กระแสเงินสดกับสภาพคล่องทางการเงิน

UploadImage
 
UploadImage
 
      กระแสเงินสด (Cash flow) คือ การแสดงการเปลี่ยนแปลง การได้มาและการใช้จ่ายเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดที่เข้าสู่บริษัท จะเรียกว่า Cash Inflows ส่วนเงินที่ออกจากบริษัทเรียกว่า Cash Outflows  หรือถ้าจะพูดเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ การนับเงินเข้า-ออกในกิจการ ถ้าเดือนนี้เงินไหลเข้ามากกว่าไหลออก กระแสเงินสดก็จะเป็นบวก แต่ถ้าเดือนนี้เงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า กระแสเงินสดก็จะเป็นลบ โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรม
1. งบกระแสเงินสดกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) หมายถึง กิจกรรมหลักที่ก่อให้เกิดรายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการ 
     กระแสเงินสดเข้า เช่น เงินสดรับจากการขายสินค้าและการให้บริการ ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ  รับชำระหนี้จากลูกค้า และรายได้อื่น
     กระแสเงินสดออก  เช่น เงินสดจ่ายให้ผู้ขายสินค้าและบริการ จ่ายเงินเดือนแก่พนักงาน  เจ้าหนี้การค้า  และค่าใช้จ่ายอื่น
2. งบกระแสเงินสดกิจกรรมลงทุน (Investing Activities) หมายถึง การได้มาและจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวและเงินลงทุนอื่น ๆ ที่ไม่กระทบการดำเนินงาน
     เงินสดรับจากกิจกรรมลงทุน เช่น การขายที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หรือสินทรัพย์ระยะยาวอื่น  เงินสดรับจากการขายเงินลงทุน  เงินสดรับจากการคืนเงินกู้ยืมจากลูกค้า
     เงินสดจ่ายจากกิจกรรมลงทุน เช่น การซื้อที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือสินทรัพย์ระยะยาวอื่น  เงินสดจ่ายจากการซื้อเงินลงทุน  เงินสดจ่ายจากการให้ลูกค้ากู้ยืมเงิน 
3. งบกระแสเงินสดกิจกรรมการจัดหา (Financing Activities) หมายถึง กิจกรรมที่เกิดการเปลี่ยนแปลงรายการในส่วนของเจ้าของและส่วนของการกู้ยืม
     เงินสดรับจากกิจกรรมการจัดหา เช่น กู้ยืมเงิน ออกหุ้นกู้หรือตั๋วเงิน การเพิ่มทุน หรือออกหุ้นทุน
     
เงินสดรับจากกิจกรรมการจัดหา เช่น  คืนเงินกู้ยืมหรือคืนหุ้นกู้  เงินสดจ่ายจากการซื้อหรือถอนหุ้นทุนการจัดทำงบกระแสเงินสด  ทำให้สามารถรู้ถึงสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจว่าธุรกิจสามารถจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาในอนาคต
 

ตรีนุช  บุรินรัมย์
เจ้าหน้าที่บัญชี บริษัท เบอร์โก จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม