การพิจารณางบการเงินเพื่อการวางแผนภาษี
16
Apr
ในฐานะที่พวกเราเป็นเจ้าของธุรกิจ SMEs ควรจะต้องนำข้อมูลจากรายงานทางบัญชีมาพิจารณาเพื่อประกอบการวางแผนภาษีธุรกิจประจำปี โดยกิจการจะสามารถปรับปรุงบัญชีต่าง ๆ ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม นอกจากนี้หากท่านเจ้าของธุรกิจละเลย ไม่ได้ดูตัวเลขทางบัญชี อาจทำให้ไม่สามารถกลับมาแก้ไข หรือ ปรับปรุงบัญชี เพื่อวางแผนภาษีของธุรกิจได้ อาจจะนำไปสู่เรื่องของการเสียภาษีที่มากเกินความจำเป็นก็เป็นไปได้
สิ่งที่เจ้าของธุรกิจ SMEs ต้องพิจารณาตัวเลขรายงานต่าง ๆ จากทางบัญชีของธุรกิจ มีดังนี้
รายได้ :
1) รายได้จากธุรกิจหลัก
2) รายได้จากธุรกิจอื่น ๆ
รายจ่าย :
1) รายจ่าย ต้นทุนสินค้าและบริการ
2) รายจ่าย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงาน
3) รายจ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้
ทั้งนี้ อัตราภาษีนิติบุคคล SMEs : ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5,000,000 บาท และ ยอดขาย ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
กำไร 0 – 300,000 บาท : ยกเว้นภาษีเงินได้
กำไร 300,001 – 3,000,000 บาท : เสียภาษี 15%
กำไร 3,000,001 บาทขึ้นไป : เสียภาษี 20%
อัตราภาษีนิติบุคคล ปกติ อัตราภาษี 20% ของผลกำไร
การพิจารณางบการเงินช่วยทำให้เจ้าของธุรกิจ SMEs จะสามารถพยากรณ์ได้ทันทีว่า ปีนี้ จะจ่ายภาษีเท่าไร ซึ่งขึ้นกับผลกำไรที่เกิดขึ้น ถ้ามีกำไรมากเสียภาษีมาก ถ้ามีกำไรน้อยเสียภาษีน้อย
ประเทศไทย ไม่ได้เสียภาษีจากรายได้ แต่เสียภาษีจากผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งในส่วนนี้ มีเจ้าของธุรกิจหลากหลายท่านมาก ที่เข้าใจผิดมาโดยตลอดว่าเสียภาษีจากรายได้ ถ้ายื่นรายได้ครบเดี๋ยวจะเสียภาษีเยอะ ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงครับ
หลังจากที่ดูตัวเลขทางบัญชีแล้ว ให้นำมาเปรียบเทียบกับเงินสดที่เกิดขึ้นในธุรกิจด้วยว่าสอดคล้องกันหรือไม่ รายได้บันทึกครบไหม? รายจ่ายที่เกิดขึ้นตามที่จ่ายเงินออกไปจริง บันทึกครบเรียบร้อย? หลายกิจการพลาดตรงที่บันทึกรายจ่ายจริง ๆ ไม่ครบ จ่ายเงินออกไปแล้วแต่ไม่ได้บันทึกรายจ่ายในทางบัญชี อาจจะเป็นเพราะว่าเอกสารทางบัญชีไม่ถูกต้อง หรือไม่มีใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี ที่ถูกต้องมาแสดงให้กับฝ่ายบัญชีเพื่อลงบันทึกบัญชีตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ จุดนี้ทำให้เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ ท่าน เสียหาย จากการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่ครบถ้วน ก็เป็นมาบ่อย ๆ ครั้งแล้ว
สิ่งที่เจ้าของธุรกิจ SMEs ต้องพิจารณาตัวเลขรายงานต่าง ๆ จากทางบัญชีของธุรกิจ มีดังนี้
รายได้ :
1) รายได้จากธุรกิจหลัก
2) รายได้จากธุรกิจอื่น ๆ
รายจ่าย :
1) รายจ่าย ต้นทุนสินค้าและบริการ
2) รายจ่าย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงาน
3) รายจ่าย ดอกเบี้ยเงินกู้
ทั้งนี้ อัตราภาษีนิติบุคคล SMEs : ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5,000,000 บาท และ ยอดขาย ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี
กำไร 0 – 300,000 บาท : ยกเว้นภาษีเงินได้
กำไร 300,001 – 3,000,000 บาท : เสียภาษี 15%
กำไร 3,000,001 บาทขึ้นไป : เสียภาษี 20%
อัตราภาษีนิติบุคคล ปกติ อัตราภาษี 20% ของผลกำไร
การพิจารณางบการเงินช่วยทำให้เจ้าของธุรกิจ SMEs จะสามารถพยากรณ์ได้ทันทีว่า ปีนี้ จะจ่ายภาษีเท่าไร ซึ่งขึ้นกับผลกำไรที่เกิดขึ้น ถ้ามีกำไรมากเสียภาษีมาก ถ้ามีกำไรน้อยเสียภาษีน้อย
ประเทศไทย ไม่ได้เสียภาษีจากรายได้ แต่เสียภาษีจากผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจ ซึ่งในส่วนนี้ มีเจ้าของธุรกิจหลากหลายท่านมาก ที่เข้าใจผิดมาโดยตลอดว่าเสียภาษีจากรายได้ ถ้ายื่นรายได้ครบเดี๋ยวจะเสียภาษีเยอะ ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงครับ
หลังจากที่ดูตัวเลขทางบัญชีแล้ว ให้นำมาเปรียบเทียบกับเงินสดที่เกิดขึ้นในธุรกิจด้วยว่าสอดคล้องกันหรือไม่ รายได้บันทึกครบไหม? รายจ่ายที่เกิดขึ้นตามที่จ่ายเงินออกไปจริง บันทึกครบเรียบร้อย? หลายกิจการพลาดตรงที่บันทึกรายจ่ายจริง ๆ ไม่ครบ จ่ายเงินออกไปแล้วแต่ไม่ได้บันทึกรายจ่ายในทางบัญชี อาจจะเป็นเพราะว่าเอกสารทางบัญชีไม่ถูกต้อง หรือไม่มีใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี ที่ถูกต้องมาแสดงให้กับฝ่ายบัญชีเพื่อลงบันทึกบัญชีตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ จุดนี้ทำให้เจ้าของธุรกิจหลาย ๆ ท่าน เสียหาย จากการบันทึกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไม่ครบถ้วน ก็เป็นมาบ่อย ๆ ครั้งแล้ว
อภิวัฒน์ หวังมีชัย
ที่ปรึกษาการเงิน บัญชี ภาษี
บริษัท บนกองเงินกองทอง จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ที่ปรึกษาการเงิน บัญชี ภาษี
บริษัท บนกองเงินกองทอง จำกัด
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม