ทักษะทางวิชาชีพบัญชีต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน
20
Oct
ทักษะทางวิชาชีพบัญชีต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน
PROFESSIONAL ACCOUNTING SKILLS AND COMPETENCY ON THE EFFICIENCY OF FINANCIAL STATEMENT PREPARATION FOR REAL ESTATE BUSINESS IN NANNING OF CHINA
ลู่ เฉี่ยว หลิง
QIAOLING LI
Email: lindakin745@gmail.com
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษา ทักษะทางวิชาชีพบัญชีต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบัญชีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความทนทาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ทักษะในการใช้เหตุผล ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรต่อไป
คำสำคัญ : นักบัญชี, ประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงิน, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Abstract
This research the objective is to study Professional Accounting Skills and competency on the efficiency of Financial Statement Preparation for Real Estate Business in Nanning of China The sample consisted of 400 accountants of real estate business in Nanning of China, using questionnaires as a data collection tool. The data were then processed and analyzed using descriptive statistics such as mean, standard deviation. Durability and inferential statistics that using Multiple Regression
The results showed that reasoning skills Interaction Skills and accounting communication skills on the efficiency of the financial statements of real estate business in Nanning of China with statistical significance at the 0.05 level. To be used as a guideline for the development of professional skills of accountants to be effective and for maximum benefit to the organization
Keywords : Accountants, The efficiency of Financial Statement Preparation, Real Estate Business
บทนำ
หลังจากจีนเปิดประเทศ และนำนโยบายด้านการตลาดมาใช้ เศรษฐกิจจีนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ประชากรมีรายได้สูงขึ้น จึงมีความต้องการสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน ราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีราคาสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งราคาที่สูงเกินจริงนี้หากกระจายไปทั่วประเทศจีนโดยไม่มีการควบคุมดูแลอย่างดีก็จะเป็นอันตรายต่อระบบการเงินของจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการที่อยู่อาศัยจริงและส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไร ขณะที่อุปสงค์ในอสังหาริมทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่เพื่อการเก็งกำไรเป็นสำคัญ (พัฒนพงษ์ ภู่สุวรรณ, 2555)
สำหรับนครหนานหนิง มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น สถาบันวิจัยดัชนีจีน (China Index Academy, 中国指数研究院) เผยรายงานดัชนีราคาภาคอสังหาริมทรัพย์จีน ระบุว่า ราคาบ้านพักอาศัยสร้างใหม่ของนครหนานหนิงยังคงมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ ตร.ม.ละ 7,946 หยวน และจากการบริหารจัดการบ้านเอื้ออาทรและอสังหาริมทรัพย์นครหนานหนิง พบว่า มีการซื้อขายบ้านพักอาศัยสร้างใหม่มากถึง 7,030 ยูนิต จนทุกฝ่ายต่างเป็นกังวลว่าจะเกิดวิกฤตฟองสบู่แตก และทำให้รัฐบาลกลางต้องบังคับใช้นโยบายต่าง ๆ เพื่อลดความร้อนแรงของภาคอสังหาฯ ในประเทศ ซึ่งนายจาง เปียว (Zhang Biao, 张飚) ผู้จัดการใหญ่บริษัท Nanning Longbangyuan Real Estate Investment Consulting (南宁龙邦源房地产投资咨询公司) ผู้คร่ำหวอดในแวดวงอสังหาริทรัพย์ ชี้ว่า ขณะนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจีนกำลังอยู่ในกระแสขาขึ้น เนื่องจากผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ได้กำหนดกลไกในระยะยาว อย่างการใช้มาตรการด้านภาษี โดยมีการดำเนินโครงการจัดเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ และการเพิ่มจำนวนเคหะชุมชน (Public Rental Housing, 公租房) แทนที่นโยบายชุดเก่า คือ ห้ามซื้อบ้านหลังที่สอง ควบคุมการปล่อยสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยธนาคาร ทำให้กระแสการปรับขึ้นราคาบ้านพักอาศัยในจีนเป็นไปตามที่ทางการจีนได้คาดการณ์ไว้ (ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง, 2556) และในปี 2562 นครหนานหนิงเป็นเมืองนำร่อง New Smart City สู่อาเซียน โดยมีศูนย์นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะจีน-อาเซียน หรือ CASC i-Center ที่เขตเมืองใหม่อู่เซี่ยงของนครหนานหนิงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญสำหรับธุรกิจด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการเข้ามาจัดตั้งฐานธุรกิจ และเป็นพื้นที่ศูนย์รวมอุตสาหกรรมบริการการผลิตและศูนย์วิจัยและพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่เป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะในอาเซียน จนทำให้ปัจจุบัน มีบริษัทและสถาบันวิจัยด้านนวัตกรรมชั้นนำหลายแห่งเข้ามาจัดตั้งธุรกิจในศูนย์ CASC i-Center แล้ว ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาให้นครหนานหนิงก้าวไปสู่เมืองอัจฉริยะ อาทิ INSPUR (浪潮集团) ผู้นำด้านคลาวด์คอมพิวติ้งในจีน iFLYTEK (科大讯飞) บริษัทอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ชั้นนำ DtDream (数梦工场) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและโซลูชันแนวใหม่ในเครืออาลีบาลา Cloudbae (云宝宝) ผู้ให้บริการบิ๊กดาต้าและผู้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาให้นครหนานหนิงก้าวไปสู่เมืองอัจฉริยะ จึงช่วยทำให้การใช้ชีวิตของประชาชนในนครหนานหนิงมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ครอบคลุมบริการต่างๆ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ด้วย จึงทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเพิ่มขึ้นดันยอดซื้อขายบ้านพักอาศัย และสร้างสถิติการขายใหม่ (ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, 2563)การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษา ทักษะทางวิชาชีพบัญชีต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักบัญชีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความทนทาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ทักษะในการใช้เหตุผล ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรต่อไป
คำสำคัญ : นักบัญชี, ประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงิน, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
Abstract
This research the objective is to study Professional Accounting Skills and competency on the efficiency of Financial Statement Preparation for Real Estate Business in Nanning of China The sample consisted of 400 accountants of real estate business in Nanning of China, using questionnaires as a data collection tool. The data were then processed and analyzed using descriptive statistics such as mean, standard deviation. Durability and inferential statistics that using Multiple Regression
The results showed that reasoning skills Interaction Skills and accounting communication skills on the efficiency of the financial statements of real estate business in Nanning of China with statistical significance at the 0.05 level. To be used as a guideline for the development of professional skills of accountants to be effective and for maximum benefit to the organization
Keywords : Accountants, The efficiency of Financial Statement Preparation, Real Estate Business
บทนำ
หลังจากจีนเปิดประเทศ และนำนโยบายด้านการตลาดมาใช้ เศรษฐกิจจีนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ประชากรมีรายได้สูงขึ้น จึงมีความต้องการสินค้าต่างๆ เพิ่มขึ้น รวมทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องเช่นกัน ราคาอสังหาริมทรัพย์และราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จึงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมีราคาสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งราคาที่สูงเกินจริงนี้หากกระจายไปทั่วประเทศจีนโดยไม่มีการควบคุมดูแลอย่างดีก็จะเป็นอันตรายต่อระบบการเงินของจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการที่อยู่อาศัยจริงและส่วนหนึ่งมาจากการเก็งกำไร ขณะที่อุปสงค์ในอสังหาริมทรัพย์ของประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่เพื่อการเก็งกำไรเป็นสำคัญ (พัฒนพงษ์ ภู่สุวรรณ, 2555)
ในจากผลของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีการพัฒนาในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมาตรการกระตุ้นธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของทางการจีนอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากปัจจัยทางเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต้องประสบกับความผันผวนตลอดเวลา และยากต่อการควบคุม ซึ่งงบการเงินจะสามารถแสดงให้เก็นถึงผลการดำเนินการฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเลานั้นๆ ดังนั้นงบการเงินจึงถูกนำมาใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจของผู้ประกอบการ ซึ่งการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจนี้อาจรวมถึงการตัดสินใจขาย หรือถือเงินลงทุนในกิจการต่อไป (พัฒนพงษ์ ภู่สุวรรณ, 2555) ดังนั้นเพื่อเกิดประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ข้อมูลทางบัญชีจึงเป็นหนึ่งในข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมากและเป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องอาศัยข้อมูลทางบัญชี เพื่อทำการตัดสินใจในการนำพาองค์กรไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน เพื่อศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชี และประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเติบโตของธุรกิจ และเป็นมาตรฐานในการบริหารจัดการการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ต่อไป
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน
สมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานข้อที่ 1: ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเข้าใจ
สมมติฐานข้อที่ 2: ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเชื่อถือ
สมมติฐานข้อที่ 3: ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความครบถ้วน
สมมติฐานข้อที่ 4: ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชีส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
วิธีวิจัย
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และนำเสนอรายงานในรูปแบบตารางประกอบความเรียง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักบัญชี ที่มีหน้าที่ในการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน ที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จึงใช้การคำนวณตามสูตรไม่ทราบจำนวนประชากรของ Cochran (Cochran, 1977; อ้างใน เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง, 2560) ที่ระดับความเชื่อมั่นประมาณ 95 % ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ ระดับ .05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ทำบัญชี
ส่วนที่ 2 ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี
ส่วนที่ 3 ประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน
แบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 จะประเมินคำตอบเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดค่าระดับ ดังนี้
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ และนำเสนอรายงานในรูปแบบตารางประกอบความเรียง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักบัญชี ที่มีหน้าที่ในการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน ที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน จึงใช้การคำนวณตามสูตรไม่ทราบจำนวนประชากรของ Cochran (Cochran, 1977; อ้างใน เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง, 2560) ที่ระดับความเชื่อมั่นประมาณ 95 % ความคลาดเคลื่อนของการสุ่มตัวอย่างที่ ระดับ .05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยการศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ทำบัญชี
ส่วนที่ 2 ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี
ส่วนที่ 3 ประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน
แบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 จะประเมินคำตอบเป็น 5 ระดับ โดยกำหนดค่าระดับ ดังนี้
ระดับการปฏิบัติ/ระดับประสิทธิภาพมากที่สุด ให้ค่าน้ำหนัก 5 คะแนน
ระดับการปฏิบัติ/ระดับประสิทธิภาพมาก ให้ค่าน้ำหนัก 4 คะแนน
ระดับการปฏิบัติ/ระดับประสิทธิภาพปานกลาง ให้ค่าน้ำหนัก 3 คะแนน
ระดับการปฏิบัติ/ระดับประสิทธิภาพน้อย ให้ค่าน้ำหนัก 2 คะแนน
ระดับการปฏิบัติ/ระดับประสิทธิภาพน้อยที่สุด ให้ค่าน้ำหนัก 1 คะแนน
การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ศึกษาได้ดำเนินการ ดังนี้
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลในส่วนนี้ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
2. ข้อมูลทุติยะภูมิ (Secondary data) โดยการหาข้อมูลด้วยการค้นคว้าจากเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ซึ่งประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Multiple Regression โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ซึ่งประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ทำบัญชี ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ
ส่วนที่ 2 ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ส่วนที่ 3 ประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. สถิติเชิงอนุมาน (inferential statistic) ประกอบด้วย Multiple Regression
สรุป
จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของนักบัญชี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีจำนวน 276 คน คิดเป็นร้อยละ 69.0 มีอายุระหว่าง 35-40 ปี จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5 มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 53.5 มีประสบการณ์ทำงานด้านบัญชี มากกว่า 15 ปี จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 – 25,000 หยวน จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5
จากการศึกษาทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี สามารถสรุปเป็นรายด้านได้ดังนี้
ด้านทักษะในการใช้เหตุผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถแก้ไข ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 รองลงมา มีการจัดลำดับความสำคัญของงานได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57
ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถเจรจาต่อรองการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากแผนกต่างๆ ภายในบริษัทได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 รองลงมา สามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานบัญชีตามระเบียบแก่ฝ่ายบริหารได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71
ด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า มีการทำรายงานสารสนเทศทางการบัญชีให้แก่ ผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 รองลงมา มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติงาน พูดคุยเจรจางานจากแผนกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43
จากการศึกษาประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน สามารถสรุปเป็นรายด้านได้ดังนี้
ด้านความเข้าใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถปฏิบัติตามกระบวนการในการจัดทำบัญชีอย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 รองลงมา สามารถใช้ข้อมูลฝนงบการเงินได้อย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.41
ด้านความเชื่อถือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถเสนอข้อมูลในงบการเงินที่ใช้ในการตัดสินใจได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 รองลงมา ปฏิบัติด้านบัญชีของกรโดยไม่ถูกทักท้วงจากผู้ตรวจสอบ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64
ด้านความครบถ้วน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถจัดทำข้อมูลในงบการเงินได้อย่างถูกต้องครบถ้วน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 รองลงมา มีการจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนขององค์กร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60
ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถเสนอการเงินเพื่อผู้บริหารในการตัดสินใจบริหารงานองค์กรได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 รองลงมา สามารถสนองการเงินเพื่อผู้ใช้อื่นไ ในการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64
จากการทดสอบสมมติฐาน สามารถสรุปได้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเข้าใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 2 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเชื่อถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 3 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 4 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน สามารถแบ่งออกได้ตามสมมติฐานทั้ง 4 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสามารถอภิปรายผล เพื่อตอบวัตถุประสงค์ได้ ดังนี้
1. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเข้าใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องทำการการวิเคราะห์สถานการณ์และประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจของกระบวนการทำบัญชีที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน ซึ่งอาจต้องทำการศึกษาจากสื่อวารสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ แสวงหาความรู้ความเข้าใจจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อช่วยให้นักบัญชีสามารถแก้ปัญหา และตัดสินใจ เพื่อใช้ดุลยพินิจที่ดีแก้ไขสถานการณ์ที่ซับซ้อนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง (2560) ได้ทำการศึกษาปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของนักบัญชีในธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า นักบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพทางด้านบัญชี เป็นอย่างดีทำให้การจัดทำบัญชีมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัฐธยาน์ หลวงยศ (2562) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพการควบคุมภายใน ของกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีในด้านต่าง ๆ ส่งผลต่อคุณภาพการควบคุมการทำบัญชีภายใน ของกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม
2. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเชื่อถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องใช้ความสามารถจูงใจ จัดแบ่งหน้าที่ของพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคน ให้สามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์การบริหารงาน ทรัพยากร และการตัดสินใจโดยใช้ทักษะในการสื่อสารบัญชีต่าง ๆ เพื่อให้งานบรรลุได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ไว้ให้ได้และมีความเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอรวรรณ เชื้อเมืองพาน ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ อมรา ติรศรีวัฒน์ และภาสวรรณ สุนทรารักษ์ (2558) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และนโยบายทางการเงินกับการจัดการกำไร พบว่า กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้าง นั่นแสดงให้เห็นว่าหากนักบัญชีบริหารบัญชีไม่น่าเชื่อถือ การเติบของยอดขายจะส่งผลให้องค์กรมีกำไรตามวัตถุประสงค์ได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของจิตติมา ขำดำ สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2562) ได้ทำการศึกษาความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด พบว่า ประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพงานบัญชีใน ด้านความเชื่อถือได้
3. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องใช้ความชำนาญในการรวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคน และทำการสื่อสารข้อมูลงบการเงินของบัญชีได้ครบถ้วน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Oladokun, SO, & Gbadegesin, JT (2017) ได้ทำการศึกษาความรู้หลักและทักษะในการปฏิบัติงานของพนักงานมืออาชีพของ บริษัท อสังหาริมทรัพย์ในไนจีเรีย พบว่า พนักงานมีทักษะการฟังและการสื่อสารที่ดี จนสามารถเขียนรายงานและการจัดการธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ สายสุทธิ์ ศศิพร (2553) ได้ทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ ก่อสร้าง และการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรพิมล ฮาร์ดแวร์ พบว่า การวางแผนการดำเนินงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ นักบัญชีเป็นบุคคลสำคัญที่จะสามารถช่วยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และลดระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างลงได้ 29 วัน จากการวางแผนการใช้วัสดุ ดังนั้นหากผู้บริหารให้ข้อมูลที่ครบถ้วยจะทำให้งบการเงินมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องใช้ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ทั้ง 3 คือ ทักษะในการใช้เหตุผล ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารบัญชี เพื่อเสนอเป็นข้อมูลตัวเลขที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย ซึ่งอาจจัดทำเป็นรายงานทางการเงินที่เป็นกราฟ เพื่อให้ผู้บริหารได้ความเข้าใจและตัดสินใจที่จะนำพาองค์กรไปสู่กำไรสูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สายสุทธิ์ ศศิพร (2553) ได้ทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ ก่อสร้าง และการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรพิมล ฮาร์ดแวร์ พบว่า การจัดทำบัญชีที่มีการวางแผนที่ดี ซึ่งสามารถใช้ควบคุมและกำหนดระยะเวลาและจำนวนแรงงานได้กับโครงการในอนาคตได้จะสามารถ เป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางในการใช้วัสดุที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเหลือเศษน้อยที่สุด จนสามารถกำหนดปริมาณวัสดุที่แน่นอนได้ ซึ่งเมื่อสามารถลดการใช้วัสดุที่ไม่จําเป็นลงได้ ก็ส่งผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ Deitiana, T. , & Habibuw, LG (2015) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทอสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย พบว่า การดำเนินงานทางการเงินที่ดีส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้บริหารได้
ข้อเสนอแนะ
1. จากการศึกษาพบว่า ทักษะในการใช้เหตุผล ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิง ดังนั้นนักบัญชีจึงควรใช้เหตุผล สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานทุกคน และมีทักษะในการสื่อสารในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงเป็นอย่างดี ดังนั้นนักบัญชีที่ดีจึงต้องเพิ่มความรู้ของตนเองที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตลอดเวลา
2. นักบัญชีควรสื่อสารให้พนักงานทุกคนทำงานได้ดีด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต
1. ควรทำการศึกษาบทบาทของนักบัญชีในอนาคต เพื่อปรับบทบาทของนักบัญชีให้ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต
2. ควรศึกษารูปแบบการจัดหลักสูตรในการพัฒนานักบัญชีในสายงานอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันเสรีที่ทวีความรุ่นแรงมากขึ้นในอนาคต
บรรณานุกรม
กรณิศา ดิษฐ์เสถียร, 2562. คุณสมบัติและกรอบความรู้นักบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี,1(1),1-10.
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (2558). จับตา ตลาดอสังหาฯ นครหนานหนิง ปี 2558. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก http://www.thaibiz.net/th/news/detail.php?ID=19376&sphrase_id=14730271. สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564.
จิตติมา ขำดำ สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ .(2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชี ของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.
ชลิดา ลิ้นจี่ กนกมณี หอมแก้ว สุภาพร บุญเอี่ยม (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการม,4(1),34-45.
ณัฐธยาน์ หลวงยศ. (2562). ความสัมพันธ์ของสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพการควบคุมภายในของกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ทวิชชัย อุรัจฉัท และชุมพล รอดแจ่ม. (2559). ความรู้และความสามารถทางวิชาชีพของนักบัญชีตาม มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานประกอบการ เขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
พัฒนพงษ์ ภู่สุวรรณ. (2555). ภาคอสังหาริมทรัพย์จีนเกิดปัญหาฟองสบู่จริงหรือ ?. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
พิมพ์ผกา แก้วดี (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะวิชาชีพที่ผู้ประกอบการต้องการตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ลักษณ์มนล์ สุวรรณแสน. (2561). ทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี การประปานครหลวง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2556). แนวโน้มตลาดอสังหาฯ
ในนครหนานหนิงยังคงเติบโตได้ดี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://thaibizchina.com/ แนวโน้มตลาดอสังหา. สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564.
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2563). นครหนานหนิงรุดหน้าการเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบของจีนกับอาเซียน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://globthailand.com/china-09102019/. สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564.
สกุณา มาอู๋. (2562). ทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สายสุทธิ์ ศศิพร. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจก่อสร้างและการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วน จำกัด พรพิมล ฮาร์ดแวร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สุธาสินี จำปาแดง. (2562). สมรรถนะของนักบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบบัญชีสารสนเทศทางการบัญชีของธุรกิจโรงแรม ในเขตภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง. (2560). ปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อรวรรณ เชื้อเมืองพาน ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ อมรา ติรศรีวัฒน์ และภาสวรรณ สุนทรารักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และนโยบายทางการเงินกับการจัดการกำไร. วารสารราชมงคลล้านนา, 3(2),22-31.
Daryanto, W., Samidi, S., & Siregar, D. (2018). The impact of financial liquidity and leverage on financial performance: Evidence from property and real estate enterprises in Indonesia. Management Science Letters, 8(12), 1345-1352.
Deitiana, T., & Habibuw, L. G. (2015). Factors affecting the financial performance of property andreal estate companies listed at Indonesia stock exchange. Asian Business Review, 5(2), 79-88.
Oladokun, S. O., & Gbadegesin, J. T. (2017). Adequacy of core knowledge and soft skills in the performance of professional employees of real estate firms in Nigeria. Property management
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลในส่วนนี้ ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยตรง
2. ข้อมูลทุติยะภูมิ (Secondary data) โดยการหาข้อมูลด้วยการค้นคว้าจากเอกสารและบทความที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ซึ่งประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Multiple Regression โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. เชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ซึ่งประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบด้วย
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ทำบัญชี ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ
ส่วนที่ 2 ทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ส่วนที่ 3 ประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. สถิติเชิงอนุมาน (inferential statistic) ประกอบด้วย Multiple Regression
สรุป
จากการศึกษาข้อมูลทั่วไปของนักบัญชี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีจำนวน 276 คน คิดเป็นร้อยละ 69.0 มีอายุระหว่าง 35-40 ปี จำนวน 154 คน คิดเป็นร้อยละ 38.5 มีระดับการศึกษา ปริญญาตรี จำนวน 214 คน คิดเป็นร้อยละ 53.5 มีประสบการณ์ทำงานด้านบัญชี มากกว่า 15 ปี จำนวน 142 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,000 – 25,000 หยวน จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 42.5
จากการศึกษาทักษะทางวิชาชีพของนักบัญชี สามารถสรุปเป็นรายด้านได้ดังนี้
ด้านทักษะในการใช้เหตุผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถแก้ไข ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.62 รองลงมา มีการจัดลำดับความสำคัญของงานได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57
ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถเจรจาต่อรองการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากแผนกต่างๆ ภายในบริษัทได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 รองลงมา สามารถให้คำแนะนำในการปฏิบัติงานบัญชีตามระเบียบแก่ฝ่ายบริหารได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71
ด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.46 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า มีการทำรายงานสารสนเทศทางการบัญชีให้แก่ ผู้บริหารได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49 รองลงมา มีความคล่องแคล่วในการปฏิบัติงาน พูดคุยเจรจางานจากแผนกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.43
จากการศึกษาประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน สามารถสรุปเป็นรายด้านได้ดังนี้
ด้านความเข้าใจ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถปฏิบัติตามกระบวนการในการจัดทำบัญชีอย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 รองลงมา สามารถใช้ข้อมูลฝนงบการเงินได้อย่างถูกต้อง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.41
ด้านความเชื่อถือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถเสนอข้อมูลในงบการเงินที่ใช้ในการตัดสินใจได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 รองลงมา ปฏิบัติด้านบัญชีของกรโดยไม่ถูกทักท้วงจากผู้ตรวจสอบ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64
ด้านความครบถ้วน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถจัดทำข้อมูลในงบการเงินได้อย่างถูกต้องครบถ้วน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 รองลงมา มีการจัดทำบัญชีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนขององค์กร อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.60
ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อแล้ว พบว่า สามารถเสนอการเงินเพื่อผู้บริหารในการตัดสินใจบริหารงานองค์กรได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 รองลงมา สามารถสนองการเงินเพื่อผู้ใช้อื่นไ ในการตัดสินใจตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.64
จากการทดสอบสมมติฐาน สามารถสรุปได้ดังนี้
สมมติฐานที่ 1 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเข้าใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 2 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเชื่อถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 3 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
สมมติฐานที่ 4 ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน สามารถแบ่งออกได้ตามสมมติฐานทั้ง 4 ข้อ ซึ่งผู้วิจัยสามารถอภิปรายผล เพื่อตอบวัตถุประสงค์ได้ ดังนี้
1. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเข้าใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องทำการการวิเคราะห์สถานการณ์และประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจของกระบวนการทำบัญชีที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีน ซึ่งอาจต้องทำการศึกษาจากสื่อวารสาร สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ แสวงหาความรู้ความเข้าใจจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อช่วยให้นักบัญชีสามารถแก้ปัญหา และตัดสินใจ เพื่อใช้ดุลยพินิจที่ดีแก้ไขสถานการณ์ที่ซับซ้อนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง (2560) ได้ทำการศึกษาปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของนักบัญชีในธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย พบว่า นักบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพทางด้านบัญชี เป็นอย่างดีทำให้การจัดทำบัญชีมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ณัฐธยาน์ หลวงยศ (2562) ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพการควบคุมภายใน ของกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า สมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีในด้านต่าง ๆ ส่งผลต่อคุณภาพการควบคุมการทำบัญชีภายใน ของกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม
2. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเชื่อถือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องใช้ความสามารถจูงใจ จัดแบ่งหน้าที่ของพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคน ให้สามารถวางแผนเชิงกลยุทธ์การบริหารงาน ทรัพยากร และการตัดสินใจโดยใช้ทักษะในการสื่อสารบัญชีต่าง ๆ เพื่อให้งานบรรลุได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ไว้ให้ได้และมีความเชื่อถือ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของอรวรรณ เชื้อเมืองพาน ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ อมรา ติรศรีวัฒน์ และภาสวรรณ สุนทรารักษ์ (2558) ได้ทำการศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และนโยบายทางการเงินกับการจัดการกำไร พบว่า กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการกำไรผ่านรายการคงค้าง นั่นแสดงให้เห็นว่าหากนักบัญชีบริหารบัญชีไม่น่าเชื่อถือ การเติบของยอดขายจะส่งผลให้องค์กรมีกำไรตามวัตถุประสงค์ได้ อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของจิตติมา ขำดำ สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (2562) ได้ทำการศึกษาความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชีของสำนักงานอัยการสูงสุด พบว่า ประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพงานบัญชีใน ด้านความเชื่อถือได้
3. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความครบถ้วน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องใช้ความชำนาญในการรวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่เกี่ยวข้องทุกคน และทำการสื่อสารข้อมูลงบการเงินของบัญชีได้ครบถ้วน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Oladokun, SO, & Gbadegesin, JT (2017) ได้ทำการศึกษาความรู้หลักและทักษะในการปฏิบัติงานของพนักงานมืออาชีพของ บริษัท อสังหาริมทรัพย์ในไนจีเรีย พบว่า พนักงานมีทักษะการฟังและการสื่อสารที่ดี จนสามารถเขียนรายงานและการจัดการธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ สายสุทธิ์ ศศิพร (2553) ได้ทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ ก่อสร้าง และการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรพิมล ฮาร์ดแวร์ พบว่า การวางแผนการดำเนินงานก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพ นักบัญชีเป็นบุคคลสำคัญที่จะสามารถช่วยลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และลดระยะเวลาในการดำเนินการก่อสร้างลงได้ 29 วัน จากการวางแผนการใช้วัสดุ ดังนั้นหากผู้บริหารให้ข้อมูลที่ครบถ้วยจะทำให้งบการเงินมีประสิทธิภาพมากที่สุด
4. ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ด้านทักษะในการใช้เหตุผล ด้านทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และด้านทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงประเทศจีนด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจเป็นเพราะผู้ทำบัญชีจะต้องใช้ทักษะทางวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชี ทั้ง 3 คือ ทักษะในการใช้เหตุผล ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารบัญชี เพื่อเสนอเป็นข้อมูลตัวเลขที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย ซึ่งอาจจัดทำเป็นรายงานทางการเงินที่เป็นกราฟ เพื่อให้ผู้บริหารได้ความเข้าใจและตัดสินใจที่จะนำพาองค์กรไปสู่กำไรสูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ สายสุทธิ์ ศศิพร (2553) ได้ทำการศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจ ก่อสร้าง และการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรพิมล ฮาร์ดแวร์ พบว่า การจัดทำบัญชีที่มีการวางแผนที่ดี ซึ่งสามารถใช้ควบคุมและกำหนดระยะเวลาและจำนวนแรงงานได้กับโครงการในอนาคตได้จะสามารถ เป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางในการใช้วัสดุที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเหลือเศษน้อยที่สุด จนสามารถกำหนดปริมาณวัสดุที่แน่นอนได้ ซึ่งเมื่อสามารถลดการใช้วัสดุที่ไม่จําเป็นลงได้ ก็ส่งผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ Deitiana, T. , & Habibuw, LG (2015) ได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทอสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย พบว่า การดำเนินงานทางการเงินที่ดีส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้บริหารได้
ข้อเสนอแนะ
1. จากการศึกษาพบว่า ทักษะในการใช้เหตุผล ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ และทักษะในการสื่อสารบัญชี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำงบการเงินของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิง ดังนั้นนักบัญชีจึงควรใช้เหตุผล สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับพนักงานทุกคน และมีทักษะในการสื่อสารในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงเป็นอย่างดี ดังนั้นนักบัญชีที่ดีจึงต้องเพิ่มความรู้ของตนเองที่เกี่ยวกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตลอดเวลา
2. นักบัญชีควรสื่อสารให้พนักงานทุกคนทำงานได้ดีด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนทางการเงินขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะสำหรับงานวิจัยในอนาคต
1. ควรทำการศึกษาบทบาทของนักบัญชีในอนาคต เพื่อปรับบทบาทของนักบัญชีให้ทันการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในอนาคต
2. ควรศึกษารูปแบบการจัดหลักสูตรในการพัฒนานักบัญชีในสายงานอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหนานหนิงเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันเสรีที่ทวีความรุ่นแรงมากขึ้นในอนาคต
บรรณานุกรม
กรณิศา ดิษฐ์เสถียร, 2562. คุณสมบัติและกรอบความรู้นักบัญชีบริหารในประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี,1(1),1-10.
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (2558). จับตา ตลาดอสังหาฯ นครหนานหนิง ปี 2558. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก http://www.thaibiz.net/th/news/detail.php?ID=19376&sphrase_id=14730271. สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564.
จิตติมา ขำดำ สุพิศ ฤทธิ์แก้ว และสมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ .(2562). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีและความเข้าใจในมาตรฐานการจัดทำบัญชีภาครัฐที่มีผลต่อประสิทธิภาพงานบัญชี ของสำนักงานอัยการสูงสุด. วารสารนักบริหาร, 39(2), 52-65.
ชลิดา ลิ้นจี่ กนกมณี หอมแก้ว สุภาพร บุญเอี่ยม (2563). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชี สำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการม,4(1),34-45.
ณัฐธยาน์ หลวงยศ. (2562). ความสัมพันธ์ของสมรรถนะทางวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณภาพการควบคุมภายในของกลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ทวิชชัย อุรัจฉัท และชุมพล รอดแจ่ม. (2559). ความรู้และความสามารถทางวิชาชีพของนักบัญชีตาม มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานประกอบการ เขตอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์
พัฒนพงษ์ ภู่สุวรรณ. (2555). ภาคอสังหาริมทรัพย์จีนเกิดปัญหาฟองสบู่จริงหรือ ?. กรุงเทพฯ: ธนาคารแห่งประเทศไทย.
พิมพ์ผกา แก้วดี (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะวิชาชีพที่ผู้ประกอบการต้องการตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ลักษณ์มนล์ สุวรรณแสน. (2561). ทักษะทางวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของนักบัญชี การประปานครหลวง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง. (2556). แนวโน้มตลาดอสังหาฯ
ในนครหนานหนิงยังคงเติบโตได้ดี. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://thaibizchina.com/ แนวโน้มตลาดอสังหา. สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564.
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. (2563). นครหนานหนิงรุดหน้าการเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบของจีนกับอาเซียน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://globthailand.com/china-09102019/. สืบค้นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564.
สกุณา มาอู๋. (2562). ทักษะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สายสุทธิ์ ศศิพร. (2553). การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจก่อสร้างและการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อวางแผนพัฒนาองค์กรเพื่อรองรับการแข่งขันในอนาคต กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วน จำกัด พรพิมล ฮาร์ดแวร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สุธาสินี จำปาแดง. (2562). สมรรถนะของนักบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบบัญชีสารสนเทศทางการบัญชีของธุรกิจโรงแรม ในเขตภาคกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง. (2560). ปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่จะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อรวรรณ เชื้อเมืองพาน ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ อมรา ติรศรีวัฒน์ และภาสวรรณ สุนทรารักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และนโยบายทางการเงินกับการจัดการกำไร. วารสารราชมงคลล้านนา, 3(2),22-31.
Daryanto, W., Samidi, S., & Siregar, D. (2018). The impact of financial liquidity and leverage on financial performance: Evidence from property and real estate enterprises in Indonesia. Management Science Letters, 8(12), 1345-1352.
Deitiana, T., & Habibuw, L. G. (2015). Factors affecting the financial performance of property andreal estate companies listed at Indonesia stock exchange. Asian Business Review, 5(2), 79-88.
Oladokun, S. O., & Gbadegesin, J. T. (2017). Adequacy of core knowledge and soft skills in the performance of professional employees of real estate firms in Nigeria. Property management