ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคต่อเดือน

UploadImage
 
UploadImage
 
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคต่อเดือน
FACTOES INFLUENCING EXPENDITUERE OF CONSUMPTION PER MONTH.
ทิพติญา มณีบุตร
THIPTIYA MANEEBUT
Suo41.sy@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 
บทคัดย่อ
          เรื่องปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อเดือนซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อเดือน ผลการศึกษาพบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ประกอบอาชีพนักศึกษามากที่สุด ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีสถานภาพโสด อาศัยอยู่บ้านเดี่ยว ผลการศึกษาพบว่า อายุเฉลี่ย 30.81 ปี มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน รายได้เฉลี่ยคือ 22,504 บาทต่อเดือน และรวมค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคคือ 15,984 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเห็นได้ว่าอายุ จำนวนสมาชิกในครอบครัว และรายได้เฉลี่ย มีความสัมพันธ์กับค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค
 
คำสำคัญ : ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค,ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค,รายได้เฉลี่ย
 
Abstract
          Factors Influencing Consumption Expenditure per Month which aims to study Factors Influencing Consumption Expenditure per month. The results showed that the majority of the population is female. Occupational students the most Bachelor's degree or equivalent, single, single-family home The results showed that the average age is 30.81 years, there are 4 family members on average, the average income is 22,504 baht per month and the total expenses for consumption and consumption is 15,984 baht per month. Number of family members and average income It is related to consumption and consumption expenditure.

Keywords : Consumption Expenditure, Consumption Expenditure, Average Income
 
บทนำ
          ผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2562 พบว่า ครัวเรือนในประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 26,371 บาท และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 21,329 บาท ส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยคิดเป็นร้อยละ 86.60 ได้แก่ ค่าอาหาร เครื่องดื่มและยาสูบ ร้อยละ 33.70 ค่าที่อยู่อาศัยร้อยละ 20.80 ใช้จ่ายเกี่ยวกับการเดินทางร้อยละ 17.40 ใช้จ่ายส่วนบุคคลร้อยละ 6.10 ใช้จ่ายในการสื่อสารร้อยละ 3.60 ใช้จ่ายเพื่อการศึกษาและยารักษาโรคร้อยละ 1.60 1.40 ตามลำดับ ใช้จ่ายสำหรับการบันเทิงและใช้จ่ายทางศาสนาเท่ากัน คือร้อยละ 1.00 นอกจากนั้นเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคและบริโภค (สำนักงานสถิติแห่งชาติ,ออนไลน์,2564)                                                                                                                                            
          พฤติกรรมการใช้เงินและการออมของกลุ่มคนยุคใหม่ 4.0 แสดงให้เห็นถึงการวางแผนการออมเงินต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เงินออมไม่ได้กำหนดแน่นอนทุกเดือน ในแต่ละเดือนจะมีการออมเงินต่อเมื่อเงินเหลือจากการใช้จ่าย กลุ่มผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท หรือ 10,000 – 20,000 บาท จะมีสัดส่วนเงินออมที่ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ กลุ่มนี้จะไม่ได้กำหนดเงินออมที่แน่นอน จะออมต่อเมื่อมีเงินเหลือจากค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ที่มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไป จะมีสัดส่วนเงินออมที่ดี คือ 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ซึ่งถือเป็นการวางแผนทางการเงินที่ดี พฤติกรรมการใช้เงินของคนรุ่นใหม่ ยุค 4.0 ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นทำงานนอกเหนือจากค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ยังมีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ที่จ่ายไปเพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว สังสรรค์ ความบันเทิง สินค้าทันสมัยตามกระแสต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งจูงใจที่จะทำให้ขาดวินัยทางการออมเงินที่ดี เฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.78 แสนบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 อยู่ที่ 1.56 แสนบาท โดยหนี้สินส่วนใหญ่เป็นหนี้สินจากที่อยู่อาศัยมากที่สุด รวมทั้งหนี้อื่น ๆ เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้รถยนต์ หนี้จากของใช้ที่ไม่จำเป็น เป็นต้น ทั้งนี้ควรศึกษาเรียนรู้การทำแผนการออมเงินอย่างมีวินัย เพื่อให้มีเงินออมที่แน่นอนทุกเดือน ทำแผนรายรับ – รายจ่าย เพื่อให้เห็นสัดส่วนรายได้ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น และลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
          เนื่องจากเศรษฐกิจจังหวัดชลบุรีปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 และการชะลอตัวร้อยละ 7.3 โดยมีการคาดว่าค่าใช้จ่ายจะขยายตัวร้อยละ 4.4 และการชะลอตัวร้อยละ 4.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 4.1- 4.7  ณ เดือนธันวาคม 2561 ที่คาดว่าจะขยายตัวตัวละ 4.9) โดยในปีที่ผ่านมาการบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.6 และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 สำหรับอัตราจ้างงานคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อเดือน
เนื้อหาของบทความ  (บทวิเคราะห์เกี่ยวกับ แนวคิด ทฤษฎี ผลงานวิจัย ประเด็นสำคัญ ข้อดีหรือประโยชน์)
          แนวทางการวางแผนทางการเงินในแบบฉบับของA-Life Plan โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงอายุ
          1. วัยก่อนทำงาน (0 – 22 ปี) เป็นวัยที่อยู่ในช่วงกำลังศึกษาเล่าเรียน ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากผู้ปกครอง เพราะในวัยนี้ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง และในขณะเดียวกันในช่วงวัยนี้ยังไม่มีภาระหนี้สิน เมื่อมีรายได้น้อย ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายน้อย โดยค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าการเรียน เป็นต้น
          2. ช่วงวัยเริ่มทำงาน (23 – 30 ปี) เป็นวัยที่เริ่มต้นทำงาน มีรายได้เป็นของตนเอง ซึ่งจะมีเงินเดือนหรือรายได้ต่าง ๆ เข้ามา เมื่อมีรายได้มากขึ้น อาจทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือภาระหนี้มากขึ้น เนื่องจากมีการซื้อสินค้าที่ทันสมัยตามกระแส ซื้อของใช้ส่วนตัว ค่าครองชีพ ค่าเดินทาง หรือการซื้อรถยนต์ เป็นต้น
          3. วัยเริ่มสร้างฐานะและครอบครัว (31 – 40 ปี) เป็นวัยที่ต้องสร้างความมั่นคงให้กับตนเองเพื่อเริ่มที่จะสร้างครอบครัว ซึ่งรายได้และค่าใช้จ่ายของช่วงวัยนี้นั้นอยู่ในระดับที่สูง กล่าวคือ รายได้ที่สูงขึ้น ทำให้ภาระทางการเงินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เริ่มสร้างครอบครัว ค่าใช้จ่ายและภาระเงินผ่อนต่าง ๆ การมองหาสินทรัพย์ที่ใหญ่ขึ้น จึงทำให้ช่วงวัยนี้มีภาระหนี้สินมากขึ้น ซึ่งต้องระวังในเรื่องการก่อหนี้สิน
          4. วัยการงานมั่นคง หรือวัยก่อนเกษียณอายุ (41 – 55 ปี) เป็นวัยที่หน้าที่การงานและฐานะการงานมั่นคง และส่วนใหญ่จะมีรายได้สูง ซึ่งในขณะเดียวกันภาระทางการเงินจะเริ่มลดลง เพราะในช่วงวัยนี้จะหันกลับมาดูแลสุขภาพมากขึ้น โดยค่าใช้จ่ายของช่วงวัยนี้จะเป็นเกี่ยวกับเรื่องการวางแผนการศึกษาให้บุตร รวมถึงปัญหาสุขภาพและอุบัติเหตุ เป็นต้น
          5. วัยเกษียณอายุ (55 ปีขึ้นไป) เป็นวัยที่กำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ไม่มีรายได้ประจำ และฐานะทางการเงินลดลง กล่าวคือ เมื่อรายได้ลดลง ภาระค่าใช้จ่ายจะลดลงตาม ซึ่งค่าใช่จ่ายส่วนใหญ่ของช่วงวัยนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายประจำวัน และค่าใช้จ่ายรักษาสุขภาพ เป็นต้น
          บทความการวางแผนการเงิน จาก Money Hub เรื่องการวางแผนการเงินเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบ้าน จำนวนสมาชิกในครอบครัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนทางการเงินในเรื่องของรายได้และค่าใช้จ่าย หากครอบครัวใดมีสมาชิกอยู่รวมกันมาก ค่าใช้จ่ายก็จะมากตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าครอบครัวมีรายได้จากสมาชิกกี่คน หากมีรายได้จากสมาชิกแค่คนเดียว ค่าใช้จ่ายภายในบ้านจะเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ที่มี แต่หากมีรายได้จากสมาชิกในบ้านหลายคน ซึ่งเป็นรายได้หลายช่องทาง ค่าใช้จ่ายในบ้านจะมีสัดส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ที่มากขึ้น แม้จำนวนสมาชิกในบ้านจะมากก็ตาม
          ทฤษฎีการบริโภคแบบเคนส์ ได้กล่าวไว้ว่า การบริโภคที่แท้จริง จะแปรผันตามรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Real Disposable Income)  คือ ถ้าหากรายได้ในการใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคของแต่ละบุคคลก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
ประโยชน์ของการศึกษา
          1. ประชาชนทั่วไปสามารถนำเป็นแนวทางการวางแผนทางการเงินในอนาคตเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายของตนเอง เพื่อคุณภาพด้านการเงินและการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น
          2. หน่วยงานเอกชนและหน่วยงานภาครัฐสามารถนำข้อมูลไปปรับเปลี่ยนนโยบายการจ่ายผลตอบแทน ในเรื่องของการคำนวณอัตราค่าจ้างค่าแรงให้แก่พนักงาน และเงินสนับสนุนอื่นๆเพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของประชาชน
          3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางวิชาการต่อไปได้
          ดร.กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ และ รองศาสตราจารย์สุขจิตต์ ณ นคร (2562) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ ๑) เพื่อศึกษาปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยที่เกิดจากบริษัทผู้สอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชี ๒) เพื่อศึกษาคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ และ ๓) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสอบบัญชีให้ได้คุณภาพของผู้สอบบัญชีจำแนกตามปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาเชิงสำรวจรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ช่วยผู้สอบบัญชี จำนวน ๔๐๐ กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงส่วนใหญ่อายุ ๓๑ - ๓๕ ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่เป็นผู้สอบบัญชีหรือผู้ช่วยผู้สอบบัญชีในสำนักงาน Non Big 4 ที่ไม่ตรวจสอบบริษัทมหาชนจำกัด ระยะเวลาในการปฏิบัติงานน้อยกว่า ๓ ปี รายได้ต่อเดือน ๒๐,๐๐๐ – ๓๐,๐๐๐ บาทโดยให้ความสำคัญต่อปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกระดับมาก โดยสูงสุดด้านวัฒนธรรม รองลงมาด้านเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมืองรัฐบาล กฎหมาย ตามลำดับ ปัจจัยที่เกิดจากบริษัทผู้สอบบัญชีมีความสำคัญในระดับมาก โดยสูงสุดด้านนโยบาย รองลงมาด้านโครงสร้างองค์กรและด้านขนาด ตามลำดับ และผลการวิจัยคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ อยู่ในเกณฑ์ระดับมาก โดยสูงสุดด้านจรรยาบรรณ รองลงมาด้านทักษะในการสื่อสารกับบุคคล และด้านทักษะความเชี่ยวชาญ ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ ระยะเวลาปฏิบัติงาน มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ แตกต่างกัน ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ได้แก่ วัฒนธรรม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ โดยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ได้ร้อยละ ๒๙.๙๐ และปัจจัยที่เกิดจากบริษัทผู้สอบบัญชี ได้แก่ ด้านขนาด ด้านนโยบายมีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ โดยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ได้ร้อยละ ๘๑.๑๐
          พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และปวีนา กองจันทร์ (2560) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตอำเภอพยัคฆภูมิพิสัยและอำเภอนาเชือกจำนวน 44 กลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ความรู้ทางด้านบัญชี และความเข้าใจในขั้นตอนการทำบัญชีของผู้จัดทำบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต โดยปัจจัยด้านความรู้ทางด้านบัญชีของผู้จัดทำบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ และปัจจัยด้านความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชีมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์ที่ระดับความเชื่อมั่น 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำบัญชีด้านการฝึกอบรมทางด้านบัญชีของผู้จัดทำบัญชี และด้านหน่วยงานกำกับดูแล ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ
          วราภรณ์ นาคใหม่ และ สมยศ องเกียรติ (2558) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจในเขตภาคกลาง โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้บัญชีบริหารในการดำเนินธุรกิจโดยมุ่งศึกษา แยกตามลักษณะการดำเนินธุรกิจ ความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อม และตัวแปรการประยุกต์การบัญชี บริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิตในเขตภาคกลาง จำนวน 389 ราย ครอบคลุมพื้นที่ 22 จังหวัด ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตใน เขตภาคกลาง ที่มีลักษณะการดำเนินธุรกิจแตกต่าง มีการประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารในการดำเนินธุรกิจ โดยภาพรวมแตกต่างกัน ด้านความสัมพันธ์ของสภาพแวดล้อม พบว่าสภาพแวดล้อมภายในมีความ สัมพันธ์กับการใช้บัญชีบริหารในการดำเนินธุรกิจ และด้านตัวแปรการประยุกต์การบัญชีบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานพบว่าตัวแปรการวางแผน การสั่งการ การควบคุม การตัดสินใจ และตัวแปรการจัดการต้นทุน มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต ในเขต ภาคกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
          วิชุตา นุ่มอุดม (2559)  ได้ทำการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องการพัฒนาระบบบัญชีรายได้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และกระบวนการผลิตกรณีศึกษา : บริษัท ไทย ฮาเบล อินดัสเตรียล จำกัด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาระบบบัญชีรายได้ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และกระบวนการผลิตของบริษัท ไทย ฮาเบล อินดัสเตรียล จำกัด เพื่อศึกษาระบบบัญชีรายได้ สินทรัพย์ถาวร และกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อพัฒนาระบบบัญชีรายได้ สินทรัพย์ถาวร และกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ สำหรับบริษัทไทย ฮาเบล อินดัสเตรียล จำกัด โดยมีตัวแปรอิสระ คือ คุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชี และตัวแปรตาม คือ พัฒนาระบบและการควบคุมภารในของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มประชากรได้แก่แผนกต่างๆ ในบริษัทไทย ฮาเบล อินดัสเตรียล จำกัด วิธีการสำรวจเป็นการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี และผู้ที่ใช้รายงานทางการเงิน จำนวน 36 คน ผลการวิจัยพบว่า ระบบบัญชีรายได้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และกระบวนการผลิตของบริษัท ไทย ฮาเบล อินดัสเตรียล จำกัด ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพต้องมีระบบการควบคุมภายในที่ดี และเหมาะสมกับลักษณะธุรกิจ รวมถึงโครงสร้างขององค์กร และพัฒนาระบบบัญชีรายได้ สินทรัพย์ถาวร และกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับบริษัทไทย ฮาเบล อินดัสเตรียล จำกัด

สรุป
          จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า อายุเฉลี่ย 30.81 ปี เนื่องจากแนวทางการวางแผนทางการเงินในแบบฉบับของ A-Life Plan ซึ่งในช่วงอายุ 30.81 ปี หรือเท่ากับ 31 ปีเป็นวัยเริ่มสร้างฐานะและครอบครัว ต้องสร้างความมั่นคงให้กับตนเองเพื่อเริ่มที่จะสร้างครอบครัว ซึ่งรายได้และค่าใช้จ่ายของช่วงวัยนี้นั้นอยู่ในระดับที่สูง กล่าวคือ รายได้ที่สูงขึ้น ทำให้ภาระทางการเงินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เริ่มสร้างครอบครัว ค่าใช้จ่ายและภาระเงินผ่อนต่าง ๆ การมองหาสินทรัพย์ที่ใหญ่ขึ้น จึงทำให้ช่วงวัยนี้มีภาระหนี้สินมากขึ้น ซึ่งต้องระวังในเรื่องการก่อหนี้สิน
          และจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน เนื่องจากเรื่องการวางแผนการเงินเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบ้าน จำนวนสมาชิกในครอบครัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนทางการเงินในเรื่องของรายได้และค่าใช้จ่าย หากครอบครัวใดมีสมาชิกอยู่รวมกันมาก ค่าใช้จ่ายก็จะมากตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าครอบครัวมีรายได้จากสมาชิกกี่คน หากมีรายได้จากสมาชิกแค่คนเดียว ค่าใช้จ่ายภายในบ้านจะเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ที่มี แต่หากมีรายได้จากสมาชิกในบ้านหลายคน ซึ่งเป็นรายได้หลายช่องทาง ค่าใช้จ่ายในบ้านจะมีสัดส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ที่มากขึ้น แม้จำนวนสมาชิกในบ้านจะมากก็ตาม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อเดือนครั้งนี้พบว่า รายได้เฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 22,504 บาทต่อเดือนซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อเดือน เนื่องจากทฤษฎีการบริโภคแบบเคนส์ ได้กล่าวไว้ว่า การบริโภคที่แท้จริงจะแปรผันตามรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Real Disposable Income)  คือ ถ้าหากรายได้ในการใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคของแต่ละบุคคลก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน รองลงมาอายุเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 30.81 ปีหรือ 31 ปีซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อเดือน เนื่องจากแนวทางการวางแผนทางการเงินในแบบฉบับของ A-Life Plan โดยแบ่งออกเป็น 5 ช่วงอายุ ช่วงอายุ 31 ถึง 40 ปี เป็นวัยที่ต้องสร้างความมั่นคงให้กับตนเองเพื่อเริ่มที่จะสร้างครอบครัว ซึ่งรายได้และค่าใช้จ่ายของช่วงวัยนี้นั้นอยู่ในระดับที่สูง กล่าวคือ รายได้ที่สูงขึ้น ทำให้ภาระทางการเงินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่เริ่มสร้างครอบครัว ค่าใช้จ่ายและภาระเงินผ่อนต่าง ๆ การมองหาสินทรัพย์ที่ใหญ่ขึ้น จึงทำให้ช่วงวัยนี้มีภาระหนี้สินมากขึ้น ซึ่งต้องระวังในเรื่องการก่อหนี้สิน และจำนวนสมาชิกในครอบครัวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4 คนซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคต่อเดือน เนื่องจากบทความการวางแผนการเงิน จาก Money Hub เรื่องการวางแผนการเงินเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบ้าน จำนวนสมาชิกในครอบครัวเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการวางแผนทางการเงินในเรื่องของรายได้และค่าใช้จ่าย หากครอบครัวใดมีสมาชิกอยู่รวมกันมาก ค่าใช้จ่ายก็จะมากตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าครอบครัวมีรายได้จากสมาชิกกี่คน หากมีรายได้จากสมาชิกแค่คนเดียว ค่าใช้จ่ายภายในบ้านจะเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ที่มี แต่หากมีรายได้จากสมาชิกในบ้านหลายคน ซึ่งเป็นรายได้หลายช่องทาง ค่าใช้จ่ายในบ้านจะมีสัดส่วนที่น้อยลงเมื่อเทียบกับสัดส่วนรายได้ที่มากขึ้น แม้จำนวนสมาชิกในบ้านจะมากก็ตาม
 
ข้อเสนอแนะ
          รายได้มีผลอิทธิพลมีผลต่อความต้องการหรือการตัดสินใจในการใช้จ่ายอุปโภคและบริโภค เนื่องจากสิ่งเร้าทางช่องทางการตลาดที่มีหลากหลายในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากสื่อออนไลน์ต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าถึงประชากรได้ง่าย จึงควรมีกิจกรรมความรู้เกี่ยวค่าใช้จ่ายอุปโภคและบริโภค เพื่อปลูกฝังประชากรให้มีความยับยั้งชั่งใจ และความอดทนต่อความต้องการ

บรรณานุกรม
บริษัท อินเตอร์สเปซ (ประเทศไทย) จำกัด.  (2559).  เรื่องการวางแผนการเงินเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบ้าน.  แหล่งออนไลน์ : https://moneyhub.in.th/article/family-money-plan-for-controlling-expenses/.  (สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564).
บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน).  (2559).  แหล่งออนไลน์ :  ps://www.alife.co.th/site/money_tips_tricks/วางแผนทางการเงินอย่างไร/.  (สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564).
เศรษฐศาสตร์การเมือง Political Ecomomics.  ทฤษฎีการบริโภคแบบเคนส์.  แหล่งออนไลน์ : nanapolecon.wordpress.com/2011/09/02/เศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์/.  (สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564).
สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี.  (2562).  รายงานสถิติจำนวนประชากรจังหวัดชลบุรี.  แหล่งออนไลน์  : http://data.cbo.moph.go.th/DATA-PERSON.php.  (สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564).
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.  (2562).  ผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน.  แหล่งออนไลน์ :  http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2562/N17-10-62.aspx. (สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564).
พิมพ์พิศา  วรรณวิจิตร,  ปวีนา  กองจันทร์ (2560).  ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในจังหวัดมหาสารคาม.  วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี.  ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดร. กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์,  รองศาสตราจารย์สุขจิตต์ ณ นคร.  (2562).  ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผู้สอบบัญชีในยุคไทยแลนด์ ๔.๐.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วิชุตา นุ่มอุดม.  (2559).  การพัฒนาระบบบัญชีรายได้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และกระบวนการผลิต.  ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ.  นครปฐม : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
วราภรณ์ นาคใหม่,  สมยศ องเกียรติ.  (2558).  การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจในเขตภาคกลาง.  หลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการ คณะรัฐศาสตร์.  ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ.