สหกรณ์กับเศรษฐกิจอาเซียน

UploadImage
 
UploadImage

     สหกรณ์ในประเทศไทย ถือกำเนิดเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2459 โดยพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงใช้ชุมชนวัดจันทร์ตะวันออก จังหวัดพิษณุโลก รวมคนให้เป็นสหกรณ์แห่งแรกของไทย กระบวนการสหกรณ์ได้ปรับตัวเองให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงมายาวนานกว่า 98 ปี ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบางครั้งเอื้อประโยชน์ให้กับสหกรณ์ บางครั้งมีสิ่งที่ไม่อื้ออำนวยให้สหกรณ์ได้เจริญเติบโต แต่กระบวนการสหกรณ์ได้ปรับตัวเองให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมาโดยตลอด บางสหกรณ์เจริญเติบโตก้าวหน้า บางสหกรณ์ต้องล้มเลิกจากไป และมีสหกรณ์เกิดใหม่หมุนเวียน หากนำเงิน ทุนเรือนหุ้น เงินฝาก หรือทุน อื่น ๆ ของสหกรณ์มารวมกัน พบว่ามีวงเงินมากกว่างบประมาณรายจ่ายประจำปีของประเทศไทย หลายคนวิตกกังวลใจว่าสหกรณ์ต้องปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) : ASEAN ECONOMIC COMMUNITY
     จุดอ่อนของกระบวนการสหกรณ์ คือ บุคลากรในกระบวนการสหกรณ์ยังด้อยความรู้ ความสามารถ ขาดความชำนาญ ขาดความเสียสละ สินค้าและบริการของสหกรณ์ขาดการพัฒนา ขาดการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์
     จุดแข็งของกระบวนการสหกรณ์ คือ ธุรกิจสหกรณ์ มิใช่ธุรกิจแบบทุนนิยม แต่ธุรกิจของสหกรณ์เป็นธุรกิจภายใต้ หลักการ วิธีการ และอุดมการณ์ของสหกรณ์เท่านั้น โดยใช้ควบคู่กับหลักกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบ และข้อตกลงร่วมกันจากที่ประชุม
     สหกรณ์มีลูกค้าที่แน่นอน คือ สมาชิกผู้เป็นเจ้าของสหกรณ์แต่ทำอย่างไร ให้สมาชิกรู้ข้อมูลข่าวสารของสหกรณ์ พร้อมกับข่าวสารอื่น ๆ


 
ยุภารัตน์ พรประดับ
นักวิชาการเงินและบัญชี
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม