6 หลักการบริหารงบประมาณที่ดีของหน่วยงานราชการ
08
Dec
การบริหารงบประมาณ เป็นกระบวนการที่สำคัญในการปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานราชการ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามกระบวนการสร้างคุณค่าของทุกหน่วยงาน บนพื้นฐานแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนและ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีความเป็นเอกภาพและเป็นปัจจุบัน อีกทั้งยังเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ในองค์กรให้มีความยั่งยืน โดยมี หลักในการบริหารงบประมาณที่ดี ดังนี้
1. หลักคาดการณ์ไกล การบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้นต้องใช้กระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้กับผลงานที่เกิดขึ้นว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร ทำให้หน่วยงานของรัฐได้รับข้อมูลทางการเงิน และการจัดการที่บ่งบอกถึงผลผลิต (Outputs) และเชื่อมโยงผลลัพธ์ (Outcomes) ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล จึงต้องมีมาตรฐานการจัดการทางการเงินที่เป็นกลไกขับเคลื่อนให้การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หลักประชาธิปไตย การบริหารงบประมาณต้องสอดคล้องกับความต้องการของส่วนรวมหรือประชาชน/กลุ่มเป้าหมาย (Focus Group) ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดประโยชน์ในสถานศึกษาต้องให้ผู้บริหารของหน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงานตนเองที่ส่งเสริมการจัดการองค์กรให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาในระดับขั้นพื้นฐานที่สนองเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
3. หลักสมดุล การบริหารงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐนั้น งบประมาณส่วนมากมาจากรัฐบาลที่เป็นเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ นั่นหมายถึง ผู้บริหารต้องมีการบริหารจัดการที่สมดุล ระหว่างรายรับกับรายจ่ายของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการตามหลักการขององค์กร
4. หลักยุติธรรม ต้องมุ่งเน้นภารกิจหรือพันธกิจของหน่วยงาน และขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ บนความเสมอภาค
5. หลักสารัตถประโยชน์ ต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่มีทั้งผลผลิตและผลลัพธ์
6. หลักประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม ตามสัญญาเป้าหมายที่หน่วยงานได้ตั้งไว้
ทั้งนี้ การบริหารงบประมาณเกี่ยวข้องกับการอนุมัติจัดสรรงบประมาณ การโอนเปลี่ยนแปลงรายการ และการกันเงินเหลื่อมปีการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณด้วยเช่นกัน
1. หลักคาดการณ์ไกล การบริหารงบประมาณให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลนั้นต้องใช้กระบวนการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากรที่ใช้กับผลงานที่เกิดขึ้นว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร ทำให้หน่วยงานของรัฐได้รับข้อมูลทางการเงิน และการจัดการที่บ่งบอกถึงผลผลิต (Outputs) และเชื่อมโยงผลลัพธ์ (Outcomes) ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐบาล จึงต้องมีมาตรฐานการจัดการทางการเงินที่เป็นกลไกขับเคลื่อนให้การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. หลักประชาธิปไตย การบริหารงบประมาณต้องสอดคล้องกับความต้องการของส่วนรวมหรือประชาชน/กลุ่มเป้าหมาย (Focus Group) ที่รัฐบาลต้องการให้เกิดประโยชน์ในสถานศึกษาต้องให้ผู้บริหารของหน่วยงานราชการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการงบประมาณของหน่วยงานตนเองที่ส่งเสริมการจัดการองค์กรให้มีคุณภาพ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาในระดับขั้นพื้นฐานที่สนองเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
3. หลักสมดุล การบริหารงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐนั้น งบประมาณส่วนมากมาจากรัฐบาลที่เป็นเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ นั่นหมายถึง ผู้บริหารต้องมีการบริหารจัดการที่สมดุล ระหว่างรายรับกับรายจ่ายของหน่วยงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการตามหลักการขององค์กร
4. หลักยุติธรรม ต้องมุ่งเน้นภารกิจหรือพันธกิจของหน่วยงาน และขีดความสามารถในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการอย่างบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ บนความเสมอภาค
5. หลักสารัตถประโยชน์ ต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่มีทั้งผลผลิตและผลลัพธ์
6. หลักประสิทธิภาพ ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคม ตามสัญญาเป้าหมายที่หน่วยงานได้ตั้งไว้
ทั้งนี้ การบริหารงบประมาณเกี่ยวข้องกับการอนุมัติจัดสรรงบประมาณ การโอนเปลี่ยนแปลงรายการ และการกันเงินเหลื่อมปีการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณด้วยเช่นกัน
--------------------
คุณณฐพล เงินสวาท
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
คุณณฐพล เงินสวาท
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม