บทความ : Smart Manufactory and Automation Tools

UploadImage
 
เมื่อเร็วๆนี้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดบรรยายพิเศษโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ด้าน IT (NON DEGREE), RE SKILL- UP SKILL รุ่นที่ 2 ปีการศึกษา 2563 สำหรับหลักสูตรการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลและเข้าใจผู้บริโภคในเชิงลึก (Industries Transformation with Data Analytics and Consumer Insights)  โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ   คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ก่อศักดิ์ อาชวากรจาก Industrial Revolution Co., Ltd. (iRev)ผู้เชี่ยวชาญด้าน Industry 4.0 และระบบ Automation  บรรยายในหัวข้อ “Smart Manufactory and Automation Tools” ซึ่งมี 3 Parts ด้วยกัน ขอสรุปประมวลความได้ดังต่อไปนี้

UploadImage
 
ดร.ก่อศักดิ์ ได้บรรยายว่า โครงร้างของเนื้อหาของการแปลงดิจิทัลในกระบวนการทางธุรกิจ (Digital Transformation in Business Process)  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 Parts ด้วยกัน คือ Part 1 Digital Transformation Principle, Part 2 Automation Industry 4.0 และ Part 3 Digital Transformation “Practice and Road Map” ในช่วงแรกนี้ ขอกล่าวถึง Part 1 Digital Transformation Principle ดร.ก่อศักดิ์ ได้ยกกรณีศึกษาของบริษัทจอห์นเดียร์ (John Deere) ประสบความสำเร็จโดยการนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในการเกษตร  บริษัท John Deere ได้ใช้ Amazon Web Service (AWS) Cloud บริษัท  John Deere ได้ช่วยให้เกษตรกรได้ทำการพัฒนาฟาร์มของพวกเขาแบบทันทีทันใด (Real Time) ไม่ว่าจะเป็นการเพราะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาผลผลิตของบริษัทของพวกเขา ซึ่งเทคโนโลยี AWS ก็จะอำนวยความสะดวกให้อย่างครบครับซึ่งประกอบไปด้วย (1). ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), (2). สามารถจัดการได้อย่างทันทีทันใด (Real-Time), (3). ประสิทธิภาพการผลิตมีมากขึ้น (More Efficiency on Production), และ (4). การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) นอกจากนั้น John Deere ยังใช้ IoT Tech Expo: เขามาช่วยด้วยเกษตรกรในอเมริกาเหนือ จนทำให้จอห์นเดียร์กลายเป็นผู้นำทางด้านการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี IoT
 
UploadImage
Photo credit; https://iot.do/iot-tech-expo-agriculture-iot-2016-08
 
ในปัจจุบันพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป เช่น อยากได้เดี๋ยวนี้ เวลานี้ เป็นต้น  ต้องใช้เทคโนโลยี CRM เข้ามาช่วย ตอบโจทย์ในเรื่องนี้ หรือเรื่องแก๊ส จะเติมเมื่อใด ใกล้จะหมดหรือยัง CRM จะช่วยตอบโจทย์ในเรื่องเหล่านี้ได้ คราวนี้ต้องพิจาณาว่า CRM จะดูแลอย่างไรเพื่อให้มีความทั่วถึงเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง (Inventory) เมื่อกล่าวถึงองค์กร เครื่องจักรอัตโนมัติจะเข้ามาแย่งงานหรือเปล่า คงอีกนานกว่าที่จะเข้ามาแทนที่คนได้  หากมีความคิดแบบนี้จะอยู่ในเขตความสะดวกสบาย (Comfort Zone) แสดงว่า ยังไม่พร้อมที่จะออกไป เหมือนกับอีกหลายบริษัท เช่น Kodak, BlackBerry, Nokia, Polaroid  เป็นต้น ได้ทำการปิดตัวไป ดังนั้น องค์กรจะต้องพร้อมที่จะออกไปสู่เขตของการต่อสู้ หรือสนามรบ (Combat Zone) โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยถึงจะอยู่รอดได้
         
ยุคของดิจิทัลกำลังก้าวเข้ามา (Digital Era is Coming) ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์ (Charles Robert Darwin) เคยกล่าวไว้ว่า วิวัฒนาการ หรือตาย (Evolve or Die) "ไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่แกร่งที่สุด และไม่ใช่เผ่าพันธุ์ที่ฉลาดที่สุด แต่เป็นเผ่าพันธุ์ที่สามารถปรับตัวได้ดีที่สุดเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้ (It is not strongest, nor the most intelligent of the species that survives. It is the one that is the most adaptable to change.)”
 
Digital Transformation เป็นคำที่มีผู้คนพูดถึงกันมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะการพูดถึงของ Smart ต้องเน้นลงไปตรงที่ว่า ทำอย่างไร จะทำให้ได้กำไรสูงสุด เช่น การกู้เงินมาลงทุน ถ้ามีหนี้สินมากกำไรก็ได้น้อย มีความเสี่ยงสูงที่จะขาดทุน ควรจะต้องนำ Data Analytics มาใช้เพื่อทำการวิเคราะห์ว่า มีสินค้าค้างอยู่ในสต็อกหรือเปล่า เอาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ และที่สำคัญต้องมีข้อมูลที่มากพอเพื่อจะนำมาทำการวิเคราะห์ได้ สำหรับการแก้ปัญหาโดยใช้ Data Analytics นั้น ต้องมีการแยกแยะ Classification และ Clustering ใช้แยกกลุ่มประชากรเป็น Micro segment เพื่อเข้าใจปัญหาและความต้องการ (Pain and Gains) ของสมาชิก นำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิผล สำหรับการทำธุรกิจไมโครข้ามชาติ (Micro-Multinationals) นั้น เริ่มต้นต้องเปิดใช้งานโดยเครื่องมือสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตทันที บริษัทข้ามชาติสายพันธุ์ใหม่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนมากเป็นธุรกิจขนาดเล็ก เครื่องมืออินเทอร์เน็ตอย่าง Google,Yahoo, MSN, Ebay และ Amazon ช่วยทำให้การทำธุรกิจข้ามชาติสามารถทำได้ง่ายขึ้น ทำให้มีโอกาสได้ลูกค้าใหม่ๆ จากประเทศอื่นๆ เพิ่มขึ้นด้วย
 
การใช้ Data Analytics ต้องเน้นไปที่การสร้างมูลค่าส่วนบุคคล (Value Creation/Personalization)  โดยอาศัยข้อมูลประวัติย่อส่วนบุคคลจากสื่อสังคมออนไลน์, ประวัติการอปปิ้ง, และกิจกรรมในการช้อปปิ้ง จัดบริการพิเศษให้เฉพาะตัวบุคคล เช่น โปรโมชั่นส่วนบุคคล และที่สำคัญอีกประการหนึ่งต้องมีการเน้นไปที่การปรับแต่ง (Customization) ด้วย เช่น รถยนต์ 1 คัน ต้องเปลี่ยนอะไรบ้าง พวงมาลัย เบาะหลัง ถ้าเป็น Eco Car อาจจะเลือกมากไม่ค่อยได้ แต่หากเป็น Luxury Car สามารถเลือกได้ เพราะทำด้วยมือ ตัวอย่างเช่น แบรนด์รถยนต์ โรลส์-รอยซ์ (Rolls Royce)  สามารถทำ Customize ได้ทุกอย่าง และต้นทุนสูงมากในการทำ Customization รถมีปัญหาอะไร ก็ทำตรงนั้น แม้ต้นทุนสูงเป็นล้านก็ต้องทำและลงทุน หรืออีกตัวอย่างหนึ่งของการทำ Personalization คือ บะหมี่ดำของเกาหลี หรือมาม่าเกาหลี ตราไก่ มีสีดำมาก แต่ก็ยังมีคนนิยมกินกันมากด้วย การทำการตลาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ใน Facebook และ IG การทำการตลาดก็มีความแตกต่างกัน ความต้องการของมนุษย์นั้น เทคโนโลยีต้องตอบสนองได้ ในช่วงนี้ นับว่าเป็นโอกาสของ SMEs สามารถที่จะเติบโตได้และ SMEs ต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยเพื่อขยายตลาดไปทั่วโลก เพราะปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าการทำธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไป การทำธุรกิจข้ามชาติก็เช่นเดียวกันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การบริการเรื่องของ Supply Chain ก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป SMEs ต้องปรับตัวอย่างมากถึงจะอยู่รอดได้ เปรียบเสมือนฝูงปลาปิลันย่า ไม่ว่าจะเป็นตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้
 
ธุรกิจรูปแบบใหม่ (The New Business Model) การยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) นับว่าเป็นหัวใจของธุรกิจ การทำการตลาดก็ต้องยึดลุกค้าเป็นศูนย์กลางเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้า, จากการประมวลผลรายการทางธุรกิจสู่ความสัมพันธ์, การรู้จักตลาดของตนเองถึงการรู้จักลูกค้าของตนเองว่าคือใครนั่นก็คือการรู้จักรายละเอียดส่วนย่อยของการทำการตลาด (Midro-Segment) เช่น ถ้าเป็นลูกค้ากลุ่มวัยรุ่น อาจจะใช้ IG ในการทำตลาดย่อมดีกว่าและต้องรู้ว่าพวกเขาชอบอะไร ดูอะไร และซื้ออะไร หรือถ้าหากเป็นลูกค้าเป็นคนมีอายุอาจต้องใช้ Facebook  สิ่งที่สำคัญต้องรู้จักตลาด เช่น

(1). รู้จักลูกค้า ต้องรู้ว่าจะขายของช่องทางไหน (2). ฝั่งการผลิต ต้องรู้ว่ากระบวนการที่ใช้ผลิตคืออะไร, ผลิตอะไร ทำอะไรในโรงงาน, Partner คือใคร, ทรัพยากรต้องมีอะไรบ้าง ต้องรู้ว่าทรัพยากรของเราคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน วัตถุดิบ ค่าแรง ค่าเสื่อมราคา เมื่อเทคโนโลยีเข้ามา ทำให้เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ การนำเสนอให้แก่ลูกค้าก็เปลี่ยน ไม่ว่าจะขายอะไร เช่น ขายเสื้อผ้า ต้องขายด้วยความมั่นใจและวิเคราะห์ลูกค้าเป็น ต้องสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ติดต่อลุกค้าได้ไม่ว่าจะเป็นทางอีเมล หรือใช้วิธีการทำงานร่วมกับลูกค้า (Collaboration System) การผลิตสินค้าต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างการขายสินค้าของเกาหลี เขาจะมีตู้ขายสินค้าเหมือนขายของในตลาด และติดบาร์โค๊ดที่สินค้า เมื่อเวลาลูกค้าซื้อสินค้าก็ใช้สมาร์โฟนสแกนที่บาร์โค๊ดก็สามารถซื้อสินค้าได้สะดวกรวดเร็ว เนื่องจากลูกค้าไม่ค่อยมีเวลา เพราะความเร่งรีบต่างๆ และลูกค้าเดี๋ยวนี้มักใช้สินค้าไม่นาน และเปลี่ยนสินค้าบ่อย นอกจากนี้ ยังต้องปรับแต่งกระบวนการ, การจัดการห่วงโซ่อุปทาน, การลดต้นทุน, การจัดการค่าใช้จ่าย, การทำบัญชีออนไลน์ และการจัดการไหลเวียนของกระแสเงินสด เป็นต้น สำหรับแนวคิดการทำ Digital Transformation นั้น คือการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า และผู้บริโภคเป็นสำคัญ  ต่อมาขอกล่าวถึง องค์ประกอบที่สำคัญของรูปแบบธุรกิจ (Business Model) เนื่องจากรูปแบบธุรกิจ ถือว่าเป็นพิมพ์เขียว (Blueprint) ของยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ นั่นคือการดำเนินการผ่านโครงสร้างขององค์กร กระบวนการ และระบบ ซึ่งเน้นไปที่หลักการ คือ (1). ข้อเสนอแห่งคุณค่า (Value Proposition) เป็นข้อเสนอที่ธุรกิจจัดทำขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และการแก้ปัญหาให้กับลุกค้า (2).สูตรแห่งกำไร (Profit Formula) เป็นวิธีที่ธุรกิจที่ตั้งใจจะหารายได้ และกำไรจากข้อเสนอแห่งคุณค่า และ (3). ทรัพยากรหลัก/กระบวนการหลัก (Key Resources/Key Processes) เป็นมาตรการที่ธุรกิจเตรียมไว้ เพื่อทำให้ข้อเสนอแห่งคุณค่าบรรลุผลแก่ลูกค้าได้
 
          ดังนั้น การทำธุรกิจรูปแบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนความรู้ เพื่อเปลี่ยนเกม จากเดิมที่เน้นผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นศูนย์กลางปรับเปลี่ยนไปสู่การเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การเน้นผลิตภัณฑ์สินค้าเป็นศูนย์กลาง (Product Centric) คือ การให้ความสำคัญของตัวสินค้า รวมทั้งการบริการแบบเดิมที่ถือเป็นสินค้าประเภทไม่มีตัวตน ผู้ผลิตหรือผู้บริการ ยึดเงื่อนไขของตัวเองเป็นตัวตั้ง ส่วนการเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) คือ การเน้นคุณค่าของลูกค้าเป็นตัวตั้ง ผู้ผลิตและผู้ให้บริการ ให้ความสำคัญที่จะแก้ปัญหา และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า.
 
 
บทความ Smart Manufactory and Automation Tools
โดย ผศ.สุพล  พรหมมาพันธุ์
อาจารย์ที่ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม