บทความ SPU : ข้อสงสัย ต่อราคายาที่จำหน่ายในประเทศไทย โดย ผศ.นพดล ปกรณ์นิมิตดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
10
Oct
ข้อสงสัย ต่อราคายาที่จำหน่ายในประเทศไทย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล ปกรณ์นิมิตดี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หลายคน เมื่อได้อ่านชื่อบทความนี้ อาจสงสัยว่าทำไมต้องสงสัย อะไรกับราคายา เราไปร้านขายยา เพื่อซื้อยา เขาบอกเท่าไร เราก็จ่าย เราไปคลินิก หลังรับการรักษาเสร็จก็ชำระค่ารักษาพยาบาลพร้อมรับยา เขาบอกเท่าไรเราก็จ่าย เราไปโรงพยาบาลเพื่อขอรับการรักษา หลังรับการรักษาเสร็จก็ชำระค่ารักษาพยาบาลพร้อมรับยา เขาบอกเท่าไรเราก็จ่ายไป หลายคนบอกทราบดีอยู่แล้วว่าหากไปสถานพยาบาลเอกชนต้องจ่ายค่ายาแพงอยู่แล้วเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย บริการที่ดี หากไม่มีตังค์ก็ไปโรงพยาบาลรัฐซิ คำตอบคือถูกต้องและใช่ครับ
ยาที่จำหน่ายในประเทศ อาจมีช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่หลายทาง หลักๆ ก็อาจมีสถานพยาบาลกับร้านขายยา แต่สำหรับราคายาในร้านขายยา อาจมีข้อสงสัยน้อยกว่ามาก เพราะหลายร้านก็มีการจัดจำหน่ายในราคาที่แตกต่างกันอยู่แล้ว
บางคนตำหนิความคิดเรื่องการควบคุมหรือขอใช้คำใหม่ว่า “ดูแลราคายา” ที่เป็นธรรมจะเป็นไปได้อย่างไร ยามีหลายตัวหลายประเภท ราคายามีขึ้นมีลงได้ บางคนมองว่าผู้ป่วยมีทางเลือก สถานพยาบาลเอกชนบางแห่งเขาก็ต้องการหาเงิน ต้องมีกำไรซึ่งความเห็นนี้ก็ถูกต้องครับ ไม่แตกต่างอะไรกับครั้งหนึ่งมีผู้คนบ่นเรื่องราคาน้ำเปล่า บรรจุขวดขาย นอกร้านอาหารจำหน่าย 7 บาท สถานที่ท่องเที่ยว หรือร้านอาหารจำหน่าย ขวดละ 20 บาท ร้านอาหารก็บ่นว่า เขามีต้นทุนสูง เปิดแอร์ มีค่าไฟ มีค่าจ้างลูกจ้างที่ต้องจ่าย จะบังคับให้จำหน่ายเท่ากับราคาภายนอกร้านไม่ได้หรอก สังคมบ่นกันอยู่พักหนึ่ง food center บางแห่งในห้างก็ยอมปรับราคา แต่สภาพการณ์ตอนนี้ก็กลับมาเหมือนเดิมอีก
เรื่อง การควบคุมราคายา เมื่อได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยใช้คำค้นหาว่า การควบคุมราคายา จะพบว่า มีทั้งบทความและงานวิจัย ที่พูดถึงเรื่องการควบคุมราคายา ทั้งทางตรงและทางอ้อม มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ยกตัวอย่างปรากฎการณ์ในอดีตเรื่องการควบคุมราคายาที่จะขอเบิก จากหน่วยงานของรัฐเองก็มี เช่น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 กรมบัญชีกลางออกประกาศควบคุมการเบิกจ่ายเงินค่ายาโรงพยาบาลทั้งระบบ เป็นต้น ซึ่งก็อาจสงสัยได้ว่า มาจากปัญหางบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับค่ายา ใช่หรือเปล่า
หรือจะเป็นกรณีเอกสารจดหมายข่าว “ยาวิพากษ์” จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา ปีที่ 6 ฉบับที่ 26 เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2558 ใช้ข้อความพาดหัวหน้าแรก จดหมายข่าว ว่า “ทำไมราคายาประเทศไทยแพงจัง?” เอกสารดังกล่าว จึงอาจเป็นบทสะท้อนความรู้สึกเรื่องปัญหาราคายาในประเทศไทย ซึ่งมีมาแล้วช่วงหนึ่งแล้วได้
ในแง่มุมของกฎหมาย พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 32 ได้วางหลักไว้ว่า
มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาต(ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล)ต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ณ สถานพยาบาลนั้น
(๑) ชื่อสถานพยาบาล
(๒) รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
(๓) อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น และสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง
การแสดงรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์ หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา ๓๒ (๓)
ผู้รับอนุญาตจะเรียกเก็บหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ หรือค่าบริการอื่นเกินอัตราที่ได้แสดงไว้มิได้ และต้องให้บริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่ได้แสดงไว้
หากวิเคราะห์เนื้อความในกฎหมาย มาตรา 32 ประกอบกับมาตรา 33 จะเห็นนัยแห่งการควบคุมราคายาทางอ้อมกับสถานพยาบาล ว่าจะเรียกเก็บค่ายาจากผู้ป่วยเกินกว่าอัตราที่ได้แจ้งไม่ได้ ปัญหาคือในทางปฏิบัติทำได้จริงหรือเปล่า
ฉะนั้น หากใครบอกว่าการควบคุมราคายามีไม่ได้ในหลักการ ก็อาจไม่น่าจะจริงแล้วกระมังครับ เพราะกฎหมายเองก็เปิดช่องให้กระทำได้โดยอ้อม แต่ปัญหาในทางปฏิบัติก็คือ การที่สถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนหรือคลินิกปิดป้ายแสดงข้อความ ให้สอบถามอัตราค่ารักษาพยาบาลค่ายาได้ ที่เคาน์เตอร์ แต่ถามจริงๆเถอะครับ ผู้ป่วยหรือญาติป่วย ที่ต้องการขอรับการรักษา จะมีซักกี่คนกล้าถาม ประเทศไทยเรา ยังไม่มีสถานพยาบาลที่มีบุคลากรพร้อมอันครอบคลุมไปทั่วทุกท้องที่ในประเทศ ดังเช่น ร้านสะดวกซื้อบางยี่ห้อที่ไปที่ไหนก็ต้องพบ บางแห่งเจอทั้งหัวซอยกลางซอยและท้ายซอยเลยนะครับ ใครที่บอกว่าไม่อยากจ่ายเงินแพงก็ไปรับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ก็ขอความกรุณาให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงนี้ ประกอบกับปัญหาสภาพการจราจรในเมืองหลวง หรือในหลายท้องที่ ที่ยังขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ด้วยเถอะนะครับ
ผู้ป่วยหนัก คนเจ็บหนักใกล้ตาย ใกล้สถานพยาบาลที่ไหน ก็ต้องเข้าที่นั่นก่อนครับ หากสมมติมีการคิดค่ายาแพงอย่างไง หากมีเงินเก็บ ก็ต้องยอมจ่าย
ความพิเศษของยา ก็คือ มันคือหนึ่งในปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์ในการดำรงชีวิต อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และสุดท้ายก็คือยารักษาโรค มนุษย์ จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเพื่อให้หายจากโรคที่เป็น แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง สัตวแพทย์ก็ต้องใช้ยาในการรักษาสัตว์เช่นกัน เราควบคุมราคาสินค้าหรือบริการบางอย่างได้ แต่สำหรับยาแล้ว ควรจะปล่อยเสรีในเรื่องราคายาหรือปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดหรือตามความต้องการของใครเพียงบางคนได้หรือไม่ ก็ขออนุญาตฝากเป็นข้อสงสัย
ท้ายสุดนี้ ประเทศไทยเรา กำลังหรือได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ผู้สูงอายุน่าจะต้องการใช้ยามากกว่า คนหนุ่มสาวแน่นอน นักธุรกิจทำธุรกิจย่อมหวังผลกำไร ไม่ผิดครับ แต่กำไรที่ได้จากความเป็นความตายของมนุษย์ ควรจะแค่ไหนอย่างไร หากถามอีกฝ่ายคงตอบอีกอย่าง แต่หากถามใจผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วย คนที่มีทุนทรัพย์น้อย(ไม่พูดถึงคนรวยนะครับ) คงอาจคิดหวังเพียงราคายาบวกกำไรที่เหมาะสม หรือพอสมควรกับเงินในกระเป๋าที่เขาพอมีและพอจะจ่ายได้เพื่อคนป่วยที่เขารักครับ การดูแลราคายาให้เป็นธรรมในกรณีสถานพยาบาลบางแห่ง จะสามารถทำได้หรือไม่ได้นั้นก็คงต้องฝากเป็นข้อสงสัยถามใครบางคนในสังคมไทย กันต่อไปไม่รู้จะอีกนานแค่ไหนกระมังครับ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพดล ปกรณ์นิมิตดี
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
หลายคน เมื่อได้อ่านชื่อบทความนี้ อาจสงสัยว่าทำไมต้องสงสัย อะไรกับราคายา เราไปร้านขายยา เพื่อซื้อยา เขาบอกเท่าไร เราก็จ่าย เราไปคลินิก หลังรับการรักษาเสร็จก็ชำระค่ารักษาพยาบาลพร้อมรับยา เขาบอกเท่าไรเราก็จ่าย เราไปโรงพยาบาลเพื่อขอรับการรักษา หลังรับการรักษาเสร็จก็ชำระค่ารักษาพยาบาลพร้อมรับยา เขาบอกเท่าไรเราก็จ่ายไป หลายคนบอกทราบดีอยู่แล้วว่าหากไปสถานพยาบาลเอกชนต้องจ่ายค่ายาแพงอยู่แล้วเพื่อแลกกับความสะดวกสบาย บริการที่ดี หากไม่มีตังค์ก็ไปโรงพยาบาลรัฐซิ คำตอบคือถูกต้องและใช่ครับ
ยาที่จำหน่ายในประเทศ อาจมีช่องทางการจัดจำหน่ายอยู่หลายทาง หลักๆ ก็อาจมีสถานพยาบาลกับร้านขายยา แต่สำหรับราคายาในร้านขายยา อาจมีข้อสงสัยน้อยกว่ามาก เพราะหลายร้านก็มีการจัดจำหน่ายในราคาที่แตกต่างกันอยู่แล้ว
บางคนตำหนิความคิดเรื่องการควบคุมหรือขอใช้คำใหม่ว่า “ดูแลราคายา” ที่เป็นธรรมจะเป็นไปได้อย่างไร ยามีหลายตัวหลายประเภท ราคายามีขึ้นมีลงได้ บางคนมองว่าผู้ป่วยมีทางเลือก สถานพยาบาลเอกชนบางแห่งเขาก็ต้องการหาเงิน ต้องมีกำไรซึ่งความเห็นนี้ก็ถูกต้องครับ ไม่แตกต่างอะไรกับครั้งหนึ่งมีผู้คนบ่นเรื่องราคาน้ำเปล่า บรรจุขวดขาย นอกร้านอาหารจำหน่าย 7 บาท สถานที่ท่องเที่ยว หรือร้านอาหารจำหน่าย ขวดละ 20 บาท ร้านอาหารก็บ่นว่า เขามีต้นทุนสูง เปิดแอร์ มีค่าไฟ มีค่าจ้างลูกจ้างที่ต้องจ่าย จะบังคับให้จำหน่ายเท่ากับราคาภายนอกร้านไม่ได้หรอก สังคมบ่นกันอยู่พักหนึ่ง food center บางแห่งในห้างก็ยอมปรับราคา แต่สภาพการณ์ตอนนี้ก็กลับมาเหมือนเดิมอีก
เรื่อง การควบคุมราคายา เมื่อได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต โดยใช้คำค้นหาว่า การควบคุมราคายา จะพบว่า มีทั้งบทความและงานวิจัย ที่พูดถึงเรื่องการควบคุมราคายา ทั้งทางตรงและทางอ้อม มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ยกตัวอย่างปรากฎการณ์ในอดีตเรื่องการควบคุมราคายาที่จะขอเบิก จากหน่วยงานของรัฐเองก็มี เช่น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2556 กรมบัญชีกลางออกประกาศควบคุมการเบิกจ่ายเงินค่ายาโรงพยาบาลทั้งระบบ เป็นต้น ซึ่งก็อาจสงสัยได้ว่า มาจากปัญหางบประมาณรายจ่ายเกี่ยวกับค่ายา ใช่หรือเปล่า
หรือจะเป็นกรณีเอกสารจดหมายข่าว “ยาวิพากษ์” จดหมายข่าวศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังระบบยา ปีที่ 6 ฉบับที่ 26 เดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2558 ใช้ข้อความพาดหัวหน้าแรก จดหมายข่าว ว่า “ทำไมราคายาประเทศไทยแพงจัง?” เอกสารดังกล่าว จึงอาจเป็นบทสะท้อนความรู้สึกเรื่องปัญหาราคายาในประเทศไทย ซึ่งมีมาแล้วช่วงหนึ่งแล้วได้
ในแง่มุมของกฎหมาย พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 มาตรา 32 ได้วางหลักไว้ว่า
มาตรา ๓๒ ผู้รับอนุญาต(ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล)ต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ ณ สถานพยาบาลนั้น
(๑) ชื่อสถานพยาบาล
(๒) รายการเกี่ยวกับผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล
(๓) อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น และสิทธิของผู้ป่วยที่สถานพยาบาลต้องแสดงตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง
การแสดงรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๓ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศกำหนดชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์ หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา ๓๒ (๓)
ผู้รับอนุญาตจะเรียกเก็บหรือยินยอมให้มีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ หรือค่าบริการอื่นเกินอัตราที่ได้แสดงไว้มิได้ และต้องให้บริการแก่ผู้ป่วยตามสิทธิที่ได้แสดงไว้
หากวิเคราะห์เนื้อความในกฎหมาย มาตรา 32 ประกอบกับมาตรา 33 จะเห็นนัยแห่งการควบคุมราคายาทางอ้อมกับสถานพยาบาล ว่าจะเรียกเก็บค่ายาจากผู้ป่วยเกินกว่าอัตราที่ได้แจ้งไม่ได้ ปัญหาคือในทางปฏิบัติทำได้จริงหรือเปล่า
ฉะนั้น หากใครบอกว่าการควบคุมราคายามีไม่ได้ในหลักการ ก็อาจไม่น่าจะจริงแล้วกระมังครับ เพราะกฎหมายเองก็เปิดช่องให้กระทำได้โดยอ้อม แต่ปัญหาในทางปฏิบัติก็คือ การที่สถานพยาบาลที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนหรือคลินิกปิดป้ายแสดงข้อความ ให้สอบถามอัตราค่ารักษาพยาบาลค่ายาได้ ที่เคาน์เตอร์ แต่ถามจริงๆเถอะครับ ผู้ป่วยหรือญาติป่วย ที่ต้องการขอรับการรักษา จะมีซักกี่คนกล้าถาม ประเทศไทยเรา ยังไม่มีสถานพยาบาลที่มีบุคลากรพร้อมอันครอบคลุมไปทั่วทุกท้องที่ในประเทศ ดังเช่น ร้านสะดวกซื้อบางยี่ห้อที่ไปที่ไหนก็ต้องพบ บางแห่งเจอทั้งหัวซอยกลางซอยและท้ายซอยเลยนะครับ ใครที่บอกว่าไม่อยากจ่ายเงินแพงก็ไปรับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐ ก็ขอความกรุณาให้คำนึงถึงข้อเท็จจริงนี้ ประกอบกับปัญหาสภาพการจราจรในเมืองหลวง หรือในหลายท้องที่ ที่ยังขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ด้วยเถอะนะครับ
ผู้ป่วยหนัก คนเจ็บหนักใกล้ตาย ใกล้สถานพยาบาลที่ไหน ก็ต้องเข้าที่นั่นก่อนครับ หากสมมติมีการคิดค่ายาแพงอย่างไง หากมีเงินเก็บ ก็ต้องยอมจ่าย
ความพิเศษของยา ก็คือ มันคือหนึ่งในปัจจัย 4 อันเป็นสิ่งจำเป็นต่อมนุษย์ในการดำรงชีวิต อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และสุดท้ายก็คือยารักษาโรค มนุษย์ จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือเพื่อให้หายจากโรคที่เป็น แม้กระทั่งสัตว์เลี้ยง สัตวแพทย์ก็ต้องใช้ยาในการรักษาสัตว์เช่นกัน เราควบคุมราคาสินค้าหรือบริการบางอย่างได้ แต่สำหรับยาแล้ว ควรจะปล่อยเสรีในเรื่องราคายาหรือปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดหรือตามความต้องการของใครเพียงบางคนได้หรือไม่ ก็ขออนุญาตฝากเป็นข้อสงสัย
ท้ายสุดนี้ ประเทศไทยเรา กำลังหรือได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ผู้สูงอายุน่าจะต้องการใช้ยามากกว่า คนหนุ่มสาวแน่นอน นักธุรกิจทำธุรกิจย่อมหวังผลกำไร ไม่ผิดครับ แต่กำไรที่ได้จากความเป็นความตายของมนุษย์ ควรจะแค่ไหนอย่างไร หากถามอีกฝ่ายคงตอบอีกอย่าง แต่หากถามใจผู้ป่วย หรือญาติผู้ป่วย คนที่มีทุนทรัพย์น้อย(ไม่พูดถึงคนรวยนะครับ) คงอาจคิดหวังเพียงราคายาบวกกำไรที่เหมาะสม หรือพอสมควรกับเงินในกระเป๋าที่เขาพอมีและพอจะจ่ายได้เพื่อคนป่วยที่เขารักครับ การดูแลราคายาให้เป็นธรรมในกรณีสถานพยาบาลบางแห่ง จะสามารถทำได้หรือไม่ได้นั้นก็คงต้องฝากเป็นข้อสงสัยถามใครบางคนในสังคมไทย กันต่อไปไม่รู้จะอีกนานแค่ไหนกระมังครับ