การกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเอกชน
01
Dec
การกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเอกชน
GOOD CORPORATE GOVERNANCE AFFECTS THE SUCCESS OF THE PRIVATE BUSINESS.
วรดร ลิ้มสุวรรณนนท์
VORADORN LIMSUWANNONT
VORADORNLI@GMAIL.COM
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเอกชน ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ความใส่ใจในคุณค่าของพนักงาน ความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม และความสนใจในความเป็นเลิศในการดำเนินงาน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของธุรกิจเอกชน การมุ่งเน้นสมรรถนะของผู้บริหาร ความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักถึงจริยธรรมทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตขององค์กร แสดงให้เห็นว่าหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งผลให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
คำสำคัญ : การกำกับดูแลกิจการที่ดี, ความสำเร็จของธุรกิจ, ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
Abstract
This article aims to study the issue of good corporate governance affecting the success of private businesses. From the literature review and related research, it was found that Attention to the value of employees attention to social responsibility and interest in operational excellence It is what causes the credibility of private businesses. executive competency focus attention to social responsibility Aware of business ethics It is something that affects the growth of the organization. It shows that the principles of good corporate governance As a result, the business is strong and competitive.
Keywords : Good corporate governance , business success , the competitiveness of businesses.
บทนำ
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) หรือ บรรษัทภิบาล ตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นระบบที่จัดให้มีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น โดยมีแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของผู้นำระดับสูงขององค์การ สามารถนำหลักการกำกับดูแลให้กิจการไปปรับใช้ให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาวน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนและสาธารณชนเพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กิจการและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน (สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, 2560) อย่างไรก็ตามธรรมาภิบาลจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับแนวทางควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องของกิจการการกำกับและการควบคุมที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในประเทศไทยได้รณรงค์และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดีตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาและได้ทำการปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนในปี 2549 โดยเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของThe Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD Principles of Corporate Governance ในปี 2004) และปี 2555 ได้รับข้อเสนอแนะจากธนาคารโลกในการเข้าร่วมโครงการ Corporate Governance - Reports on the Observance of Standards and Codes (CG-ROSC) (ฝ่ายพัฒนาธรรมภิบาลเพื่อตลาดทุน, 2555)
การกำกับดูแลกิจการเป็นเรื่องสำคัญซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสาธารณชน หน่วยงานกำกับดูแล และผู้บริหารขององค์กร การกำกับดูแลกิจการจะทำให้กิจการมีระบบการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส และมีผลการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ สร้างความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าแก่กิจการ ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายการกำกับดูแลกิจการเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ เจ้าของและผู้มีส่วนได้เสียอื่น การกำกับดูแลกิจการยังช่วยให้เกิดโครงสร้างที่สำคัญ ซึ่งเป็นกลไกในการกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจการและการกำหนดวิธีที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น รวมถึงการสอดส่องดูแลผลการปฏิบัติงานของกิจการ
การกำกับดูแลกิจการมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การกำกับ การติดตาม การควบคุม และการดูแลผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ไปทำหน้าที่ทางการบริหาร เพื่อให้ทรัพยากรขององค์กรได้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตรงตามเป้าหมาย อย่างคุ้มค่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบแทนกลับไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม กล่าวโดยสรุป การกำกับดูแลกิจการช่วยสร้างมูลค่าของกิจการ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการดำเนินธุรกิจเอกชน
2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเอกชน
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีตัวแทน
แนวคิดทฤษฎีตัวแทนมาจากปรัชญาเบื้องต้นที่สันนิษฐานว่ามนุษย์มักจะกระทำการเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก เมื่อกิจการแบ่งแยกความเป็นเจ้าของออกจากการควบคุมบริษัทโดยเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นตัวการ คือผู้ซึ่งต้องการให้บริษัทมีกำไรและได้ผลประโยชน์สูงสุด เพื่อให้บริษัทมีผลตอบแทนสูงคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุน โดยจะคำนึงหรือไม่คำนึงถึงวิธีการได้มาของผลตอบแทนเหล่านั้น ซึ่งมักจะมีการว่าจ้างผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพมาเป็นตัวแทน ที่เปรียบเสมือนลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างระดับสูงหรือต่ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรรมการบริษัท ผู้มีหน้าที่ต้องทำให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวการ มีความพึงพอใจสูงสุด โดยการบริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของตัวการ แต่อาจจะทำให้เกิดข้อขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างตัวการกับตัวแทนหากตัวการกับตัวแทนมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกันจะทำให้ก่อให้เกิดปัญหาการเป็นตัวแทนตามมา เช่น ผู้ถือหุ้นมีความประสงค์ต้องการให้ฝ่ายจัดการทำงานหรือตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ให้ผู้ถือหุ้นมีผลประโยชน์สูงสุดแต่ในขณะเดียวกันฝ่ายจัดการอาจมีความต้องการที่แตกต่างจากผู้ถือหุ้นโดยการตัดสินใจต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง(นภพรรณ, 2558) ทฤษฎีตัวแทน ได้ถูกอธิบายโดย Jensen and Meckling (1976) ซึ่งเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวการ คือ เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น และอีกฝ่ายเป็นตัวแทน คือ ผู้บริหาร โดยตัวการ จะมอบอำนาจในการบริหารกิจการให้แก่ตัวแทน เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติงานให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดและสามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพแต่เมื่อใดที่เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นกับผู้บริหารมีวัตถุประสงค์และผลประโยชน์ที่ไม่สอดคล้องกันย่อมส่งผลให้ผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะทำการตัดสินใจใดๆเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง และอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาตัวแทน ด้วยเหตุนี้งบการเงินจึงเป็นเครื่องมือในการวัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารเพื่อนำเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น
2. แนวคิดบรรษัทภิบาลและการกำกับดูแลกิจการ
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) หรือ บรรษัทภิบาลเป็นการบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งนี้บริษัทต้องให้สิทธิผู้ถือหุ้นรับทราบข้อมูลของบริษัท ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร การที่บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีย่อมส่งผลดีทั้งกับบริษัทในด้านการระดมทุน และผลดีต่อตลาดทุนโดยรวม ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มความต้องการซื้อ เพิ่มสภาพคล่อง และระดับราคา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการระดมทุนของบริษัท (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2560) ประเทศไทยมีการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการอย่างต่อเนื่องจากนั้นในปี พ.ศ.2549 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดีจึงได้เสนอหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่บริษัทจดทะเบียน ซึ่งเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่มีมาตรฐานสากลด้านการกำกับดูแลกิจการและใช้เป็นบรรทัดฐานในหลายประเทศ ต่อมาได้มีการปรับปรุงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2555 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของอาเซียน (ASEAN Corporate Governance Scorecard) ในปี พ.ศ.2560 สำนักงานกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Code) ฉบับใหม่สำหรับบริษัทจดทะเบียนเพื่อให้ธุรกิจปรับตัว เติบโต และสร้างคุณค่าให้แก่กิจการควบคู่ไปกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวมนอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งคณะกรรมการควรกำกับดูแลกิจการให้นำไปสู่ผลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1) สามารถแข่งขันได้และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว, 2) ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย, 3) เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและ 4) สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง โดยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Code)นี้ ได้วางหลักปฏิบัติที่คณะกรรมการ 8 ข้อหลัก ดังนี้
หลักปฏิบัติ 1 ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์ที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
หลักปฏิบัติ 2 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
หลักปฏิบัติ 3 เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
หลักปฏิบัติ 4 สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
หลักปฏิบัติ 5 ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
หลักปฏิบัติ 6 ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
หลักปฏิบัติ 7 รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
หลักปฏิบัติ 8 สนับสนุนการมีส่วนรวมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
ดังนั้น จากการที่บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการย่อมส่งผลดีทั้งกับบริษัท และกับตลาดทุนโดยรวม นอกจากนี้ การประเมินการกำกับดูแลกิจการรายบริษัทจดทะเบียนโดยหน่วยงานภายในประเทศ จะช่วยทำให้เกิดพัฒนาการของบริษัทจดทะเบียนในปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการให้เป็นมาตรฐานสากล เช่น โครงการการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน (CGR) โดยสมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทยโครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยเป็นต้น (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2560)
3. ทฤษฎีการวัดผลการดำเนินงานของกิจการ
ตามแนวคิดของการบัญชีความรับผิดชอบ การเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือบุคคลที่ต้องการวัดผลการดำเนินงาน (Bouwens &Van Lent, 2007) ตัวอย่างเช่น องค์กรวัดผลการดำเนินงานของศูนย์กำไร โดยใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงิน เช่น กำไรและอัตราการเติบโตของกำไร เป็นต้น ในขณะที่จะวัดผลการการดำเนินงานของศูนย์ลงทุนโดยใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงิน เช่น อัตราผลตอบแทนการลงทุนและกำไรส่วนที่เหลือ เป็นต้น ซึ่งองค์กรจำนวนมากมีระบบการวัดผลการดำเนินงานโดยใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินเป็นหลัก (Kaplan & Norton, 1996) และจะถูกแสดงด้วยตัวเลขทางบัญชีในงบการเงินขององค์กร ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงิน ได้แก่ ผลตอบแทนจากการลงทุนรายได้สุทธิ การเติบโตของยอดขาย การหมุนเวียนของกระแสเงินสด กำไรสุทธิ เป็นต้น(Kaplan &Norton, 1992; Hoque, 2005; Gumbus &Lussier, 2006) แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการสำหรับองค์ที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจสังคม การเมือง และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา โดยส่งผลต่อ 1) การให้ความสำคัญกับผลโดยละเลยเหตุ 2) การให้ความสำคัญกับผลสำเร็จในระยะสั้น 3) การให้ความสำคัญเฉพาะตัวเลขในงบการเงิน(นภดล, 2546) ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนในสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินเพื่อสะท้อนความสามารถขององค์กรในด้านที่สำคัญต่อความสำเร็จ ได้แก่ มุมมองด้านความพึงพอใจของลูกค้าและด้านประสิทธิภาพของกระบวนการ เป็นต้น (Kaplan and Norton, 1992; จุฑามน, 2553)
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกวิทย์ (2555) ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ผลการศึกษาพบว่าอายุของประธานฝ่ายบริหารที่มีอายุสูงขึ้นส่งผลกับผลการดำเนินงานในทิศทางตรงกันข้ามกัน ประธานฝ่ายบริหารที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจใช้กลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงเพื่อแสวงหาผลกำไร ซึ่งส่งผลให้บริษัทที่มีอายุของประธานฝ่ายบริหารที่มีอายุน้อย จะมีการเจริญเติบโตที่สูงและสามารถทำกำไรในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่มีประธานฝ่ายบริหารที่มีช่วงอายุสูงกว่า
นิธิภักดิ์ (2559) ศึกษาผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กรสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียนจำนวนกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 50 บริษัท รวมทั้งหมดเป็น 100 บริษัท รายงานประจำปีตั้งแต่ปี 2556-2557 โดยผลการดำเนินงานวัดในรูปของ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) พบว่า ผลการดำเนินงานไม่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากแนวคิดเรื่องการรายงานความยั่งยืนกำลังเป็นที่นิยมหรือเพิ่งเริ่มได้รับความสนใจจากบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นอาจทำให้ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นไม่สามารถเห็นถึงความ สำคัญของรายงานความยั่งยืนที่มีต่อผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน
ภัทรพงศ์ และสุรนัย (2559) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรและผลคะแนนการกำกับดูแลกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับผลการดำเนินงาน จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI จำนวน 113 บริษัท ปี พ.ศ.2555-2557 โดยมีตัวแปรอิสระ สัดส่วนการถือหุ้น 5 ลำดับแรก และตัวแปรตามคือ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ผลการศึกษาพบว่า มีเพียงสัดส่วนการถือหุ้น5 ลำดับแรกเท่านั้นที่มีผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานในรูปแบบของกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
อุบลวรรณ และโสวัตรธนา (2560) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบกระจุกของกลุ่มครอบครัวกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 –2559 จำนวนทั้งสิ้น 68 บริษัท ผลการวิจัยพบว่า อายุของกิจการ อัตราการเจริญเติบโต มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานที่วัดโดยอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อย่างมีนัยสำคัญ
John &Senbet (1998) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของกรรมการอิสระซึ่งเป็นกรรมการจากภายนอกกับผลการดำเนินงานของบริษัท พบว่า จำนวนกรรมการอิสระที่มากขึ้นจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่ากรรมการอิสระนี้จะตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการได้ดีกว่ากรรมการที่มาจากภายในบริษัท เนื่องจากกรรมการอิสระเป็นผู้ที่มีความชำนาญประสบการณ์ค่อนข้างมาก และยังช่วยลดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้นได้
Thanatawee (2014) ศึกษาการถือหุ้นสถาบันกับมูลค่าบริษัทโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) ในช่วงปี ค.ศ.2007-2011 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ถือหุ้นสถาบันในประเทศไทยมีผลกระทบเชิงบวกต่อมูลค่าบริษัท ดังนั้น ผู้ถือหุ้นสถาบันมีบทบาทสำคัญในการติดตามที่มีประสิทธิภาพในการทำงานและจากการศึกษาของ
Han&Suk (1998) ศึกษาผลกระทบของโครงสร้างความเป็นเจ้าของต่อผลการดำเนินงานของบริษัท พบว่า สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มสูงขึ้นจะช่วยทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการถือหุ้นของนักลงทุนสถาบันจะช่วยลดพฤติกรรมการรักษาผลประโยชน์อย่างเหนียวแน่นของผู้บริหารถึงได้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ
Mawih &Zaroug (2015) ศึกษาการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลกระทบของคุณภาพของผู้สอบบัญชี (Big 4, Non Big 4) ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัท (การเงินและการตลาด) จำนวน 112 บริษัท ที่จดทะเบียนใน Muscat Securities Market (MSM) สำหรับปี 2552-2556 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระหว่างสำนักงานสอบบัญชี (Big 4, Non Big 4) และ ROE แสดงให้เห็นว่า (Big 4, Non Big 4) มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ ROE และจากการศึกษาของ Matoke and Omwenga (2016) ผลการศึกษาจากการสำรวจ 78 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลักทรัพย์ประเทศไนโรบี ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่าการตรวจสอบที่มีคุณภาพส่งผลให้การดำเนินงานทางการเงินสูงขึ้น และระดับของความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีที่มากขึ้น ทำให้อัตรากำไรสุทธิสูงขึ้น และขนาดของผู้สอบบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Saha (2018) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัท พิจารณาจากบทบาทของคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบ โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ จำนวนตัวอย่าง 81 บริษัท ตั้งแต่ปี ค.ศ.2013-2017 ผลการศึกษาพบว่า ขนาดของคณะกรรมการตรวจสอบ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ความลังเลและไม่เด็ดขาดของกลุ่มขนาดใหญ่
5. ประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ประโยชน์ต่อบริษัท : ก่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ไม่รู้สึกถึงการเอาเปรียบ ดังนั้นการกำกับดูแลกิจการที่ดีต้องมีระบบจัดการที่ดี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ เช่น การมีระบบ Internal Control ซึ่งสามารถป้องกันการทุจริตภายในองค์กร ให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกบริษัทสามารถตรวจสอบกันและกันได้ ระบบโปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีรายงานและงบการเงินถูกต้อง ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา หรือ เรียลไทม์ สร้างความ เชื่อมั่น ซึ่งจะเป็นผลดี ที่จะทำให้ผู้บริหารผู้ถือหุ้นนึกถึงประโยชน์ที่เป็นส่วนรวม ส่งผลดีโดยรวมทำให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ในอนาคต
ประโยชน์ต่อพนักงาน : บริษัทถือว่าพนักงานเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร จึงจำเป็นต้องมีการมุ่งเน้นในการพัฒนาปัจจัยต่างๆ เพื่อเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมขององค์ที่ดีและเข้มแข็ง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับผลการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนั้นยังต้องจัดให้มี สวัสดิการตามกฎหมาย เช่น การประกันภัยกลุ่ม ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญในการพัฒนาความสามารถของพนักงานในองค์กร และการถ่ายทอดความรู้ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน เพื่อจะได้กำหนดวัฒนธรรมขององค์กรร่วมกัน และต้องยึดมั่นคุณธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรด้วยนอกจากนั้น บริษัทจึงควรมุ่งมั่นที่จะให้พนักงานทุกคนของบริษัทตระหนักถึงความรับผิดชอบจากการได้รับความไว้วางใจในการประกอบธุรกิจ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ความมั่นคง ยั่งยืน และเป็นที่ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้า ผู้ถือหุ้น และประชาชนโดยทั่วไป บริษัทจึงควรกำหนดจรรยาบรรณของผู้บริหารและพนักงาน เพื่อเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติของพนักงาน เพื่อความก้าวหน้า มั่นคง และการเจริญเติบโตของบริษัทได้อย่างยั่งยืน
สรุป
การกำกับดูแลกิจการ คืออะไร
คือ ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้น การบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ทำไมจึงต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
เพราะการดำเนินธุรกิจจะต้องก่อให้เกิดจริยธรรมธุรกิจเพื่อใช้เป็นกรอบ ในการดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคม ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างเป็นปกติสุข คือทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ที่พึงได้ และไม่ถูกทำให้เสียประโยชน์ที่ไม่ควรเสีย ได้รับความเป็นธรรมทั่วถึงกัน
ข้อเสนอแนะ
กิจการควรให้ความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนและเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การกำกับ การติดตามการควบคุม และการดูแลผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ไปทำหน้าที่ทางการบริหารเพื่อให้ทรัพยากรขององค์กร ได้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
บรรณานุกรม
จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2553). วิวัฒนาการของการบัญชีบริหารสู่การเปลี่ยนแปลงในมุมมองสำหรับผู้บริหาร.วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 90–97.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560. สืบค้นจาก https://www.sec.or.th.
