บทความ Cross Border E-Commerce (CBEC) โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน
27
Oct
Cross Border E-Commerce (CBEC)
โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน
ตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก ประมาณ 1,400 ล้านคน และคนจีนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมากถึง 1.01 พันล้านคน คิดเป็น 71.6% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยมีประชากร 812 ล้านคน ที่ซื้อของออนไลน์ การเจาะตลาดจีนผ่านช่องทางออนไลน์ จึงเป็นช่องทางที่น่าสนใจมาก
วันนี้จะมาแนะนำการขายสินค้าไทยสู่ตลาดจีนผ่านช่องทาง Cross Border E-Commerce (CBEC) หรือ การทำธุรกรรมการค้าข้ามพรมแดนแบบช่องทางออนไลน์ ที่ทำให้ผู้ประกอบการไทย สามารถเจาะตลาดจีนได้ง่ายขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จัก CBEC กันเลยค่ะ
เริ่มต้นเรามาทำความรู้จักกับ CBEC ว่ามีความแตกต่างจากการขายสินค้ารูปแบบเดิม อย่างไรบ้าง
รูปแบบของธุรกิจ
วิธี CBEC จะเป็นการค้าในระบบ online เท่านั้น แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม จะสามารถใช้การค้าได้ทั้งแบบ online และ offline
การเสียภาษี และระเบียบศุลกากร
วิธี CBEC จะเสียภาษีน้อยกว่าการขายสินค้ารูปแบบเดิม และในส่วนระเบียบศุลกากรก็จะมีระบบพิเศษที่เข้มงวดน้อยกว่าการขายสินค้ารูปแบบเดิม
การจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศจีน
วิธี CBEC ไม่ต้องจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศจีน แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม ต้องมีการจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศจีน
การขอ อย. ในประเทศจีน
วิธี CBEC ไม่ต้องขอ อย.จากประเทศจีน แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม ต้องขอ อย.จากประเทศจีน
ฉลากของผลิตภัณฑ์
วิธี CBEC ไม่จำเป็นต้องทำฉลากของผลิตภัณฑ์เป็นภาษาจีน แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม ต้องทำฉลากเป็นภาษาจีน
การซื้อสินค้าผ่านช่องทาง CBEC
จำกัดการทำธุรกรรมไม่เกิน 5,000 หยวนต่อครั้ง และไม่เกิน 26,000 หยวนต่อปี มีสินค้าจำนวน 1,413 รายการที่ได้รับอนุญาตขายผ่าน CBEC ได้
การขายสินค้าผ่านช่องทาง CBEC
สามารถทำได้เร็วและง่ายกว่าการขายสินค้ารูปแบบเดิม จึงเหมาะกับ ผู้ประกอบการ SME ไทยที่มองหาโอกาสเข้าไปตลาดจีน
โอกาสของผู้ประกอบการไทยในตลาดจีน
ตลาดจีนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก ประมาณ 1,400 ล้านคน และคนจีนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมากถึง 1.01 พันล้านคน คิดเป็น 71.6% ของจำนวนประชากรทั้งหมด โดยมีประชากร 812 ล้านคน ที่ซื้อของออนไลน์ การเจาะตลาดจีนผ่านช่องทางออนไลน์ จึงเป็นช่องทางที่น่าสนใจมาก
วันนี้จะมาแนะนำการขายสินค้าไทยสู่ตลาดจีนผ่านช่องทาง Cross Border E-Commerce (CBEC) หรือ การทำธุรกรรมการค้าข้ามพรมแดนแบบช่องทางออนไลน์ ที่ทำให้ผู้ประกอบการไทย สามารถเจาะตลาดจีนได้ง่ายขึ้น ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จัก CBEC กันเลยค่ะ
เริ่มต้นเรามาทำความรู้จักกับ CBEC ว่ามีความแตกต่างจากการขายสินค้ารูปแบบเดิม อย่างไรบ้าง
รูปแบบของธุรกิจ
วิธี CBEC จะเป็นการค้าในระบบ online เท่านั้น แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม จะสามารถใช้การค้าได้ทั้งแบบ online และ offline
การเสียภาษี และระเบียบศุลกากร
วิธี CBEC จะเสียภาษีน้อยกว่าการขายสินค้ารูปแบบเดิม และในส่วนระเบียบศุลกากรก็จะมีระบบพิเศษที่เข้มงวดน้อยกว่าการขายสินค้ารูปแบบเดิม
การจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศจีน
วิธี CBEC ไม่ต้องจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศจีน แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม ต้องมีการจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศจีน
การขอ อย. ในประเทศจีน
วิธี CBEC ไม่ต้องขอ อย.จากประเทศจีน แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม ต้องขอ อย.จากประเทศจีน
ฉลากของผลิตภัณฑ์
วิธี CBEC ไม่จำเป็นต้องทำฉลากของผลิตภัณฑ์เป็นภาษาจีน แต่การขายสินค้ารูปแบบเดิม ต้องทำฉลากเป็นภาษาจีน
การซื้อสินค้าผ่านช่องทาง CBEC
จำกัดการทำธุรกรรมไม่เกิน 5,000 หยวนต่อครั้ง และไม่เกิน 26,000 หยวนต่อปี มีสินค้าจำนวน 1,413 รายการที่ได้รับอนุญาตขายผ่าน CBEC ได้
การขายสินค้าผ่านช่องทาง CBEC
สามารถทำได้เร็วและง่ายกว่าการขายสินค้ารูปแบบเดิม จึงเหมาะกับ ผู้ประกอบการ SME ไทยที่มองหาโอกาสเข้าไปตลาดจีน
บทความ โดย ผศ.ดร.สุธินี มงคล
หัวหน้าสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หัวหน้าสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม