3 ข้อชวนคิด เลือกเรียนบัญชี
13
Aug
สำหรับน้อง ๆ ที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทางเลือกในการเรียนต่อมี 2 ทางเลือก คือ สายสามัญ และสายอาชีพ หากใครที่ได้เลือกเรียนสายอาชีพ อยากฝาก 3 ข้อไว้ให้คิด พิจารณา ในการเลือกเรียนสาขาการบัญชี เพื่อให้สามารถมีอาชีพได้ตั้งแต่เรียนจบ ปวช. จนถึง ป.ตรี ไว้ดังนี้
1. ความเป็นอิสระ อาชีพบัญชีเป็นอาชีพอิสระ สามารถเป็นนายตัวเอง หรือเจ้าของกิจการได้ เมื่อเรียนจบ ปวส.บัญชี สามารถขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้ทำบัญชี” ให้กับ บริษัทและห้างฯ ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และทรัพย์สินรวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ณ วันสิ้นรอบบัญชี (ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ) หากจบปริญญาตรีทางบัญชี จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้ทุกกิจการ (ไม่มีเงื่อนไขขนาดธุรกิจ) หรืออีกหนึ่งสายงานคือ “ผู้สอบบัญชี” เมื่อจบ ปวส.บัญชี สามารถทดสอบและขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หากจบปริญญาตรีทางบัญชี จะสามารถทดสอบและขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)” ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชี ห้างฯ ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ณ วันสิ้นรอบบัญชี(ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ) อีกทั้งยังมี “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA)” ตามหลักเกณฑ์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบบัญชีได้ทุกกิจการ (ไม่มีเงื่อนไขและขนาดธุรกิจ)
2. ความมั่นคง ทุกกิจการต้องมีการจัดทำบัญชีตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ จนถึงวันเลิกประกอบกิจการ (พูดง่าย ๆ คือตั้งแต่ เกิด จน ตาย ต้องมีการจัดทำบัญชี) เมื่อเรียนจบสามารถทำงานได้ ตั้งแต่ ปวช.บัญชี จนถึงปริญญาตรี (เจ้าหน้าที่บัญชี-ผู้บริหารทางบัญชี) หากขยัน ไม่เกี่ยงงาน ไม่เลือกงาน ไม่มีอดตาย ถือว่าเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงอาชีพหนึ่ง
3. ความน่าเชื่อถือ บัญชีถือเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความสามารถ เป็นที่ไว้วางใจของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงผู้ใช้ข้อมูลทางการเงิน เป็นเสมือนที่ปรึกษาทางธุรกิจให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ
เห็นหรือไม่ว่า การเลือกเรียนบัญชีเป็นอาชีพที่น่าสนใจ สามารถนำไปพิจารณา ประกอบการตัดสินใจในการเลือกเรียนได้ เรียนบัญชีไม่ได้ยากอย่างที่คิด ใคร ๆ ก็เรียนได้ !!
1. ความเป็นอิสระ อาชีพบัญชีเป็นอาชีพอิสระ สามารถเป็นนายตัวเอง หรือเจ้าของกิจการได้ เมื่อเรียนจบ ปวส.บัญชี สามารถขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้ทำบัญชี” ให้กับ บริษัทและห้างฯ ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และทรัพย์สินรวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ณ วันสิ้นรอบบัญชี (ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ) หากจบปริญญาตรีทางบัญชี จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีได้ทุกกิจการ (ไม่มีเงื่อนไขขนาดธุรกิจ) หรืออีกหนึ่งสายงานคือ “ผู้สอบบัญชี” เมื่อจบ ปวส.บัญชี สามารถทดสอบและขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน ตามหลักเกณฑ์ของ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง หากจบปริญญาตรีทางบัญชี จะสามารถทดสอบและขึ้นทะเบียนเป็น “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA)” ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร สามารถตรวจสอบและรับรองบัญชี ห้างฯ ที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท และสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ณ วันสิ้นรอบบัญชี(ต้องเข้าเงื่อนไขทุกข้อ) อีกทั้งยังมี “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(CPA)” ตามหลักเกณฑ์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสามารถตรวจสอบบัญชีได้ทุกกิจการ (ไม่มีเงื่อนไขและขนาดธุรกิจ)
2. ความมั่นคง ทุกกิจการต้องมีการจัดทำบัญชีตามกฎหมายตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ จนถึงวันเลิกประกอบกิจการ (พูดง่าย ๆ คือตั้งแต่ เกิด จน ตาย ต้องมีการจัดทำบัญชี) เมื่อเรียนจบสามารถทำงานได้ ตั้งแต่ ปวช.บัญชี จนถึงปริญญาตรี (เจ้าหน้าที่บัญชี-ผู้บริหารทางบัญชี) หากขยัน ไม่เกี่ยงงาน ไม่เลือกงาน ไม่มีอดตาย ถือว่าเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงอาชีพหนึ่ง
3. ความน่าเชื่อถือ บัญชีถือเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความสามารถ เป็นที่ไว้วางใจของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงผู้ใช้ข้อมูลทางการเงิน เป็นเสมือนที่ปรึกษาทางธุรกิจให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ
เห็นหรือไม่ว่า การเลือกเรียนบัญชีเป็นอาชีพที่น่าสนใจ สามารถนำไปพิจารณา ประกอบการตัดสินใจในการเลือกเรียนได้ เรียนบัญชีไม่ได้ยากอย่างที่คิด ใคร ๆ ก็เรียนได้ !!
--------------------
ร้อยตรีวรวุฒิ ตั้งประดิษฐ
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
นายทหารควบคุมการเบิกจ่าย พล.ร.11
เจ้าของสำนักงานบัญชีและสอบบัญชี
(CPA, TA, IACP และผู้สอบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน)
ร้อยตรีวรวุฒิ ตั้งประดิษฐ
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
นายทหารควบคุมการเบิกจ่าย พล.ร.11
เจ้าของสำนักงานบัญชีและสอบบัญชี
(CPA, TA, IACP และผู้สอบบัญชีกองทุนหมู่บ้าน)