4 แนวทางการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ

UploadImage
 
UploadImage
 
     การซื้อ เป็นการซื้อพัสดุทุกชนิดทั้งที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ แต่ไม่รวมถึงการจัดหาพัสดุในลักษณะการจ้าง
     การจ้าง เป็นการจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการจ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างลูกจ้างของส่วนราชการตามระเบียบของกระทรวงการคลัง การรับขนในการเดินทางไปราชการตามกฎหมายว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
     สำหรับการพัสดุ เป็นการจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบดังกล่าว จึงเห็นได้ว่าการจัดซื้อจัดจ้างเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนแต่เฉพาะการซื้อและการจ้างซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัสดุเท่านั้น ไม่รวมถึงการดำเนินการอื่น ๆ อาทิ การจ้างที่ปรึกษา การแลกเปลี่ยน การจำหน่าย ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเป็นการควบคุมกระบวนการพัสดุทั้งระบบของหน่วยงานภาครัฐมากกว่าการจัดซื้อจัดจ้าง โดยมีแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกระบวนกการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนี้
     1. ดำเนินการจัดแนวทางขั้นตอนปฏิบัติ และแบบฟอร์มให้ชัดเจน และประชุมชี้แจงแนวทาง ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
     2. ในปีงบประมาณมีแผนพัฒนาองค์ความรู้และทักษะ เรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต่อเนื่องในกลุ่มหัวหน้างาน ผู้รับผิดชอบพัสดุรายใหม่ และลงพื้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาเป็นรายกรณี และเร่งรัด ติดตามในการจัดหาพัสดุการจ้างงาน และการซ่อมบำรุงต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ
     3. การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการระดับหน่วยงาน ในสังกัดสำนักงาน ประจำปีงบประมาณ
     4. วางแผนและดำเนินการตามแผน และก ำกับติดตามเป็นรายเดือนตามแบบรายงาน สขร.1 และ มีกำหนดแต่งตั้งคณะทำงานผู้รับผิดชอบการการดำเนินงานตามภารกิจที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องการการ ดำเนินงานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
 
--------------------
สิบโทหญิง สุธาสินี  จำปาแดง
เสมียนจัดซื้อ โรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบก
นักศึกษาหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม