ประสิทธิภาพในการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
29
Oct
ประสิทธิภาพในการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
THE EFFECTIVENESS OF A FINANCIAL STATEMENT AUDIT OF TAX AUDITOR
ปุณยวีร์ ธีรโชตินวนันท์
PUNYAVEE THEERACHOTNAVANUN
E-mail: tpunyavee28182818@gmail.comTHE EFFECTIVENESS OF A FINANCIAL STATEMENT AUDIT OF TAX AUDITOR
ปุณยวีร์ ธีรโชตินวนันท์
PUNYAVEE THEERACHOTNAVANUN
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพในการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ในปัจจุบันผู้สอบบัญชีเข้ามามีบทบาทในการประกอบธุรกิจอย่างมาก ด้วยธุรกิจต่างๆนั้นต้องการความน่าเชื่อถือจากการตรวจสอบงบการเงินทำให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในการสอบบัญชี เนื่องจากมีทั้งบุคคลภายนอกและบุคคลภายในที่ต้องการทราบผลกำไรขาดทุนของกิจการเพื่อใช้ประกอบในการตัดสินใจในด้านต่างๆ ผู้สอบบัญชีนั้นต้องจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีซึ่งกำหนดว่าผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องรายงานเกี่ยวกับสิ่งที่ตรวจพบ โดยการที่จะจัดทำรายงานได้นั้นต้องได้มาซึ่งหลักฐานที่เพียงพอและเหมาะสมด้วยวิธีการและเทคนิคการสอบต่างๆเพื่อประกอบการสอบบัญชี เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
คำสำคัญ : ประสิทธิภาพ การตรวจสอบงบการเงิน ผู้สอบบัญชีภาษีอากร
Abstract
The purposes of this research were to study the effectiveness ofa financial statement audit oftax auditor. Nowadays, auditors take an important role to run a business. To be specific, every business companies need reliability from financial statement audit and the entrepreneur also takes an interest in the audit. Since the profit and loss of the company are required by both the insiders and outsiders for the decision making, auditors must prepare the audit report and audit certificate that included what was detected. The report-making needs appropriate evidence from different methods and techniques to audit and perceive the factors that affect the financial statement audit of the tax auditor.
Keywords: EffectivenessThe Financial Satement TAX Auditor
บทนำ
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditing) หมายถึง บุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร จากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร และเสนอรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีต่ออธิบดีกรมสรรพากร พร้อมกับ งบการเงินและแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ตาม กำหนดให้มีผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี หรือเรียกว่า ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท ผู้สอบบัญชีภาษีอากรไม่จำเป็นต้องผ่านการฝึกการสอบบัญชีซึ่งกรมสรรพากรได้กำหนดให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรการกำหนดหลักเกณฑ์ใหม่ นอกเหนือจากการตรวจสอบตามปกติแล้ว และได้ออกคู่มือการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นการสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร การคาดหวังในปัจจุบันของผู้ว่าจ้าง ลูกค้าและสาธารณชนที่มีต่อผู้สอบบัญชีภาษีอากร จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทักษะและประสบการณ์ในการทำงาน เพื่อให้การแสดงความเห็นต่องบการเงินสะท้อนกับความเป็นจริงให้มากที่สุด ดังนั้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย ควรพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้เป็นบุคคลที่มีสรรถนะการสอบบัญชีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพร้อมที่จะปฏิบัติงานให้ตรงตามมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
2. เพื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
3. เพื่อศึกษาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ผู้สอบบัญชี TA
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor : TA) ที่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งตรวจสอบและ รับรองบัญชีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (เพียงประเภทเดียว) เป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากรจากอธิบดีกรมสรรพากรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.98/2544
การรับรองงบการเงิน : สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็กที่มีทุนจดทะเบียนหรือทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์รวม และรายได้รวมในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรตามมาตรา 3 สัตต
ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทุกประเภท (รวมถึงกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร) และ
2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ทำหน้าที่ตรวจสอบงบการเงินของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก
หน้าที่และความรับผิดชอบ
หน้าที่และความรับผิดชอบในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้องปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบให้ครบถ้วน ดังนี้
- รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี จากผลการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร อย่างตรงไปตรงมา หากกิจการไม่ยินยอมปรับปรุงให้ถูกต้องหรือมีข้อยกเว้น ผู้สอบบัญชีภาษีอากรจะต้อง รายงานข้อยกเว้นดังกล่าว
- การแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตนตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งแจ้ง ล่วงหน้าตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ภายในวันที่ 30 มิถุนายน ของทุกปี พร้อมแนบหนังสือตอบรับ งานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
- กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นลูกค้าซึ่งได้แจ้ง ไว้แล้ว ให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากรแจ้งการเปลี่ยนแปลงตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัด จากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ต้องแจ้งก่อนวันที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี
- การเสียภาษีของตนเองให้ถูกต้องครบถ้วน ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องเสียภาษีของตนเองให้ ถูกต้องครบถ้วน อย่าหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร
คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชีซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองเทียบเท่าไม่ต่ำกว่าปริญญาดังกล่าว
- มีอายุไม่ต่ำว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
- มีสัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชี ในประเทศนั้นได้
- ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีเกี่ยวกับภาษีอากร หรือคดีอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรเห็นว่าอาจ นำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งความเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร
- ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟันเฟือน ไม่สมประกอบ
- ไม่เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีที่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต
- ต้องผ่านการทดสอบความรู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
จรรยาบรรณผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ผู้สอบบัญชีภาษีอากรต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณที่อธิบดีกรมสรรพากรกําหนดไว้ในคําสั่ง กรมสรรพากรที่ ท.ป. 123/2545 เรื่อง กําหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต เช่น
- ไม่รับตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่ตนขาดความเป็นอิสระ
- ไม่รับงานในกิจการที่ตนขาดความเป็นกลาง โดยมีผลประโยชน์หรือ ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น หรือโดยมีเหตุอื่นที่อาจจะก่อให้เกิดความลำเอียง
- ไม่ปกปิดข้อเท็จจริง หรือบิดเบือนความจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินที่ตนลงลายมือ ชื่อรับรองไว้ในรายงาน
- ไม่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อ ขาย ออก หรือใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
- ต้องปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถของวิชาชีพการงาน ใบรับ
- ไม่ตรวจสอบและรับรองบัญชีในกิจการที่เกินความรู้ความสามารถของตนที่จะปฏิบัติงานได้
- ไม่ลงลายมือชื่อรับรองในรายงานของกิจการที่ตนมิได้ปฏิบัติงานตรวจสอบหรือควบคุม การปฏิบัติงานตรวจสอบ
- สอดส่องใช้ความรู้ความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไป เป็นต้น
- ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ ทราบโดยวิธีใดสำหรับกิจการที่ตนได้รู้มาในหน้าที่จากการตรวจสอบและรับรองบัญชี อันเป็นเหตุให้กิจการนั้น ได้รับความเสียหาย เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการกระทำตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย
- ไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น
- ไม่แย่งงานตรวจสอบและรับรองบัญชีจากผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีอื่น
- ไม่ทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีเกินกว่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้ตรวจสอบและรับรอง บัญชีอื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้มอบหมายนั้น เป็นต้น
- ไม่กระทำการใด ๆ อันอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพในส่วนที่เกี่ยวกับ กฎหมายภาษีอากร หรือกฎหมายอื่น
- ไม่โฆษณาหรือยินยอมให้ผู้อื่นโฆษณาด้วยประการใด ๆ ซึ่งการประกอบวิชาชีพอันแสดงให้เห็น ว่าจะช่วยเหลือให้เสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริง เป็นต้น
หลักการทำงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
- จัดทำและจัดเก็บแนวทางการสอบบัญชี
- จัดทำและจัดเก็บกระดาษทำการ
- เน้นการทาสอบความถูกต้องของงบการเงินและบัญชี
- กระทบยอดทางบัญชีเป็นกำไรทางภาษี
- เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญและแจ้งพฤติการณ์ไว้ในรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
- ทดสอบรายการในแบบแจ้งข้อความ
- ชี้แจ้งข้อเท็จจริงและส่งมอบแนวทางการสอบบัญชีและกระดาษทำการ
หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล รวมทั้งกิจการร่วมค้าต้องจัดให้มีกรตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อประโยชน์แห่งการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรซึ่งกระทำได้ก็แต่บุคคลที่อธิบดีกรมสรรพากโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดสำหรับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท
และหรือมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และหรือมีทรัพย์สินรวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชีนั้น ให้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อประโยชน์แห่งการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรโดย "ผู้สอบบัญชีภาษีอากร" หรือ "ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต"
สำหรับกิจการอื่นนอกจากห้างหุ้นส่วนดังกล่าวให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้นในการปฏิบัติงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี ทั้งผู้สอบบัญชีภาษีอากรและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดในเรื่องมรรยาท การปฏิบัติงานการรายงานและบทลงโทษตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 98/2545
ดังนี้ มิฉะนั้นอธิบดีกรมสรรพากรอาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
1. ต้องรักษามรรยาทในการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
ต้องสอดส่องใช้ความรู้ และความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
โดยทั่วไปต้องปฏิบัติ
ในกรณีที่พบว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเจ้าของบัญชีได้มีการกระทำหองดเว้นการกระทำเอกสาร
ประกอบการลงบัญชีและหรือลงบัญชีโดยที่ห็นว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง อันอาจเป็นเหตุให้บริษัทหรือ
2.ต้องสอดส่องใช้ความรู้ และความระมัดระวังในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพโดยทั่วไปต้องปฏิบัติในกรณีที่พบว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเจ้าของบัญชีได้มีการกระทำหรืองดเว้นการกระทำเอกสารประกอบการลงบัญชี และหรือลงบัญชีโดยที่เห็นว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง อันอาจเป็นเหตุให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น มิต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่ควรเสียอันเป็นสาระสำคัญให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีเปิดเผยข้อเท็จจริงที่พบในแบบแจ้งข้อความที่อธิบดีกำหนด
3. ทดสอบรายการในแบบแจ้งข้อความที่กรรมการหรือผู้ป็นหุ้นส่วน หรือผู้จัด การของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแจ้งข้อความเกี่ยวกับกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามที่อธิบดีกรม
สรรพากรกำหนดนอกจากนี้ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชียังมีหน้าที่ต้องรักษามรรยาทในการปฏิบัติงานอีกด้วย
จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ. ศ . 2525 ได้กำหนดคามหมายของ "จรรยาบรรณ" ว่าหมายถึง ประมวลความประพฤติ ที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิกอาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ จรรยาบรรณจึงเป็นหลักความประพฤติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ ซึ่งเรียกว่า จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ(Professional code of ethics) เมื่อประพฤติแล้วจะช่วยรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงทั้งของวิชาชีพและฐานะของสมาชิก ทำให้ได้รับความเชื่อถือจากสังคมและความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียในทางภาษีอากรอธิบดีกรมสรรพากร (นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล-ในขณะนั้น) ได้ กำหนดกรอบจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 123/2545อันประกอบด้วย จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมอาชีพ จรรยาบรรณทั่วไปจรรยาบรรณต่อตนเอง เป็นหลักในกรปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งจำแนกเป็น ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยต้องปฏิบัติงานอย่างเต็มที่เต็มความสามารถ ปราศจากความลำเอียงที่จะส่งผลให้มีการละเว้นการเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยกว่าความเป็นจริงจรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี อาทิ ไม่เปิดเผยความลับกิจการของผู้เสียภาษีหรือผู้อื่นที่เกี่ยวข้องโดยนำออกแจ้งแก่ผู้ใด หรือให้ทราบโดยวิธีใดอันเป็นเหตุให้กิจการนั้นได้รับความเสียหาย เว้นแต่การกระทำนั้นเป็นการกระทำตามหน้าที่ทางวิชาชีพหรือตามกฎหมาย หรือไม่ละทิ้งการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชีที่รับไว้แล้วโดยไม่มีเหตุผลอันควร
อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์. (สารพันปัญหาภาษีอากร) กรณีศึกษา หากในปี57 ห้างมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท มีCPA เซ็นรับรองงบการเงิน ต่อมาในปี 58 ห้างลดทุนลงเหลือ 5 ล้านบาท รายได้และสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท อยากทราบว่า TA เซ็นรับรองงบในปี 58 ได้หรือไม่
