ลีสซิ่งและเช่าซื้อต่างกันอย่างไร

UploadImage
 
UploadImage
 
1. ระยะเวลาสัญญาเริ่มต้น
    ลีสซิ่ง  เพื่อเช่าใช้งานระยะยาว ทำสัญญา 3 ปีขึ้นไป 
    เช่าซื้อ เพื่อเป็นเจ้าของ ทำสัญญา 1 ปีขึ้นไป
2. การเป็นเจ้าของเมื่อครบสัญญา
    ลีสซิ่ง  เมื่อครบสัญญา สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นเจ้าของ เช่าต่อ หรือคืนเครื่อง 
    เช่าซื้อ เมื่อครบสัญญาจะเป็นเจ้าของทันที ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
3. เหมาะกับเครื่องจักรประเภทใด
    ลีสซิ่ง  เหมาะกับ คอมพิวเตอร์และไอที เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ต้องการมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเพราะเทคโนโลยีพัฒนาไปเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ ลีสซิ่งมี สัญญาเช่าดำเนินงาน ให้เลือก เพียงแค่เช่าใช้งานเท่านั้น เมื่อครบสัญญา ก็คืนเครื่อง เมื่อไม่ได้เป็นเจ้าของ ก็สามารถทำสัญญาใหม่กับเครื่องที่ทันสมัยขึ้นได้
    เช่าซื้อ เหมาะกับเครื่องจักรใช้ได้นาน ถ้าเครื่องจักรที่คุณต้องการมีอายุการใช้งานนานและประเภทธุรกิจไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก การเช่าซื้อที่เป็นเจ้าของทันทีเมื่อครบสัญญาจะตอบโจทย์มากกว่า
4. การลดหย่อนภาษี
   ลีสซิ่ง ลดได้มากกว่า เป็นสัญญาเช่า ซึ่งค่าเช่ารายเดือนถือเป็นค่าใช้จ่าย 100% ใช้ลดหย่อนภาษีตาม
กฎหมายได้มากกว่าค่าเสื่อมราคาต่อปีรวมดอกเบี้ยในกรณีที่เป็นสินทรัพย์
   เช่าซื้อ ลดได้น้อยกว่า แม้ยังไม่ได้เป็นเจ้าของที่แท้จริง แต่เครื่องจักรในสัญญาจะถือเป็นสินทรัพย์ของธุรกิจตั้งแต่เริ่ม สิ่งที่นำมาคำนวณภาษีจึงไม่ใช่ค่าเช่า แต่เป็นค่าเสื่อมรวมดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งจะใช้ ลดหย่อนภาษีได้น้อยกว่า
5. แบบไหนเหมาะกับใคร
   ลีสซิ่ง เหมาะกับ ธุรกิจที่มีกำไร / ธุรกิจใหม่
- ธุรกิจที่คืนทุนและมีกำไรแล้ว ซึ่งต้องการเครื่องจักรเพิ่ม
- ผู้ที่เริ่มธุรกิจใหม่ ซึ่งต้องการทั้งที่ดิน อาคาร เครื่องจักร โดยใช้เงินกู้ระยะยาวไปกับการลงทุนที่ดินและอาคารแล้วจึงควรใช้ลีสซิ่ง กับเครื่องจักรเพื่อนำเงินทุนที่มีไปใช้หมุนเวียนแทน
- ธุรกิจซึ่งใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น
   เช่าซื้อ เหมาะกับ ธุรกิจ SME ขนาด​เล็ก
- SME รายเล็ก ที่ต้องการเป็นเจ้าของเครื่องจักร และยังมีภาระหนี้กับภาระภาษีไม่มากนัก
- ธุรกิจซึ่งใช้เครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานนาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย

 
ณัชริกาญจน์  เธียรวรนันท์
ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบัญชีการเงิน
บริษัท คอนแทคกรุ๊ฟ จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม