การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
01
Dec
การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
THE EFFECTS OF CORPORATE GOVERNANCE ON FINANCIAL PERFORMANCE OF FINANCIAL
COMPANIES IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND
THE EFFECTS OF CORPORATE GOVERNANCE ON FINANCIAL PERFORMANCE OF FINANCIAL
COMPANIES IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND
นางสาวประภาพร คำวิชัย
Prapaporn khamwichai
E-mail : Prapaporn910@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
การกำกับดูแลกิจการเป็นส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์การที่ดี ทั้งด้านความโปร่งใส และการเปิดเผยข้อมูลของกิจการ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการกำกับดูแลกิจการในประเทศไทยภายใต้กฎหมายและนโยบายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวิเคราะห์ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจการเงิน 70 บริษัท ประกอบด้วยธนาคาร 11 แห่ง และบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคาร 59 แห่ง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies: CGR) ประจำปี 2557-2561 ตามหลักเกณฑ์เดียวกันกับ The Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD) สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่าความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล และ คณะกรรมการตรวจสอบ มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัท วัดผลโดยใช้อัตราส่วนผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
คำสำคัญ : การกำกับดูแลกิจการ, ผลการดำเนินงานทางการเงิน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Abstract
Corporate governance is an important part of creating good corporate culture of transparency and openness. In this paper studies a brief view about the background of corporate governance mechanisms in Thailand under the laws and policies of the Stock Exchange of Thailand (SET). Furthermore, it analyzes the impact of corporate governance mechanisms on the financial performance of companies listed on SET. The study uses a sample that consists of 70 financial companies; bank 11 companies and non-bank 59 companies. To collect the data from the report of the Corporate Governance Report of Thai Listed Companies(CGR) for the period 2013-2018 with the same criteria as The Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD). Descriptive statistics correlation coefficient and multiple regression analysis were applied to this studied. Results revealedthat board accountability transparency and audit committee have a statistical significant at 95 percent confidence to impact on firm’s performance measured by return on equity(ROE).
Keywords : Corporate Governance, Financial Performance, the Stock Exchange of Thailand,
บทนำ
การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance: CG) หรือ บรรษัทภิบาลตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นระบบที่จัดให้มีโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการฝ่ายจัดการ และผู้ถือหุ้นโดยมีแนวปฏิบัติเพื่อสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของผู้นำระดับสูงขององค์การ สามารถนำหลักการกำกับดูแลให้กิจการไปปรับใช้ให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาวน่าเชื่อถือสำหรับนักลงทุนและสาธารณชนเพื่อประโยชน์ในการสร้างคุณค่าให้กิจการและอยู่ร่วมกับสังคมอย่างยั่งยืน (สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, 2560) อย่างไรก็ตามธรรมาภิบาลจะมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับแนวทางควบคุมการปฏิบัติตามข้อกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวข้องของกิจการการกำกับและการควบคุมที่ดีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในประเทศไทยได้รณรงค์และส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการกำกับดูแลกิจการที่ดีตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมาและได้ทำการปรับปรุงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนในปี 2549 โดยเทียบเคียงกับหลักการกำกับดูแลกิจการของ The Organization for Economic Co-Operation and Development (OECD Principles of Corporate Governance ในปี 2004) และปี 2555 ได้รับข้อเสนอแนะจากธนาคารโลกในการเข้าร่วมโครงการ Corporate Governance - Reports on the Observance of Standards and Codes (CG-ROSC) (ฝ่ายพัฒนาธรรมภิบาลเพื่อตลาดทุน, 2555)สมาคมธรรมาภิบาลแห่งเอเชีย (Asian Corporate Governance Association) ร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์แห่งเอเซียแปซิฟิก (Credit Lyonnais Securities Asia:CLSA) จัดทำรายงาน CG watch มาตั้งแต่ปี 2544 โดยทำการประเมิน ทุก 2 ปี ประเมินทั้งสิ้น 11 ประเทศ ประกอบด้วย ฮ่องกง สิงค์โปร์ ญี่ปุ่น ไทย มาเลเซีย ไต้หวัน อินเดีย เกาหลีใต้ จีน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียในประเด็นด้านการกำกับดูแลกิจการ
