ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีและผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
24
Oct
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีและผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
Relationship between Management of Accounting Office and Success in the Usage of Digital Technology
สิทธิชัย ทรัพย์แสนดี (Sittichai Subsandee)
Email.Subsandee46@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีประกอบด้วยการบริหารภายใน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และทักษะดิจิทัลของพนักงานกับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วยคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศและคุณภาพของการบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักงานบัญชีที่จดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 364 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีและ ผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่าการบริหารสำนักงานบัญชีด้านการบริหารภายในมีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านคุณภาพระบบโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ 0.803 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.01
คำสำคัญ: การบริหารสำนักงานภายใน สำนักงานบัญชีดิจิทัล ผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
Abstract
This research had objectives to study the relationship between the management of accounting office including internal administration, the usage of digital technology, also digital skills of employees, and the success in the usage of digital technology including system quality, information technology quality. Sample group was 364 accounting offices registered as legal entity with the Department of Business Development. Questionnaire was a tool for data collection. The data analysis was performed by Descriptive Statistics including Mean and Standard Deviation and Relationship analysis was operated .
The result showed the relationship between the management of accounting offices and the success in the usage of digital technology that the internal administration of accounting offices related to the success in the usage of digital technology for system quality at the correlation coefficient value of 0.803 at 0.01 significance level.
Keywords: Offices of Digital Accounting, Effectiveness, Quality of Accounting Office
บทนำ
ธุรกิจสำนักงานบัญชี เป็นธุรกิจบริการดั้งเดิมที่มีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ อีกทั้งการประกอบการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการกำหนดแผนการดำเนินงาน การควบคุม และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจต่อไป ดังที่ ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม (2562) กล่าวว่า การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดย่อมส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และข้อมูลทางบัญชีจะสะท้อนภาพความจริงของธุรกิจได้ถูกต้องตรงความเป็นจริงมากที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคลากร หรือหน่วยงาน หรือ องค์กรที่ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หรือ สำนักงานบัญชีจึงมีบทบาทและความสำคัญ เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารนั้น หากเกิดความผิดพลาดย่อมส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น กล่าวได้ว่าผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และ สำนักงานบัญชี เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากธุรกิจใดมีบุคลากรด้านการบัญชีที่มีความรู้ความสามารถย่อมส่งผลให้การดำเนินงานธุรกิจนั้นบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์, 2558) ดังนั้น บทบาทและหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งที่จะสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย นักบัญชีรวมทั้งสำนักงานบัญชีจึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สำราญ บุญเจริญ ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี และ ปาลิดา เชษฐ์ขุนทด, 2559)
อีกทั้งในปัจจุบัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อช่วยให้การส่งและรับข้อมูลระหว่างสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และยังสามารถทำให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับการอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีของบริษัทได้ทันทีที่ต้องการ (พัชรินทร์ ใจเย็น และคณะ, 2560) และนอกจากการที่เทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการบัญชีในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้ส่งผลกระทบกับสำนักงานบัญชีแล้ว ในปัจจุบันยังมีกฎหมาย ข้อบังคับของการจัดทำการนาเสนอสารสนเทศการบัญชี การภาษีอากร ด้วยระบบออนไลน์ ได้แก่ ระบบ e - Filing ระบบ e-Receipt ระบบ e-Tax Invoice ด้วยเช่นกัน และการที่ระบบงานดิจิทัลในยุคใหม่นี้ ได้กำลังเข้ามาแทนที่ระบบสารสนเทศแบบดั้งเดิม เช่นนี้จึงส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพบัญชีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยนักบัญชีต้องมีการเตรียมความพร้อมต้องปรับความรู้ทักษะทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและทักษะดิจิทัลสมัยใหม่เข้าไปประยุกต์ใช้ต่องานที่ปฏิบัติให้มากขึ้น โดยที่ เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช (2559) กล่าวไว้ว่า ความสามารถของนักบัญชีในปัจจุบันที่พึงมีนั้นควรเป็นทักษะสมัยใหม่ด้านดิจิทัล ประกอบด้วยการใช้โปรแกรมบัญชีโปรแกรมทางธุรกิจ รู้จักการค้นคว้าข้อมูลทางการบัญชีบนโลกออนไลน์ ความสามารถในการสื่อสารที่หลากหลายช่องทาง มีการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ทางการบัญชีนามาประยุกต์ใช้ในการประจำวัน รักษาข้อมูลทางการบัญชีในระบบดิจิทัลด้วยความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม ทักษะความรู้ในวิชาชีพบัญชี จรรยาบรรณ ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชีและประสบการณ์การทำงาน ก็ยังคงมีความสำคัญเช่นกัน
นอกจากนี้แล้ว ศิระ อินทรกาธรชัย (2559) ยังได้ให้ความเห็นว่า ความก้าวหน้าทางดิจิตอลจะส่งผลกระทบต่อวิชาชีพบัญชีและวิธีการทำบัญชี หลังจากการนำเทคโนโลยีระบบคลาวด์ ระบบอัตโนมัติ และระบบการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ มาช่วยในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากงานของผู้ทำบัญชีจะถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่ากระบวนการทำบัญชีและการใช้ข้อมูลทางบัญชีจะเปลี่ยนแปลงไปแม้ว่าหลักการบัญชียังคงเหมือนเดิม ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้มีนโยบายและแผนงานที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีได้เตรียมความพร้อมทั้งในเรื่ององค์ความรู้และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีให้พร้อมรับกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเตรียมความพร้อมให้สำนักงานบัญชีคุณภาพสามารถเข้าถึงนวัตกรรมทางด้านการบัญชีและการบริหารจัดการตลอดจนปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากแบบดั้งเดิมไปสู่การเป็นสำนักงานบัญชีดิจิทัล (Digital Accounting Firm) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีความเป็นมืออาชีพและมีธรรมาภิบาลและตระหนักถึงความสำคัญต่อการพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการบัญชีให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพและการพัฒนาของเทคโนโลยี
ในขณะที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานของสำนักงานบัญชีได้ขยายบทบาทออกไปจากความรับผิดชอบด้านการจัดทำบัญชีและการจัดทำรายงานต่าง ๆ ไปสู่บทบาทที่ช่วยสร้างและเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น ในฐานะเพื่อนคู่คิดของธุรกิจ SMEs อีกทั้งยังสามารถรองรับโครงการ National e-Payment ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการใช้กระดาษด้วยการสร้างสังคมไร้กระดาษ (Non-Paper Society) โดยที่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บประมวลผลและวิเคราะห์ด้วย Cloud Computing พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลทางบัญชีทั้งกระบวนการเข้าด้วยกันส่งผลให้งบการเงินที่ได้มีความถูกต้อง และสามารถจัดทำบัญชีให้แก่ธุรกิจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ลดขั้นตอนในการจัดส่งเอกสาร ลดการสูญหาย รวมทั้งช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ซึ่งความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ให้นักบัญชีเกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจเพื่อรับมือและบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับกิจการที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ผลการวิจัยของ จิรัชยา นครชัย (2553) ซึ่งได้ศึกษาเรื่อง “ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์” และพบว่า ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้พัฒนาขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ รับ -ส่ง การจัดเก็บ การสืบค้นข้อมูลเอกสารภายในองค์กร รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถใน การจัดการงานด้านเอกสารให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลด ปัญหาด้านการสื่อสาร การจัดเก็บ การสูญหายของเอกสาร การสืบค้นข้อมูลเอกสาร และลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษ การนำระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะช่วยลดความซับซ้อนขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบเดิมเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเข้าใช้งานระบบ สอดคล้องกับแนวคิดของ Rapp (2002) ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์จากความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เทคโนโลยีช่วยให้สามารถส่งข้อมูลสารสนเทศอย่างรวดเร็วและส่งได้ในระยะทางไกลโดยไม่ถูกจำกัดโดยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ รวมถึงสามารถแทนที่หรือลดการใช้แรงงานคนในกระบวนการทำงานในองค์กร และยังสามารถนำวิธีการที่ซับซ้อนมาประสานให้เป็นกระบวนการ รวมถึงสามารถนำข้อมูลสารสนเทศปริมาณมาก ๆ มาสู่กระบวนการได้
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ในยุคดิจิตอล ยังช่วยให้องค์กรได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ให้บรรลุเป้าหมายสามารถนาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าการตัดสินใจให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้บริหารและ ผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับสารสนเทศทางการบัญชีที่มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนาไปใช้วางแผนในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนาไปใช้ ในการตัดสินใจ วางแผน และควบคุมการดำเนินงานทั้งระยะสั้น และระยะยาว (Sarun Chookiet, 2014 : 1-20)
ดังนั้น จากความสำคัญของวิชาชีพการบัญชีที่มีต่อการประกอบธุรกิจ และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมทั้งจากการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐสู่ความเป็นสำนักงานบัญชีดิจิทัล และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการสำนักงานบัญชีดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีและความสำเร็จของการใช้ระบบดิจิทัล
คำถามการวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีประกอบด้วยการบริหารงานภายใน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และทักษะดิจิทัลของพนักงานกับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วยคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศและคุณภาพของการบริการ มีความสัมพันธ์อย่างไร
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีประกอบด้วยการบริหารภายใน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และทักษะดิจิทัลของพนักงานกับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วยคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศและคุณภาพของการบริการ
กรอบแนวคิด
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีประกอบด้วยการบริหารภายใน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และทักษะดิจิทัลของพนักงานกับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วยคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศและคุณภาพของการบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักงานบัญชีที่จดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 364 แห่ง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีและ ผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล พบว่าการบริหารสำนักงานบัญชีด้านการบริหารภายในมีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านคุณภาพระบบโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ 0.803 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.01
คำสำคัญ: การบริหารสำนักงานภายใน สำนักงานบัญชีดิจิทัล ผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
Abstract
This research had objectives to study the relationship between the management of accounting office including internal administration, the usage of digital technology, also digital skills of employees, and the success in the usage of digital technology including system quality, information technology quality. Sample group was 364 accounting offices registered as legal entity with the Department of Business Development. Questionnaire was a tool for data collection. The data analysis was performed by Descriptive Statistics including Mean and Standard Deviation and Relationship analysis was operated .
The result showed the relationship between the management of accounting offices and the success in the usage of digital technology that the internal administration of accounting offices related to the success in the usage of digital technology for system quality at the correlation coefficient value of 0.803 at 0.01 significance level.
Keywords: Offices of Digital Accounting, Effectiveness, Quality of Accounting Office
บทนำ
ธุรกิจสำนักงานบัญชี เป็นธุรกิจบริการดั้งเดิมที่มีความสำคัญต่อองค์กรธุรกิจ อีกทั้งการประกอบการธุรกิจให้ประสบความสำเร็จนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและชัดเจน ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการกำหนดแผนการดำเนินงาน การควบคุม และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจต่อไป ดังที่ ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม (2562) กล่าวว่า การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลที่มีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดย่อมส่งผลกระทบเชิงลบต่อธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และข้อมูลทางบัญชีจะสะท้อนภาพความจริงของธุรกิจได้ถูกต้องตรงความเป็นจริงมากที่สุด เมื่อเป็นเช่นนี้ บุคลากร หรือหน่วยงาน หรือ องค์กรที่ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี หรือ สำนักงานบัญชีจึงมีบทบาทและความสำคัญ เพราะการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารนั้น หากเกิดความผิดพลาดย่อมส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น กล่าวได้ว่าผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และ สำนักงานบัญชี เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพ ซึ่งหากธุรกิจใดมีบุคลากรด้านการบัญชีที่มีความรู้ความสามารถย่อมส่งผลให้การดำเนินงานธุรกิจนั้นบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์, 2558) ดังนั้น บทบาทและหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ถือเป็นส่วนสำคัญประการหนึ่งที่จะสนับสนุนให้องค์กรธุรกิจก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย นักบัญชีรวมทั้งสำนักงานบัญชีจึงจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพเพื่อให้เป็นผู้มีคุณสมบัติพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สำราญ บุญเจริญ ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี และ ปาลิดา เชษฐ์ขุนทด, 2559)
อีกทั้งในปัจจุบัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการนำระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อช่วยให้การส่งและรับข้อมูลระหว่างสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และยังสามารถทำให้ผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลดังกล่าวที่ได้รับการอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีของบริษัทได้ทันทีที่ต้องการ (พัชรินทร์ ใจเย็น และคณะ, 2560) และนอกจากการที่เทคโนโลยีนวัตกรรมด้านการบัญชีในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้ส่งผลกระทบกับสำนักงานบัญชีแล้ว ในปัจจุบันยังมีกฎหมาย ข้อบังคับของการจัดทำการนาเสนอสารสนเทศการบัญชี การภาษีอากร ด้วยระบบออนไลน์ ได้แก่ ระบบ e - Filing ระบบ e-Receipt ระบบ e-Tax Invoice ด้วยเช่นกัน และการที่ระบบงานดิจิทัลในยุคใหม่นี้ ได้กำลังเข้ามาแทนที่ระบบสารสนเทศแบบดั้งเดิม เช่นนี้จึงส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานวิชาชีพบัญชีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยนักบัญชีต้องมีการเตรียมความพร้อมต้องปรับความรู้ทักษะทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องและทักษะดิจิทัลสมัยใหม่เข้าไปประยุกต์ใช้ต่องานที่ปฏิบัติให้มากขึ้น โดยที่ เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช (2559) กล่าวไว้ว่า ความสามารถของนักบัญชีในปัจจุบันที่พึงมีนั้นควรเป็นทักษะสมัยใหม่ด้านดิจิทัล ประกอบด้วยการใช้โปรแกรมบัญชีโปรแกรมทางธุรกิจ รู้จักการค้นคว้าข้อมูลทางการบัญชีบนโลกออนไลน์ ความสามารถในการสื่อสารที่หลากหลายช่องทาง มีการคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ทางการบัญชีนามาประยุกต์ใช้ในการประจำวัน รักษาข้อมูลทางการบัญชีในระบบดิจิทัลด้วยความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตาม ทักษะความรู้ในวิชาชีพบัญชี จรรยาบรรณ ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชีและประสบการณ์การทำงาน ก็ยังคงมีความสำคัญเช่นกัน
นอกจากนี้แล้ว ศิระ อินทรกาธรชัย (2559) ยังได้ให้ความเห็นว่า ความก้าวหน้าทางดิจิตอลจะส่งผลกระทบต่อวิชาชีพบัญชีและวิธีการทำบัญชี หลังจากการนำเทคโนโลยีระบบคลาวด์ ระบบอัตโนมัติ และระบบการเรียนรู้ของคอมพิวเตอร์ มาช่วยในการทำงานมากขึ้น เนื่องจากงานของผู้ทำบัญชีจะถูกแทนที่ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งคาดการณ์ได้ว่ากระบวนการทำบัญชีและการใช้ข้อมูลทางบัญชีจะเปลี่ยนแปลงไปแม้ว่าหลักการบัญชียังคงเหมือนเดิม ในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้มีนโยบายและแผนงานที่จะส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีได้เตรียมความพร้อมทั้งในเรื่ององค์ความรู้และเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีให้พร้อมรับกับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเตรียมความพร้อมให้สำนักงานบัญชีคุณภาพสามารถเข้าถึงนวัตกรรมทางด้านการบัญชีและการบริหารจัดการตลอดจนปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากแบบดั้งเดิมไปสู่การเป็นสำนักงานบัญชีดิจิทัล (Digital Accounting Firm) ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมีความเป็นมืออาชีพและมีธรรมาภิบาลและตระหนักถึงความสำคัญต่อการพัฒนาและเพิ่มพูนองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการบัญชีให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพและการพัฒนาของเทคโนโลยี
ในขณะที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การดำเนินงานของสำนักงานบัญชีได้ขยายบทบาทออกไปจากความรับผิดชอบด้านการจัดทำบัญชีและการจัดทำรายงานต่าง ๆ ไปสู่บทบาทที่ช่วยสร้างและเพิ่มคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น ในฐานะเพื่อนคู่คิดของธุรกิจ SMEs อีกทั้งยังสามารถรองรับโครงการ National e-Payment ของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการใช้กระดาษด้วยการสร้างสังคมไร้กระดาษ (Non-Paper Society) โดยที่ข้อมูลทั้งหมดจะถูกจัดเก็บประมวลผลและวิเคราะห์ด้วย Cloud Computing พร้อมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลทางบัญชีทั้งกระบวนการเข้าด้วยกันส่งผลให้งบการเงินที่ได้มีความถูกต้อง และสามารถจัดทำบัญชีให้แก่ธุรกิจได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ลดขั้นตอนในการจัดส่งเอกสาร ลดการสูญหาย รวมทั้งช่วยไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ซึ่งความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงในประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยให้ให้นักบัญชีเกิดความรวดเร็วในการตัดสินใจเพื่อรับมือและบริหารจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับกิจการที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้ทันกับสถานการณ์ปัจจุบัน
ผลการวิจัยของ จิรัชยา นครชัย (2553) ซึ่งได้ศึกษาเรื่อง “ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์” และพบว่า ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้พัฒนาขึ้น ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ รับ -ส่ง การจัดเก็บ การสืบค้นข้อมูลเอกสารภายในองค์กร รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถใน การจัดการงานด้านเอกสารให้มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลด ปัญหาด้านการสื่อสาร การจัดเก็บ การสูญหายของเอกสาร การสืบค้นข้อมูลเอกสาร และลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรกระดาษ การนำระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จะช่วยลดความซับซ้อนขั้นตอนการปฏิบัติงานในระบบเดิมเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการเข้าใช้งานระบบ สอดคล้องกับแนวคิดของ Rapp (2002) ซึ่งได้กล่าวถึงประโยชน์จากความสามารถและศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศไว้ว่า เทคโนโลยีช่วยให้สามารถส่งข้อมูลสารสนเทศอย่างรวดเร็วและส่งได้ในระยะทางไกลโดยไม่ถูกจำกัดโดยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ รวมถึงสามารถแทนที่หรือลดการใช้แรงงานคนในกระบวนการทำงานในองค์กร และยังสามารถนำวิธีการที่ซับซ้อนมาประสานให้เป็นกระบวนการ รวมถึงสามารถนำข้อมูลสารสนเทศปริมาณมาก ๆ มาสู่กระบวนการได้
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ในยุคดิจิตอล ยังช่วยให้องค์กรได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ให้บรรลุเป้าหมายสามารถนาข้อมูลไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการเพิ่มมูลค่าการตัดสินใจให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ผู้บริหารและ ผู้มีส่วนได้เสีย ได้รับสารสนเทศทางการบัญชีที่มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน สามารถนาไปใช้วางแผนในการดำเนินธุรกิจให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนาไปใช้ ในการตัดสินใจ วางแผน และควบคุมการดำเนินงานทั้งระยะสั้น และระยะยาว (Sarun Chookiet, 2014 : 1-20)
ดังนั้น จากความสำคัญของวิชาชีพการบัญชีที่มีต่อการประกอบธุรกิจ และจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน รวมทั้งจากการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐสู่ความเป็นสำนักงานบัญชีดิจิทัล และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการสำนักงานบัญชีดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีและความสำเร็จของการใช้ระบบดิจิทัล
คำถามการวิจัย
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีประกอบด้วยการบริหารงานภายใน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และทักษะดิจิทัลของพนักงานกับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วยคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศและคุณภาพของการบริการ มีความสัมพันธ์อย่างไร
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีประกอบด้วยการบริหารภายใน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และทักษะดิจิทัลของพนักงานกับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วยคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศและคุณภาพของการบริการ
กรอบแนวคิด
ภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย
สมมติฐานการวิจัย
จากวัตถุประสงค์และคำถามการวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยตั้งสมมติฐานการวิจัย ดังนี้
H1 การบริหารสำนักงานบัญชีด้านการบริหารงานภายในมีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
H2 การบริหารสำนักงานบัญชีด้านการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
H3 การบริหารสำนักงานบัญชีด้านทักษะด้านดิจิทัลของพนักงานมีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ระเบียบวิธีการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สำนักงานบัญชีที่ขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 4,085 ราย (ที่มา: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพานิชย์, 2563) ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane (1973) ในการคำนวณกรณีที่มีประชากรจำนวนแน่นอน (Finite population) ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 จากการคำนวณผู้วิจัยได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 364 คน จากนั้นผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาเอง โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะแบบสอบถามแบบเลือกตอบ จำนวน 8 ข้อ
ตอนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีดิจิทัลในประเทศไทย ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ
ตอนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับผลสำเร็จด้านการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในสำนักงานบัญชี ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 18 ข้อ
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ มีการหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม และการหาค่าความเชื่อมั่น ดังนี้
การตรวจสอบความตรง (Validity) เชิงเนื้อหา ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการโดย นำเครื่องมือวิจัยไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทำการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือ (content validity) เพื่อตรวจสอบว่าเครื่องมือที่สร้างขึ้นมานั้นสามารถวัดได้ครอบคลุมประเด็นเพียงใด เมื่อได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว จึงได้ทำการแก้ไขและพัฒนาเพื่อให้เครื่องมือวิจัยมีความสอดคล้องภายใน โดยประเมินค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับประเด็นที่ต้องการศึกษา แล้วนำความเห็นที่ได้มาคำนวณหาค่า “ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์” (Item-Objective Congruence Index: IOC) การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาครั้งนี้ หากค่า IOC ที่คำนวณได้ มีค่า อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ให้ถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ จากนั้นจึงนำไปทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น
การหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ผู้วิจัยนำแบบสอบถามไปทดลองเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประชากรที่ศึกษามากที่สุด จำนวน 30 คน แล้วนำมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่น โดยการวัดค่าความสอดคล้องภายในด้วยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach) พบว่า ผลการทดสอบค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.979 ถือว่าเครื่องมีวิจัยมีคุณภาพสูงผู้วิจัยจึงนำไปใช้ในการเก็บข้อมูลจริงต่อไป
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ (coefficient of correlation)
ผลการวิจัย
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปัจจัยการบริหารสำนักงานบัญชีและผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
จากตารางที่ 1 พบว่า ปัจจัยการบริหารสำนักงานบัญชีและความสำเร็จของการใช้ระบบดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( = 4.77) รองลงมาคือ ปัจจัยทักษะด้านดิจิทัลของพนักงาน ( = 4.52 และปัจจัยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 4.42) ตามลำดับ
ตารางที่ 2 ค่าความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสำนักงานบัญชีและผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
จากตารางที่ 2 พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์กันโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .578 - .803 ซึ่งถือว่ามีความสัมพันธ์กันสูง โดยการบริหารสำนักงานบัญชีด้านการบริหารงานภายใน มีความสัมพันธ์กับด้านคุณภาพระบบสูงมากที่สุด (.803) รองลงมาเป็น การบริหารงานภายในมีความสัมพันธ์กับคุณภาพสารสนเทศอยู่ในระดับมาก (.759) และความสัมพันธ์กับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้งานกับคุณภาพระบบมีความสัมพนธ์กันน้อยที่สุด (.578)
สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล
1) ปัจจัยการบริหารสำนักงานบัญชีและความสำเร็จของการใช้ระบบดิจิทัลในระดับมากที่สุด สาเหตุที่เป็นนี้ อาจเกิดจากการบริหารงานภายในสำนักงานบัญชี โดยเฉพาะการที่สำนักงานบัญชีให้คำแนะนำด้านการบัญชีแก่ลูกค้าหรือผู้มาใช้บริการด้วยความซื่อสัตย์ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานมากที่สุด สอดคล้องกับผลการวิจัยของสมบูรณ์ กุมาร และ ฐิตินันท์ กุมาร (2557) พบว่า ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นคุณสมบัตินักบัญชีที่ผู้ประกอบการต้องการสูงสุด ซึ่งตรงกับผลการวิจัยของ ณัฏฐ์รมณ ศรีสุข (2560) พบว่า จริยธรรมในวิชาชีพมีอิทธิพลทางบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานทางการบัญชีสมัยใหม่ และยังตรงกับความคิดเห็นของ ณฐา ธรเจริญกุล (2561) พบว่า จริยธรรมและทัศนคติรวมกันสามารถอธิบายประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของนักบัญชีได้ร้อยละ 10.2 นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ กมลภู สันทะจักร์ และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ (2562) พบว่า จรรยาบรรณ เป็นหนึ่งในปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย ซึ่งผลการวิจัยดังที่กล่าวมาสะท้อนให้เห็นว่า จริยธรรมนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถส่งผลต่อความสำเร็จหรือประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชีนั่นเอง ส่วนปัจจัยด้านความพร้อมของหัวหน้าสำนักงานนั้น เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า หากหัวหน้าสำนักงานบัญชีที่ท่านปฏิบัติงานอยู่เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านบัญชี, บัญชีภาษีอากร และความเข้าใจในธุรกิจของลูกค้าเป็นอย่างดี จะส่งผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชี ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี ด้านทักษะทางวิชาชีพบัญชี ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านภาษาอังกฤษ ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบัญชี และยังตรงกับผลการวิจัยของ นงลักษณ์ ศิริพิศ และ คณะ (2556) พบว่า ความรู้ด้านวิชาชีพบัญชี ด้านภาษา ด้านกฎหมาย ปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมของนักบัญชีไทยกับการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน (AEC) กรณีศึกษาสำนักงานบัญชีที่ผ่านการรับรองคุณภาพจากสำนักงานบัญชีตามข้อกำหนดการรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชีในกรุงเทพมหานคร
2) จากวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การบริหารสำนักงานบัญชีประกอบด้วยการบริหารภายใน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และทักษะดิจิทัลของพนักงานกับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลประกอบด้วยคุณภาพระบบ คุณภาพสารสนเทศและคุณภาพของการบริการพบว่าการบริหารสำนักงานบัญชีด้านการบริหารงานภายในมีความสัมพันธ์กับผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านคุณภาพระบบ ซึ่งสอดคล้องกับ ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข (2561) พบว่าด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จด้านการจัดหาและการใช้ปัจจัยทรัพยากรและด้านกระบวนการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุดและด้านการปฏิบัติงานของสำนักงานบัญชี และด้านการจัดการเอกสารของสำนักงานบัญชี อยู่ในระดับมากที่สุดและยังตรงกับผลการวิจัยของปาริชาติ มณีมัย (2559) พบว่าพบว่า ความรับผิดชอบของผู้บริหารการอัพเดทข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง เรียงลำดับจากมากไปน้อย และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติด้านการควบคุมคุณภาพของสำนักงานบัญชี ซึ่งตรงกับผลการวิจัยของศุภกฤษ บุญจันทร์ (2562)พบว่าประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานบัญชีอยู่ในระดับมากทุกด้านและเทคโนโลยีดิจิทัลทางการบัญชีมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานบัญชีมีความสัมพันธ์ในระดับสูงมากในทุกด้าน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย
สำนักงานบัญชียังควรปรับปรุงโปรแกรมสารสนเทศทางการบัญชีให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับผลสำเร็จจากการนำเทคโนโลยีมา การวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาเพิ่มเติมในส่วนของจริยธรรมการใช้เทคโนโลยี
2 ) ควรใช้วิธีการศึกษาเชิงลึกโดยการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการหรือนักบัญชีในยุคดิจิทัล
เอกสารอ้างอิง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2563). สำนักงานบัญชีที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงพานิชย์.
จิรัชยา นครชัย. (2553). ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์. สารนิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.
ธนวรรณ แฉ่งขำโฉม. (2562). ตัวแบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถนะของผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสยาม.
ธรารินทร์ ใจเอื้อพลสุข. (2561). ความสำเร็จในการปฏิบัติงานสำนักงานบัญชีคุณภาพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธนิษฐา ชีวพัฒนพันธุ์. (2558). สมรรถนะของพนักงานบัญชีในโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีตามทัศนะของหัวหน้างานบัญชี. RMUTT Global Business and Economics Review. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2, 141 – 152.
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา.วารสารเครือข่ายวิทยาลัย. 3(2).
พัชรินทร์ ใจเย็น และ คณะ. (2560). นักบัญชีกับเทคโนโลยียุคปัจจุบัน. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 3(1)
ปาริชาติ มณีมัย. (2559). คุณภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงาน ของสำนักงานบัญชีขนาดกลางและขนาดย่อมของไทย. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 14(1)
ศิระ อินทรกาธรชัย. (2559). PwC เผยมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่-ความก้าวหน้าทางดิจิทัลกระทบธุรกิจไทย แนะเตรียมรับมือให้พร้อม. เข้าถึงได้จาก https://positioningmag.com/1109467.
ศุภกฤษ บุญจันทร์. (2562). ประสิทธิผลของการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานบัญชีของสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกการบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำราญ บุญเจริญ ปรียาณัฐ เอี๊ยบศิริเมธี และ ปาลิดา เชษฐ์ขุนทด. (2559). รูปแบบสมรรถนะวิชาชีพของผู้จัดทำบัญชี เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน ในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 34(3)
อริยา สรศักดา. (2562). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชี. สารนิพนธ์ ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Hou. C. K. (2012). Examining the effect of user satisfaction on system usage and individual performance with busine
ss intelligence systems: An empirical study of Taiwan's electronics industry. International Journal of Information Management, 32(6), 560–573.
Lee, P. H., & Yu, P. L. H. (2012). Mixtures of weighted distance–based models for ranking data with applications in political studies. Computational Statistics and Data Analysis, 56, 2486–2500.
Rapp, W. V. (2002). Information technology strategies: How leading firms use IT to gain an advantage. New York: Oxford University.
Sarun Chookiet. (2014). Accounting information system. Bangkok : Enpress Phi Partnership.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded). New York. Harper and Row Publications.