มั่งคั่งอย่างไร…ไม่รู้จบ : ด้วยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
25
Oct
มั่งคั่งอย่างไร…ไม่รู้จบ : ด้วยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
Wealthy never end : Financial ratio Analysis
นายกฤศณัฏฐ์ วิรัตน์วรกร
Krissanut Wiratchworakorn
k_w_1991@hotmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
ในยุคปัจจุบันนักลงทุนมีความนิยมในการลงทุนด้วยหุ้นสามัญของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากการลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้น มีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8 - 12 ต่อปี ซึ่งเป็นผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น แต่การลงทุนประเภทนี้ อาจจะมีความเสี่ยงจากการปรับตัวของราคาขึ้น-ลงตามแรงซื้อ (Demand) และแรงขาย (Supply) อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องมีการศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยข้อมูลสำคัญที่นักลงทุน ควรจะต้องทำการศึกษา คือ อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งประกอบอัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ โดยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินจะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินผลประกอบการ และทราบถึงภาพรวมของสภาวะทางการเงินของบริษัท อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของบริษัท ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การลงทุน, งบการเงิน, อัตราส่วนทางการเงิน
Abstract
Presently, investor interested to invest common stock registration in the stock exchange of THAILAND. The return of investment in the stock exchange of THAILAND is about 8-12% per year. The rate of return are higher than other investments. But invest common stock registration in the stock exchange of THAILAND are high risk from increase or decrease pricing. Hence investor learn a lot of information to investment. The important information is Financial Ratio that consist of Liquidity Ratio, Efficiency Ratio, Profitability Ratio and Leverage Ratio. Financial Ratio can help investor to analyze business profit and performance to achieve sustainable and growth, and superior competitiveness. Financial Ratio can help investor to earn more profitability.
Keywords : Investment, Financial Statement, Financial Ratio
บทนำ
ในสถานการณ์ปัจจุบันการที่ผู้ลงทุนยอมเลื่อนการใช้จ่ายเงินสดในปัจจุบัน แล้วนำเงินสดนั้น
ไปซื้อสินทรัพย์ใด ๆ โดยหวังจะได้รับผลตอบแทนจากการใช้จ่ายนั้นในอนาคต ซึ่งผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่ได้รับ จะสามารถชดเชยระยะเวลาที่เสียไป อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่า (ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์, 2559) หรืออาจกล่าวได้ว่า การลงทุน หมายถึง การออมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นกัน เราจึงควรพิจารณาการตัดสินใจ
นำเงินมาลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (ธัญลักษณ์ แสงมณี, 2553)
ในปี 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 เป็น
อัตราผลตอบแทนที่ไม่น่าดึงดูดนัก ซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและของธนาคารพาณิชย์ ทั้งในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ลดแรงจูงใจของประชาชนที่จะนาเงินมาฝากออมไว้กับธนาคาร (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2563) ประชาชนผู้ที่เป็นนักลงทุนจึงมองทางเลือกในการลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ทั้งการลงทุนในสินทรัพย์พื้นฐานหรือที่เป็นประเพณีนิยมของการลงทุน (Traditional Assets) เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร กองทุนรวม และประกันภัย เป็นต้น สินทรัพย์พื้นฐานเหล่านี้มีการซื้อขายเป็นวงกว้างอยู่ในตลาดทุนและเป็นสินทรัพย์ที่มักมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน คือถ้าทิศทางเป็นบวกก็มีแนวโน้มว่าพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดจะเป็นบวกไปด้วย ในขณะเดียวกันหากมีทิศทางเป็นลบ ก็อาจเกิดการเป็นลบเหมือนกันหมดได้เช่นกัน (PeerPower Team, 2561) และการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment) สามารถ
แบ่งประเภทย่อย ได้แก่ การลงทุนในต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินเปล่า บ้านให้เช่า เป็นต้น สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคา น้ามัน เป็นต้น ของสะสม เช่น พระเครื่อง สินค้าแบรนด์เนม เป็นต้น (โซน, 2561)
ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์พื้นฐานหรือที่เป็นประเพณีนิยมของการลงทุน (Traditional Assets) นั้นเป็นที่นิยมโดยเฉพาะหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่ปี 2539 – 2561 หุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของธุรกิจที่จดทะเบียนอยู่ที่ร้อยละ 8 - 12 ต่อปี (ณัฐพงษ์ อภินันท์กูล และเสกสรร โตวิวัฒน์, ม.ป.ป.)
การลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้น สามารถทำให้นักลงทุนมีอิสรภาพทางการเงินได้โดยง่าย จึงทำให้
การลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้นได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ด้วยความหลากหลายของหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจทำให้นักลงทุนประเภทต่าง ๆ ได้แก่ นักเก็งกาไร นักลงทุนระยะสั้น
นักลงทุนระยะยาว เกิดความรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ อีกทั้งหุ้นสามัญนั้นจะมีการปรับตัวของราคาขึ้น-ลงตามแรงซื้อ (Demand) และแรงขาย (Supply) อยู่ตลอด การที่หุ้นสามัญนั้นมีการปรับของราคาอย่างรุนแรงในระยะสั้น ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงพื้นฐานของบริษัท (MoneyBuffalo, 2563) ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สามารถนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจได้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของนักลงทุน สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการศึกษาและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจหลักการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ทำให้นักลงทุนสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการตัดสินใจลงทุนได้
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญ ที่ผู้ที่จะลงทุนนำมาใช้เกี่ยวกับ
การวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นโดยการนำข้อมูลรายการต่าง ๆ ที่แสดงอยู่ ในงบการเงินมาคำนวณให้อยู่ในรูปแบบของอัตราส่วนแล้วนำไปวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานะทางด้านเงินและเกี่ยวกับการดำเนินงานรวมถึงความสามารถต่าง ๆ ของบริษัท และนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทหรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เป็นแนวทางใน
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ตัวเลขต่าง ๆ ในงบการเงินแล้วนำมาคำนวณเป็นอัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratio) เพื่อใช้ในการพิจารณาหลักทรัพย์ และวิเคราะห์ภาพรวมได้มากขึ้น
งบการเงิน คือตัวกลางที่เอาไว้สื่อความหมายทำให้บุคคลภายนอกและภายในรู้จักกับบริษัทได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทต้องการกู้ยืมเงินจากธนาคาร บริษัทก็ต้องส่งงบการเงินให้ธนาคารดูเพื่อวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัท เพื่อที่ธนาคารจะได้ตัดสินใจว่าจะปล่อยกู้ให้แก่บริษัทหรือไม่ หากบริษัทต้องการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์บริษัทก็ต้องแสดงงบการเงินให้นักลงทุนทราบถึงฐานะการเงิน
ผลการดำเนินการ รวมทั้งกระแสเงินสดของกิจการ เพื่อให้นักลงทุนเอาไว้ใช้ตัดสินใจในการลงทุน หรือแม้กระทั่งบริษัทต้องการซื้อสินค้าจากทาง Supplier ทาง Supplier ย่อมต้องการทราบฐานะทางการเงินของบริษัทว่าจะสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้จากงบการเงินของบริษัทนั่นเอง นอกจากนี้บุคคลภายในบริษัท เช่น ผู้บริหารยังได้ประโยชน์จากการนำงบการเงินของบริษัทมาวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในเชิงธุรกิจได้อีกด้วย
อัตราส่วนทางการเงิน ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาคำนวณเป็นอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต
ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน หรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพคล่องของกิจการในการที่จะชำระหนี้ระยะสั้น หากอัตราส่วนนี้มีค่าน้อยกว่า 1 หมายความว่ากิจการมีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน แสดงว่ากิจการอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ ซึ่งหากอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น
สูตรการคำนวณ
4. อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถ
เก็บเงินจากการขายเชื่อได้ หากอัตราหมุนเวียนของลูกหนี้สูง จะหมายความว่ากิจการสามารถเก็บเงิน
จากการขายเชื่อได้เร็ว แต่หากอัตรานี้สูงเกินไป อาจหมายถึงกิจการเข้มงวดในการให้เครดิตกับลูกค้า
มากเกินไป จะทำให้กิจการเสียเปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบอัตราส่วนนี้กับกิจการอื่น
ควรดูนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกหนี้ของกิจการด้วย
สูตรการคำนวณ
อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปกิจการจะไม่เปิดเผยยอดขายเชื่อสุทธิในงบการเงิน ในทางปฏิบัติจึงใช้ยอดขายสุทธิเป็นตัวตั้งแทน ดังนั้น
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย
5. ระยะเวลาเก็บหนี้
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) คือ อัตราส่วนที่คำนวนให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่ามีระยะเวลาสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ ผลการคำนวณต่ำจะแสดงถึงคุณภาพของลูกหนี้ที่สามารถชำระได้เร็ว
สูตรการคำนวณ
6. อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถขายสินค้าคงเหลือ หากอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือสูง หมายความว่ากิจการสามารถขายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว แต่หากอัตรานี้สูง จะแสดงว่าสินค้าคงเหลือน้อยเกินไปจนทำให้สินค้าและอาจจะต้องสูญเสียลูกค้าไปในที่สุด ดังนั้น กิจการจึงต้องมีการบริหารสินค้าคงเหลือไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
สูตรการคำนวณ
9. อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed-Asset Turnover) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร โดยเปรียบเทียบกับยอดขาย หากผลการคำนวณอัตราส่วนนี้มีค่าต่ำ จะแสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์ถาวรมากเกินความต้องการ
สูตรการคำนวณ
10. อัตรากำไรขั้นต้น
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างผลกำไรขั้นต้น
กับยอดขาย เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดและประเมินผลประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ เช่น การควบคุมต้นทุนการผลิต การแข่งขันกับอุตสาหกรรมคู่แข่ง หากอัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่คำนวณได้มีค่ามาก จะแสดงว่ากิจการสามารถทำกำไรได้ดี บ่งบอกถึงกิจการสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี แต่หากมีค่าน้อย
จะแสดงว่ากิจการไม่สามารถกำไรได้ดี อาจเป็นผลมาจากกิจการไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ หรืออาจเป็นเพราะว่าในมีคู่แข่งอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงทำให้กิจการไม่สามารถตั้งราคาเพื่อทำกำไรได้ดี
สูตรการคำนวณ
11. อัตรากำไรจากการดำเนินงาน
อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ หากกิจการมีอัตรากำไรขึ้นต้นสูง แต่มีอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่ำ แสดงให้เห็นว่า กิจการมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่สูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจการ
สูตรการคำนวณ
12. อัตรากำไรสุทธิ
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)เป็นอัตราส่วนที่เปรียบเทียบผลกำไรสุทธิกับยอดขายสุทธิ
ซึ่งอัตราส่วนนี้จะทำให้ทราบถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิของกิจการภายหลังจากการหักค่าใช้จ่ายทุกรายการแล้ว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ อัตรากำไรสุทธิจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ
ในการบริหารงานและความสามารถในการดำเนินงานในบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ ค่าของอัตราส่วนนี้ควรจะสูง เพราะหมายถึงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการหากำไรสุทธิเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิได้ดีกว่ากิจการที่มีค่าตัวเลขอัตราส่วนนี้ต่ำ
สูตรการคำนวณ
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (Return on Asset: ROA) เป็นอัตราส่วนทางการเงินระหว่างกำไรสุทธิกับสินทรัพย์รวม เป็นอัตราส่วนแสดงให้เห็นถึงความสามารถของกิจการในการใช้ประโยชน์
จากสินทรัพย์ของกิจการเพื่อก่อให้เกิดผลกำไรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และเป็นการวัดประสิทธิภาพ
ในการใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของกิจการ หากกิจการมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ก็จะแสดงให้ทราบว่ากิจการมีประสิทธิภาพและความสามารถในการบริหารทรัพย์สินของกิจการให้เกิดผลกำไร
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio : D/E) อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างเงินทุนของกิจการว่า สินทรัพย์ของกิจการมาจากการกู้ยืม หรือมาจากทุนของกิจการ
ถ้าอัตราส่วนนี้สูงมีโอกาสที่กิจการจะไม่สามารถชำระดอกเบี้ย ได้สูงตามไปด้วย เนื่องจากหนี้สินที่มากทำให้กิจการมีภาระผูกพันที่ต้องชำระดอกเบี้ยทุกงวดไม่ว่ากิจการนั้นจะกำไรหรือขาดทุน ซึ่งต่างจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่หากกิจการขาดทุนอาจจะพิจารณาไม่จ่าย เงินปันผลก็ได้
สูตรการคำนวณ
15. อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง
สูตรการคำนวณ
อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึงนโยบาย
การจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อจะได้พิจารณางบการเงินของกิจการที่ลงทุนได้
สูตรการคำนวณ
สรุป
การลงทุน หมายถึง การออมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นกัน เราจึงควรพิจารณาการตัดสินใจนำเงินมาลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
การลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้น มีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของธุรกิจที่จดทะเบียนอยู่ที่ร้อยละ 8 - 12 ต่อปี สามารถทำให้นักลงทุนมีอิสรภาพทางการเงินได้โดยง่าย แต่การลงทุนในหุ้นสามัญนั้นมีความเสี่ยงจากราคาขึ้น-ลง ของหลักทรัพย์ ดังนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สามารถนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจได้ เพื่อสนับสนุน การตัดสินใจของนักลงทุน สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
นักลงทุนควรทำการศึกษางบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทที่สนใจลงทุน เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบในการวางแผนวิเคราะห์การตัดสินใจ เนื่องจากอัตราส่วนทางการเงิน จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินผลประกอบการ และทราบถึงภาพรวมของสภาวะทางการเงินของบริษัท อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของบริษัท ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงขึ้น
บรรณานุกรม
ธัญลักษณ์ แสงมณี. (2553). รอบรู้เรื่องการลงทุน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
http://www2.fpo.go.th/SI/Source/Training/training3/training3_2/training3_2_1.htm.
[19 ตุลาคม 2563].
ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์. (2559). “การลงทุน”...คืออะไร?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
https://www.wealthythai.com/web/contents/WT190300123. [22 ตุลาคม 2563].
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 3/2563
[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n2763.aspx.
[15 ตุลาคม 2563].
บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด. (2563). อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/138267
[1 สิงหาคม 2564].
บริษัท วินวินโซลูชั่น ออดิทติ้ง จำกัด. (2563). งบการเงินคืออะไร. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : https://tanateauditor.com/financial-statement-2/
[1 สิงหาคม 2564].
ในยุคปัจจุบันนักลงทุนมีความนิยมในการลงทุนด้วยหุ้นสามัญของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากการลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้น มีผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 8 - 12 ต่อปี ซึ่งเป็นผลตอบแทนค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับการลงทุนประเภทอื่น แต่การลงทุนประเภทนี้ อาจจะมีความเสี่ยงจากการปรับตัวของราคาขึ้น-ลงตามแรงซื้อ (Demand) และแรงขาย (Supply) อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น นักลงทุนจึงต้องมีการศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงทุน โดยข้อมูลสำคัญที่นักลงทุน ควรจะต้องทำการศึกษา คือ อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งประกอบอัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ โดยการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินจะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินผลประกอบการ และทราบถึงภาพรวมของสภาวะทางการเงินของบริษัท อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของบริษัท ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การลงทุน, งบการเงิน, อัตราส่วนทางการเงิน
Abstract
Presently, investor interested to invest common stock registration in the stock exchange of THAILAND. The return of investment in the stock exchange of THAILAND is about 8-12% per year. The rate of return are higher than other investments. But invest common stock registration in the stock exchange of THAILAND are high risk from increase or decrease pricing. Hence investor learn a lot of information to investment. The important information is Financial Ratio that consist of Liquidity Ratio, Efficiency Ratio, Profitability Ratio and Leverage Ratio. Financial Ratio can help investor to analyze business profit and performance to achieve sustainable and growth, and superior competitiveness. Financial Ratio can help investor to earn more profitability.
Keywords : Investment, Financial Statement, Financial Ratio
บทนำ
ในสถานการณ์ปัจจุบันการที่ผู้ลงทุนยอมเลื่อนการใช้จ่ายเงินสดในปัจจุบัน แล้วนำเงินสดนั้น
ไปซื้อสินทรัพย์ใด ๆ โดยหวังจะได้รับผลตอบแทนจากการใช้จ่ายนั้นในอนาคต ซึ่งผู้ลงทุนคาดหวังผลตอบแทนที่ได้รับ จะสามารถชดเชยระยะเวลาที่เสียไป อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่า (ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์, 2559) หรืออาจกล่าวได้ว่า การลงทุน หมายถึง การออมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นกัน เราจึงควรพิจารณาการตัดสินใจ
นำเงินมาลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น (ธัญลักษณ์ แสงมณี, 2553)
ในปี 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.05 เป็น
อัตราผลตอบแทนที่ไม่น่าดึงดูดนัก ซึ่งส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินและของธนาคารพาณิชย์ ทั้งในส่วนของดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ลดแรงจูงใจของประชาชนที่จะนาเงินมาฝากออมไว้กับธนาคาร (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2563) ประชาชนผู้ที่เป็นนักลงทุนจึงมองทางเลือกในการลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ทั้งการลงทุนในสินทรัพย์พื้นฐานหรือที่เป็นประเพณีนิยมของการลงทุน (Traditional Assets) เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร กองทุนรวม และประกันภัย เป็นต้น สินทรัพย์พื้นฐานเหล่านี้มีการซื้อขายเป็นวงกว้างอยู่ในตลาดทุนและเป็นสินทรัพย์ที่มักมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน คือถ้าทิศทางเป็นบวกก็มีแนวโน้มว่าพอร์ตโฟลิโอทั้งหมดจะเป็นบวกไปด้วย ในขณะเดียวกันหากมีทิศทางเป็นลบ ก็อาจเกิดการเป็นลบเหมือนกันหมดได้เช่นกัน (PeerPower Team, 2561) และการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Investment) สามารถ
แบ่งประเภทย่อย ได้แก่ การลงทุนในต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดินเปล่า บ้านให้เช่า เป็นต้น สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคา น้ามัน เป็นต้น ของสะสม เช่น พระเครื่อง สินค้าแบรนด์เนม เป็นต้น (โซน, 2561)
ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์พื้นฐานหรือที่เป็นประเพณีนิยมของการลงทุน (Traditional Assets) นั้นเป็นที่นิยมโดยเฉพาะหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งแต่ปี 2539 – 2561 หุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของธุรกิจที่จดทะเบียนอยู่ที่ร้อยละ 8 - 12 ต่อปี (ณัฐพงษ์ อภินันท์กูล และเสกสรร โตวิวัฒน์, ม.ป.ป.)
การลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้น สามารถทำให้นักลงทุนมีอิสรภาพทางการเงินได้โดยง่าย จึงทำให้
การลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้นได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ด้วยความหลากหลายของหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อาจทำให้นักลงทุนประเภทต่าง ๆ ได้แก่ นักเก็งกาไร นักลงทุนระยะสั้น
นักลงทุนระยะยาว เกิดความรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ อีกทั้งหุ้นสามัญนั้นจะมีการปรับตัวของราคาขึ้น-ลงตามแรงซื้อ (Demand) และแรงขาย (Supply) อยู่ตลอด การที่หุ้นสามัญนั้นมีการปรับของราคาอย่างรุนแรงในระยะสั้น ไม่ได้เป็นสิ่งยืนยันถึงพื้นฐานของบริษัท (MoneyBuffalo, 2563) ดังนั้น นักลงทุนจึงควรศึกษาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สามารถนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจได้ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของนักลงทุน สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงขึ้น
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการศึกษาและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วย อัตราส่วนสภาพคล่อง อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจหลักการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน ทำให้นักลงทุนสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปประกอบการตัดสินใจลงทุนได้
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนับว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่สำคัญ ที่ผู้ที่จะลงทุนนำมาใช้เกี่ยวกับ
การวิเคราะห์หลักทรัพย์นั้นโดยการนำข้อมูลรายการต่าง ๆ ที่แสดงอยู่ ในงบการเงินมาคำนวณให้อยู่ในรูปแบบของอัตราส่วนแล้วนำไปวิเคราะห์เพื่อประเมินสถานะทางด้านเงินและเกี่ยวกับการดำเนินงานรวมถึงความสามารถต่าง ๆ ของบริษัท และนำไปเปรียบเทียบกับบริษัทหรือธุรกิจอื่น ๆ ที่เป็นแนวทางใน
การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ตัวเลขต่าง ๆ ในงบการเงินแล้วนำมาคำนวณเป็นอัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratio) เพื่อใช้ในการพิจารณาหลักทรัพย์ และวิเคราะห์ภาพรวมได้มากขึ้น
งบการเงิน คือตัวกลางที่เอาไว้สื่อความหมายทำให้บุคคลภายนอกและภายในรู้จักกับบริษัทได้มากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากบริษัทต้องการกู้ยืมเงินจากธนาคาร บริษัทก็ต้องส่งงบการเงินให้ธนาคารดูเพื่อวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของบริษัท เพื่อที่ธนาคารจะได้ตัดสินใจว่าจะปล่อยกู้ให้แก่บริษัทหรือไม่ หากบริษัทต้องการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์บริษัทก็ต้องแสดงงบการเงินให้นักลงทุนทราบถึงฐานะการเงิน
ผลการดำเนินการ รวมทั้งกระแสเงินสดของกิจการ เพื่อให้นักลงทุนเอาไว้ใช้ตัดสินใจในการลงทุน หรือแม้กระทั่งบริษัทต้องการซื้อสินค้าจากทาง Supplier ทาง Supplier ย่อมต้องการทราบฐานะทางการเงินของบริษัทว่าจะสามารถชำระหนี้ได้หรือไม่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ได้จากงบการเงินของบริษัทนั่นเอง นอกจากนี้บุคคลภายในบริษัท เช่น ผู้บริหารยังได้ประโยชน์จากการนำงบการเงินของบริษัทมาวิเคราะห์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจในเชิงธุรกิจได้อีกด้วย
อัตราส่วนทางการเงิน ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาคำนวณเป็นอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต
ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio)
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio)
- อัตราส่วนเงินสด (Cash ratio)
- อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Receivable turnover)
- ระยะเวลาเก็บหนี้ (Collection period)
- อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)
- ระยะเวลาขายสินค้า (Holding period)
- อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total asset turnover)
- อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Net fixed asset turnover)
- อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin)
- อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin)
- อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin)
- อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets : ROA)
- อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE)
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio)
- อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest coverage ratio)
- อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout)
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน หรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพคล่องของกิจการในการที่จะชำระหนี้ระยะสั้น หากอัตราส่วนนี้มีค่าน้อยกว่า 1 หมายความว่ากิจการมีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน แสดงว่ากิจการอาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ ซึ่งหากอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน /หนี้สินหมุนเวียน
2. อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ( Quick ratio หรือ Acid test ratio) คือ อัตราส่วนที่ปรับปรุงมาจากอัตราส่วนทุนหมุนเวียน ซึ่งในการคำนวณจะไม่นำสินค้าคงเหลือมารวมคำนวณกับสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า และ สินทรัพย์ในความต้องการของตลาด เนื่องจากสินค้าคงเหลือสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ช้ากว่า และอาจมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ทำให้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วบอกถึงสภาพคล่องของกิจการได้ดีกว่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียน
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ( Quick ratio หรือ Acid test ratio) คือ อัตราส่วนที่ปรับปรุงมาจากอัตราส่วนทุนหมุนเวียน ซึ่งในการคำนวณจะไม่นำสินค้าคงเหลือมารวมคำนวณกับสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น ๆ เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า และ สินทรัพย์ในความต้องการของตลาด เนื่องจากสินค้าคงเหลือสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ช้ากว่า และอาจมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ทำให้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วบอกถึงสภาพคล่องของกิจการได้ดีกว่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียน
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ ) /หนี้สินหมุนเวียน
3. อัตราส่วนเงินสด
อัตราส่วนเงินสด (Cash ratio) คือ อัตราส่วนที่ใช้วิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ โดยตั้งอยู่
บนหลักความระมัดระวังที่สุด หากอัตราส่วนนี้สูงหมายถึงกิจการมีสภาพคล่องสูง แต่หากสูงมากอาจหมายถึงกิจการถือเงินสดไว้มากเกินไปทำให้ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ลดลง จึงควรต้องวิเคราะห์อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ควบคู่กันด้วย
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนเงินสด (Cash ratio) คือ อัตราส่วนที่ใช้วิเคราะห์สภาพคล่องของกิจการ โดยตั้งอยู่
บนหลักความระมัดระวังที่สุด หากอัตราส่วนนี้สูงหมายถึงกิจการมีสภาพคล่องสูง แต่หากสูงมากอาจหมายถึงกิจการถือเงินสดไว้มากเกินไปทำให้ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ลดลง จึงควรต้องวิเคราะห์อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ควบคู่กันด้วย
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนเงินสด = (เงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด) / หนี้สินหมุนเวียน
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถ
เก็บเงินจากการขายเชื่อได้ หากอัตราหมุนเวียนของลูกหนี้สูง จะหมายความว่ากิจการสามารถเก็บเงิน
จากการขายเชื่อได้เร็ว แต่หากอัตรานี้สูงเกินไป อาจหมายถึงกิจการเข้มงวดในการให้เครดิตกับลูกค้า
มากเกินไป จะทำให้กิจการเสียเปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นหากจะเปรียบเทียบอัตราส่วนนี้กับกิจการอื่น
ควรดูนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกหนี้ของกิจการด้วย
สูตรการคำนวณ
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายเชื่อสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย
โดยที่ ลูกหนี้เฉลี่ยคำนวณได้จาก :
ลูกหนี้เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด) / 2
อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปกิจการจะไม่เปิดเผยยอดขายเชื่อสุทธิในงบการเงิน ในทางปฏิบัติจึงใช้ยอดขายสุทธิเป็นตัวตั้งแทน ดังนั้น
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย
5. ระยะเวลาเก็บหนี้
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) คือ อัตราส่วนที่คำนวนให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่ามีระยะเวลาสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ ผลการคำนวณต่ำจะแสดงถึงคุณภาพของลูกหนี้ที่สามารถชำระได้เร็ว
สูตรการคำนวณ
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (วัน) = 365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้
6. อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ
อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถขายสินค้าคงเหลือ หากอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือสูง หมายความว่ากิจการสามารถขายสินค้าได้อย่างรวดเร็ว แต่หากอัตรานี้สูง จะแสดงว่าสินค้าคงเหลือน้อยเกินไปจนทำให้สินค้าและอาจจะต้องสูญเสียลูกค้าไปในที่สุด ดังนั้น กิจการจึงต้องมีการบริหารสินค้าคงเหลือไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
สูตรการคำนวณ
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ = ต้นทุนสินค้าขาย /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย
โดยที่ สินค้าคงเหลือเฉลี่ยคำนวณได้จาก :
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด / 2
7. ระยะเวลาขายสินค้า
ระยะเวลาขายสินค้า (Holding period) คือ ระยะเวลาเฉลี่ยที่กิจการใช้ในการขายสินค้า
หากผลคำนวณอัตราส่วนนี้มีค่าต่ำ จะแสดงว่ากิจการสามารถขายสินได้เป็นระยะเวลาที่เร็ว ทำให้ไม่ต้องเก็บสินค้าคงเหลือไว้นานจนเกินไป
สูตรการคำนวณ
ระยะเวลาในการจำหน่าย = 365 วัน / อัตราหมุนเวียนของสินค้า
8. อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Asset Turnover) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด โดยเทียบกับยอดขาย หากผลการคำนวณอัตราส่วนนี้มีค่าต่ำ จะแสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ
สูตรการคำนวณ
ระยะเวลาขายสินค้า (Holding period) คือ ระยะเวลาเฉลี่ยที่กิจการใช้ในการขายสินค้า
หากผลคำนวณอัตราส่วนนี้มีค่าต่ำ จะแสดงว่ากิจการสามารถขายสินได้เป็นระยะเวลาที่เร็ว ทำให้ไม่ต้องเก็บสินค้าคงเหลือไว้นานจนเกินไป
สูตรการคำนวณ
ระยะเวลาในการจำหน่าย = 365 วัน / อัตราหมุนเวียนของสินค้า
8. อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Asset Turnover) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด โดยเทียบกับยอดขาย หากผลการคำนวณอัตราส่วนนี้มีค่าต่ำ จะแสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (ครั้งหรือเท่า) = ขายสุทธิ /สินทรัพย์รวม
9. อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed-Asset Turnover) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ถาวร โดยเปรียบเทียบกับยอดขาย หากผลการคำนวณอัตราส่วนนี้มีค่าต่ำ จะแสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์ถาวรมากเกินความต้องการ
สูตรการคำนวณ
อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (ครั้งหรือเท่า) = ขายสุทธิ / สินทรัพย์ถาวร
10. อัตรากำไรขั้นต้น
อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่เปรียบเทียบระหว่างผลกำไรขั้นต้น
กับยอดขาย เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดและประเมินผลประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกิจการ เช่น การควบคุมต้นทุนการผลิต การแข่งขันกับอุตสาหกรรมคู่แข่ง หากอัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่คำนวณได้มีค่ามาก จะแสดงว่ากิจการสามารถทำกำไรได้ดี บ่งบอกถึงกิจการสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ดี แต่หากมีค่าน้อย
จะแสดงว่ากิจการไม่สามารถกำไรได้ดี อาจเป็นผลมาจากกิจการไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้ หรืออาจเป็นเพราะว่าในมีคู่แข่งอุตสาหกรรมจำนวนมาก จึงทำให้กิจการไม่สามารถตั้งราคาเพื่อทำกำไรได้ดี
สูตรการคำนวณ
อัตรากำไรขั้นต้น (%) = ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย / ขายสุทธิ
11. อัตรากำไรจากการดำเนินงาน
อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ หากกิจการมีอัตรากำไรขึ้นต้นสูง แต่มีอัตรากำไรจากการดำเนินงานต่ำ แสดงให้เห็นว่า กิจการมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่สูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจการ
อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน (%) = กำไรจากการดำเนินงาน /ขายสุทธิ
12. อัตรากำไรสุทธิ
อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)เป็นอัตราส่วนที่เปรียบเทียบผลกำไรสุทธิกับยอดขายสุทธิ
ซึ่งอัตราส่วนนี้จะทำให้ทราบถึงความสามารถในการทำกำไรสุทธิของกิจการภายหลังจากการหักค่าใช้จ่ายทุกรายการแล้ว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ อัตรากำไรสุทธิจะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ
ในการบริหารงานและความสามารถในการดำเนินงานในบรรลุวัตถุประสงค์ของกิจการ ค่าของอัตราส่วนนี้ควรจะสูง เพราะหมายถึงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการหากำไรสุทธิเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิได้ดีกว่ากิจการที่มีค่าตัวเลขอัตราส่วนนี้ต่ำ
