บทความ “Thailand Global Competitive Advantage & Thailand 4.0” and “Industry 4.0 Revolution and Assessment “

UploadImage
 
ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดบรรยายพิเศษโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้าน IT (NON DEGREE), RE SKILL- UP SKILL รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ณ อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม  สำหรับหลักสูตรการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจผู้บริโภคในเชิงลึก (Industries Transformation with Data Analytics and Consumer Insights)  โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ 2 คน  คือ คุณวิบูลย์ รักสาสน์เจริญผล เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรยายในหัวข้อ “Thailand Global Competitive Advantage & Thailand 4.0”  และดร.นฤกมล ภู่ขาว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม (IRDI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้พัฒนาและดูแล industry 4.0 model ของสภาอุตสาหกรรมฯ บรรยายในหัวข้อ “Industry 4.0 Revolution and Assessment“
 UploadImage

คุณวิบูลย์ บรรยายว่า ก่อนอื่นเรามาดูเรื่อง เมกะเทรนด์โลก (World Megatrends) หรือแนวโน้มทิศทางของทั่วโลกที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมได้แก่ (1).ข้อมูลประชากร (Demographics), (2).วิกฤตเศรษฐกิจ (Economic Crisis), (3). โลกาภิวัตน์ (Globalization), (4). การแบ่งปันความรับผิดชอบทั่วโลก (Sharing global Responsibility), (5).การเปลี่ยนแปลงของอากาศ (Climate change), (6). การปรับแต่งจำนวนมาก (Mass customization), (7). ความรู้ทางสังคมระดับโลก (Global knowledge society) และ (8). พลวัต เทคโนโลยี และนวัตกรรม ICT (Dynamic Technology and Innovation, ICT) ระบบอุตสาหกรรมของประเทศไทย จำเป็นต้องมีการพัฒนาในเรื่องของทรัพยากร เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมตามมูลค่าของเศรษฐกิจ Value Based Economy (S-Curve) ทั้งนี้เพื่อยกระดับรายได้ของประเทศไทยจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งได้แนวคิดมาจากอุตสาหกรรม 4.0  (Industry 4.0) ของประเทศเยอรมัน สำหรับฐานะของประเทศไทย ในตอนนี้ คือ (1). ติดกับดักรายได้ประชากรต่อหัวระดับปานกลางนานแล้ว (2).เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (3).มีอัตราการเติบโตประชากรต่ำและจะต่ำลงอีก (4).มีอัตราว่างงานต่ำมาก (5).การขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ระดับลดลง (6). การพัฒนาเทคโนโลยีอยู่ระดับปานกลางมีการนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีเป็นจำนวนมากทุกปี (7).ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศระดับที่ 32/138 (WEF 2016-2017)
           อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)  เป็นคำทีใช้เรียกแนวคิดในการนำเทคโนโลยีต่างๆ กับการบริหารจัดการการผลิตมาร่วมกันใช้งาน โดยใช้หลักการของระบบ Cyber-Physical (CPS) คือระบบอัตโนมัติหลอมรวมเข้ากับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของระบบอัตโนมัติและประมวลผลผ่าน IoT ตลอดห่วงโซ่คุณค่าหรือห่วงโซ่อุปทาน ให้ได้การผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง ลดการสูญเปล่า ลดต้นทนุการผลิต และสามารถส่งมอบสินค้าได้ในเวลาที่ลูกค้าต้องการ อุตสาหกรรม 4.0 แบ่งออกเป็น 4 ยุค คืออุตสาหกรรม 1.0 เป็นยุคเครื่องจักรไอน้ำ และพลังงานถ่านหิน เน้นเรื่องการเกษตร, อุตสาหกรรม 2.0 เป็นยุคพลังงานใหม่จากน้ำมัน ก๊าสธรรมชาติ และไฟฟ้า, อุตสาหกรรม 3.0 เป็นยุคที่มีการนำเอาไอที (Information Technology) เข้ามาใช้ในอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรม 4.0 เป็นการนำเอาโลกของการผลิตมาเชื่อมต่อกับเครือข่ายในรูปแบบ IoT โดยการทำให้ระบบต่างๆ ให้ร้อยเรียงกัน ในมุมมองอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Perspective) หมายถึง การทำไปแล้ว ต้องรู้ว่ามันจะจบที่ไหน อะไรที่ไม่รู้ว่าทำแล้วจะจบที่ไหน ไม่ต้องทำ อะไรที่ทำแล้วมีคุณค่า (Value) ควรทำ  ส่วนอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) คือ การเชื่อมอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น บริษัท Bosh ในประเทศเยอรมัน เป็นต้น การใช้ Machine เชื่อมต่อกันต้องมีภาษากลาง Bosh ได้สร้าง Protocol ของเขาขึ้นมาเรียกว่า Protocol Machine ปัจจุบันการทำ Protocol สามารถทำให้ง่ายขี้น เราสามารถเลือกใช้งานของบริษัทไหนก็ได้ แต่ต้องเลือกดูมาตรฐานและความเหมาะสม ในโลกอุตสาหกรรมมีการใช้ AR/VR กันมาก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร ไม่ใช่เพียงอาศัยรสชาติอย่างเดียว แต่ต้องมีรูปลักษณ์สีสันของอาหารที่สวยงามด้วย
           เป้าหมายหลักของประเทศไทย 4.0  (Thailand 4.0) คือ ประเทศไทยในโลกที่หนึ่ง ภายในปี พ.ศ.2575 โดยมีเป้าหมายหลักใหญ่ 3 ประการ คือ (1). ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ปัญญา เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ แยกย่อยออกเป็น การยกระดับขีดความสามารถด้าน R&D, สร้างคลัสเตอร์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม, บ่มเพาะผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยี การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์, พัฒนาวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม, พัฒนาทักษะและงานใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต, สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ (2). กระจายรายได้ โอกาสและความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียม แยกย่อยออกเป็น การยกระดับ Digital Skill, ICT Information และ Media Literacy, สร้างคลัสเตอร์เศรษฐกิจระดับกลุ่มจังหวัดและจังหวัด, พัฒนา Innovation Hubs ระดับภูมิภาค, สร้างเศรษฐกิจระดับฐานรากในชุมชน, ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม, ส่งเสริมและสนับสนุนให้ SMEs เข้มแข็งและแข่งขันได้ในเวทีโลก (3). “สังคมน่าอยู่” มี “ระบบเศรษฐกิจที่สามารถปรับสภาพตามภูมิอากาศ” แยกย่อยออกเป็น เน้นธุรกิจ การผลิต และเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, มุ่งเน้นการใช้พลังงานทดแทน, พัฒนาเมืองอัจฉริยะ และเมืองที่น่าอยู่, คำนึงถึงประโยชน์ที่ได้จากการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งระบบ (Lost Advantage), ส่งเสริมองค์กรเอกชน “คิดดี ทำดี” การพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Toward sustainability) หมายถึง ผลิตอย่างไรไม่ให้เสีย Sustainability คือ  การผลิตต้องให้เสียน้อยที่สุด ไม่ใช่เสียน้อยอย่างเดียว ต้องรักษ์โลกด้วย ส่วน  Data Analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อนำมาช่วยในการตัดสินใจในการทำธุรกิจ สำหรับ Balance Scorecard เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ สามารถนำไปใช้ได้เกือบทุกอย่าง แม้แต่ในชีวิตประจำวันของเรา นักวิจัยจากมหาวิทยาฮาร์วาร์ด เขาศึกษาว่า องค์กรจะไปรอดหรือไม่รอด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ Balance Scorecard มี 4 อย่าง คือ (1). Learning & Growth ความสามารถในการเรียนรู้ของคนในองค์กร (2). Internal Process ขจัดกระบวนการที่ซ้ำซ้อน และต้องควบคุมความโปร่งใส (3). Customers ลูกค้าพอใจหรือไม่ ถ้า Survey ใช้ไม่ได้ผล ต้องใช้การสังเกต  และ (4). Finance ความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน และเงินทุนสำรอง
          ดร.นฤกมล ภู่ขาว ในหัวข้อ “Industry 4.0 revolution and Assessment“ ที่มาของการพัฒนาแบบประเมินตนเอง (Self-assessment) คือ (1). ประเทศไทยตื่นตัวกับ “อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 )” ปี พ.ศ.2559  (2). ส.อ.ท. จัดทำแบบประเมินตนเอง (Self-assessment) ร่วมกับมหาวิทยามหิดล ดำเนินการสำรวจสถานประกอบการ จำนวน 150 กิจการ (ปี พ.ศ. 2559-2560)  (3). กสอ. และ ส.อ.ท. ได้ร่วมกันปรับปรุงแนวทางการจัดทำ Self -assessment เป้าหมาย สำรวจ 1,500 กิจการ ปี พ.ศ.2561 เมื่อจำแนกตามขนาดของกิจการ คือ ขนาดใหญ่ 30%, ขนาดกลาง 35%, และขนาดเล็ก 35%สำหรับโครงสร้างแบบประเมินตนเอง (Self-assessment) สำหรับการประเมินศักยภาพสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Industry) ดังนี้

UploadImage
 
ผลการประเมินศักยภาพสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมการผลิต (Industry) โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 2.0 เกือบทุกมิติ ส่วนข้อจำกัด และแนวทางการพัฒนาต่อยอด การออกแบบ แบบประเมินตนเอง (Self-assessment) ในครั้งนี้ ถือเป็นการนำร่อง ที่ปัจจุบันยังไม่สามารถประเมินระดับศักยภาพของภาคธุรกิจได้อย่างครอบคลุม และครบถ้วน ในการนำดัชนีชุดนี้ไปใช้ในการทำแบบประเมินตนเอง (Self-assessment).

 
บทความ โดย ผศ.สุพล  พรหมมาพันธุ์
อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม