สูตร (ไม่) ลับการคำนวณเงินเพิ่ม/เบี้ยปรับ ในการยื่น ภ.ง.ด. และ ภ.พ. 30 ของนักบัญชียุค 4.0
17
Apr
ในการเขียนบทความเรื่องนี้ซึ่งเป็นประสบการณ์มาจากการทำงานของผู้เขียนเองและเห็นว่าบางบริษัทหรือบางท่านอาจลืมสูตรในการคำนวณเงินเพิ่ม/เบี้ยปรับในการยื่น ภ.ง.ด. และ ภ.พ. 30 ผู้เขียนเลยอยากเขียนให้เห็นภาพเมื่อมีการบันทึกบัญชีทางด้านภาษีผิดพลาดจะมีวิธีแก้ไข ดังนี้
เบี้ยปรับ คือ เงินที่ต้องชดเชยความเสียหายให้แก่ภาครัฐ ส่วนเงินเพิ่ม คือ เงินที่เร่งรัดให้ผู้เสียภาษีจ่ายภาษี ให้ถูกต้องโดยเร็ว โดยเบี้ยปรับจะถูกแบ่งเป็น 2 กรณีคือ เคยยื่นแบบเพิ่มเติมแล้วกับยังไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน และในกรณีที่ไม่เคยยื่นแบบมาก่อนจะโดนค่าปรับเพิ่มไปอีก ส่วนเงินเพิ่มจะคิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น
การคำนวณเงินเพิ่มกรณียื่น ภ.ง.ด.
กรณียื่นเพิ่มเติม
เงินเพิ่มคำนวณจาก ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน) กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 50, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 51 คำนวณจากยอดภาษีที่ต้องชำระ x 20%
กรณียื่นปกติ (เกินกำหนดเวลา)
เงินเพิ่มคำนวณจาก
ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน)
ค่าปรับแบบ
- ยื่นภายใน 7 วันหลังจากครบกำหนดยื่น (วันที่ 7) แบบละ 100 บาท กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 50 หรือ 51 = 1,000 บาท
- ถ้าเกิน 7 วันขึ้นไป แบบละ 200 บาท กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 50, 51 = 2,000 บาท
การคำนวณเบี้ยปรับ เงินเพิ่มในการยื่น ภ.พ. 30
กรณียื่นเพิ่มเติม (ยื่นปกติครั้งแรกภายในกำหนดเวลา)
เงินเพิ่มคำนวณจาก
ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน) กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 50, 53 ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 51 คำนวณจากยอดภาษีที่ต้องชำระ x 20%
ค่าปรับแบบ
ภาษีขาย x (อัตรา %)
กรณียื่นปกติ (เกินกำหนดเวลา) (ยื่นเพิ่มเติมแต่ยื่นปกติครั้งแรกเกินกำหนดเวลา)
เงินเพิ่มคำนวณจาก
ยอดที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน)
ค่าปรับแบบ
ยอดที่ต้องชำระ x (อัตรา %) x 2 เท่า
ค่าปรับแบบ
ยื่นแบบภายใน 7 วันหลังจากครบกำหนดยื่น (วันที่ 15) 300 บาท ถ้าเกิน 7 วันขึ้นไป 500 บาท
กรณียื่นเพิ่มเติม (ยื่นปกติครั้งแรกภายในกำหนดเวลา)
1-15 วัน = 2%
16-30 วัน = 5%
31-60 วัน = 10%
61 วันขึ้นไป = 20%
สรุป ในการยื่น ภ.ง.ด. และ ภ.พ. 30 คือ สำหรับนักบัญชีมือใหม่หรือรุ่นเก๋าอาจมีการบันทึกบัญชีผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แต่ทุกอย่างมีทางออกเสมอผู้เขียนจึงนำบทความเรื่องนี้มาเขียนเพื่อเป็นประโยชน์และเพื่อเป็นการทบทวนความจำของท่านเมื่อมีการทำเอกสารผิดพลาดทางด้านภาษี และสุดท้ายนี้ผู้เขียนมีความหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักบัญชีหรือผู้สนใจอ่านบทความนี้
อดิศร เกษหอม
นักบัญชีฝ่ายบัญชีและการเงิน
บริษัท แอล เอส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
นักบัญชีฝ่ายบัญชีและการเงิน
บริษัท แอล เอส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม