การวางแผนภาษีขององค์กรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

UploadImage
 
UploadImage

การวางแผนภาษีขององค์กรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
tax planning of small and medium enterprises
พิมพกานต์ ปานจีน
Pimpakan Panjeen
Pimpakan.pan@Spumail.net
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ
          ในการศึกษาครั้งนี้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วารสาร บทความทางวิชาการ และการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องของการวางแผนภาษีขององค์กรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ทั้ง 2 ปัจจัยนี้จะส่งผลทำให้องค์กรมีการวางแผนภาษีที่จะทราบถึงจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย ระยะเวลาที่จ่ายชำระภาษีและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การจ่ายเงินภาษีอากรให้ตรงต่อเวลาและน้อยลง การจ่ายชำระภาษีตามระยะเวลาที่ภาษีกำหนดเพื่อไม่ให้เกิดส่วนต่างหรือที่ตามมาคือค่าปรับเงินเพิ่มและบทลงโทษอื่นๆ และหากผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีเป็นอย่างดีก็จะสามารถนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ มาใช้ในการบวกกลับหรือลดหย่อนทางภาษีเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อองค์กรได้สูงสุดประหยัดค่าใช้จ่ายในองค์กรทำให้องค์กรสามารถเสียเงินจ่ายภาษีได้น้อยลงกว่าที่ควรขึ้นและถูกต้องตามกฎหมายทางภาษีกำหนดไว้
 
คำสำคัญ : ภาษีอากร, การวางแผนภาษี, สิทธิประโยชน์ทางภาษี

Abstract
          In this study, concepts, theories, journals, academic articles were studied and a review of the relevant literature of tax planning of small and medium enterprises. The internal and external factors, both of which will affect the organization's tax planning to be aware of amount of tax payable, Tax payment period and tax benefits. Paying taxes on time and less, payment of tax payments within the time period specified by the tax in order to avoid the difference or the consequences of fines, surcharges and other penalties And if entrepreneurs have a good understanding of taxes, they will be able to bring various tax benefits used to add back or reduce the tax in order to maximize benefits to the organization. Save costs in the organization, allowing organizations to pay less taxes than they should be in accordance with the tax laws stipulated