จากกรณีตามคำถามข้างต้นหากในปีถัดไปห้างดังกล่างมีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาทและรายๆได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท TAสามารถตรวจสอบและรับรองบัญชีได้โดยต้องออกหน้ารายงานตามแบบรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีท้ายคำสั่งกรมสรรพากรที่ ทป 195/2555 เรื่อง กำหนดหลักเกณท์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฏากร ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2555
แนวทางการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากร
1. การจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
2. การจัดทำแนวทางการตรวจสอบบัญชี
3. การจัดทำกระดาษทำการ(working paper)
4. การทดสอบรายการทางบัญชีและภาษีอากร
5. การขอยืนยันการออกใบกำกับภาษีซื้อ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
1. ความสามารถทางการตัดสินใจ
2. ความถูกต้องของข้อมูล
3. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
4. การบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ
5. มาตรฐานและความน่าเชื่อถือ
อลงกรณ์ มีสุทธา และสมิตร สุชฌุกร, (2552) กล่าวว่าประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตามความสามารถของแต่ละบุคคล การที่จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล รวมถึงความสามารถทางการตัดสินใจ ความถูกต้องของข้อมูล ความทันเวลาตรงตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์การ แสดงให้เห็นถึงความรู้ความสามารถทางการบัญชีของตน สามารถวัดได้จากคุณภาพของงาน การมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้รายงานการตรวจสอบงบการงานมีความน่าเชื่อถือดังนั้น ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย ซึ่งทำการเก็บข้อมูลจากผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย เพื่อให้ได้ซึ่งผลลัพธ์ที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน สมรรถนะผู้สอบบัญชีภาษีอากรและจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ให้มีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ตามแผนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิผลและความเชื่อมั่นต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้สอบบัญชีภาษีสามารถประสบความสำเร็จในวิชาชีพได้อย่างยั่งยืน
ทางด้านจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีภาษีอากรประกอบด้วย
1. ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต
2. ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
3. จรรยาบรรณต่อผู้เสียภาษี
4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ
5. พฤติกรรมทางวิชาชีพ
บุญยัง สหเทวสุคนธ์ (2552) ได้ทําการศึกษาวิจัย เรื่อง การปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของสํานักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการศึกษาพบว่าการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของสํานักงานบัญชีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสํานักงานบัญชีมีการปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณต้องไม่ปฏิบัติให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพในด้านการจัดทําบัญชีมากที่สุด ข้อจํากัดที่ทําให้ยังไม่สามารถปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณได้ครบถ้วนทุกด้าน เช่น ลูกค้ายังมีความรู้ความเข้าใจทางด้านบัญชีไม่เพียงพอความจําเป็นทางเศรษฐกิจทําให้สํานักงานบัญชีต้องแข่งขันกันเพื่อให้บริการลูกค้าการให้ความรู้และ 7 ประชาสัมพันธ์ถึงความสําคัญจรรยาบรรณยังไม่มากเพียงพอ เป็นต้น สํานักงานบัญชีที่มีรูปแบบนิติบุคคลจะมีจรรยาบรรณทางด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ มากกว่า สํานักงานบัญชีที่มีรูปแบบบุคคลธรรมดาและคณะบุคคลและสํานักงานบัญชีที่มีระยะเวลาการให้บริการจัดทําบัญชีมานานมากกว่า 10 ปีจะมีจรรยาบรรณทางด้านความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับมากกว่าสํานักงานบัญชีที่มีระยะเวลาการให้บริการจัดทําบัญชีไม่เกิน 10 ปี
การตรวจสอบงบการเงิน หมายถึง การตรวจสอบข้อมูลทางบัญชีและรายงานทางการเงิน เช่น งบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
ขั้นตอนการตรวจสอบบัญชี
ขั้นตอนที่ 1
ทางผู้ตรวจสอบบัญชีจะทำการประเมินลูกค้า ว่าธุรกิจของลูกค้าคืออะไร ค่าบริการเท่าไหร่ หากทำการตกลงเรื่องนี้แล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจที่มีผลต่อรายงานทางเงินขั้นพื้นฐาน ว่าประกอบด้วยความเสี่ยงอะไรบ้าง โดยขั้นตอนนี้ทางลูกค้าจะได้ทราบความเสี่ยงที่สำคัญของกิจการ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ฝ่ายบริหารระวังในการบริหารงานเพิ่มมากขึ้น และหาทางแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ขั้นตอนที่ 2
ผู้ตรวจสอบบัญชีจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบัญชีของลูกค้า และวางแผนการตรวจสอบว่าต้องเริ่มจากอะไร โดยขั้นตอนดังกล่าว จะเป็นช่วงที่ทางผู้ตรวจสอบบัญชีจะเข้าไปทำความเข้าใจระบบบัญชีทั้งหมดของลูกค้าที่จะดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งในระยะนี้ทางผู้ตรวจสอบบัญชีจะเข้าดำเนินการทดสอบระบบการควบคุมภายในของกิจการ และถ้าหากมีข้อบกพร่องก็จะแจ้งให้กับลูกค้าทราบโดยทันที เพื่อให้ทางลูกค้านำเรื่องไปปรึกษาฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
ขั้นตอนที่ 3
ผู้ตรวจสอบบัญชีจะเข้าตรวจสอบยอดคงเหลือและรายละเอียดช่วงสิ้นงวด ขั้นตอนดังกล่าวเป็นขั้นตอนที่ทางผู้ตรวจสอบบัญชีได้รับอนุญาตเข้าตรวจสอบข้อมูลในรายงานทางการเงิน และรวบรวมหลักฐานต่างๆ ที่ทางลูกค้าใช้ในการจัดทำรายงานทางการเงินว่าเพียงพอ และเหมาะสมหรือไม่ ขั้นตอนนี้อาจจะมีการเดินทางไปดูโรงงานการผลิตหรืออะไรที่เกี่ยวกับกิจการของลูกค้าได้อย่างเต็มที่ รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความขัดแย้งของการนำเสนอข้อมูลในรายงานทางการเงินกับมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งขั้นตอนนี้ทางลูกค้าจะทราบถึงข้อผิดพลาดในรายงานทางการเงิน แต่ผู้ตรวจสอบบัญชีจะให้ทางลูกค้าแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องก่อนที่จะนำส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ออกไป
ขั้นตอนที่ 4
การสรุปผลและแสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงิน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการตรวจสอบบัญชี โดยผู้ตรวจสอบบัญชีจะประเมินหลักฐานต่างๆ ที่ได้รับว่าเพียงพอและเหมาะสมมากน้อยหรือไม่อย่างไร และอาจจะแสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงินที่ตรวจสอบ ว่าควรทำการแก้ไขตรงไหน ซึ่งในขั้นตอนนี้ทางลูกค้าจะได้รับรายงานจากผู้ตรวจสอบบัญชี ที่แสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงินของกิจการ พร้อมทั้งทราบถึงประเด็นทั้งหมดจากการตรวจสอบว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ถ้าผ่านผู้ตรวจสอบบัญชีก็จะทำการเซ็นรับรองสรุป
วิชาชีพสอบบัญชีภาษีอากร เป็นวิชาชีพอิสระที่มีเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นผู้มีเกียรติยศ และศักดิ์ศรี เป็นที่ยอมรับของสังคม และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมาตรฐานทางสังคมที่ดีงาม โดยเฉพาะในการประกอบวิชาชีพการสอบบัญชีภาษีอากรที่มีคุณภาพ เป็นที่เชื่อถือ และยอมรับของสังคมกรมสรรพากร มีความมุ่งหวังให้ผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพ จรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน จำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความสามารถด้านภาษีอากรและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี ทักษะและความสามารถดังกล่าว ส่งผลให้เกิดศักยภาพในการทำงานพร้อมทั้งมีการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพนี้มีความชำนาญ ก้าวทันกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อเสนอแนะ
1. ควรศึกษาปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชี เช่น ความเชี่ยวชาญ ในการสอบบัญชี ความเป็นมืออาชีพ การวางแผนการสอบบัญชี เทคนิคการสอบบัญชีและการทำงานแบบ เชิงรุก เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขอย่างตรงประเด็นและเพิ่มประสิทธิภาพในการสอบบัญชีให้มากยิ่งขึ้น
2. ควรศึกษาถึงประสิทธิภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ในด้านอื่น เช่น ด้านความสามารถในการสอบบัญชี ด้านทักษะในการสอบบัญชีด้านการแสวงหาความรู้ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการใช้ภาษา เป็นต้น เพื่อสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.
3.ควรมีการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรค ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้ได้ตรงประเด็น
บรรณานุกรม
[1] กรมสรรพากร.(2564). ผู้มีหน้าทีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล.สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564, จาก
เว็บไซต์: https://www.rd.go.th/835.html
[2] กรรณิการ์ผิวสะอาดและฐิตาภรณ์สินจรูญศักดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
[3] นภาลัย บุญคำเมือง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร. บัญชีมหาบัณฑิต. คณะบัญชี. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
[4] บุญยัง สหเทวสุคนธ์. (2552). การปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ. มหาวิทยาลัยเกริก.
[5] สุเทพ พงษ์พิทักษ์. สารพันปัญหาภาษีอากร.สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2564,
จากเว็บไซต์:https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/
[6] สุวรรณา พรมทอง และคณะ. (2562,กรกฎาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตรวจสอบงบการเงินของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมอาชีวศึกษา.3(2).
[7] สวรรยา จินดาวงศ์.(2563). การเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษีเงินได้ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
ของผู้สอบบัญชีภาษีอากร.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.7(10).
[8]อลงกรณ์ มีสุทธาและ สมิต สัชฌุกรณ์. (2552). การประเมินผลการปฏิบัติงาน.พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.