ภาษีซี้อต้องห้าม ที่นักบัญชียุค New Normal ต้องห้ามพลาด
20
Oct
ภาษีซี้อต้องห้าม ที่นักบัญชียุค New Normal ต้องห้ามพลาด
forbidden tax that accountants in the New Normal era must not miss
อดิศร เกษหอม
Adison Kethom
E-mail: adison.keth@bumail.net
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้า การให้บริการ และการนำเข้า ผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้าหรือให้บริการต้องออกใบกำกับภาษีขายทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ กรณีผู้ประกอบการฯ ชื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการฯอื่น สามารถนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีซื้อได้ แต่ผู้ประกอบการฯ ต้องพึงระวังเกี่ยวกับภาษีซื้อบางประเภทที่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม ซึ่งกฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีซื้อ
ภาษีซื้อต้องห้าม คือ ภาษีซื้อที่ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อ เช่น ใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบเท่านั้น ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เป็นต้น
คำสำคัญ : ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีซี้อต้องห้าม, นักบัญชียุค New Normal
Abstract
VAT under the Revenue Code It is a tax levied on the sale of goods, provision of services and importation. VAT operators who sell goods or provide services must issue a sales tax invoice every time the goods or services are sold. In the case of entrepreneurs Buying products or receiving services from other operators the input tax can be deducted from the sales tax in the calculation of VAT or refund of the input tax. But the entrepreneur Be careful about certain types of input taxes that are Prohibited purchase tax. which the law does not allow to be deducted from the sales tax in the calculation of VAT or requesting a refund of input tax
Prohibited purchase tax is the input tax that cannot be deducted from the sales tax in the calculation of VAT or to be refunded for the input tax, for example, the input tax invoice contains inaccurate or incomplete text in the material respects as required by law. set A tax invoice that can be deducted from sales tax or a refund of input tax. Must be a full tax invoice only. Input tax that is not directly related to the business of VAT registrants Input tax arising from expenditures for entertainment or similar purposes. Input tax according to the tax invoice issued by the person who is not entitled to issue the tax invoice Purchase tax arising from the purchase, hire purchase, lease or transfer of passenger cars and passenger cars with seats for no more than 10 people.
Keywords: VAT, Forbidden Taxes, Accountants in the New Normal Era,
บทนำ
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้า การให้บริการ และ
การนำเข้า ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขายสินค้าหรือให้บริการต้องออกใบกำกับภาษีขาย
ทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการ กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอื่น สามารถนำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีซื้อได้ แต่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้อง
พึงระวังเกี่ยวกับภาษีซื้อบางประเภทที่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม ซึ่งกฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีซื้อ
เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนักบัญชียุค New Normal โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้จัดทำบทความจึงได้นำคู่มือภาษีซื้อต้องห้ามของกรมสรรพากร (กรมสรรพากร, 2564: ออนไลน์) มานำเสนอเป็นบทความ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารคู่มือภาษีซื้อต้องห้ามจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่สนใจทั่วไปได้เป็นอย่างดี
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนักบัญชียุค New Normal
โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม มีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับภาษีต้องห้าม
2. เพื่อให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ทำการวางแผนภาษีให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
ประเด็นสำคัญ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT)
"ภาษีมูลค่าเพิ่ม" (Value Added Tax: VAT) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้า การให้บริการและการนำเข้า ปัจจุบันจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีที่จัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) และอัตราร้อยละ 0 สำหรับการส่งออกผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการต้องออกใบกำกับภาษี เพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ใช้บริการ
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มให้คำนวณ
โดยการนำภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระ : = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
โดยการนำภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระ : = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เป็นรายเดือนภาษี โดยยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 - 15 ของเดือนถัดไปทุกเดือนไม่ว่ากิจการจะมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม
กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลจากการคำนวณภาษีพบว่า ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรเท่ากับส่วนต่างนั้น แต่หากภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีสิทธิได้รับคืนภาษีซื้อ โดยผู้ประกอบการจะขอคืนภาษีซื้อเป็นเงินสดหรือให้นำเครดิตภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไปก็ได้ การแสดงรายละเอียดการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งยอดภาษีขายและยอดภาษีซื้อที่แสดงในแบบ ภ.พ.30 จะต้องเป็นภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีสิทธินำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น
นิยาม ภาษีขาย และภาษีซื้อ
ภาษีขาย (Output Tax) หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการรวมถึงภาษี
มูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่เสียภาษี ในกรณีที่เป็นการขายสินค้า ทั้งนี้ ให้รวมถึง
- การนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใด ๆ เว้นแต่ นำไปใช้เพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง
- มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบ
กิจการจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ณ วันเลิกประกอบกิจการ หรือวันที่ได้รับแจ้ง
คำสั่งถอน หรือวันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีขาย (Output Tax) หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่เสียภาษี จากการให้บริการหรือใช้บริการของกิจการ ไม่รวมถึงเพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง และการนำเงินไปหาประโยซน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์
ภาษีซื้อ (Input Tax) หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอื่นเรียกเก็บจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง และให้หมายความรวมถึง
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสียเมื่อนำเข้าสินค้า
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสียเมื่อรับโอน
- ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งกรมสรรพากร
มูลค่าเพิ่ม
- จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี
มูลค่าเพิ่ม
- จากการชำระราคาสินค้าหรือราคาคำบริการให้กับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
- จากการชำระราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
- จากการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิบริการในการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
ประเภทภาษีซื้อ
ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่น จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บถือเป็นภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้จ่ายไปในการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
ภาษีซื้อ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ภาษีซื้อที่กฎหมายให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อต้องเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ถูกเรียกเก็บจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่น หรือภาษีซื้อที่เกิดจากการนำเข้าสินค้า การรับโอนสินค้านำเข้า การขายทอดตลาดทรัพย์สิน การชำระราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราซอาณาจักร และการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิบริการในการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยสินค้าหรือบริการดังกล่าวต้องนำมาใช้ในการประกอบกิจการของตน และไม่เป็นภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ
2. ภาษีซื้อต้องห้าม
ภาษีซื้อต้องห้ามเป็นภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ โดยได้กำหนดลักษณะภาษีซื้อต้องห้ามไว้ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรและประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) และ (ฉบับที่ 42)
ภาษีซื้อต้องห้าม
หมายถึง ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) ดังนี้
ลักษณะภาษีซื้อต้องห้าม
1. ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
(1) ไม่มีใบกำกับภาษี เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษี หรือออกใบกำกับภาษีแต่ระบุชื่อบุคคลอื่น
(2) มีใบกำกับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อเป็นกรณีที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง แต่ไม่อาจแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรได้
2. กรณีใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
ใบกำกับภาษีที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปและต้องมีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีซื้อนั้นถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มควรตรวจสอบใบกำกับภาษีว่ามีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ก่อนที่จะรับมอบใบกำกับภาษีนั้น
3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อกิจการหรือเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ถึงแม้ใบกำกับภาษีนั้นจะมีรายการครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
(1) ค่ารับรองหรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และไม่ว่าจะอำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก คำอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
(2) ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (1) และบุคคลอื่น
5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ
ผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีมีดังนี้
(1) บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนทำการออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกนำออกขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นหรือโดยบุคคลอื่น
6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ มีดังนี้
(1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ดามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว
หมายเหตุ :
"รถยนต์นั่ง" คือ รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวรด้านช้างหรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด
"รถยนต์โดยสาร" คือ รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมาก
รวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน
(2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
(3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลคำเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเกทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อตังทล่าวให้มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีชายในกาวคำนวณภาษีมูลคำเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นหรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตั้งแต่ต้น
(5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการในใบกำกับภาษีไม่ใต้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
(6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบตีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy)เป็นภาษีซื้อต้องห้ามแต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับและใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า "เอกสารออกเป็นซุด" ปรากฏอยู่ด้วย
(8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
(9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
(10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
หมายเหตุ : การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
- การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการแก้ไข ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตำบล หรือแขวง อำเภอ หรือเขต หรือจังหวัดใหม่
(11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครองได้มีการดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ตังกล่าวของตนเองโดยตรง
(12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
สรุป
ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อได้ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) ดังนี้ เช่น ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ ใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบเท่านั้น ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
1.นักบัญชียุค New Normal ควรศึกษาข้อมูลภาษีซื้อต้องห้ามจากคู่มือหรือกฎหมายที่กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) ให้แม่นยำ
2.นักบัญชียุค New Normal ควรมีความละเอียดรอบคอบในการตรวจสอบเอกสาร เพื่อให้การวางแผนภาษีเกิดประโยชน์ต่อองค์การอย่างสูงสุด
บรรณานุกรม
กรมสรรพากร. (2564). ภาษีซื้อต้องห้าม. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564, จากเว็บไซต์ : https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/BanPasi.pdf
กรมสรรพากร. (2564). ภาษีซื้อต้องห้าม. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564, จากเว็บไซต์ : http://download.rd.go.th/fileadmin/download/insight_pasi/PasiBan.pdf