สูตรการคำนวณ
อัตรากำไรสุทธิ (%) = กำไรสุทธิ /ขายสุทธิ
13. อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวมอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (Return on Asset: ROA) เป็นอัตราส่วนทางการเงินระหว่างกำไรสุทธิกับสินทรัพย์รวม เป็นอัตราส่วนแสดงให้เห็นถึงความสามารถของกิจการในการใช้ประโยชน์
จากสินทรัพย์ของกิจการเพื่อก่อให้เกิดผลกำไรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ และเป็นการวัดประสิทธิภาพ
ในการใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของกิจการ หากกิจการมีอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ก็จะแสดงให้ทราบว่ากิจการมีประสิทธิภาพและความสามารถในการบริหารทรัพย์สินของกิจการให้เกิดผลกำไร
สูตรการคำนวณ
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (ROA) = กำไรสุทธิ / สินทรัพย์รวม
14. อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio : D/E) อัตราส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างเงินทุนของกิจการว่า สินทรัพย์ของกิจการมาจากการกู้ยืม หรือมาจากทุนของกิจการ
ถ้าอัตราส่วนนี้สูงมีโอกาสที่กิจการจะไม่สามารถชำระดอกเบี้ย ได้สูงตามไปด้วย เนื่องจากหนี้สินที่มากทำให้กิจการมีภาระผูกพันที่ต้องชำระดอกเบี้ยทุกงวดไม่ว่ากิจการนั้นจะกำไรหรือขาดทุน ซึ่งต่างจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่หากกิจการขาดทุนอาจจะพิจารณาไม่จ่าย เงินปันผลก็ได้
สูตรการคำนวณ
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สิน /ส่วนของผู้ถือหุ้น
15. อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง
สูตรการคำนวณ
ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (เท่า) = {กำไรสุทธิ + ภาษีเงินได้ - ดอกเบี้ยจ่าย} /ดอกเบี้ยจ่าย
อัตราการจ่ายเงินปันผลอัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout) เป็นอัตราส่วนทางการเงินที่แสดงถึงนโยบาย
การจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อจะได้พิจารณางบการเงินของกิจการที่ลงทุนได้
สูตรการคำนวณ
อัตราการจ่ายเงินปันผล = เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share) /กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)
สรุป
การลงทุน หมายถึง การออมเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนที่มากขึ้น ซึ่งมาพร้อมกับความเสี่ยงที่มากขึ้นเช่นกัน เราจึงควรพิจารณาการตัดสินใจนำเงินมาลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดหวังไว้ และเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
การลงทุนด้วยหุ้นสามัญนั้น มีค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของธุรกิจที่จดทะเบียนอยู่ที่ร้อยละ 8 - 12 ต่อปี สามารถทำให้นักลงทุนมีอิสรภาพทางการเงินได้โดยง่าย แต่การลงทุนในหุ้นสามัญนั้นมีความเสี่ยงจากราคาขึ้น-ลง ของหลักทรัพย์ ดังนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่สามารถนำข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ศักยภาพในการเติบโตของธุรกิจได้ เพื่อสนับสนุน การตัดสินใจของนักลงทุน สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
นักลงทุนควรทำการศึกษางบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินของบริษัทที่สนใจลงทุน เพื่อเป็นเครื่องมือประกอบในการวางแผนวิเคราะห์การตัดสินใจ เนื่องจากอัตราส่วนทางการเงิน จะช่วยให้นักลงทุนสามารถประเมินผลประกอบการ และทราบถึงภาพรวมของสภาวะทางการเงินของบริษัท อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของบริษัท ซึ่งจะส่งผลให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูงขึ้น
บรรณานุกรม
ธัญลักษณ์ แสงมณี. (2553). รอบรู้เรื่องการลงทุน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
http://www2.fpo.go.th/SI/Source/Training/training3/training3_2/training3_2_1.htm.
[19 ตุลาคม 2563].
ธนัยวงศ์ กีรติวานิชย์. (2559). “การลงทุน”...คืออะไร?. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา :
https://www.wealthythai.com/web/contents/WT190300123. [22 ตุลาคม 2563].
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 3/2563
[ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/2020/Pages/n2763.aspx.
[15 ตุลาคม 2563].
บริษัท โปรซอฟท์ คอมเทค จำกัด. (2563). อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.prosoft.co.th/Article/Detail/138267
[1 สิงหาคม 2564].
บริษัท วินวินโซลูชั่น ออดิทติ้ง จำกัด. (2563). งบการเงินคืออะไร. [ออนไลน์].
แหล่งที่มา : https://tanateauditor.com/financial-statement-2/
[1 สิงหาคม 2564].