บทความ : พาไป! ทำความรู้จัก 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน
08
Dec
สาระดีๆมีมาฝากกันเป็นประจำ สำหรับสัปดาห์นี้ จะพามาทำความรู้จักกับ 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน ว่าแต่เคยสงสัยบ้างไหมว่า เมื่อเราเรียนการจัดการธุรกิจด้านการบิน จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง วันนี้จะพามาไขคำตอบกับ อาจารย์รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กันนะครับ!!
อ.รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร กล่าวว่า สำหรับอาชีพของคนที่เรียนจบทางด้านการจัดการธุรกิจการบินนั้นมีมากมาย แต่วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน!
1. พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน (Ground/ Airport Station Attendant)
ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารภายในสนามบิน ตั้งแต่เข้ามาใช้บริการของสายการบินจนส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน อาจแบ่งหน้าที่ไปตามพื้นที่ต่างๆของสนามบินเช่น เคาน์เตอร์เช็คอิน ประตูขึ้นเครื่อง หรือ ห้องรับรองพิเศษ เป็นต้น
2. พนักงานอำนวยการบิน (Flight Dispatcher)
การวางแผนเส้นทางการบิน คำนวณเชื้อเพลิง จุดพักระยะการบิน สภาพอากาศและการวางแผนเส้นทางสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่สายบริหาร (Airline Administrative Support)
ทำหน้าที่สนับสนุการทำงานได้แก่ ฝ่ายการตลาดของสายการบินทำหน้าที่ออกโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ทำหน้าที่ดูแลการจ้างงาน และผลประโยชน์/ผลตอบแทนของพนักงานทุกแผนกในสายการบิน
4. เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารและสำรองที่นั่งเครื่องบิน (Ticketing and Reservation Agent)
ทำการขายตั๋วหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินและวันเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร สำรองที่นั่งให้ผู้โดยสาร การระบุความช่วยเหลือพิเศษในวันเดินทาง เช่น การขอรถเข็น การขออาหารพิเศษตามหลักศาสนาหรือข้อจำกัดด้านสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการขอคืนเงินกรณีเดินทางไม่ได้
5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Service)
คัดแยก บรรจุ และคัดเลือกเที่ยวบินในการจัดส่ง วางแผนการบรรจุหีบห่อให้ได้ขนาดของห้องโดยสาร เพื่อให้ขนส่งสินค้าได้มากที่สุด
อ.รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร กล่าวว่า สำหรับอาชีพของคนที่เรียนจบทางด้านการจัดการธุรกิจการบินนั้นมีมากมาย แต่วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับ 5 อาชีพสุดปังในสายงานธุรกิจด้านการบิน!
1. พนักงานต้อนรับภาคพื้นดิน (Ground/ Airport Station Attendant)
ต้อนรับและดูแลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารภายในสนามบิน ตั้งแต่เข้ามาใช้บริการของสายการบินจนส่งผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน อาจแบ่งหน้าที่ไปตามพื้นที่ต่างๆของสนามบินเช่น เคาน์เตอร์เช็คอิน ประตูขึ้นเครื่อง หรือ ห้องรับรองพิเศษ เป็นต้น
2. พนักงานอำนวยการบิน (Flight Dispatcher)
การวางแผนเส้นทางการบิน คำนวณเชื้อเพลิง จุดพักระยะการบิน สภาพอากาศและการวางแผนเส้นทางสำรองเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น
3. พนักงานหรือเจ้าหน้าที่สายบริหาร (Airline Administrative Support)
ทำหน้าที่สนับสนุการทำงานได้แก่ ฝ่ายการตลาดของสายการบินทำหน้าที่ออกโปรโมชั่น การส่งเสริมการขาย หรือ ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ที่ทำหน้าที่ดูแลการจ้างงาน และผลประโยชน์/ผลตอบแทนของพนักงานทุกแผนกในสายการบิน
4. เจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารและสำรองที่นั่งเครื่องบิน (Ticketing and Reservation Agent)
ทำการขายตั๋วหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินและวันเดินทางให้แก่ผู้โดยสาร สำรองที่นั่งให้ผู้โดยสาร การระบุความช่วยเหลือพิเศษในวันเดินทาง เช่น การขอรถเข็น การขออาหารพิเศษตามหลักศาสนาหรือข้อจำกัดด้านสุขภาพ หรือแม้กระทั่งการขอคืนเงินกรณีเดินทางไม่ได้
5. เจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ (Cargo Service)
คัดแยก บรรจุ และคัดเลือกเที่ยวบินในการจัดส่ง วางแผนการบรรจุหีบห่อให้ได้ขนาดของห้องโดยสาร เพื่อให้ขนส่งสินค้าได้มากที่สุด
อาจารย์รังสีจันท์ สุวรรณสทิศกร หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบิน
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม