SPU : การเรียนการสอนกับการสร้างแรงจูงใจ ในการสร้างศักยภาพสู่มืออาชีพ

UploadImage
 

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skill) วิจารณ์ พานิช (2556: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูแนะนำและช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3RS + 8Cs + 2Ls คือ Reading (อ่านออก) , (W)Riting (เขียนได้),และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) 8Cs + 21st Century Themes ได้แก่ Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม)Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนะรรม ต่างกระบวนทัศน์)Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีมและภาวะผู้นำ) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Communications, Information and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศและรู้เท่าทันสื่อ) Computing & Media Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) Career & Learning Self-reliance (ทักษะอาชีพและทักษะการเรียนรู้) Change (ทักษะการเปลี่ยนแปลง) และ 2Ls Learning Skill (ทักษะการเรียนรู้) Leadership (ภาวะผู้นำ)
การจัดการเรียนการสอนของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม โดยภาพรวมจะมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะการเรียนแบบทฤษฎีโดยอาจารย์บรรยาย การเรียนแบบทฤษฎีและฝึกปฏิบัติ เป็นส่วนใหญ่ และเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skill) จึดได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดทักษะแห่งการเรียนรู้โดยในรายวิชาได้มีการพัฒนา
รายวิชา ADS456 ปฏิบัติการผลิตสื่อโฆษณา(PRACTICE IN ADVERTISING PRODUCTION) การฝึกปฏิบัติการคิดวิเคราะห์โจทย์ทางการตลาด การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การวางแผนงานโฆษณา การสร้างสรรค์งานโฆษณาให้สอดคล้องกับโจทย์ปัญหาทางการตลาด และถูกต้องตามจรรยาบรรณในวิชาชีพ การผลิตงานโฆษณาตามกระบวนการวางแผนสื่อโฆษณาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟฟิก การโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง และภาพยนตร์โฆษณา การนำเสนองานขายผลงานโฆษณาอย่างมืออาชีพ
UploadImage

