แนวทางการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51)

UploadImage
 
UploadImage

          ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร เป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่ง มีการจัดเก็บจากฐานภาษีที่แตกต่างกัน ซึ่งจะขอกล่าวในส่วนของฐานกำไรสุทธิ มีวิธีการเสียภาษีที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
          1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี นำส่งโดยแบบ ภ.ง.ด.50
          2. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นำส่งโดยแบบ ภ.ง.ด.51
          3. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย นำส่งโดยแบบ ภ.ง.ด.53
        สำหรับการยื่นภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีหรือภาษีครึ่งปี จะต้องยื่นภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน สามารถคำนวณและนำส่งได้ คือ
          1. จัดทำงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลาครึ่งปี หรือ
          2. ประมาณการกำไรที่จะเกิดขึ้นตลอดรอบระยะเวลาบัญชีแล้วเฉลี่ยเป็นสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
        จากการคำนวณตามเงื่อนไขที่ 2 นี้ทำให้นักบัญชีหรือผู้เสียภาษีหลายท่านเรียกติดปากกันว่า ประมาณการภาษีครึ่งปี เมื่อเป็นตัวเลขที่ต้องประมาณการขึ้น เพื่อให้สอดคล้องและใกล้เคียงกับตัวเลขที่จะเกิดจริงในอนาคตมากที่สุด จึงมีกฎหมายกำหนดแนวทาง และบทกำหนดโทษดังนี้ (อ้างถึงมาตรา 67 ตรี)
          1. ประมาณการที่คำนวณเพื่อนำส่งภาษีครึ่งปี จะต้องไม่แสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรที่เกิดขึ้นจริงสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี นั้น
          2. หากประมาณการกำไรขาดเกินกว่าร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันควรจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของประมาณการที่ขาด
          3. ไม่ยื่นรายการและชำระภาษีครึ่งรอบระยะเวลาหรือยื่นไม่ถูกต้องโดยไม่มีเหตุอันควรจะต้องรับผิดชำระเงินเพิ่มร้อยละ 20 แล้วแต่กรณีภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ถือเป็นเครดิตภาษีในการคำนวณภาษีสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

 
____________________
คุณนรีรัตน์ ใยบัว
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี
กรรมการบริษัท เกิดแก้วการบัญชี จำกัด