Keywords: Taxation, Tax planning, Tax benefits
 
บทนำ
          ประเทศไทยในปัจจุบันพบการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มผู้ประกอบการที่หันมาให้ความสำคัญกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises หรือ SMEs) ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นและยังเป็นที่ยอมรับในสังคมภาคองค์กร พบว่าประเทศไทยมีจำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จำนวน 3.1 ล้านราย นับว่าเป็นอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.12 เมือเทียบกับปีที่ผ่านมา (สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, 2563) ถือเป็นกลไกที่มีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศไม่น้อยไปกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ (Large Enterprises หรือ LEs) (มหัทธน พฤทธิ์ขจรชัย, 2554, ออนไลน์) ดังนั้นการศึกษาการวางแผนภาษีเกี่ยวกับจำนวนเงินที่จ่ายชำระภาษี,ระยะเวลาที่ชำระภาษีและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ประกอบการทั้งนี้เพื่อลดและป้องกันการสร้างความเสียหายต่อการพัฒนาประเทศและระบบเศรษฐกิจประเทศโดยรวม เพราะหากมองข้ามการให้ความสำคัญต่อระบบภาษีอากรหรือขาดการบริหารควบคุมระบบการจัดการภาษีจะก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาในรูปแบบของการหลีกเลี่ยงภาษีโดยไม่ตั้งใจหรือขั้นรุนแรงกว่านั้นอาจถูกมองว่าคือการหนีภาษี ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นในทั่วโลก (Scheider, & Enste, 2000) ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก็มีหน้าที่เช่นเดียวกันที่ต้องภาษีของประเทศไทยซึ่งมีโครงสร้างอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.ภาษีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ต้องรับผิดชอบจ่ายภาษี เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย เป็นต้น 2.ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ผลิต ผู้ขาย และผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีผลักภาระภาษีไปยังผู้บริโภคได้โดยการบวกไว้ในราคาสินค้า เช่น ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีองค์กรเฉพาะ อากรแสตมป์ เป็นต้น แหล่งภาษีหลักของรัฐที่มีข้อกำหนดในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีองค์กรเฉพาะ และอากรแสตมป์ ภาษีอากรดังกล่าวกรมสรรพากรเป็นผู้ควบคุมดูแลในการจัดเก็บภาษี การจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรนั้น มีลักษณะเป็นลักษณะการบังคับให้จ่าย ผู้เสียภาษีไม่สามารถเลือกจ่ายตามความสมัครใจหรือความชอบใจของตนเองได้ เนื่องจากประมวลรัษฎากรนั้นมีหลักเกณฑ์และวิธีการที่แน่นอน ระบุชัดถึงผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือใคร และเสียภาษีประเภทใด มีจำนวนเท่าไหร่ (กรมสรรพากร, 2564)
       หากองค์กรให้ความสำคัญต่อการวางแผนทางภาษีด้วยวิธีการที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เพียงแต่มีประโยชน์สำหรับองค์กรเท่านั้นแต่ยังส่งผลต่อการให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการจัดเก็บภาษีซึ่งรัฐบาลทุกประเทศที่มีการพัฒนาและกำลังพัฒนามีภารกิจหลักในการบริหารประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนอย่างมั่นคงและสร้างความมั่งคั่งยั่งยืนให้แก่ประเทศ การเพิ่มขึ้นของรายได้เป็นแหล่งรายได้หลักที่รัฐต้องการให้การคุ้มครองสวัสดิการสังคมและความเจริญรุ่งเรืองของพลเมือง (Ling Zhang :2007) รัฐบาลจำเป็นต้องลงทุนในด้านที่สำคัญของการพัฒนาสังคม ส่วนบุคคลและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Cummings, 2007) การวางแผนภาษีดังกล่าวต้องเกิดขึ้นจากการสร้างความรู้ความเข้าใจทางด้านภาษีอากรรวมถึงบทลงโทษที่ชัดเจน รายได้ส่วนที่รัฐบาลจะนำมาบริหารจัดการประเทศดูแลส่งเสริมในทุกๆ ด้านทั้งด้านไม่ว่าด้านสาธารณะสุข การศึกษา การเกษตร การอุตสาหกรรม การพลังงาน และความมั่นคงความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งการดำเนินงานทุกด้านเหล่านี้ต้องใช้เงินจำนวนมากแม้ว่ารายได้ของรัฐบาลจะมีหลายช่องทางทั้งด้านการจัดเก็บภาษี การขายสินค้า การให้บริการ การรับเงินบริจาคและการกู้ยืมเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ (พิเชษฐ์ โสภาพงษ์2560) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติพร้อมทั้งนำไปสนับสนุนส่งเสริมประชาชนทุกหมู่เหล่า อีกทั้งเพื่อนำเงินที่ได้มาทำโครงการเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนประชาชนตามนโยบายของภาครัฐในปัจจุบัน เช่นเงินเยียวยาตามสถานการณ์บ้านเมือง และโครงการอื่นๆอีกมากมาย ภาษีถูกกำหนดให้เป็นภาคบังคับ เรียกเก็บโดยรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภาษี รายได้ค่าใช้จ่ายหรือสินทรัพย์ประเภททุน
          จะเห็นได้ว่า ความรู้ความเข้าใจเรื่องภาษีอากรถือเป็นหัวใจหลักสำหรับองค์กรทั้งเรื่องของการเข้าถึงข้อมูลภาษีต่างๆ ในทางเดียวกันการจ้างพนักงานบุคคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจชำนาญเกี่ยวกับเรื่องภาษีอากรถือว่าเป็นการเสียต้นทุนที่คุ้มค่าสำหรับองค์กรเมือเปรียบเทียบกับเงินที่ได้มาเพราะบุคคลากรที่ทำหน้าที่ในส่วนนี้จะเป็นตัวช่วยทำให้องค์กรมีการวางแผนที่ดีถือเป็นส่วนที่จะทำให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจำนวนเงินที่ควรจะเสียเช่นเรื่องของการนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาใช้ภายในองค์กรและมีบุคคลากรที่มีทัศนคติแรงจูงใจเกี่ยวกับภาษีอากรที่ดีนั้นก็จะยิ่งทำให้องค์กรได้เปรียบและใช้ประโยชน์ทางภาษีได้สูงสุดอัตราภาษีที่สูงขึ้นยิ่งมีความสำคัญต่อการวางแผนทางภาษีเนื่องจากจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นยิ่งส่งผลต่อการบริหารจัดการทางการเงินภายในองค์กรและบทลงโทษที่ชัดเจนทำให้องค์กรมองถึงการเสียผลประโยชน์จำนวนเงินที่องค์กรสามารถนำไปใช้ทำประโยชน์อื่นๆ ได้มากมายและภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรเพราะหากมีบทลงโทษอาจทำให้องค์กรถูกมองถึงการบริหารจัดการภายในได้ไม่เพียงพอ
         
วัตถุประสงค์
          ทำการศึกษาถึง แนวคิด ทฤษฎี วารสาร บทความทางวิชาการและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ของการวางแผนภาษีขององค์กรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
 
เนื้อหาของบทความ 
         ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษา ผู้ศึกษาได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี วารสาร บทความทางวิชาการและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ของการวางแผนภาษีขององค์กรวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเนื้อหาจะประกอบไปด้วย
1.แนวคิดเกี่ยวกับภาษีอากร
2.แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษี
3.แนวคิดเกี่ยวกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษี
4.แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนภาษี
 
1.แนวคิดเกี่ยวกับภาษีอากร
          กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร (2555) ได้อธิบายไว้ว่า ภาษี คือ ภาษีอากรคือเงินได้หรือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนเพื่อนำไปใช้สร้างประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยไม่มีสิ่งตอบแทนโดยตรงต่อตัวผู้เสียภาษีหรือทรัพยากรของหน่วยงานภาคเอกชนเคลื่อนย้ายส่งให้กับหน่วยงานภาครัฐซึ่งไม่ใช่รูปแบบของเงินกู้ยืมหรือการชายสินค้าและให้บริการในราคาทุนของภาครัฐ
          ขจร สาธุพันธ์ (2513, หน้า 1) ได้อธิบายไว้ว่า ภาษีอากรคือเงินหรือสิ่งของที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชน เพื่อนำไปจ่ายในองค์กรอันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล
          จึงสามารถสรุปได้ว่า ภาษีอากรนั้นคือเงินได้หรือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากประชาชนโดยนำอำนาจทางกฎหมายมาใช้ในการบังคับ ทรัพยากรของหน่วยงานภาคเอกชนเคลื่อนย้ายส่งให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดการเคลื่อนย้ายนี้ไม่มีพันธะใดๆที่รัฐบาลจะต้องชำระคืนให้กับประชาชนที่จ่ายภาษี และไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้าหรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล ซึ่งไม่ใช้รูปแบบการกู้ยืมหรือการชายสินค้าและให้บริการในราคาทุนของภาครัฐนำเงินที่ได้ไปใช้ในการจัดการบริหารประเทศให้มั่นคงและเพื่อใช้กับประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่ผลประโยชน์ของผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะหรือไม่มีสิ่งตอบแทนโดยตรงต่อตัวผู้เสียภาษี และไม่สามารถเลือกจ่ายตามความพึ่งพอใจของผู้เสียภาษี เพราะการจดเก็บภาษีเป็นการจัดเก็บถาวรต่อเนื่องที่ผู้เสียภาษีจะต้องชำระให้แก่รัฐบาลทุกปีภาคที่กำหนด
          ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร  (ดนุพล จาตุรนต์พงศา, 2558) กฎหมายที่บัญญัติเพื่อจัดเก็บภาษีอากร จะกำหนดบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรแตกต่างกันไปตามชนิดของภาษีอากรที่จัดเก็บกลุ่มบุคคลกฎหมายภาษีอากรบางประเภทยังบัญญัติเพื่อจัดเก็บภาษีแก่กลุ่มบุคคลต่าง ไม่ว่าจะเป็นคณะบุคคล หรือสมาคม ก็ล้วนแต่มีบทบัญญัติให้กฎหมายภาษีอากรที่จะจัดเก็บทั้งสิ้นนอกจากนี้กฎหมายภาษีอากรบางชนิดยังบัญญัติให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเป็นทั้งบุคคลมากกว่า 1 กล่าวคือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ก็สามารถเป็นผู้เสียภาษีชนิดเดียวกันได้ โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีสามารถแบ่งได้ดังต่อไปนี้
        บุคคลธรรมดา กฎหมายภาษีอากรที่จัดเก็บภาษีแก่บุคคลธรรมดา ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1.บุคคลธรรมดา
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3.ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4.กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
5.วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้าง
หุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

          ประเภทของภาษี 
                    ภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ได้ดำเนินการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง  และพาณิชย์และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่ต้องดำเนินการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
                    ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศเกี่ยวกับกิจการประเภทการให้บริการในประเทศการนำเข้าสินค้าผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ทั้งกระทำการประกอบกิจการลักษณะของบุคคลธรรมดาคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการมูลค่าที่สูงเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องมีหน้าที่กระทำการยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยวิธีคำนวณภาษีที่ต้องเสียคิดจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือน(ด้วยอัตราภาษีร้อยละ 7)
                    ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีที่ถูกทำการจัดเก็บโดยผู้ที่ประกอบกิจการเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มมีผลในการบังคับใช้ใน พ.ศ. 2535 พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษี ภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าผู้ดำเนินกิจการดังกล่าวจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล กองมรดก ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล  
 
2.ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษี
          1.ความเข้าใจด้านภาษี คือ ความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาของกฎหมายภาษีอากรที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง ผู้จัดทำภาษีต้องเข้าใจหลักการภาษี เพราะหากไม่เข้าใจหลักภาษีที่ถูกต้องความซับซ้อนของการจัดทำภาษีนี้อาจนำไปสู่ความไม่ตั้งใจในการไม่ปฏิบัติตามหลักภาษีบางกระการได้ หลักการบัญชีกับภาษีเกี่ยวข้องกับความแตกต่างของจุดการรับรู้ที่ต่างและเหมือนกัน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนภาษีในอนาคต และในการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางภาษี เพื่อลดหย่อนภาษี ความสำคัญของการจัดเก็บภาษีและบทลงโทษทางภาษีจะช่วยให้เราเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง และให้ได้ประโยชน์ต่อบริษัทมากที่สุด
           2. ต้นทุนด้านภาษ คือ ค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียภาษีใช้สำหรับในการยื่นชำระภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือ ค่าจ้างพนักงานทำบัญชีในองค์กร หรือการจ้างสำนักงานทำบัญชีภาษี ค่าที่ปรึกษาด้านบัญชี ภาษีค่าเดินทางเพื่อไปยื่นชำระ ภาษีค่าโทรศัพท์เพื่อใช้ติดต่อเรื่องบัญชีหรือใช้ในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่สรรพกรเกี่ยวกับเรื่องภาษี รวมทั้งค่าเสียเวลาดำเนินการของเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร เป็นต้น สามารถใช้ในการยื่นชำระภาษีได้อย่างถูกต้อง เพื่อนำไปคิดเป็นสัดส่วนต่อยอดขายและรายได้ที่สูงกว่าให้กับบริษัท
          3. ทัศนคติ คือ ทัศนคติเป็นวิธีคิดหรือความรู้สึกเกี่ยวกับด้านภาษีของผู้เสียภาษีโดยยึดหลักความถูกต้องและพึ่งพอใจที่จะปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรอย่างเคร่งครัด กล่าวคือผลที่ได้จากการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งนั้น ทัศนคติทางด้านบวกจะแสดงให้เห็นสภาพความพึงพอใจต่อสิ่งนั้นและทัศนคติด้านลบจะแสดงให้เห็นสภาพความไม่พอใจ ทัศนคติด้านบวกอาจรวมถึงประโยชน์และความจำเป็นในการจัดเก็บภาษีเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศในด้านที่เป็นประโยชน์และจำเป็นต่อส่วนรวม
 
3.ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษี
          1.อัตราภาษี คือ โครงสร้างอัตราภาษีเป็นภาษีที่กำหนดโดยรัฐบาลกลางตามรายได้ที่ต้องเสียภาษีของบุคคลหรือรายได้ขององค์กร ใช้ระบบอัตราภาษีแบบก้าวหน้า คงที่ และ ถดถอย เป็นค่าบริการรายปีที่เรียกเก็บจากรายได้ซึ่งเปอร์เซ็นต์ของการเพิ่มภาษีเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี โดยสามารถแบ่งภาษีเงินได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่จ่ายเป็นภาษี
          2. บทลงโทษภาษี คือ บทลงโทษมีความสำคัญต่อข้อกำหนดและกลยุทธ์การบังคับเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามภาษีซึ่งส่งผลต่อการวางแผนภาษี หากมีบทลงโทษที่เหมาะสมและชัดเจนค่าปรับที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของอัตราภาษี จะส่งผลทำให้เกิดผู้เสียภาษีอากรฉ้อโกงหรือหลีกเลี่ยงภาษีน้อยลง ทั้งนี้การระบุบทลงโทษที่ชัดเจนอย่างรุนแรงทั้งทางกฎหมายและทางสังคม เพื่อถือเป็นการป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีอากรในอนาคต
  
4.แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนภาษี
          พรรณี วรวุฒิจงสถิต ได้อธิบายว่า การกำหนดวิธีปฏิบัติทางองค์กรให้รองรับหรือสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางภาษีเป็นการชี้แนะแนวปฏิบัติของข้อกฎหมาย
         สุเทพ พงษ์พิทักษ์ (2545) ได้อธิบายว่า การเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนภาษีในอนาคตเกี่ยวกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้การเสียภาษี
         PATRICK C. NDEGWA MWANGI 2014 ได้อธิบายไว้ว่า การปฏิบัติตามข้อกำหนดทางภาษีสามารถกำหนดได้ว่าเป็นระดับที่ผู้เสียภาษีปฏิบัติตามกฎภาษีของประเทศ เช่น ยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีที่ต้องชำระในเวลาที่เหมาะสม
         จากความสำคัญดังกล่าวสรุปได้ว่า พฤติกรรมการวางแผนภาษี คือ การกำหนดวิธีปฏิบัติทางองค์กรให้รองรับหรือสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางภาษีเป็นการชี้แนะแนวปฏิบัติของข้อกฎหมายเพื่อให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง ซึ่งเป็นวิธีการกระทำที่เห็นชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยหลักการของกฎหมายหมายรูปแบบมาจัดการในขั้นตอนการวางแผนเพื่อการตัดสินใจหรือเตรียมความพร้อมในการวางแผนเผืออนาคตเกี่ยวกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้การเสียภาษีอากรขององค์กรจ่ายในจำนวนเงินที่น้อยที่สุดประหยัดที่สุดและการปฏิบัติเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎหมายภาษีอากร โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากรเมือมีการวางแผนภาษีในอนาคตก็จะทำให้สามารถจัดการหรือนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีมาใช้ภายในองค์กรอย่างถูกต้องและจ่ายภาษีอย่างน้อยที่สุดด้วยวิธีชอบด้วยกฎหมายที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้
 
สรุป
          ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในคือ ความรู้ดานภาษีอากร การเข้าถึงข้อมูล ทัศนคติผู้เสียภาษีและต้นทุนการจ้างพนักงาน ปัจจัยภายนอกคือ อัตราภาษีสูง บทลงโทษ ทั้ง 2 ปัจจัยนี้จะส่งผลทำให้องค์กรมีมีการวางแผนภาษีที่จะทราบถึงจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย ระยะเวลาที่จ่ายชำระภาษีและการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี การจ่ายเงินภาษีอากรให้ตรงต่อเวลาและน้อยลง การจ่ายชำระภาษีตามระยะเวลาที่ภาษีกำหนดเพื่อไม่ให้เกิดส่วนต่างหรือที่ตามมาคือค่าปรับเงินเพิ่มและบทลงโทษอื่นๆ และหากผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีเป็นอย่างดีก็จะสามารถนำสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ มาใช้ในการบวกกลับหรือลดหย่อนทางภาษีเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อองค์กรได้สูงสุดประหยัดค่าใช้จ่ายในองค์กรทำให้องค์กรสามารถเสียเงินจ่ายภาษีได้น้อยลงกว่าที่ควรขึ้นและถูกต้องตามกฎหมายทางภาษีกำหนดไว้ ทั้งนี้ยังคำนึงถึงแหล่งรายได้หลักของภาครัฐเพราะหากองค์กรมีการจัดการวางแผนจ่ายชำระภาษีที่ดีหรือปฏิบัติตามประมวลรัษฎากรจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้อย่างเต็มน้ำเต็มเนื้อและนำเงินภาษีที่ได้ไปพัฒนาประเทศและสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนตามแผนการบริหารของภาครัฐ องค์กรให้ความสำคัญต่อการวางแผนทางภาษีที่ดีและรัฐบาลสามารถที่จะออกแบบนโยบายภาษีให้มีการจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
 
ข้อเสนอแนะ    
          จากผลการศึกษาเรื่อง การวางแผนภาษีของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
          1. กิจการควรมีการจัดสัมมนาอบรมให้กับผู้เสียภาษีอยู่เสมอ เพื่อให้ได้มาซึ่งพนักงานบัญชีที่มีคุณภาพ
          2. เมื่อกิจการมีนโยบายการวางแผนภาษี ต้องมีการวางแผนและนำแผนมาปฏิบัติอย่างจริงจัง และมีมาตรการการควบคุมภายในที่ดีและมีการประสานงานกับทุกฝ่ายและมีการวิเคราะห์ปัญหา รวมทั้งนำปัญหามาแก้ไขอย่างจริงจัง เพื่อให้ได้ซึ่งการเสียภาษีที่ถูกต้องครบถ้วน
          3. ต้องสร้างจิตสำนึกที่ดีกับพนักงานทุกคนให้ทราบ และตระหนักในเรื่องการวางแผนภาษีให้เป็นไปตามที่วางแผนที่วางไว้
 
บรรณานุกรม
กรมสรรพกร. แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับหลักการทางภาษี. จาก สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564.
        https://www.rd.go.th/62063.html
คลินิกภาษีกระทรวงการคลัง. ภาษีอากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563
        http://taxclinic.mof.go.th/ความรู้เรื่องภาษี.html
ดนุพล จาตุรนต์พงศา (2558).ปัญหาการหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก และภาษีเงินได้จากการรับให้วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต,สาขากฎหมายภาษี, คณะนิติศาสตร์,    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ธรรมนิติ. สรุปสิทธิประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคล (SME) ปี 2563 สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563
พรรณี วรวุฒิจงสถิต (2564). การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพื่อการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะบัญชี หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต
พิเชษฐ์ โสภาพงษ์ (2560).ปัจจัยและแนวทางป้องกันการหนีภาษอากรขององค์กรจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารองค์กรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารองค์กร, มหาวิทยานเรศวร
มหัทธน พฤทธิ์ขจรชัย (2554) ทิศทางการส่งเสริม SMEs ไทย 2555-2559 (ตอนที่ 1) (ออนไลน์)
        สืบค้นข้อมูลเมือวันที่ 20 มิถุนายน 2562
        www.sme.go.th%2FLists%2FEditorInput%2Fview7.aspx [2554, 20 ตุลาคม].
สุเทพ พงษ์พิทักษ์ (2545) เรื่อง การวางแผนภาษีอากร.กรุงเทพมหานคร:สำนักงานวิชิตทนายความ บัญชีและธุรกิจ
Cummings, R. G. (2007). Effects of Tax Morale on Tax Compliance. สืบค้นเมือวันที่ 1.    
    สิงหาคม 2562 จากเว็บไซต์ http://www.crema-research.ch/papers/2005-29.pdf
Ling Zhang 2007, Tax Avoidance: Causes and Solutions, Master of Business
        สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2562 จากเว็บไซต์
        https://core.ac.uk/download/pdf/56360893.pdf
PATRICK C. NDEGWA MWANGI 2014 . Factors influencing tax compliance among small
           and medium enterprises in nairobi’s industrial area, Kenya
        สืบค้นเมือ 15  พฤษภาคม 2562 จากเว็บไซต์
    http://erepository.uonbi.ac.ke/bitstream/handle/11295/73605/Mwangi_
          Factors%20Influencing%20Tax%20Compliance%20Among%20Small%
          20And%20Medium%20Enterprises.pdf?sequence=3&isAllowed=y 
Scheider, & Enste, 2000 . Shadow Economies: Size, Causes, and Consequences
          สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2562