การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย

UploadImage
 
UploadImage
 
การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชี
ของสำนักงานบัญชีไทย
THE EFFECT OF PERCEIVED OF USEFULNESS ON DECISION TO USE ACCOUNTING SOFTWARE OF ACCOUNTING FIRM IN THAILAND
 
นพสร ทานะขัน
Noppasorn Tanakhan
E-mail: noppasorn.tana@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
บทคัดย่อ
          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย ตัวอย่างในบทความนี้เป็นผู้ทำบัญชีในสำนักบัญชีที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตกรุงเทพและนนทบุรีสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่าการรับรู้ถึงประโยชน์ได้แก่ ด้านทัศนคติ ความคาดหวังต่อประสิทธิภาพของระบบซอฟต์แวร์และความง่ายของการใช้งานส่งผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชี
 
คำสำคัญ : โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชี,การรับรู้ถึงประโยชน์,การใช้งานง่าย
 
Abstract
          This study aims to study the Perception of Usefulness affect the decision to choose accounting software programs of Thai accounting firms. The sample in this research was the accountants in the accounting firm those registered with the Department of Business Development in Bangkok and Nonthaburi. The sampling was used simple random sampling and collected data. The data were analyzed descriptive statistic as: percentage, mean and standard deviation. The multiple regression analysis was used for research hypotheses test. The results of hypothesis test revealed that the Perception of Usefulness included the attitudes, the expectations for software system performance, and the ease of use have a positive effect on the decision to use Accounting Software Program.

Keywords : Accounting Software Program, Perception of Usefulness, Ease of Use

บทนำ
          ปัจจุบันการใช้ระบบสารสนเทศในการดำเนินชีวิต รวมไปถึงทางด้านธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศในลักษณะของบุคคล หรือ สารสนเทศขององค์กรก็ตาม ถ้าพูดถึงอดีตก่อนที่จะมีโปรแกรมซอฟต์แวร์ การทำบัญชี นักบัญชีทำบัญชีด้วยมือ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาดของงานทำให้เกิดการทำงานที่ล่าช้าแต่หากตอนนี้ในปัจจุบันมีระบบบัญชีที่ถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็วจะส่งผลให้การวางแผนธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น การตั้งซอฟตแ์วร์ขึ้นมาใช้กับคอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถนา มาช่วยมนุษย์ได้การพัฒนาเทคโนโลยีจะก้าวไปอย่างรวดเร็ว และซอฟต์แวร์เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นการปรับตัวและทักษะที่จำเป็นสำหรับแรงงานมนุษย์ได้แก่แนวคิด หรือความคิด การเปลี่ยนแปลงแนวคิดที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การใช้เทคโนโลยีแบบโมบาย การทำงานร่วมมือกันเป็นทีม โดยไม่จำเป็นต้องทำานในที่เดียวกันรวมทั้งจะต้องเตรียมพร้อมมนุษย์ในการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ แต่ก็ต้องเน้นการใช้ทักษะคิดวิเคราะห์ การมีระบบซอฟต์แวร์ ทำให้ระบบการทำงานสำนักงานต่างๆ ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการใช้เทคโนโลยีจดรูปแบบ และแยกแยะออกมาเพื่อใช้ในการระบุตัวตนหรือยืนยันตัวตนได้ ถือเป็นระบบที่ช่วยดูแลความปลอดภัยของข้อมูลได้ในระดับหนึ่ง นักบัญชีรุ่นใหม่ควรมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ภาษีเรียนรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องของบัญชีอีกทั้งนักบัญชีจะต้องเป็นคู่คิดให้กับผู้บริหาร ดังนั้นในองค์กรไม่สามารถขาดนักบัญชีได้นักบัญชีรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของอาชีพตนเอง และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี (พณชิต กิตติปัญญางาม ไพรินทร์ ชลไพศาล และดวงจันทร์ วรคามิน, 2562) ด้วยสาเหตุข้างต้นผู้ศึกษาจึงมีความสนใจในการศึกษา การรับรู้ถึงประโยชน์ส่งผลต่อการตัดสินเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย
 
วัตถุประสงค์
          เพื่อทดสอบการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย
 
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ถึงประโบชน์ซอฟต์แวร์
          ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาต่างๆ วิชาชีพบัญชีก็ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้งานกันมากขึ้น รวมถึงภาครัฐอีกด้วย เช่น กรมสรรพากร ได้มีการทำระบบยื่นแบบภาษีต่างๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือ กรมพัมนาธุรกิจการค้า ได้นำระบบ E-filling เข้ามาใช้ให้บริษัทต่างๆรวมถึงสำนักงานบัญชีได้ยื่นงบการเงินทาง อินเตอร์เน็ต ซึ่งเห็นได้ว่าการทำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานทำให้การเข้าถึงข้อมูลออกมารวดเร็วมากขึ้นกว่ายุคก่อน
          1. Infrastructure as Service (IaaS) คือ การให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที (Infrastructure) และระบบการจัดเก็บข้อมูลในองค์กร (Storage) เพื่อการรับรองการใช้งาน Software และ Application เช่น Microsoft Azure, Dropbox, Google Drive business, Dropbox,
          2. Platform-as-a-Service (PaaS) คือ การให้บริการด้าน Platform สำหรับผู้ใช้งานเช่น Developer ที่ทำงานด้าน Software และ Application โดยผู้ให้บริการ Cloud จะจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนา Software และ Application เอาไว้ให้ เช่น Database Server, Web Application เป็นต้น
          3. Software-as-a-Service แปลเป็นภาษาไทยก็คือ การให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ รู้จักกันในอีกนามว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ระบบ Cloud สรุป SaaS คือการให้บริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงโปรแกรมต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องลำบากดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดเครื่องไว้ ตัวอย่างเบสิก ที่หลายคนคุ้นเคยก็คือการใช้อีเมล ที่เราเข้าอินเตอร์เน็ตแล้วล็อกอินไปเช็กอีเมลได้เลย หากขยับมายังการใช้งานในบริษัทก็จะเจอโปรแกรมสำนักงานอย่าง Microsoft Office 365, Google Drive เป็นต้น

แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานง่ายของซอฟต์แวร์
          จากการศึกษาพบว่าแนวคิดแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี (Technology Acceptance Model : TAM) เป็นตัวแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่มีการนำมาใช้ในการศึกษาถึงความตั้งใจใช้ระบบของผู้ใช้งาน โดยแบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยีเกิดจากการที่มีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานอย่างแพร่หลาย หากระบบเหล่านั้นไม่ประสบความสำเร็จในการใช้งาน มักมาจากผู้ใช้งานไม่ยอมรับ จึงได้มีแนวคิดของการสร้างแบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM) ขึ้นมาเพื่อนำมาใช้ทำนายการใช้ระบบเทคโนโลยี โดยแบบจำลองนี้ได้แนวคิดมาจากทฤษฎีการกระทำอย่างมีเหตุผล (Theory of Reasoned Action: TRA) ของ Fishbein และ Ajzen (1975) และแนวคิดการยอมรับการใช้เทคโนโลยีที่ถูกนำเสนอโดย Davis (1985) แม้จะมีข้อจำกัดอยู่ แต่ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในความน่าเชื่อถือและความสมเหตุผล ซึ่งแนวคิดการยอมรับการใช้เทคโนโลยี   
         แนวคิดการยอมรับการใช้เทคโนโลยีในแผนภาพที่ 2.1 แนวคิดการยอมรับการใช้เทคโนโลยีอธิบายได้ว่า ลักษณะ และความสามารถของระบบจะทำหน้าที่เป็นสิ่งกระตุ้น หากได้ผลจะสร้างแรงจูงใจในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในระบบของผู้ใช้และผลที่ได้คือผู้ใช้จะเกิดการตอบสนองหรือการนำเทคโนโลยีมาใช้งานจริง
          การยอมรับการใช้เทคโนโลยีเป็นการนำเอาแนวคิดมาผนวกกับทฤษฎีการกระทำอย่างมีเหตุผล สร้างเป็นแบบจำลองเพื่อใช้อธิบายพฤติกรรมของผู้ใช้งานเทคโนโลยี โดยการประเมินระดับของการรับรู้ของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ ความสัมพันธ์ของส่วนประกอบในแบบจำลองแบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยีแสดงไว้ในแผนภาพที่ 2.6 แบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยี เริ่มจากการพิจารณาถึงตัวแปรภายนอก (External Variables) ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับรู้ขอผู้ใช้ในสองลักษณะ ได้แก่ การรับรู้ถึงประโยชน์ (Perceived Usefulness) หมายถึง ระดับที่ผู้ใช้งานรับรู้ได้ว่าเทคโนโลยีมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  และการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน (Perceived Ease of Use) หมายถึง ระดับที่ผู้ใช้งานเชื่อว่าไม่ต้องมีความพยายามในการใช้งานระบบคือมาก และจะรับรู้ว่าเทคโนโลยีง่ายต่อการใช้งาน รวมทั้งสอดคล้องกับระบบเดิม
         นอกจากตัวแปรภายนอกแล้ว การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มีผลต่อความรับรู้ถึงประโยชน์ และจากแบบจำลองเมื่อผู้ใช้งานรับรู้ถึงประโยชน์ว่าเทคโนโลยีนำมาใช้งานได้ง่าย ก็จะส่งผลกับทัศนคติต่อการใช้งาน (Attitude toward Using) ที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรมความตั้งใจ (Behavioural Intention) ในการงาน (Actual Use) ผู้ใช้งานที่รับรู้ถึงประโยชน์ของระบบและมีพฤติกรรมความตั้งใจใช้งานโดยที่ไม่ต้องมีทัศนคติต่อการใช้งานในรูปแบบใดมาก่อน สังเกตได้จากภาพของแบบจำลองที่มีเส้นลากแสดงความสัมพันธ์จากการรับรู้ถึงความมีประโยชน์ตรงไปยังพฤติกรรมความตั้งใจโดยที่ไม่ผ่านทัศนคติต่อการใช้
         Davis et al. ใช้แบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยีในการศึกษาติดตามระยะยาว (Longitudinal Study) กับผู้ใช้จำนวน 107 คน ทำการวัดพฤติกรรมความตั้งใจที่จะใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งผลการทดลองทั้งสองครั้งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างพฤติกรรมความตั้งใจกับการนำเทคโนโลยีมาใช้จริง โดยการรับรู้ถึงประโยชน์จะมีอิทธิพลสูงสุดต่อพฤติกรรม ความตั้งใจของผู้ใช้แต่ละคน ผลจากการทดลองยังพบอีกว่าการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานมีผลไม่มากนักแต่มีนัยสำคัญต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้งาน และจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป สิ่งสำคัญที่ค้นพบจากการทดลองคือ การรับรู้ถึงประโยชน์และความง่ายในการงาน ซึ่งจะมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจ ดังนั้นจึงตัดทัศนคติต่อการใช้งานออกไปจากแบบจำลองนี้ได้ (Davis, Bagozzi & Warshaw, 1989: 985)
          การยอมรับการใช้เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้ในการทำนายการตั้งใจใช้ระบบของผู้ใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการนำมาใช้ในงานศึกษาวิจัยทางด้านพฤติกรรมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย นับจากแบบจำลองดั้งเดิมที่ได้รับการนำเสนอมานับสิบปีแล้ว แบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยีก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในด้านความไม่สมบูรณ์ครบถ้วนของการอธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้งานของแบบจำลอง ทำให้แบบจำลองนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาและอธิบายพฤติกรรมของผู้เสียภาษีที่มีต่อการยอมรับการใช้เทคโนโลยีโดยผ่านตัวแปรภายในคือ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการใช้งาน การรับรู้ถึงประโยชน์ และการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน
 
แนวคิดเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี
          โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป เป็นเครื่องมือทางธุรกิจที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยให้สามารถตรวจสอบข้อมูลทางการเงินทั้งหมดได้ง่ายและรวดเร็ว และสามารถสร้างรายงานที่จะช่วยในการวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เกษวรางค์ญาณนาคะวัฒน์, 2533) โดยทั่วไปซอฟต์แวร์ (Software) แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ทั่วไป (General Sottware) และซอฟต์แวร์ ทางการบัญชี (Specialized Accounting Software) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ประมวลผล และจัดทำสารสนเทศทางการบัญชี โดยแบ่งเป็นระบบย่อย (Module) เช่น ระบบ บัญชีแยกประเภททั่วไป ระบบบัญชีลูกหนี้ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ และระบบบัญชีสินค้าคงคลัง เป็นต้น (วัชนีพร เศรษฐสักโก, 2543)
          ชุติมา คล่องประทีปผล (2549) ได้สรุปรายละเอียดของโมดูลต่างๆ ไว้ดังนี้
          1. โมดูลระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger) เป็นโมดูลที่ต้องมีใน โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี เนื่องจากเป็นโมดูลที่ทำให้เห็นภาพรวมทางการเงิน และ ดำเนินธุรกิจขององค์กร และใช้ในการจัดทำรายงานต่างๆทางด้านบัญชี โดยการดึงข้อมูลที่ได้มาจากการประมวลผลของโมดูลย่อยแล้วนำมาประมวลผลอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นรายงานทางการเงินและไปไปใช้ในการตัดสินใจ
            2. โมดูลระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable) เป็นโมดูลที่สำคัญอีกโมดูลหนึ่ง เนื่องจากใช้ในการเก็บข้อมูลหลักในการขายของกิจการ และทำให้ทราบรายการการเคลื่อนไหว ของบัญชีลูกหนี้ ทางด้านการบริหารโมดูลนี้ช่วยในการบริหารเงินสดของกิจการ และช่วยในการ ติดตามหนี้ เป็นต้น
          3. โมดูลระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Accounts Payable) เป็นโมดูลที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เกี่ยวกับค่าใช้จ่าย เจ้าหนี้และการจ่ายเงินขององค์กร ซึ่งในด้านการบริหารแล้วโมดูลเจ้าหนี้ช่วย ในการบริหารการจ่าย และควบคุมการชำระ
          4. โมดูลระบบบัญชีเงินเดือน (Payroll) เป็นโมดูลที่มีประโยชน์มากสำหรับองค์กรที่มี พนักงานเป็นจำนวนมาก เนื่องจากว่าระบบบัญชีเงินเดือนใช้ในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล พนักงานรายคน ช่วยในการคำนวณจำนวนเงินค่าแรงและภาษีที่จะต้องจ่าย และช่วยในการ รายงานต่างๆ เพื่อส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นธนาคาร หรือกรมสรรพากร
          5. โมดูลระบบบัญชีสินค้าคงคลัง (Inventory) โมดูลนี้จะมีความสำคัญเฉพาะกับกิจการ ที่เป็นธุรกิจการผลิต และขายสินค้า การจัดการสินค้าคงคลังเป็นระบบที่ใช้บันทึกการรับ การจ่ายสินค้าคงคลัง เพื่อโยกย้ายเบิกจ่ายสินค้า ทำให้ทราบข้อมูลการเคลื่อนไหวของสินค้าที่อยู่ในแต่ละคลังสินค้า และปรับยอดคลังกรณีที่มีการตรวจนับ สามารถแสดงยอดคงเหลือรวม แสดงยอดคงเหลือแจกแจงคลัง ซึ่งในแง่การบริหารแล้วโมดูลนี้สามารถช่วยในเรื่อง การบริหารสินค้าคงคลังได้เป็นอย่างดี
2. ประโยชน์ที่ได้รับ
         ประโยชน์ทางวิชาการ
          1. เห็นสภาพปัจจุบันของระบบโปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชี และคุณลักษณะของผู้มีอำนาจในการตัดสินเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย เพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบบัญชีให้กับธุรกิจอื่น
          2. การรับรู้ถึงประโยชน์ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย ผู้บริหารที่ไม่ใช่ฝ่ายบัญชีสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีในองค์กร
          3. ทราบความต้องการ การรับรู้ถึงประโยชน์ส่งผลต่อการตัดสินเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผน และพัฒนาตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชี
          4. เห็นแนวโน้มของปัญหาการใช้งานหลักของ การรับรู้ถึงประโยชน์ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย เพื่อการเตรียมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการหาทางป้องกันปัญหา และการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้องและทันเวลา
            ประโยชน์จากการนำผลการวิจัยไปใช้
          1. ผู้ศึกษาสามารถทราบถึงการตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ด้านระบบบัญชี
          2. ผู้ศึกษาสามารถทราบถึงการวางระบบบัญชี และเทคโนโลยีการบัญชี ของสำนักงานบัญชี
          3. ได้ทราบถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ทางบัญชีของธุรกิจบัญชี
          4. เป็นแนวทางแก่ธุรกิจสำนักงานบัญชีที่พึ่งเริ่มต้น ในการตัดสินใจเลือกซื้อโปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชี หรือเป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบบัญชีปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้เหมาะสมและเข้ากันกับระบบงานของธุรกิจบัญชี
          5. ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถนำไปใช้เพิ่มศักยภาพในการทำงานของโปรแกรมซอฟต์แวร์เพื่อตอบสนองกับผู้ใช้งานจริง

          สรุป
          จากผลการศึกษาดังกล่าวข้างต้นพบว่าการรับรู้ถึงประโยชน์ด้านทัศนคติต่อการรับใช้ระบบ ซอฟต์แวร์ด้านความคาดหวังจากประสิทธิภาพของระบบซอฟต์แวร์และด้านความง่ายในการใช้งาน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชีสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้กับผู้ทำบัญชีใช้ สำหรับการตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ด้านระบบบัญชีและทราบถึงอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากการใช้ โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจบัญชี รวมไปถึงเพื่อให้ผู้พัฒนาโปรแกรมทางบัญชีสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาโปรแกรมให้เหมาะสมและเข้ากันกับระบบงานของธุรกิจบัญชี
ข้อเสนอแนะ
          1. ควรศึกษาปัจจัยด้านอื่น เช่น ความสำเร็จของการใช้ระบบที่อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ โปรแกรมซอฟต์แวร์บัญชี
          2. ศึกษากลุ่มตัวอย่างอื่น ซึ่งจะทำให้สามารถวิเคราะห์ การรับรู้ถึงประโยชน์ที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมซอร์ฟแวร์บัญชีของสำนักงานบัญชีไทย ได้อย่างครอบคลุม

บรรณานุกรม
กัลยาณี สุขวาณิชย์ศิลป์. (2553). ทัศนคติต่อการยอมรับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ FMS (Franchise Management System) บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน). (สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,วิทยาลัยนวัตกรรม, สาขาการบริหาร เทคโนโลยี.
ชุติมา คล่องประทีปผล. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการเลือกโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี สำหรับบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในประเทศไทย. (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธิดา เณรยอด. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีออนไลน์บนระบบคลาวด์คอมพิวติ้งกับสำนักงานบัญชีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002020177_9235_9568.pdf
ณัฐพัชร์ อภิวัฒนไพศาล. (2561). องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมสําเร็จรูปทางการบัญชีของผู้บริหารทางบัญชี ที่ทํางานในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์: http://www.jap.tbs.tu.ac.th/files/Article/Jap41/Full/JAP41Nathapat.pdf.
พัชร์ อภิวัฒนไพศาล. (2561). องค์ประกอบของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ โปรแกรมสําเร็จรูปทางการบัญชีของผู้บริหารทางบัญชี ที่ทํางานในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์:    http://www.jap.tbs.tu.ac.th/files/Article/Jap41/Full/JAP41Nathapat.pdf.12.12.12
พิมพ์ปรีณ์ มะณีวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมระบบ EXPRESS ของนักบัญชีในระดับอุดมศึกษา. (วารสาร สมาคมนักวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์, คณะบริหารธุรกิจ.
พณชิต กิตติปัญญางาม, ไพรินทร์ ชลไพศาล และดวงจันทร์ วรคามิน. (2562). วิเคราะห์บทบาท AI ปัญญาประดิษฐ์ต่อสถานการณณ์แรงงานไทยในอนาคต. I business, 2562,สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์: วิเคราะห์บทบาท AI ปัญญาประดิษฐ์ ต่อสถานการณ์แรงงานไทยในอนาคต (ibusiness.co)
ภัสรนันท์ ไพรสรรณ์. (2562). กระบวนตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีกับงานบัญชีของนักบัญชีในกรุงเทพมหานคร.(บทความวิชาการ).  สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์ https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070106.pdf.
ภานุกร เตชะชุณหกิจ และศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2562). ศึกษาเรื่องอิทธิพลการยอมรับเทคโนโลยีและคุณภาพบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อการใช้งานระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์. (บทความวิชาการ). สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์:http://www.ar.or.th/ImageData/Magazine/20055/DL_10542.pdf?t=637411168 409882404.
เมทินี จันทร์กระแจะ. (2558). คุณภาพของระบบสารสนเทศและการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร. (ค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.      
ฤติมา มุ่งหมาย. (2561). สภาพและปัญหาการใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. (วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์) 1 มกราคม-เมษายน 2562.
วสุธิดา นุริตมนต์ และทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. (2561). ศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยี และความตั้งใจใช้บริการชำระเงินของผู้บริโภครุ่นใหม่ ด้วยโปรแกรมประยุกต์คิวอาร์โค้ดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. (วารสารวิชาการ)ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (2018):กรกฎาคม-ธันวาคม. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcosci/article/view/169393.
ปรียนันท์ วรรณเมธ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของอุตสาหกรรมการผลิตในเขตกรุงเทพมหานคร. (ประชุมวิชาการเรื่อง วิเคราห์ภาพอนาคตของประชาคมอาเซียน 2015-2020. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศศิจันทร์ ปัญจทวี. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้ระบบสารสนเทศ กรณีศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเชียงใหม่. (ค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาบริหารธุรกิจ.
ศุภลัคน์ ดวงไชย. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สําเร็จรูปของบุคคลวัยทํางานในเขตกรุงเทพมหานคร. (บทความวิชาการ). สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2563,จากเว็บไซต์: http://www.me-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2560-4-1_1594551048.pdf
สุนิสา อยู่เยาว์. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหาและความพึงพอใจของพนักงานบริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ต่อการนำโปรแกรม SAP R/3 มาใช้ในระบบบัญชีลูกหนี้. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาการจัดการโทรคมนาคม.
สุภัสสรา คงชม. (2558). นวัตกรรมของเทคโนโลยี และคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานคร.ค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต.
สุวรรณี  รุ่งจตุรงค์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2563, จากเว็บไซต์: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1341.