บทความ SPU : "สืบวิธีค้นหา ค้นเจอตัวเอง" โดย ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

UploadImage
 
สืบวิธีค้นหา ค้นเจอตัวเอง
โดย ผศ.สุพล  พรหมมาพันธุ์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เมื่อวันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ร่วมกันจัดเสวนาพิเศษ Teck Talk ในรายวิชา BUS200, CSC200 และ CSE200 บัณฑิตในอุดมคติ ให้ความรู้กับนักศึกษา เรื่อง "สืบวิธีค้นหา ค้นเจอตัวเอง" โดยได้รับเกียรติ์จากวิทยากรพิเศษ เจ้าหญิงไอที “ซี” ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ ณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม พอประมวลสรุปความได้ดังต่อไปนี้

UploadImage

ซี ฉัตรปวีณ์ ตรีชัชวาลวงศ์ เธอเล่าว่า เธอจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชาวารสารสนเทศ (Journalism) เคยฝึกงานที่หนังสือพิมพ์ Bangkok Post เธอเล่าต่อว่า ปัจจุบันคนที่เรียนทางด้านไอที เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก เช่น จบแล้วสามารถไปเป็น Startup หรือ Engineer ได้ อย่างซี เคยมีความคิดว่า ถ้าเราเรียนจบแล้ว “จะเลือกงานเอง ไม่ให้งานมาเลือกเรา” ต้องวางแผนการเรียนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 ว่าต้องการจะเป็นอะไร ทุกคนมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ต่างกันเพียงแต่ว่าใครจะใช้เวลาคุ้มค่ามากกว่ากันเท่านั้น เมื่อเราเรียนจบออกมาแล้วต้องสามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างมีความสุข เธอเคยไปดูงานที่ Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเขาทำงานเป็นระบบมาก คนไทยที่ทำงานอยู่ที่ Silicon Valley อยากกลับมาบ้านมาก เพราะที่นั่นเหงา เรื่องการทำงานของฝรั่งเขา เรื่องของอาวุโสไม่มีผลอะไร ใครมีความสามารถมากกว่าใครมีผลงานมากกว่าก็สามารถไต่ขึ้นไปสู่ระดับสูงได้ แต่สำหรับคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยค่อนข้างมีอิสระ มีเพื่อน สามารถไปท่องเที่ยวกัน หรือ Hangout กันได้อย่างสนุกสนาน ที่ Silicon Valley ตอนนี้นิยมรับคนเอเชียเข้าไปทำงานมาก ไม่ว่าจะเป็นคนไทย จีน และอินเดีย เป็นต้น เรื่องที่เธอจะเล่าให้ฟังมี 8 ข้อที่เป็นหลักปฏิบัติ คือ:
                1). Know yourself well enough รู้จักตัวเองให้มากที่สุด รู้จักตัวเองว่าชอบอะไรและไม่ชอบอะไร ถนัดอะไรไม่ถนัดอะไร เราควรมีเป้าหมายสักเป้าหนึ่งเป้าหมายตั้งเอาไว้ ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา ตัวเราเองต้องรู้จักใฝ่รู้ ถ้าคุณไม่รู้จักตัวเอง ให้ลองทำสิ่งที่ตัวเองชอบมากที่สุด และลองทำสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบดูด้วย แล้วลองสังเกตตัวเองว่า เราทำอะไรได้ดีที่สุด และควรเลือกสิ่งนั้น
                2. ออกมาจาก Comfort Zone ความหมายของ Comfort Zone คือ จังหวะช่วงเวลาหนึ่งของชีวิตที่เรารู้สึกว่า ทุกอย่างมีความสะดวกสบายเรียบง่ายไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น เรื่องหน้าที่การทำงานก็ลงตัวด้วยดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ เงินเดือน ตำแหน่งหน้าที่การทำงาน เพื่อนร่วมงาน แต่สิ่งที่น่าวิตกกังวลเกี่ยวกับ Comfort Zone ก็คือ ทำให้เราผูกติดอยู่กับความสะดวกสบาย ไม่คิดจะขวนขวายหาความก้าวหน้าเพิ่มเติม หรือไม่มีความกระตือรื้นในการที่จะสร้างสรรค์ทำอะไรในเรื่องใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น  จึงอาจทำให้ชีวิตหยุดนิ่งอยู่เท่านั้น
                3. Always Add more skills การสร้างทักษะความชำนาญให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ หากเราสนใจเรื่องอะไร ก็ควรหา Skill ความชำนาญให้เกิดขึ้นในเรื่องเหล่านั้น ควรหาสิ่งที่เป็น Life Style ของตัวเอง ตัวซีเอง เคยไปเรียนรู้เกี่ยวกับการเล่นกีตาร์ เพื่อต้องการอยากให้คนอื่นมาสนใจตัวเอง พอใกล้จะเรียนจบปี 4 ก็กลับมาเรียนร้องเพลง และสิ่งที่ไม่ค่อยพลาดคือ งานพิธีกร ได้งานเป็นพิธีกรกับคุณจอห์น นูโว  และได้งานเล่นมิวสิควิดีโอ รวมไปถึงเรื่องการเขียนบท เขียน Script ต่างๆ  เนื่องจากถูกรุ่นพี่ใช้ให้ทำงาน
                4. “Be Corneous be Friendly” Work to Learn not yet to Earn ควรมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง และแสวงหาการทำงานเพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่ดี อย่าทำงานเพื่อเงินหรือเพื่อตัวเลขเท่านั้น
                5. Open Your Heart and search to opportunity เปิดใจให้กว้างและแสวงหาโอกาส เธอเล่าว่า เธอได้งานเป็นพิธีกร ช่อง 3 รายการ 168 ชั่วโมง คู่กับคุณวิบูลย์ ลีรัตนขจร (อาร์ม) เป็นรายการวาไรตี้สำหรับคนนนอนดึก เป็นเรื่องสาระความบันเทิงเทคโนโลยีล้ำสมัย เรื่องลึกลับ และข่าวสารประชาสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน และพี่ในรายการแนะนำให้ไปประกวดนางงาม Miss Thailand World ตอนเรียนปี 1 นับว่าเป็นโอกาสที่ดี ได้ใส่ชุดว่ายน้ำ ได้เข้ารอบ 10 คนสุดท้าย มีคนค้นค้นหาคำว่า ซี ใส่ชุดว่ายน้ำในกูเกิลเป็นจำนวนมาก ซีไม่เสียใจและไม่อาย เพราะรู้สึกว่า สิ่งเหล่านั้นคือการเรียนรู้ และได้เขียนหนังสือ นอกจากนั้น ได้เข้าร่วมประกวดนางสาวไทย ได้เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย ที่เข้าประกวดเพราะต้องการอยากได้ความรู้เอามาเขียนหนังสือ ได้เสพชีวิตคนที่หาซื้อไม่ได้  หลังจากนั้นมา ก็ได้รับเชิญให้ไปเป็นคณะกรรมการตัดสินประกวดนางสาวไทย ให้จินตนาการดูว่า คนเรียนนิเทศศาสตร์ แล้วมาเก่งไอทีได้อย่างไร แต่ที่รู้แน่นอนคือ Start มาก่อน ดังนั้น ขอให้นักศึกษาทุกคน ลองนึกถึงตัวเองว่า งานแบบไหนที่เราชอบและอยากทำ
                6. Team Work make the dream work  การทำงานเป็นกลุ่มทำให้ความฝันกลายเป็นจริงได้ ตัวอย่าง เช่น Startup ทำงานคนเดียวไม่ได้ และไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากการจดทะเบียนเป็นบริษัทเกี่ยวกับ Startup ต้องจดตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ดังนั้น จึงต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำจึงจะประสบความสำเร็จ เช่น ookbee.com เป็นแอพพลิเคชั่นขายหนังสืออีบุ๊คในรูปแบบดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถามว่า Startup ในประเทศไทย ประสบความสำเร็จกี่เปอร์เซ็น? ตอบว่า ประมาณเกือบ 2% ไม่ถึง 3% ส่วนใหญ่คนไทย ดังแล้วแยกวง ไม่มีทีมเวิร์ค เก่งคนเดียว Startup ในประเทศไทยเริ่มช้ามาก ที่อเมริกาเริ่มเร็วมาก เพราะคนที่โน่นตื่นมาแล้วทำงานอย่างเดียว
                7. Choose Your best Coach ควรเลือกโค๊ชให้ถูกและดีที่สุด ตอนไปทำงานกับคุณจอห์น นูโว และคุณอาร์ม วิบูลย์ ทั้ง 2 คนเขาเป็นโค๊ชที่ดีมาก สอนทุกอย่าง และซีเองเคยเป็นนักข่าวที่ Bangkok Post ได้รู้จักคนเป็นจำนวนมาก และตอนที่เรียนอยู่มีเลือกอีกอย่างหนึ่งการทำโฆษณา หรือ Advertising
                8. Plan for your life, a goal without a plan is just a wish ควรมีการวางแผนสำหรับชีวิตของคุณ ควรมีการตั้งเป้าหมายเอาไว้ หากไม่มีการวางแผนย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะประสบความสำเร็จ ดังนั้น ทุกคนควรรู้จักการวางแผนที่ดี ควรมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน หรือตั้งตุ๊กตาเอาไว้ว่า 5-10 ปีข้างหน้าจะเป็นอะไร เช่น เป็นนักข่าวไอที อย่างซีเอง เคยได้รับเชิญให้ไปช่วยงานจาก organizer ให้เสนอความคิดและลูกเล่น ในการเปิดตัวศูนย์การค้า Central แจ้งวัฒนะ การตั้งเป้าหมายนั้นไม่ต้องใหญ่มาก เป็นเป้าหมายเล็กๆ ที่เราอยากทำ และสามารถทำให้ประสบความสำเร็จ ซียังนึกอิจฉาคนเรียนไอที เพราะคนเรียนไอที สามารถจะร่ำรวยได้เร็ว เคยรู้จักเด็กคนหนึ่งอายุ 27 ปี เขาทำเกี่ยวกับ C-Coin คล้ายๆ กับ Bitcoin ตอนนี้เขามีเงินเป็น 1,000 ล้านบาท C-Coin ติดอันดับใน 200 ที่มีการ Trade กันมาก คนเรียนไอทีนับว่ามีโอกาสที่ดีมาก คนไอทีจะประมาทเรื่องนี้ไม่ได้ ต้องอัพเดทตัวเองอยู่เสมอ ซีเคยไปดูงานที่อเมริกา เป็นงานเกี่ยวอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things:IoT) เคยได้สนทนากับ Vice President ของกูเกิล คนเรียนไอที ควรให้ความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มาก และโดยเฉพาะเรื่องของการดูแลความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ หรือ Cyber Security  งานทางด้านนี้ ยังต้องการคนอีกเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) เอง มีคนทำงานอยู่เพียง 30 คน รับผิดชอบดูแลงานทั่วประเทศ ซึ่งในวันหนึ่งๆ มีบริษัท และธนาคารถูกเจาะระบบเป็นจำนวนมาก ปอท. ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง จึงต้องการคนเป็นจำนวนมากเพื่อไปดูแลงานทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์.
 
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม
โทร. 0-2579-1111 ต่อ 2195  โทรสาร 0 2579 1111 ต่อ 2196 
อีเมล์ : spu.it2012@gmail.com  เว็บไซต์ https://www.spu.ac.th/fac/informatics
หรือติดตามกิจกรรมต่างๆได้ที่  https://www.facebook.com/spu.informatics
หรือเยี่ยมชมวิดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัยศรีปทุมได้ที https://www.youtube.com/user/SPUFriends