การบริหารสภาพคล่องที่ส่งผลต่อความเติบโตของธุรกิจ(SMEs) ในประเทศไทย

UploadImage
 
UploadImage

การบริหารสภาพคล่องที่ส่งผลต่อความเติบโตของธุรกิจ(SMEs) ในประเทศไทย
LIQUIDTY MANAGEMENT AFFECTS THE
FIRM GROWTH OF (SMES) IN THAILAND
 
สรฑัต ศรีวิชชุพงษ์
Soratat Sriwichupong
soratat@vichitprinting.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
บทคัดย่อ
          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารสภาพคล่องได้แก่ ด้านการบริหารเงินสด และการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งผลต่อการเติบโตของกิจการ การบริหารสภาพคล่องอันได้แก่ ด้านการบริหารเงินสด (Cash Management ) และ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ( Working Capital Management )  ส่งผลต่อความเติบโตของกิจการ ด้านยอดขาย และด้านกำไรสุทธิ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันสภาพคล่องของธุรกิจด้านการบริหารเงินสด ด้านการบริหารเงินทุนหมุนเวียน มีความสำคัญต่อเจ้าของธุรกิจและผู้บริหารองค์กร มากกว่าทุกยุคที่ผ่านมาเพราะมีการแข่งขันสูงการตลาดออนไลน์ และ วิกฤตโรคระบาด ที่เข้ามามีผลกระทบกับหลายธุรกิจโดยตรง ซึ่งหลายธุรกิจ ที่ไม่มีสภาพคล่องอาจส่งผลให้ ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ดังนั้นการบริหารสภาพคล่องนอกจากทำให้ส่งผลต่อความเติบโตของกิจการด้านกำไรสุทธิแล้ว ยังส่งผลทำให้ธุรกิจสามารถรับมือวิกฤติต่างๆ ทางธุรกิจได้ดี และมีสภาพคล่องเพียงพอจะทำให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล.
 
คำสำคัญ: สภาพคล่อง, การบริหารเงินสด, การบริหารเงินทุนหมุนเวียน, ความเติบโตของกิจการ

Abstract
          The objectives of this study were to analyze liquidity management, namely: cash management and working capital management that affect the growth of the business liquidity management, including the cash management (Cash Management) and working capital management (Working Capital Management) affect the growth of the business, sales, and net profit. In the current economic situation, the liquidity of the cash management business Working capital management It is important to business owners and corporate executives. More than every era in the past because of high competition, online marketing and the epidemic crisis that has a direct impact on many businesses which many businesses lack of liquidity may result in unable to continue the business Therefore, liquidity management, in addition to affecting the growth of the business in terms of net profit. It also results in businesses being able to cope well with various business crises. and have sufficient liquidity to enable efficient operation of the business.
 
Keywords: Liquidity, Cash Management, Working Capital Management, Firm growth

บทนำ
          สภาพคล่องทางการเงินจะสูงหรือต่ำ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์ให้กลายเป็นเงินสด  ซึ่งสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง จะทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางกันเงินสูงตามไปด้วย และในทางตรงกันข้าม หากสินทรัพย์มีสภาพคล่องต่ำก็จะทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องทางการเงินต่ำไปด้วยเช่นกัน การขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้ผู้ถือครองสินทรัพย์ที่ต้องการใช้เงินประสบกับปัญหาทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น กิจการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถขายสินค้าคงเหลือในสต็อกเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินได้ และต้องการใช้เงินเพื่อจ่ายงวดหนี้ ปัญหาจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินนี้ อาจส่งผลให้กิจการต้องผิดนัดชำระหนี้ หรืออาจถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ได้ หรือในกรณีบุคคลทั่วไปอาจมีเหตุให้ต้องใช้เงิน แต่ทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ทันเวลา ผู้ประกอบการ SMEs ในประเทศไทยต่างได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ ในสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญ ด้านการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้  ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs ควรมีการบริหารเงินสด และการบริหารทุนหมุนเวียนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม  (ดลยา ไชยวงศ์, 2562) ซึ่งสภาพธุรกิจในปัจจุบันมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงส่วนใหญ่จะประสบปัญหา ทางด้านการเงิน การขาดสภาพคล่อง เงินทุนไม่เพียงพอ และขาดแหล่งเงินทุน (อังสนา ประสี และ ขจรวรรณ อิฐรัตน์ , 2551)
          ซึ่งเงินทุนหมุนเวียนเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อความอยู่รอดและเจริญเติบโตของ SMEs เนื่องจากการบริหารเงินทุนหมุนเวียนจะมีผลต่อความเสี่ยงและความ สามารถในการทำกำไรของ SMEs หากผู้ประกอบการเลือกแนวทางการบริหารเงิน ทุนหมุนเวียนที่ถูกต้องเหมาะสมกับประเภทของกิจการ ตรงกับลักษณะและทัศนคติ ของผู้ประกอบการ โดยคำนึงถึงยอดขายและสภาวะการแข่งขันของตลาด ตลอด จนสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานและความสามารถในการจัดหาเงินทุนจาก แหล่งเงินทุน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว (ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ และอารมณ์ ริ้วอินทร์ , 2554) 

วัตถุประสงค์
          เพื่อวิเคราะห์การบริหารสภาพคล่องได้แก่ ด้านการบริหารเงินสด และการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ส่งผลต่อการเติบโตของกิจการ

ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
          วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises = SMEs) เป็นธุรกิจที่มีจำนวนมากในประเทศไทยผู้ประกอบการส่วนมากประกอบการในรูปของบุคคลธรรมดาคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ในการส่งเสริม SMEs สสว. จะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม SMEs ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนตามที่ระบุใน พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 ได้แก่ ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์การเอกชน โดยกิจการ SMEs ที่ สสว. ให้การสนับสนุนและส่งเสริม จะครอบคลุมเฉพาะวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมในกิจการผลิตสินค้า กิจการให้บริการ และกิจการค้าส่งและค้าปลีก โดยความหมายของแต่ละกิจการ มีดังนี้        
          กิจการผลิตสินค้า หมายความครอบคลุมถึง การผลิตที่เป็นลักษณะของการประกอบการอุตสาหกรรมทุกประเภท โดย ความหมายที่เป็นสากลของการผลิตก็คือ การเปลี่ยนรูปวัตถุให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ด้วยเครื่องจักรกล หรือเคมีภัณฑ์ โดยไม่คำนึงว่างานนั้นทำโดยเครื่องจักรหรือด้วยมือ ทั้งนี้กิจการผลิตสินค้าในที่นี้รวมถึงการแปรรูปผลิตผลการเกษตร อย่างง่ายที่มีลักษณะเป็นการอุตสาหกรรม การผลิตที่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจชุมชน และการผลิตที่เป็นการประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือนด้วย 
          กิจการการบริการ หมายความครอบคลุมถึง การศึกษา การสุขภาพ การบันเทิง การขนส่ง การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ การโรงแรมและหอพัก การภัตตาคาร การขายอาหาร การขายเครื่องดื่มของภัตตาคารและร้านอาหาร การให้บริการเช่าสิ่งบันเทิง และการพักผ่อนหย่อนใจ การให้บริการส่วนบุคคล บริการในครัวเรือน บริการที่ให้กับธุรกิจ การซ่อมแซมทุกชนิด และการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว 
          กิจการค้าส่งและค้าปลีก หมายถึง การให้บริการเกี่ยวกับการค้า โดยที่การค้าส่ง หมายถึง การขายสินค้าใหม่และสินค้าใช้แล้วให้แก่ ผู้ค้าปลีก ผู้ใช้ในงานอุตสาหกรรม งานพาณิชยกรรม สถาบัน ผู้ใช้ในงานวิชาชีพ และรวมทั้งการขายให้แก่ผู้ค้าส่งด้วยกันเอง ส่วนการค้าปลีก หมายถึง การขายโดยไม่มีการเปลี่ยนรูปสินค้าทั้งสินค้าใหม่และสินค้าใช้แล้วให้กับประชาชนทั่วไปเพื่อการบริโภคหรือการใช้ประโยชน์เฉพาะส่วนบุคคลในครัวเรือน การค้าในที่นี้มีความหมายรวมถึง การเป็นนายหน้า หรือตัวแทนการซื้อขาย สถานีบริการน้ำมัน และสหกรณ์ผู้บริโภค (ข้อมูลอ้างอิง กฎกระทรวงกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2545 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 119 ตอนที่ 93 ก หน้า 17 วันที่ 20 กันยายน 2545)

แนวความคิดเกี่ยวกับสภาพคล่อง
          ดลยา ไชยวงศ์(2562) สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสิ่งของ หรือทรัพย์สินเป็นเงินสด การมีสภาพคล่องทางการเงินที่สูง คือ การที่สามารถเปลี่ยนทรัพย์สินกลับมาเป็นเงินได้อย่างรวดเร็ว 
          การที่จะมีสภาพคล่องทางการเงินสูงหรือต่ำนั้น ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเปลี่ยนสินทรัพย์ชนิดนั้นไปเป็นเงินสด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของทรัพย์สินเหล่านั้นว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน หรือที่เรียกว่าอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) คือความสัมพันธ์ของผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าในท้องตลาด  สินค้าที่มีความต้องการมากแต่มีปริมาณน้อย นอกจากจะสามารถขายได้ในราคาที่สูง ก็ยังมีผู้ซื้อต้องการสินค้าประเภทนั้นอยู่มาก เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง ก็จะทำให้สภาพคล่องทางกันเงินนั้นสูงตามไปด้วย ซึ่งจะแตกต่างกับสินค้าที่ไม่ได้มีความต้องการมากในท้องตลาด ก็อาจส่งผลให้สภาพคล่องของสินทรัพย์นั้นต่ำลงได้ จึงส่งผลทำให้สภาพคล่องทางการเงินต่ำ เพราะอาจใช้ระยะเวลาที่นานกว่าเพื่อเปลี่ยนสินทรัพย์กลับมาเป็นเงินสด 
         “เงิน” ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เพราะเงินถือเป็นสินทรัพย์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป สามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนได้ง่าย รวดเร็ว และมีต้นทุนที่ต่ำ 
         การขาดสภาพคล่องทางการเงิน อาจทำให้ผู้ถือทรัพย์สินที่ต้องการใช้เงินประสบเข้ากับปัญหาทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น กิจการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไม่สามารถขายสินค้าคงเหลือในสต็อกเพื่อเปลี่ยนเป็นเงินได้ และต้องการใช้เงินเพื่อจ่ายงวดหนี้ ปัญหาจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินนี้ อาจส่งผลให้กิจการต้องผิดนัดชำระหนี้ หรืออาจถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ได้ หรือในกรณีบุคคลทั่วไปอาจมีเหตุให้ต้องใช้เงิน แต่ทรัพย์สินที่มีอยู่ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ทันเวลา โดยสรุปแล้ว การขาดสภาพคล่องทางการเงิน หมายถึง การที่ไม่สามารถจัดหาเงินได้ทันเวลา     
 
การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน
          เนื่องจากการอยู่ในสถานการณ์ที่สภาพคล่องทางการเงินต่ำ มักก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน จึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ SME หรือบุคคลทั่วไปต้องรู้ และนำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันสภาวะขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งวิธีการบริหารสภาพคล่องทางการเงินที่น่าสนใจจะมีดังนี้

อย่าให้เงินสดขาดมือ 
          เงินสด ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมากที่สุดอย่างนึง ควรมีการแบ่งถือเงินสดในจำนวนที่พอเหมาะ เพื่อเป็นเงินสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉิน โดยอาจคำนวณได้โดยคิดจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าใช้จ่ายคงที่อย่าง ค่าเช่าบ้าน ค่าผ่อนรถ หรือค่าใช้จ่ายแปรผัน เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่ากินอยู่ เงินลงทุนเป้าหมายในแต่ละเดือนโดยประมาณ และคูณด้วย 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับความเสี่ยงได้ของแต่ละบุคคลนั่นเอง 
          การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสาหรับผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก การศึกษาพบว่า การให้องค์ความรู้ในทางปฏิบัติได้จริงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการจัดการสภาพคล่องเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการบริหารเงินสด โดยการเร่งเงินสดรับเข้า ชะลอการจ่ายเงินสดและการดารงรักษาเงินสดขั้นต่ำ การบริหารทุนหมุนเวียนผ่านแนวนโยบาย 3 รูปแบบ คือ 1. นโยบายแบบสมดุล 2. นโยบายแบบระมัดระวัง และ 3. นโยบายแบบกล้าเสี่ยง ในขณะที่สถาบัน การเงิน และหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐจะต้องมีมาตรการและ นโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านทางนโยบายอัตรา ดอกเบี้ย นโยบายด้านภาษี และ มาตรการในการสร้างความเข้มแข็งในระยะยาวอื่นๆ เช่น การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs การจัดหา แหล่งทุน การสร้างนวัตกรรม ให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก ได้และนาไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ ของประเทศไทยในระยะยาวให้เติบโตอย่างมั่งคั่งและ ยั่งยืนต่อไป (สุรชัย ภัทรบรรเจิด, 2559)  จากการขาดสภาพคล่องและการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน คือการขาดศักยภาพทางการเงิน ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องกาหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพด้วยการลดความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพคล่อง และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ โดยการรักษา สถานะทางการเงินเกี่ยวกับเงินสดและเงินสำรอง การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้า การบริหาร จัดการลูกหนี้ การกำหนดการใช้เงินทุนตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของดาเนินงานของกิจการ รวมถึงการ กำหนดแหล่งเงินทุนที่มีประสิทธิภาพ

ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
          การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ช่วยให้เรามองเห็นรูรั่วของเงินได้มากขึ้น ถือเป็นการตรวจสอบการใช้จ่ายและรายรับของเงินที่นำมาวางแผนทางการเงินต่อได้ เพิ่มโอกาสที่จะรับรู้ความผิดพลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นการป้องกันการรั่วไหลที่ดีปัญหาทางการเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ อาจสะสมกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ การขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนไม่สามารถชำระหนี้คืนได้ตรงงวดได้ หรือปัญหาจากการขาดสภาพคล่องเล็กๆ น้อยๆ ที่กิจการไม่รีบแก้ไข อาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้สินที่พอกพูนขึ้นได้อย่างรวดเร็ว จนส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ หรือปัญหาเกี่ยวกับเครดิตได้ในอนาคต เพราะฉะนั้นควรรีบดำเนินการแก้ไข เพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเสียก่อนที่จะสาย 

เข้าใจการลงทุน
          การลงทุนตามกระแส ลงทุนเกินตัวเพียงเพราะคนอื่นบอกว่าดี โดยไม่ศึกษาและวางแผนเกี่ยวกับสภาพคล่องทางการเงินให้ดี อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ลงทุนได้ เพราะการลงทุนในสินทรัพย์บางประเภทอาจเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสดได้ยาก หรืออาจมีต้นทุนในการแลกเปลี่ยนที่สูง การไม่มีการวางแผนไว้เผื่อสำหรับกรณีฉุกเฉิน อาจสร้างปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินให้กับผู้ลงทุนได้สำหรับใครที่มี สภาพคล่องทางการเงิน ที่ดีอยู่ในปัจจุบัน แต่ยังไม่มีการวางแผน หรือเตรียมการรับมือกับภาวะสภาพคล่องทางการเงินที่ต่ำลง ขอแนะนำให้นำวิธีการ 4 ข้อด้านบนไปใช้ เพราะในสภาวะฉุกเฉิน หากไม่มีการวางแผนเรื่องสภาพคล่องทางการเงินที่ดี อาจส่งผลต่อปัญหาทางการเงินในอนาคตได้อย่างแน่นอน 100%

แนวความคิดเกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางธุรกิจ
          ปัญชรัสมิ์  สีวราภรณ์สกุล,(2559) การเจริญเติบโต” เป็นหนึ่งสิ่งสำคัญที่นักลงทุนต้องทำความเข้าใจ เพราะกิจการที่เติบโตจะทำให้มูลค่าของกิจการนั้นปรับตัวสูงขึ้นตาม แล้ว “การเจริญเติบโต” ของกิจการมีลักษณะอย่างไรบ้าง การเติบโตหรือขยายตัวขององค์กรนั้นมักจะแบ่งกันออกเป็นสองลักษณะกว้างๆ คือ “Organic Growth” และ “Inorganic Growth”คำว่า Organic Growth นี้หมายถึงการเติบโต “โดยธรรมชาติ” ด้วยกำลังของบริษัทเองแล้ว การเติบโตแบบ Inorganic Growth จึงหมายถึงการมีปัจจัยหรือองค์กรภายนอกเข้ามาทำให้บริษัทเติบโต เช่น การควบรวมกิจการอื่นๆ หรือการได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐ เป็นต้นในมุมมองของนักลงทุนนั้น มักจะให้ความสำคัญต่อ Organic Growth มากกว่า เพราะเป็นการบ่งบอกถึงความสามารถในการบริหารและจัดสรรทรัพยากรขององค์กร เพื่อที่จะสร้างยอดขาย ขยายฐานลูกค้า หรือเพิ่มผลผลิตของบริษัท ฯลฯ การเติบโตแบบ Organic Growth นั้นบางครั้งจึงเรียกว่า“Core Growth” หรือการเติบโตของ “แก่นหลัก” ของกิจการ โดยการเติบโตแบบ Organic Growth ที่ดีควรจะเป็นการเติบโตที่เร็วกว่าการเติบโตของขนาดตลาด โดยเฉพาะการเสริมสร้างความสามารถหลัก (core competency) ที่โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่ง เพราะจะหมายความว่าเราสามารถชิงส่วนแบ่งการตลาดได้มากขึ้น แต่หากเราเติบโตได้ช้ากว่าตลาด แม้เราอาจจะได้กำไรมากขึ้น แต่ก็หมายความว่าเราอาจกำลังถูกแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดไปและอาจจะประสบปัญหาได้ในอนาคต
          สำหรับการเติบโตแบบ Inorganic Growth นั้น แม้ชื่อจะดูไปในทางลบ แต่แท้จริงแล้วก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพียงแต่เป็นการเติบโตที่อาจเรียกได้ว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการบริหารงานอย่างแท้จริง โดยบริษัทอาจจะเลือกโตแบบ Inorganic Growth เพื่อที่จะขยายช่องทางการจัดจำหน่าย หรือรับพนักงานหรือแนวความคิดใหม่ๆ เพื่อที่จะนำมาสร้าง Organic Growth ต่อไปในอนาคต การเติบโตแบบ Inorganic นั้นมักจะเร็วกว่า Organic เพราะว่าเป็นการควบรวมกิจการ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมนวัตกรรม ที่บริษัทรายย่อยมักจะมีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่จะช่วยทำให้บริษัทที่ใหญ่กว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้ได้ผลเป็นทวีคูณมากกว่าที่บริษัทรายย่อยต่างๆ นั้นจะสามารถทำได้เพียงลำพังนอกจาก Organic และ Inorganic Growth ที่เป็นการมองภาพรวมของบริษัทแล้ว อีกมุมมองในเรื่องของการเติบโตคือ การมองในแง่ของการขยายการผลิตสินค้าและบริการของบริษัท ซึ่งจะแบ่งแยกเป็น Vertical Growth (หรือ Vertical Integration) กับ Horizontal Growth (หรือ Horizontal Integration) Vertical Growth นั้นแปลตรงตัวเรียกว่า “การเติบโตในแนวดิ่ง” หรือ “แนวตั้ง” โดยเป็นวิธีการเติบโตโดยมองว่าลูกค้าของเรานั้นมีความต้องการสินค้าหรือบริการอะไรอื่นๆ ที่บริษัทเราไม่ได้ผลิต แล้วจึงทำการผลิตและขายสินค้าหรือบริการนั้นๆ เช่น สตูดิโอถ่ายภาพแต่งงาน อาจทำการขยายกิจการเพื่อขายชุดแต่งงาน ชุดสูท หรือการจัดดอกไม้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเติบโตแบบ Vertical Growth หรือการเติบโตแบบแนวดิ่งนี้จะมีประสิทธิภาพแท้จริงก็ต่อเมื่อบริษัทสามารถทำการขยายไปสู่ธุรกิจใหม่ๆได้โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน ทรัพยากรมนุษย์ หรือ fixed costs ต่างๆ ในปัจจุบันของกิจการ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
          เป็นแนวทางในการบริหารสภาพคล่องที่จะส่งผลต่อความเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นำผลการเก็บรวบรวมข้อมูล และขบวนการทำงาน ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสภาพคล่องที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ พร้อมทั้งเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้สำหรับผู้บริหารกิจการ  และนักบัญชี เพื่อวางแผนการบริหารสภาพคล่องของกิจการ

สรุป
          จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้น สามารถใช้เป็นแนวทางให้กับนักบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ในการวางแผนการบริหารสภาพคล่องที่จะส่งผลต่อความเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระดับที่สูงที่สุด ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี และเจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

ข้อเสนอแนะ
          ควรศึกษาปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย และ ควรศึกษา กลุ่มตัวอย่างอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์สภาพคล่องที่ส่งผลต่อความเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยได้อย่างคลอบคลุมทุกกลุ่มตัวอย่าง

บรรณานุกรม

ดลยา ไชยวงศ์. (2562). สภาพคล่องทางการเงิน.  เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. จากhttps://www.moneywecan.com/liquidity/ .
ปัญชรัสมิ์  สีวราภรณ์สกุล.(2559).การเข้าใจการเติบโตของธุรกิจ. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. จาก.https://mgronline.com/mutualfund/detail/9590000010187 .

อังสนา ประสี และ ขจรวรรณ อิฐรัตน์. (2551). ปัญหาการดําเนินงานและความต้องการการสนับสนุนของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในจังหวัดนครสวรรค์. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. จาก
http://=&ved=2ahUKEwj826aY4trxAhVzyjgGHSkrDc8QFjAEegQIBxAD&url=http%3A%2F%2Fwww.mgts.lpru.ac.th%2Fjournal%2Findex.php%2Fmgts%2Farticle%2Fdownload%2F10%2F9&usg=AOvVaw0tiugzw93NCsNoIJl7lWAX .
ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ และอารมณ์ ริ้วอินทร์. (2554). เงินทุนหมุนเวียนทางเลือกและทางรอดของ SMEs. เรียกใช้เมื่อ 10 กรกฎาคม 2564. จาก https://so01.tcithaijo.org/index.php/executivejournal/article/view/80655.