ขายสินค้าออนไลน์ต้องเสียภาษีหรือไม่
22
Mar
ตอบข้อสงสัย...ขายสินค้าออนไลน์ ต้องเสียภาษีอะไร?
หากคิดจะขายสินค้าออนไลน์ ก็จะต้องเตรียมตัวเพื่อเสียภาษีด้วยเช่นกัน เพราะรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการจากการขายออนไลน์นี้ ก็จะเหมือนการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ โดยผู้ขายจะต้องคำนึงถึงภาษีที่เกี่ยวข้องโดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ภาษีเงินได้ ถ้าหากผู้ขายเป็นร้านค้าของบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยภาษีเงินได้ จะคำนวณจาก “เงินได้สุทธิ”
สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธีคือ แบบเหมาในอัตรา 80% ของรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วร้านค้าออนไลน์ทั่วๆ ไป จะคำนวณแบบเหมาต้นทุนในอัตรา 80% ของรายได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน และ แบบตามความจำเป็นและสมควร หรือเรียกให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือคิดตามจริง โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง มาหักเป็นต้นทุนได้ ถ้าหากร้านค้าเลือกใช้แบบนี้ ต้องมีหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่ถ้าหากผู้ขายสินค้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อาทิเช่น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ก็ต้องเสียเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจาก “กำไรสุทธิ” จากการดำเนินงาน
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ขายมีรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เมื่อไรที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ว่านี้ ผู้ขายมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่น สินค้ามีราคาขาย 100 บาท ผู้ขายต้องเรียกเก็บมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้ออีกจำนวน 7 บาท ดังนั้น ผู้ซื้อสินค้าจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าสินค้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 107 บาท
หากคิดจะขายสินค้าออนไลน์ ก็จะต้องเตรียมตัวเพื่อเสียภาษีด้วยเช่นกัน เพราะรายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าหรือการให้บริการจากการขายออนไลน์นี้ ก็จะเหมือนการขายสินค้าหรือบริการตามปกติ โดยผู้ขายจะต้องคำนึงถึงภาษีที่เกี่ยวข้องโดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ภาษีเงินได้ ถ้าหากผู้ขายเป็นร้านค้าของบุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยภาษีเงินได้ จะคำนวณจาก “เงินได้สุทธิ”
สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธีคือ แบบเหมาในอัตรา 80% ของรายได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วร้านค้าออนไลน์ทั่วๆ ไป จะคำนวณแบบเหมาต้นทุนในอัตรา 80% ของรายได้ วิธีนี้เป็นวิธีที่ร้านค้าออนไลน์ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน และ แบบตามความจำเป็นและสมควร หรือเรียกให้เข้าใจได้ง่ายๆ คือคิดตามจริง โดยสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง มาหักเป็นต้นทุนได้ ถ้าหากร้านค้าเลือกใช้แบบนี้ ต้องมีหลักฐานที่ถูกต้องและครบถ้วน แต่ถ้าหากผู้ขายสินค้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล อาทิเช่น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท ก็ต้องเสียเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจาก “กำไรสุทธิ” จากการดำเนินงาน
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ขายมีรายได้จากการขายสินค้าออนไลน์เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี เมื่อไรที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ว่านี้ ผู้ขายมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่น สินค้ามีราคาขาย 100 บาท ผู้ขายต้องเรียกเก็บมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้ออีกจำนวน 7 บาท ดังนั้น ผู้ซื้อสินค้าจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าสินค้ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 107 บาท