ควรมีเงินสดและสินค้าคงเหลือมากน้อยเพียงใด ควรจะให้ระยะเวลาสินเชื่อกับลูกค้ายาวนานกี่วัน และจัดหาเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อให้เพียงพอต่อสภาพคล่องของกิจการ ดังนั้นกิจการต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างเพียงพอ เพื่อการดำเนินงานในแต่ละวัน เพื่อให้ได้ผลการดำเนินงานตามที่ต้องการ ดังนั้นกิจการจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะต้องคำนึงถึงการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ของกิจการ ประกอบด้วยการลงทุนในสองด้านที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนหรือที่เรียกว่าเงินทุนหมุนเวียน เช่น เงินสด ลูกหนี้ สินค้าคงคลัง เพื่อให้การผลิตและการขายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุดหรือหยุดชะงัก อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงาน ถือเป็นการลงทุนระยะสั้นเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) ทั้งนี้ การลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนในอัตราส่วนที่สูง ย่อมทำให้มีสภาพคล่องสูงโดยสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นเงินเพื่อจ่ายชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้ การลงทุนในเงินทุนหมุนเวียนในสัดส่วนที่สูง ทำให้เงินลงทุนรวมในสินทรัพย์ (Total Asset) มีปริมาณมาก มีผลทำให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ซึ่งวัดด้วยผลกำไรสุทธิหลังภาษีเทียบกับเงินลงทุนในสินทรัพย์ทั้งหมดย่อมจะมีค่าต่ำกว่ากรณีที่มีการลงทุนในเงินทุนหมุนเวียนในสัดส่วนที่ต่ำกว่า (พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล 2558: 367) ส่วนในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เป็นการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโต และสร้างรายได้ในระยะยาวให้แก่กิจการ เงินลงทุนทั้งสองส่วนต่างมีความสำคัญต่อความอยู่รอด และความเจริญเติบโตของกิจการ รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดให้แก่ผู้เป็นเจ้าของ
 
ข้อเสนอแนะ    
          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดที่มีต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่ามีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร มีส่วนไหนบ้างที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไร นอกจากการจัดการเงินทุนหมุนเวียนและอัตราส่วนกระแสเงินสดแล้วนั้น ในการศึกษาครั้งต่อไปเราสามารถใช้การวัดมูลค่าราคาตลาดของหุ้นมาศึกษาเพิ่มเติม เพื่อทำให้เราทราบถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น จึงควรมีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วารสาร บทความทางวิชาการและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรด้วย
 
บรรณานุกรม
การเงินและการลงทุน. (2559). อัตราส่วนทางการเงิน เพื่อใช้วิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร. จากเว็บไซต์ : https://www.buncheetutor.com
ชไมพร รัตนเจริญชัย (2562) การจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งผลต่อความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม. บทความวิจัย. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ไทย. [ระบบออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562, จากเว็บไซต์: http://www.set.or.th
พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล, 2558, การเงินธุรกิจ, ครั้งที่ 6, อัตราส่วนทางการเงิน, กรุงเทพ, : 367
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562) การประเมินภาพทิศทางธุรกิจปี2562. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2562, จากเว็บไซต์:https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/Business-Trend-2019.pdf
สุมาลี อุณหะนันทน์, 2548, การบริหารการเงิน, ครั้งที่ 1, การบริหารเงินทุนหมุนเวียน, กรุงเทพ, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักพัฒนานโยบายและกฎกติกา ส่วนศูนย์ข้อมูลสถิติและวิจัยเศรษฐกิจโทรคมนาคม. (2553) Thai Digital Collection ฉบับที่ 15.  สืบค้นเมื่อ 15  กรกฎาคม 2562
อารีย์ ทิศาวิภาต (2555). งบกระแสเงินสด ง่ายนิดเดียว Statement of Cash Flow, วารสารนักบริหาร. ปีที่32 ฉบับที่ 1 ( ม.ค.-มี.ค. 2555 ) หน้า 43-50.