หรือธรรมภิบาลเน้น 5 เรื่อง คือ ด้านหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการ การปฏิบัติ การบังคับใช้กฎหมาย บรรยากาศด้านการเมืองและกฎหมาย การจัดทำบัญชีและการตรวจสอบ และวัฒนธรรมธรรมาภิบาล โดยผลการประเมินทำให้เห็นภาพรวมของสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้น ๆ ที่สูงกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนดไว้ในกฎหมาย สะท้อนความเชื่อมั่นของตลาด จึงเป็นที่ติดตามและใช้อ้างอิงเปรียบเทียบอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักลงทุนสถาบันเชื่อมั่นว่าระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีช่วยลดปัญหาความเสี่ยงจากการสูญเสียเงินลงทุนได้ทำให้รายงาน CG Watch เป็นที่สนใจในเวลาต่อมา เนื่องจากมีข้อมูลที่สามารถเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนกับตลาดทุนได้ ซึ่งผลการประเมินปี 2559 ประเทศไทยได้ลำดับที่ 5 จากการประเมิน 11 ประเทศในเอเชีย เป็นรองสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน โดยประเทศไทยมีคะแนนเท่ากับ 2 ปีก่อนหน้า แต่ลำดับลดลงเนื่องจากมีประเทศที่พัฒนาการกำกับดูแลกิจการให้ดีขึ้นจนทำให้ได้คะแนน CG Watch มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา (ปริย เตชะมวลไววิทย์, 2561) ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้มีการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการตรวจสอบตั้งแต่ปี 2538 ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศไทย ต่อมาในปี 2541 ได้ออกข้อบังคับให้บริษัทจดทะเบียนต้องจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ปี 2542 และในปีเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ได้จัดทำข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียนและแนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบควบคู่ไปกับการสร้างธรรมาภิบาลแก่บริษัทจดทะเบียนแล้วเหตุใดประเทศไทยจึงถูกลดอันดับธรรมาภิบาลจาก CG Watch (ปริย เตชะมวลไววิทย์, 2561)อย่างไรก็ตามตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนได้มีการนำหลักการการกำกับดูแลกิจการมาใช้ ซึ่งผลลัพธ์จากการปฏิบัตินำไปสู่การสร้างผลประกอบการที่ดีสอดคล้องตามเป้าหมายของกิจการ (สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์, 2560) ผู้วิจัยคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีระบบการวัดผลที่มีประสิทธิภาพเมื่อกิจการมีการนำหลักการกำกับดูแลกิจการมาใช้เพื่อช่วยยืนยันผลลัพธ์และชี้นำให้ผู้บริหารของบริษัทในประเทศไทยที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ดังนั้นจึงใช้การวัดผลลัพธ์ทางการเงินซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการตัดสินใจและควบคุมการประเมินทางเลือกอย่างมีประสิทธิภาพ (Baxter, 2014;Fairhurst & Nam, 2019; Shahwan, 2015) อันประกอบด้วย ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on Equity: ROE) และ Tobin’s Q ซึ่งเป็นอัตราส่วนสินทรัพย์ของบริษัทเทียบกับมูลค่าตลาดของบริษัท
จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นจำนวนมาก ของประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา มีทั้งความสัมพันธ์ที่เป็นเชิงบวกและความสัมพันธ์เชิงลบสำหรับในประเทศไทยยังมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีการป้องกันการมีส่วนเกี่ยวข้องกับคอร์รัปชั่นและมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เน้นเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาลเฉพาะกลุ่ม ESG100 ของ อรพรรณ เลิศรุจิวณิช (2559) วัดผลโดย ROE และ Tobin’s Q ในขณะที่
ณิชนนัท์ จนัทรเขตต์ (2554) พบว่าตัวแปรที่ใช้แทนการกำกับดูแลกิจการที่ดีมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กลุ่ม SET100 3 ตัวแปร คือ ขนาดคณะกรรมการของบริษัท สัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 5 อันดับแรก และการควบรวมตำแหน่งประธานกรรมการกับกรรมการผู้จัดการในคนเดียวกัน ซึ่งวัดผลโดยตัวแปรผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (Return on Asset: ROA) เป็นต้น เห็นได้ว่าการศึกษาส่วนใหญ่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อผลการดำเนินงานและยังไม่พบการศึกษาในกลุ่มธุรกิจการเงิน จึงสมควรที่จะมีการศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในครั้งนี้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษากลไกการกำกับดูแลกิจการในประเทศไทยภายใต้กฎหมายและนโยบายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของกลุ่มธุรกิจการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
เนื้อหาของบทความ
การกำกับดูแลกิจการ ถือได้ว่าเป็นระบบที่ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มระดับความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และ นักลงทุนแล้ว ยังช่วยให้เกิดความมั่นใจในการจัดหาทรัพยากรท่ามกลางการแข่งขันทาธุรกิจ นอกจากนี้การกำกับดูแลกิจการมีโครงสร้างความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบริษัท วีธีการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตลอดจนการตรวจสอบให้เป็นไปตามมาตรฐาน (Al-ahdal, Alsamhi,Tabash and Farhan, 2020) แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการวัดผลการปฏิบัติงานที่เกิดจากการการกำกับดูแลกิจการอย่างเป็นระบบ งานวิจัยก่อนหน้าที่คิดค้น ตัวชี้วัดของการกำกับดูแลกิจการ (Corporate GovernanceIndex: CGI) หลายแห่ง เช่น การศึกษาของ Ciftci,Tatoglu, Demirbag and Zaim (2019) ที่ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของกิจการ กรณีศึกษา บริษัทครอบครัวในประเทศตุรกี พบว่า ความเป็นเจ้าของอย่างยิ่งยวดจะเกิดขึ้นในบริษัทครอบครัว แต่กิจการที่ถูกครอบงำโดยครอบครัวที่เข้มงวด ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อผลการดำเนินงานที่ไม่ดีของบริษัท ในทำนองเดียวกัน Kumar and Zattoni (2016) ได้ทำการตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัท ทั้งสิ้น 255 บริษัทร่วมทุนจากต่างชาติและตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ผลการศึกษาเชิงประจักษ์พบความสัมพันธ์เชิงบวกของการกำกับดูแลกิจต่อผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สอดคล้องกับ Dow and McGuire (2016). ศึกษากลไกการกำกับดูแลกิจการและการกำกับดูแลกิจการในอุตสาหกรรมยานยนต์และผลการดำเนินงานของกิจการ 49 บริษัทในประเทศอินเดีย พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของบริษัท อีกทั้งในด้านของBalasuramanian, Black and Khanna (2010) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการระดับบริษัท และ มูลค่าการตลาด กรณีศึกษาของอินเดีย จนได้ข้อมูลความสัมพันธ์แบบภาคตัดขวางของความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างมูลค่าทางการตลาดของบริษัทและดัชนีการกำกับดูแลโดยรวมเช่นเดียวกับดัชนีย่อยที่ครอบคลุมสิทธิของผู้ถือหุ้น
Thrikawala, Locke and Reddy (2013) ได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการ ผลการดำเนินงานทางการเงิน พบมีความสัมพันธ์กับ องค์กรการเงินระดับฐานราก (Micro FinanceInstitutions: MFIs) ในเอเชีย โดยคิดค้นตัวชี้วัดในการกำกับดูแลกิจการ 4 ตัวชี้วัด กล่าวคือ ขนาดและองค์ประกอบของกรรมการบริหาร(Board size) คุณลักษณะของผู้บริหารสูงสุด (CEO characteristics และประเภทของความเป็นเจ้าของ (Ownership type) ในขณะที่ Al-ahdal, Alsamhi, Tabash and Farhan (2020) ทำการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการปฏิบัติงานในระดับที่แตกต่างกันของการเป็นเจ้าของ และการเป็นเจ้าของประเภทต่าง จำนวน 581 บริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจตั้งแต่ปี 2551-2555 ผลการวิจัยพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญระหว่างคุณภาพของการกำกับดูแลและผลการปฏิบัติงาน ในด้านของ Kumar and Zattoni (2015) ทำการทดสอบกลไกลการกำกับดูกิจการภายในที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ผลการศึกษา ในช่วง 2005-2012 พบว่า 349 บริษัท (ทั้งบริษัททางการเงินและไม่ใช่บริษัททางการเงิน) พบว่า การถือหุ้นโดยรัฐบาล ประเภทของการตรวจสอบ ขนาดของกรรมการบริหารระดับสูง ความรับผิดชอบต่อสังคม และระดับนัยสำคัญ มีผลต่อ ผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างไรก็ตามยังพบความสัมพันธ์ระหว่างกลไกลการตรวจสอบกับคณะกรรมการบริษัท (Board of director) คณะกรรมการตรวจสอบ (audit committee) และผลการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้ง Roy (2017) ที่ได้การศึกษา 135 บริษัทในประเทศซาอุดิอาระเบีย ในปี 2010 ในอีกด้านหนึ่ง พบว่ากรรมการบริษัทไม่ใช่กรรมการบริหาร (CEO duality) ขนาดของกรรมการบริหาร กรรมการตรวจสอบอิสระและการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทโดยตรง
จากตัวชี้วัดการกำกับดูแลกิจการพบการศึกษาจำนวนมากในประเทศต่าง ๆ แม้กระทั่งการศึกษาของ Shao, Ciampaglia and Varol (2018) ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานบริษัทในประเทศจีน ในปี 2544-2558 ผลการศึกษาพบว่าบริษัทที่ไม่มีการกำกับดูแลกิจการในประเทศจีน ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง ขนาดของกรรมการบริหารซึ่งรวมถึงไม่พบความสัมพันธ์ระหว่าง คณะกรรมการอิสระ กับผลการดำเนินงานของบริษัท อีกด้านหนึ่งเมื่อศึกษาในบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการพบว่าสัดส่วนการถือครองหุ้น มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อผลการดำเนินงานของกิจการ และ ยังพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างคณะกรรมการกำกับ และ ผลการดำเนินงานของกิจการ สอดคล้องกับการศึกษาของ Gupta, Priya, Williams, Sharma, Gupta, Jha, Ebrahim and Dhillon (2015) ที่ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของกิจการ 10 อันดับบริษัทที่มีผลประกอบการดีเด่นในปี 2005-2013 ของบริษัทสัญชาติอินเดียและเกาหลี โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลายของการกำกับดูแลกิจการ ประกอบด้วย กรรมการอิสระ โครงสร้างของกรรมการบริหาร และการเปิดเผยข้อมูลของกิจการ สำหรับตัวชี้วัดทางด้านการเงิน คือผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม(ROA) และ ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) ผลการศึกษาพบว่าการการกำกับดูแลกิจการมีผลกระทบอย่างจำกัดต่อผลการดำเนินงานทางการเงิน นอกจากนี้ Brown and Caylor (2006) ได้ร่วมกันศึกษา 1,868 กิจการเพื่อหาตัวชี้วัดของการกำกับดูแล 7 ตัวชี้วัด ที่ส่งผลต่อมูลค่าของกิจการในประเทศสหรัฐฯ ในปี 2002 และพบว่าการกำกับดูแลกิจการมีความสัมพันธ์ต่ออัตราส่วน Tobin’s Q ในขณะเดียวกัน Ammann, Oesch, Schmid and M (2011) ทำการศึกษาผลการดำเนินงานใน 22 ประเทศที่พัฒนาแล้ว จำนวน 230,000 บริษัท ในปี 2546-2555 พบความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นบวกระหว่างการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการประเมินมูลค่าของกิจการ
จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่าผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของกิจการนั้น มีการขาดการศึกษาในกลุ่มธุรกิจการเงินอย่างจริงจัง จึงทำให้การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดช่องว่างของวรรณกรรมที่ยังไม่ได้ศึกษา
สรุป
งานวิจัยนี้ต้องการศึกษากลไกการกำกับดูแลกิจการในประเทศไทยภายใต้นโยบายการตรวจติดตามโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand: SET) และวิเคราะห์ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำเนินงานทางการเงินซึ่งทำการวัดผลโดยใช้อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และ อัตราส่วนของผลรวมมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญกับหนี้สินรวมหารด้วยสินทรัพย์รวม (Tobin’s Q) เป็นตัววัดผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มธุรกิจการเงินทั้งสิ้น 70 บริษัทแบ่งเป็นธนาคารจำนวน 11 บริษัท และไม่ใช่ธนาคาร59 บริษัท เก็บข้อมูลในช่วง 2557-2561 ตัวแปรการกำกับดูแลที่แตกต่างกันอาทิ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร ความโปร่งใสตรวจสอบได้ และ คณะกรรมการตรวจสอบ ถูกนำมาใช้พยากรณ์ตัวแปรผลการดำเนินงานทางการเงินทั้ง อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และ อัตราส่วนของผลรวมมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญกับหนี้สินรวมหารด้วยสินทรัพย์รวม (Tobin’s Q) ด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ โดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าคณะกรรมการตรวจสอบ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานทางการเงินที่วัดผลโดยใช้อัตราส่วนของผลรวมมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญกับหนี้สินรวมหารด้วยสินทรัพย์รวม (Tobin’s Q) อันเนื่องมาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบ ตั้งแต่ 23 มิถุนายน 2543 ข้อที่ 1 คือ คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้ถือหุ้นในกิจการไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก
ข้อเสนอแนะ
ในมุมมองของนักลงทุน กิจการที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ย่อมสามารถสะท้อนได้ตามตัวเลขผลการดำเนินงานทางการเงิน กล่าวคือจะมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และอัตราส่วนของผลรวมมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญกับหนี้สินรวมหารด้วยสินทรัพย์รวม (Tobin’s Q) ที่สูงหากนักลงทุนต้องการลงทุนในบริษัทที่มีธรรมภิบาลควรเลือกบริษัทที่มีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) และ อัตราส่วนของผลรวมมูลค่าตลาดของหุ้นสามัญกับหนี้สินรวมหารด้วยสินทรัพย์รวม(Tobin’s Q) ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรมเดียวกัน และในมุมมองของผู้บริหาร หากกิจการมีอัตราส่วนของผลการดำเนินงานทางการเงิน กล่าวคือ ROE และ Tobin’s Q ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอุตสาหกรรม ย่อมแสดงให้เห็นถึงสัญญาณปัญหาที่เกิดขึ้นในกิจการ ผู้บริหารต้องกลับมาสืบค้นต้นตอสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร หรือ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ หรือ คณะกรรมการตรวจสอบ ที่ปรากฏตามค่าสมการถดถอยเชิงพหุ
บรรณานุกรม
พรปวีณ์ วรเศรษฐ์พงศา,สุชาติ ปรักทยานนท์. (2563). การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.