Creative Center @ Siamsquare

UploadImage
 

Creative Center @ Siamsquare

โครงการศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์สยามสแควร์

      หากมองถึงพื้นที่ Life Style ที่มีอิสระในการแสดงออกนำสมัยอยู่ตลอดเวลาและมีการใช้ชีวิตร่วมกับความทันสมัยของเทคโนโลยีรวมถึงสื่อมัลติมีเดียต่างๆแล้ว Siam Square ก็เปรียบได้กับแหล่งรวมวัฒนธรรมเหล่านั้น  ซึ่งพื้นที่ตรงนี้มีศักยภาพในการพัฒนาเป็น Creative Cityเนื่องจากมีทุนเดิมในเรื่องของสื่อและกิจกรรมที่ทันสมัย  จากบริบทรอบด้าน   เป็นแหล่งรวมตัวและดึงดูดนักคิดสร้างสรรค์ Creative Worker  ซึ่ง Siam Square มีบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์  ตั้งแต่ย่าน Siam Discovery ไปจรด Central World  ที่สำคัญ Siam Square ยังมีชัยภูมิเชื่อมต่อกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัว Creative Tarrent ที่พร้อมจะช่วยผลักดัน Creative Space ที่สร้างขึ้นให้ประสบความสำเร็จร่วมกับยุคสมัยที่ก้าวสู่โลก Digital อย่างเต็มรูปแบบ  โดยปัจจุบันสยามสแควร์ถูกรายล้อมไปด้วยการพัฒนารอบด้านจนทำให้สยามสแควร์ลดบทบาทการเป็นจุดศูนย์รวมของย่านลงซึ่งสยามสแควร์มีศักยภาพหลายด้านที่พัฒนาได้มากดั้งนั้นโครงการนี้จึงเกิดขึ้น
 

      แนวความคิดในการออกแบบได้มาจากการศึกษาเมืองและองค์ประกอบต่างๆของสยามสแควร์  โดยได้หยิบเอา Space ที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของ User ภายในสยามสแควร์มาเป็นตัวแปรในการออกแบบโครงการคือ Space ของ  “ซอยและลาน”  ซึ่งเป็นเอกลัษณ์ที่ชัดเจนของสยามสแควร์ที่มีการใช้สอย Space ในลักษณะ Indoor Space กับ Outdoor Space อยู่ตลอดเวลาซอยและลายจะเป็นตัวเติมเต็มกิจกรรมที่สร้างสรรค์ต่างๆ  ร่วมกับการวิเคราะห์บริบทในปัจจุบัน  ที่มีการใช้สอยกิจกรรมต่างๆใน  Second Level มากขึ้น  เนื่องจากผลกระทบของ  BTS , Parkparagon  และช่วยแก้ปัญหาการสัญจรที่แออัดในระดับฟุตบาท  และปัญหาเดิมของสยามสแควร์ที่ขาดการใช้สอยในระดับชั้นสองและสาม  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะเป็นแนวความคิดในการออกแบบโครงการ  “ ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์สยามสแควร์ “  ดังนี้

    1. การแตก Mass และสร้างซอยขึ้นมาในโครงการใน  Ground Level  เพื่อสร้างซอยและลานเล็กๆขึ้นมาเชื่อมต่อกับบริบทในระดับนี้
    2. จากการวิเคราะห์บริบทจึงทำให้ได้แนวคิดว่ากิจกรรมต่างๆของสยามสแควร์จะมีบทบาทใน Second Level   และกิจกรรมใน  Ground Level  เริ่มลดบทบาทลงเนื่องจากการพัฒนาตัวของสยามสแควร์  จึงมีแนวคิดในการสร้างทางเชื่อมต่อกับทางสัญจร Second Level  เพื่อดึงคนเข้ามาในโครงการ
    3. การออกแบบซังเก็นเพื่อช่วยลดปัญหาความแออัดใน Ground Level และเพิ่มส่วน Green ให้กับระดับฟุตบาทสร้างจุด Meeting Hub ขึ้นมาเพื่อเป็นจุดรวมตัวของนักคิดสร้างสรรค์รุ่นใหม่
    4. การออกแบบ Space ภายในโครงการให้มีการเชื่อมต่อและทอนระดับให้มีการเหลื่อมชั้นและเกิด Space ที่ต่อเนื่องกันขึ้นไปในทุกระดับชั้นของอาคารจึงทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ของกิจกรรมภายในโครงการ
    5. การออกแบบ Interior Space สะท้อนมาสู่ Exterior Space ทำให้คนโดยรอบโครงการรับรู้กิจกรรมของโครงการได้ง่ายจากทุกระดับเช่น BTS , Parkparagon  ทำให้การใช้สอยอาคารต่อเนื่องขึ้นไปในระดับชั้นบนได้ช่วยแก้ปัญหาของการใช้สอยแต่ระดับฟุตบาทของสยามสแควร์