นภดล ร่มโพธิ์. (2546). แนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรสมัยใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ, 100, 26-36.
นภพรรณ ลิ่มตั้ง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100). การศึกษาค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิภักดิ์ ปินตา. (2559). ผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กรสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาและชุมชน, 2(6), 112-126.
ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร และสุรนัย ช่วยเรือง. (2559). โครงสร้างองค์กรและผลคะแนนการกำกับดูแลกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับผลการดำเนินงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอาเซียน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(147), 64-79.
ฝ่ายพัฒนาธรรมภิบาลเพื่อตลาดทุน. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 : The Principles of Good Corporate Governance for Listed Companies 2012. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 : Corporate Governance Code for listed companies 2017. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
อุบลวรรณ ขุนทอง และ โสวัตรธนา ธารา. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบกระจุกของกลุ่มครอบครัวกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอไอ (MAI). วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 240-255.
เอกวิทย์ โพธิ์กมลวงศ์. (2555). คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) การศึกษาเฉพาะบุคคล. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
BIBLIOGRAPHY
Al Ani, M. K., & Mohammed, Z. O. (2015). Auditor Quality and Firm Performance: Omani Experience. European Journal of Economics, Finance and Administrative Sciences, 15(74), 13-23.
Bouwens, J., & Van Lent, L. (2007). Assessing the performance of business unit managers. Journal of Accounting research, 45(4), 667-697.
Gumbus, A., & Lussier, R. N. (2006). Entrepreneurs use a balanced scorecard to translate strategy into performance measures. Journal of Small Business Management, 44(3), 407-425.
Han, K. C., & Suk, D. Y. (1998). The effect of ownership structure on firm performance: Additional evidence. Review of Financial Economics, 7(2), 143-155.
Hoque, Z. (2005). Linking environmental uncertainty to non-financial performance measures and performance: a research note. The British Accounting Review, 37(4), 471-481.
Jensen, M. C., & Meckling, W. H. (1979). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs, and ownership structure. Journal of Financial Economics, 3, 305-360.
John, K., & Senbet, L. W. (1998). Corporate governance and board effectiveness. Journal of banking & Finance, 22(4), 371-403.
Kaplan, R.S., & Norton, D.P. (1992). The balanced scorecard-measures that drive performance. Harvard Business Review, 71–79.
Matoke, V. N., & Omwenga, J. (2016). Audit Quality and Financial Performance of Companies Listed in Nairobi Securities Exchange. International Journal of Scientific and Research Publications, 6(11), 372-381.
Saha, N. K., Moutushi, R. H., & Salauddin, M. (2018). Corporate Governance and Firm Performance: The Role of the Board and Audit Committee. Asian Journal of Finance & Accounting, 10(1), 210-226.
Thanatawee, Y. (2014). Institutional ownership and firm value in Thailand. Asian Journal of Business and Accounting, 7(2),1-22.
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเอกชน ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า ความใส่ใจในคุณค่าของพนักงาน ความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม และความสนใจในความเป็นเลิศในการดำเนินงาน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของธุรกิจเอกชน การมุ่งเน้นสมรรถนะของผู้บริหาร ความใส่ใจในความรับผิดชอบต่อสังคม ตระหนักถึงจริยธรรมทางธุรกิจ เป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตขององค์กร แสดงให้เห็นว่าหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ส่งผลให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
คำสำคัญ : การกำกับดูแลกิจการที่ดี, ความสำเร็จของธุรกิจ, ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ
Abstract
This article aims to study the issue of good corporate governance affecting the success of private businesses. From the literature review and related research, it was found that Attention to the value of employees attention to social responsibility and interest in operational excellence It is what causes the credibility of private businesses. executive competency focus attention to social responsibility Aware of business ethics It is something that affects the growth of the organization. It shows that the principles of good corporate governance As a result, the business is strong and competitive.
Keywords : Good corporate governance , business success , the competitiveness of businesses.
บทนำ
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) หรือ บรรษัทภิบาล ตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นระบบที่จัดให้มีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้น โดยมีแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของผู้นำระดับสูงขององค์การ สามารถนำหลักการกำกับดูแลให้กิจการไปปรับใช้ให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาวน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนและสาธารณชนเพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กิจการและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน (สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, 2560) อย่างไรก็ตามธรรมาภิบาลจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับแนวทางควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องของกิจการการกำกับและการควบคุมที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในประเทศไทยได้รณรงค์และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดีตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาและได้ทำการปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนในปี 2549 โดยเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของThe Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD Principles of Corporate Governance ในปี 2004) และปี 2555 ได้รับข้อเสนอแนะจากธนาคารโลกในการเข้าร่วมโครงการ Corporate Governance - Reports on the Observance of Standards and Codes (CG-ROSC) (ฝ่ายพัฒนาธรรมภิบาลเพื่อตลาดทุน, 2555)
การกำกับดูแลกิจการเป็นเรื่องสำคัญซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสาธารณชน หน่วยงานกำกับดูแล และผู้บริหารขององค์กร การกำกับดูแลกิจการจะทำให้กิจการมีระบบการบริหารและการจัดการที่มีคุณภาพ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส และมีผลการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ สร้างความสามารถในการแข่งขัน และเพิ่มมูลค่าแก่กิจการ ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายการกำกับดูแลกิจการเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายจัดการ คณะกรรมการ เจ้าของและผู้มีส่วนได้เสียอื่น การกำกับดูแลกิจการยังช่วยให้เกิดโครงสร้างที่สำคัญ ซึ่งเป็นกลไกในการกำหนดวัตถุประสงค์ของกิจการและการกำหนดวิธีที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น รวมถึงการสอดส่องดูแลผลการปฏิบัติงานของกิจการ
การกำกับดูแลกิจการมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การกำกับ การติดตาม การควบคุม และการดูแลผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ไปทำหน้าที่ทางการบริหาร เพื่อให้ทรัพยากรขององค์กรได้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตรงตามเป้าหมาย อย่างคุ้มค่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบแทนกลับไปยังผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม กล่าวโดยสรุป การกำกับดูแลกิจการช่วยสร้างมูลค่าของกิจการ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการดำเนินธุรกิจเอกชน
2. เพื่อศึกษาอิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดีส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจเอกชน
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ทฤษฎีตัวแทน
แนวคิดทฤษฎีตัวแทนมาจากปรัชญาเบื้องต้นที่สันนิษฐานว่ามนุษย์มักจะกระทำการเพื่อผลประโยชน์ของตนเองเป็นหลัก เมื่อกิจการแบ่งแยกความเป็นเจ้าของออกจากการควบคุมบริษัทโดยเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นตัวการ คือผู้ซึ่งต้องการให้บริษัทมีกำไรและได้ผลประโยชน์สูงสุด เพื่อให้บริษัทมีผลตอบแทนสูงคุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุน โดยจะคำนึงหรือไม่คำนึงถึงวิธีการได้มาของผลตอบแทนเหล่านั้น ซึ่งมักจะมีการว่าจ้างผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพมาเป็นตัวแทน ที่เปรียบเสมือนลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างระดับสูงหรือต่ำ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นกรรมการบริษัท ผู้มีหน้าที่ต้องทำให้ผู้ว่าจ้างหรือตัวการ มีความพึงพอใจสูงสุด โดยการบริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของตัวการ แต่อาจจะทำให้เกิดข้อขัดแย้งของผลประโยชน์ระหว่างตัวการกับตัวแทนหากตัวการกับตัวแทนมีผลประโยชน์ที่แตกต่างกันจะทำให้ก่อให้เกิดปัญหาการเป็นตัวแทนตามมา เช่น ผู้ถือหุ้นมีความประสงค์ต้องการให้ฝ่ายจัดการทำงานหรือตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ให้ผู้ถือหุ้นมีผลประโยชน์สูงสุดแต่ในขณะเดียวกันฝ่ายจัดการอาจมีความต้องการที่แตกต่างจากผู้ถือหุ้นโดยการตัดสินใจต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง(นภพรรณ, 2558) ทฤษฎีตัวแทน ได้ถูกอธิบายโดย Jensen and Meckling (1976) ซึ่งเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง 2 ฝ่าย ประกอบด้วย ตัวการ คือ เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น และอีกฝ่ายเป็นตัวแทน คือ ผู้บริหาร โดยตัวการ จะมอบอำนาจในการบริหารกิจการให้แก่ตัวแทน เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติงานให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุดและสามารถดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพแต่เมื่อใดที่เจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นกับผู้บริหารมีวัตถุประสงค์และผลประโยชน์ที่ไม่สอดคล้องกันย่อมส่งผลให้ผู้บริหารมีแนวโน้มที่จะทำการตัดสินใจใดๆเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้นอย่างแท้จริง และอาจนำไปสู่การเกิดปัญหาตัวแทน ด้วยเหตุนี้งบการเงินจึงเป็นเครื่องมือในการวัดผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารเพื่อนำเสนอต่อเจ้าของกิจการหรือผู้ถือหุ้น
2. แนวคิดบรรษัทภิบาลและการกำกับดูแลกิจการ
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) หรือ บรรษัทภิบาลเป็นการบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งนี้บริษัทต้องให้สิทธิผู้ถือหุ้นรับทราบข้อมูลของบริษัท ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ รวมถึงตรวจสอบการทำงานของกรรมการและผู้บริหาร การที่บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีย่อมส่งผลดีทั้งกับบริษัทในด้านการระดมทุน และผลดีต่อตลาดทุนโดยรวม ได้แก่ การสร้างความเชื่อมั่น เพิ่มความต้องการซื้อ เพิ่มสภาพคล่อง และระดับราคา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการระดมทุนของบริษัท (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2560) ประเทศไทยมีการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการอย่างต่อเนื่องจากนั้นในปี พ.ศ.2549 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดีจึงได้เสนอหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีให้แก่บริษัทจดทะเบียน ซึ่งเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ที่มีมาตรฐานสากลด้านการกำกับดูแลกิจการและใช้เป็นบรรทัดฐานในหลายประเทศ ต่อมาได้มีการปรับปรุงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2555 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของอาเซียน (ASEAN Corporate Governance Scorecard) ในปี พ.ศ.2560 สำนักงานกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ออกหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Code) ฉบับใหม่สำหรับบริษัทจดทะเบียนเพื่อให้ธุรกิจปรับตัว เติบโต และสร้างคุณค่าให้แก่กิจการควบคู่ไปกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสังคมโดยรวมนอกเหนือจากการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุน ซึ่งคณะกรรมการควรกำกับดูแลกิจการให้นำไปสู่ผลอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 1) สามารถแข่งขันได้และมีผลประกอบการที่ดีโดยคำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว, 2) ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย, 3) เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมและ 4) สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง โดยหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG Code)นี้ ได้วางหลักปฏิบัติที่คณะกรรมการ 8 ข้อหลัก ดังนี้
หลักปฏิบัติ 1 ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำองค์ที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
หลักปฏิบัติ 2 กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
หลักปฏิบัติ 3 เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
หลักปฏิบัติ 4 สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
หลักปฏิบัติ 5 ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
หลักปฏิบัติ 6 ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
หลักปฏิบัติ 7 รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
หลักปฏิบัติ 8 สนับสนุนการมีส่วนรวมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
ดังนั้น จากการที่บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการย่อมส่งผลดีทั้งกับบริษัท และกับตลาดทุนโดยรวม นอกจากนี้ การประเมินการกำกับดูแลกิจการรายบริษัทจดทะเบียนโดยหน่วยงานภายในประเทศ จะช่วยทำให้เกิดพัฒนาการของบริษัทจดทะเบียนในปรับปรุงการกำกับดูแลกิจการให้เป็นมาตรฐานสากล เช่น โครงการการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน (CGR) โดยสมาคมส่งเสริมกรรมการบริษัทไทยโครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยเป็นต้น (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2560)
3. ทฤษฎีการวัดผลการดำเนินงานของกิจการ
ตามแนวคิดของการบัญชีความรับผิดชอบ การเลือกตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินขึ้นอยู่กับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานหรือบุคคลที่ต้องการวัดผลการดำเนินงาน (Bouwens &Van Lent, 2007) ตัวอย่างเช่น องค์กรวัดผลการดำเนินงานของศูนย์กำไร โดยใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงิน เช่น กำไรและอัตราการเติบโตของกำไร เป็นต้น ในขณะที่จะวัดผลการการดำเนินงานของศูนย์ลงทุนโดยใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงิน เช่น อัตราผลตอบแทนการลงทุนและกำไรส่วนที่เหลือ เป็นต้น ซึ่งองค์กรจำนวนมากมีระบบการวัดผลการดำเนินงานโดยใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินเป็นหลัก (Kaplan & Norton, 1996) และจะถูกแสดงด้วยตัวเลขทางบัญชีในงบการเงินขององค์กร ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงิน ได้แก่ ผลตอบแทนจากการลงทุนรายได้สุทธิ การเติบโตของยอดขาย การหมุนเวียนของกระแสเงินสด กำไรสุทธิ เป็นต้น(Kaplan &Norton, 1992; Hoque, 2005; Gumbus &Lussier, 2006) แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการสำหรับองค์ที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมการดำเนินงานมีการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจสังคม การเมือง และการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงอยู่ตลอดเวลา โดยส่งผลต่อ 1) การให้ความสำคัญกับผลโดยละเลยเหตุ 2) การให้ความสำคัญกับผลสำเร็จในระยะสั้น 3) การให้ความสำคัญเฉพาะตัวเลขในงบการเงิน(นภดล, 2546) ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนในสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินเพื่อสะท้อนความสามารถขององค์กรในด้านที่สำคัญต่อความสำเร็จ ได้แก่ มุมมองด้านความพึงพอใจของลูกค้าและด้านประสิทธิภาพของกระบวนการ เป็นต้น (Kaplan and Norton, 1992; จุฑามน, 2553)
4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกวิทย์ (2555) ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ผลการศึกษาพบว่าอายุของประธานฝ่ายบริหารที่มีอายุสูงขึ้นส่งผลกับผลการดำเนินงานในทิศทางตรงกันข้ามกัน ประธานฝ่ายบริหารที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจใช้กลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงเพื่อแสวงหาผลกำไร ซึ่งส่งผลให้บริษัทที่มีอายุของประธานฝ่ายบริหารที่มีอายุน้อย จะมีการเจริญเติบโตที่สูงและสามารถทำกำไรในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่มีประธานฝ่ายบริหารที่มีช่วงอายุสูงกว่า
นิธิภักดิ์ (2559) ศึกษาผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กรสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียนจำนวนกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 50 บริษัท รวมทั้งหมดเป็น 100 บริษัท รายงานประจำปีตั้งแต่ปี 2556-2557 โดยผลการดำเนินงานวัดในรูปของ อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) พบว่า ผลการดำเนินงานไม่แตกต่างกัน ซึ่งอาจเกิดจากแนวคิดเรื่องการรายงานความยั่งยืนกำลังเป็นที่นิยมหรือเพิ่งเริ่มได้รับความสนใจจากบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มประเทศอาเซียน ดังนั้นอาจทำให้ผู้บริหาร หรือผู้ถือหุ้นไม่สามารถเห็นถึงความ สำคัญของรายงานความยั่งยืนที่มีต่อผลการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน
ภัทรพงศ์ และสุรนัย (2559) ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรและผลคะแนนการกำกับดูแลกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับผลการดำเนินงาน จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ MAI จำนวน 113 บริษัท ปี พ.ศ.2555-2557 โดยมีตัวแปรอิสระ สัดส่วนการถือหุ้น 5 ลำดับแรก และตัวแปรตามคือ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ผลการศึกษาพบว่า มีเพียงสัดส่วนการถือหุ้น5 ลำดับแรกเท่านั้นที่มีผลกระทบเชิงบวกกับผลการดำเนินงานในรูปแบบของกำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น
อุบลวรรณ และโสวัตรธนา (2560) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบกระจุกของกลุ่มครอบครัวกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (MAI) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 –2559 จำนวนทั้งสิ้น 68 บริษัท ผลการวิจัยพบว่า อายุของกิจการ อัตราการเจริญเติบโต มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานที่วัดโดยอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น อย่างมีนัยสำคัญ
John &Senbet (1998) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนของกรรมการอิสระซึ่งเป็นกรรมการจากภายนอกกับผลการดำเนินงานของบริษัท พบว่า จำนวนกรรมการอิสระที่มากขึ้นจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้น โดยให้เหตุผลว่ากรรมการอิสระนี้จะตรวจสอบการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการได้ดีกว่ากรรมการที่มาจากภายในบริษัท เนื่องจากกรรมการอิสระเป็นผู้ที่มีความชำนาญประสบการณ์ค่อนข้างมาก และยังช่วยลดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นของผู้บริหารระดับสูง ซึ่งจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีขึ้นได้
Thanatawee (2014) ศึกษาการถือหุ้นสถาบันกับมูลค่าบริษัทโดยใช้กลุ่มตัวอย่างในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100) ในช่วงปี ค.ศ.2007-2011 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ถือหุ้นสถาบันในประเทศไทยมีผลกระทบเชิงบวกต่อมูลค่าบริษัท ดังนั้น ผู้ถือหุ้นสถาบันมีบทบาทสำคัญในการติดตามที่มีประสิทธิภาพในการทำงานและจากการศึกษาของ
Han&Suk (1998) ศึกษาผลกระทบของโครงสร้างความเป็นเจ้าของต่อผลการดำเนินงานของบริษัท พบว่า สัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนสถาบันที่เพิ่มสูงขึ้นจะช่วยทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการถือหุ้นของนักลงทุนสถาบันจะช่วยลดพฤติกรรมการรักษาผลประโยชน์อย่างเหนียวแน่นของผู้บริหารถึงได้ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานการติดตามอย่างมีประสิทธิภาพ
Mawih &Zaroug (2015) ศึกษาการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลกระทบของคุณภาพของผู้สอบบัญชี (Big 4, Non Big 4) ที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัท (การเงินและการตลาด) จำนวน 112 บริษัท ที่จดทะเบียนใน Muscat Securities Market (MSM) สำหรับปี 2552-2556 ผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ระหว่างสำนักงานสอบบัญชี (Big 4, Non Big 4) และ ROE แสดงให้เห็นว่า (Big 4, Non Big 4) มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อ ROE และจากการศึกษาของ Matoke and Omwenga (2016) ผลการศึกษาจากการสำรวจ 78 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หลักทรัพย์ประเทศไนโรบี ใช้การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น ผลการศึกษาพบว่าการตรวจสอบที่มีคุณภาพส่งผลให้การดำเนินงานทางการเงินสูงขึ้น และระดับของความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีที่มากขึ้น ทำให้อัตรากำไรสุทธิสูงขึ้น และขนาดของผู้สอบบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Saha (2018) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัท พิจารณาจากบทบาทของคณะกรรมการและคณะกรรมการตรวจสอบ โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ จำนวนตัวอย่าง 81 บริษัท ตั้งแต่ปี ค.ศ.2013-2017 ผลการศึกษาพบว่า ขนาดของคณะกรรมการตรวจสอบ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับผลการดำเนินงานของบริษัท เนื่องจากการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ความลังเลและไม่เด็ดขาดของกลุ่มขนาดใหญ่
5. ประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ประโยชน์ต่อบริษัท : ก่อให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ไม่รู้สึกถึงการเอาเปรียบ ดังนั้นการกำกับดูแลกิจการที่ดีต้องมีระบบจัดการที่ดี ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ เช่น การมีระบบ Internal Control ซึ่งสามารถป้องกันการทุจริตภายในองค์กร ให้บุคคลทั้งภายในและภายนอกบริษัทสามารถตรวจสอบกันและกันได้ ระบบโปรแกรมบัญชีออนไลน์ มีรายงานและงบการเงินถูกต้อง ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา หรือ เรียลไทม์ สร้างความ เชื่อมั่น ซึ่งจะเป็นผลดี ที่จะทำให้ผู้บริหารผู้ถือหุ้นนึกถึงประโยชน์ที่เป็นส่วนรวม ส่งผลดีโดยรวมทำให้ธุรกิจเจริญก้าวหน้าต่อไปได้ในอนาคต
ประโยชน์ต่อพนักงาน : บริษัทถือว่าพนักงานเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร จึงจำเป็นต้องมีการมุ่งเน้นในการพัฒนาปัจจัยต่างๆ เพื่อเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมขององค์ที่ดีและเข้มแข็ง ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับผลการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนั้นยังต้องจัดให้มี สวัสดิการตามกฎหมาย เช่น การประกันภัยกลุ่ม ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญในการพัฒนาความสามารถของพนักงานในองค์กร และการถ่ายทอดความรู้ รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงาน เพื่อจะได้กำหนดวัฒนธรรมขององค์กรร่วมกัน และต้องยึดมั่นคุณธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรด้วยนอกจากนั้น บริษัทจึงควรมุ่งมั่นที่จะให้พนักงานทุกคนของบริษัทตระหนักถึงความรับผิดชอบจากการได้รับความไว้วางใจในการประกอบธุรกิจ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ ความมั่นคง ยั่งยืน และเป็นที่ได้รับความเชื่อถือจากลูกค้า ผู้ถือหุ้น และประชาชนโดยทั่วไป บริษัทจึงควรกำหนดจรรยาบรรณของผู้บริหารและพนักงาน เพื่อเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติของพนักงาน เพื่อความก้าวหน้า มั่นคง และการเจริญเติบโตของบริษัทได้อย่างยั่งยืน
สรุป
การกำกับดูแลกิจการ คืออะไร
คือ ระบบที่จัดให้มีโครงสร้างและกระบวนการของความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ ฝ่ายจัดการและผู้ถือหุ้น การบริหารจัดการบริษัทที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
ทำไมจึงต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
เพราะการดำเนินธุรกิจจะต้องก่อให้เกิดจริยธรรมธุรกิจเพื่อใช้เป็นกรอบ ในการดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคม ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้อย่างเป็นปกติสุข คือทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ที่พึงได้ และไม่ถูกทำให้เสียประโยชน์ที่ไม่ควรเสีย ได้รับความเป็นธรรมทั่วถึงกัน
ข้อเสนอแนะ
กิจการควรให้ความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความยั่งยืนและเสริมสร้างประสิทธิภาพขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การกำกับ การติดตามการควบคุม และการดูแลผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้ไปทำหน้าที่ทางการบริหารเพื่อให้ทรัพยากรขององค์กร ได้นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม
บรรณานุกรม
จุฑามน สิทธิผลวนิชกุล. (2553). วิวัฒนาการของการบัญชีบริหารสู่การเปลี่ยนแปลงในมุมมองสำหรับผู้บริหาร.วารสารวิชาชีพบัญชี, 6(17), 90–97.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560. สืบค้นจาก https://www.sec.or.th.
นภดล ร่มโพธิ์. (2546). แนวคิดการประเมินผลการปฏิบัติงานองค์กรสมัยใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ, 100, 26-36.
นภพรรณ ลิ่มตั้ง. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและคุณภาพกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100). การศึกษาค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิธิภักดิ์ ปินตา. (2559). ผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กรสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาและชุมชน, 2(6), 112-126.
ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร และสุรนัย ช่วยเรือง. (2559). โครงสร้างองค์กรและผลคะแนนการกำกับดูแลกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับผลการดำเนินงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอาเซียน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(147), 64-79.
ฝ่ายพัฒนาธรรมภิบาลเพื่อตลาดทุน. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555 : The Principles of Good Corporate Governance for Listed Companies 2012. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 : Corporate Governance Code for listed companies 2017. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
อุบลวรรณ ขุนทอง และ โสวัตรธนา ธารา. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบกระจุกของกลุ่มครอบครัวกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอไอ (MAI). วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 240-255.
เอกวิทย์ โพธิ์กมลวงศ์. (2555). คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) การศึกษาเฉพาะบุคคล. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
BIBLIOGRAPHY
Al Ani, M. K., & Mohammed, Z. O. (2015). Auditor Quality and Firm Performance: Omani Experience. European Journal of Economics, Finance and Administrative Sciences, 15(74), 13-23.
Bouwens, J., & Van Lent, L. (2007). Assessing the performance of business unit managers. Journal of Accounting research, 45(4), 667-697.
Gumbus, A., & Lussier, R. N. (2006). Entrepreneurs use a balanced scorecard to translate strategy into performance measures. Journal of Small Business Management, 44(3), 407-425.
Han, K. C., & Suk, D. Y. (1998). The effect of ownership structure on firm performance: Additional evidence. Review of Financial Economics, 7(2), 143-155.
Hoque, Z. (2005). Linking environmental uncertainty to non-financial performance measures and performance: a research note. The British Accounting Review, 37(4), 471-481.
Jensen, M. C., & Meckling, W. H. (1979). Theory of the firm: Managerial behavior, agency costs, and ownership structure. Journal of Financial Economics, 3, 305-360.
John, K., & Senbet, L. W. (1998). Corporate governance and board effectiveness. Journal of banking & Finance, 22(4), 371-403.
Kaplan, R.S., & Norton, D.P. (1992). The balanced scorecard-measures that drive performance. Harvard Business Review, 71–79.
Matoke, V. N., & Omwenga, J. (2016). Audit Quality and Financial Performance of Companies Listed in Nairobi Securities Exchange. International Journal of Scientific and Research Publications, 6(11), 372-381.
Saha, N. K., Moutushi, R. H., & Salauddin, M. (2018). Corporate Governance and Firm Performance: The Role of the Board and Audit Committee. Asian Journal of Finance & Accounting, 10(1), 210-226.
Thanatawee, Y. (2014). Institutional ownership and firm value in Thailand. Asian Journal of Business and Accounting, 7(2),1-22.