ภาพที่ 1 การเรียนการสอนกับการสร้างแรงจูงใจในการสร้างศักยภาพในการประกวด
พัฒนาการเรียนการสอนโดยการออกแบบการเรียนการสอนจากเดิมทฤษฎีเพียงอย่างเดียว หรือทฤษฎีและปฎิบัติ   ออกแบบรายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติอย่างจริงจังตามกระบวนการในสายวิชาชีพ โดยอาจารย์ออกแบบการเรียนการสอน จำนวน 6 ชั่วโมงออกแบบกิจกรรม เรียนแบบ Active Learning เพื่อให้มีเวลาเพียงพอต่อการฝึกวางแผนเพื่อฝึกปฏิบัติ  จากนั้นกำหนดนักศึกษาผู้ที่เรียนรายวิชานี้ต้องเรียนในชั้นปีที่ 3 เทอม 2 เพื่อนำความรู้มาใช้ในภาคปฎิบัติ  โดยมีการให้นักศึกษาเลือกเรียนเป็นรายวิชาเอกเลือก เป็นสมัครเข้าสัมภาษณ์เพื่อเข้าเรียน  ในลักษณะของรายวิชาเอกเลือก   ผู้เรียนสามารถที่จะเลือกเรียนรายวิชาที่มีความสนใจในการเรียนเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับผู้เรียนได้ ปกติโดยส่วนใหญ่ของผู้เรียนจะเลือกเรียนในรายวิชาที่ไม่ซับซ้อนและใช้เวลาไม่มากในการเรียน แต่การเรียนในรายวิชา ADS456 การปฏิบัติการโฆษณา  เป็นรายวิชาที่ใช้เวลาในการปฏิบัตินานกว่าปกติที่เรียน เมื่อเทียบกับรายวิชาเอกเลือกต่างๆ
เป้าหมายของการเรียน  ADS456 ผลิตสื่อจำนวน 3 ชิ้น เรียนฝึกทักษะผ่านการเรียนโดยการลงมือปฏิบัติ (Learning by Doing)  เพื่อใช้สำหรับการวัดประเมินผล ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยออกแบบเพื่อให้นักศึกษาได้แก้ไขปัญหาจากโจทย์ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem Based Learning)ของผู้เรียนโดยใช้โจทย์จริงที่อยู่ในสายวิชาชีพเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาและแลกเปลี่ยนประสบการณ์แก้ไขปัญหาและทางออกที่ดีที่สุดจากโจทย์ที่ได้รับ      รวมถึงการสร้างแรงจูงใฝ่เรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ โดยสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษามีความตั้งใจ มีความมุ่งมั่น มีความอดทนที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาตลอดรายวิชาที่เรียนทั้งผู้เรียนและผู้สอน
กระบวนการเรียนรู้
  1. กำหนดวัตถุประสงค์ ในการเรียนเพื่อพัฒนานักศึกษา ภายใต้โจทย์ กรณีศึกษาจริง เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้จากโจทย์จริงโดยให้ผู้เรียนเลือกโจทย์ในการทำจาก 5 โจทย์เลือก 2  โจทย์ในการฝึกปฏิบัติแบบทีม และ 1โจทย์แบบคนเดียว  เป้าหมายของการเรียนเพื่อให้นักศึกษา”ผลิตผลงานอย่างมืออาชีพ”โดยให้นักศึกษาที่เรียนเปรียบเสมือน  Sim  Agency ในการรับโจทย์ซึ่งโจทย์ที่ให้นักศึกษาทำเป็นโจทย์ที่ประกวดจริง ซึ่งอาจารย์ผู้สอนต้องคัดเลือกในช่วงระยะเวลาที่นักศึกษาเรียน
  2. นักศึกษาแบ่งทีมเพื่อให้นักศึกษาเกิดการแข่งขันในการทำงานเดียวกัน ภายใต้ Sim Agency เดียวกัน ตามกระบวนการโดยให้นักศึกษาแบ่งความถนัด 2 แบบ คือ
2.1 ความถนัดที่นักศึกษาถนัด และสิ่งที่นักศึกษาสนใจ โดยให้นักศึกษาที่มีความถนัดทำชิ้นที่ 1
2.2 สิ่งที่นักศึกษาสนใจทำชิ้นที่ 2 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากสิ่งที่ผลิตในชิ้นที่ 2 ว่านักศึกษาค้นพบความสามารถหรือไม่
  1. ให้นักศึกษาออกแบบการเรียนในแต่ละสัปดาห์ กับโจทย์ที่นักศึกษาต้องฝึกปฏิบัติตามกระบวนการ เพื่อให้นักศึกษาได้วางแผนกระบวนการคิด กระบวนการทำงาน  การแบ่งกลุ่มในการผลิตผลงาน  การผลิตผลงานให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในเวลาที่โจทย์กำหนด
หมายเหตุ  โดยให้ทีมแต่ละทีม ประชุมกันเพื่อวางแผนในกระบวนการคิด  กระบวนการขายความคิด กระบวนการ Pre-Production  กระบวนการผลิต กระบวนการหลังการผลิต และ กระบวนการนำเสนอผลงาน
  1. ในกระบวนการเรียน จำนวน 6 ชั่วโมง  กำหนดให้นักศึกษามีความรับผิดชอบตรงเวลาในการฝึกปฏิบัติ  มีกฏที่ชัดเจนในเรื่องการตรงต่อเวลา ถ้านักศึกษาสายจะถูกตัดเงิน เก็บเงินกองกลาง เมื่อสิ้นเทอมจะนำเงินค่าปรับมาทานขนมร่วมกัน    การแต่งกายให้นัก ศึกษาแต่งกายตามสายงานที่นักศึกษาเลือกเพื่อฝึกบุคคลิกภาพ
  2. ในการนำเสนอขายไอเดีย จะให้นักศึกษาแต่ละทีมนำเสนอโดยแบ่งสาย 5 ทีมใน Sim Agency นำเสนอไอเดียพร้อมให้เพื่อนในทีมอื่นๆฟังเพื่อร่วมกันพัฒนาไอเดีย ในช่วงของกระบวนการนำเสนอจะมีช่วงการฟันไอเดีย โดยนำไอเดียหรือสิ่งที่ดีกว่าเข้ามาแทนที่เพื่อหาสิ่งที่ดีที่สุด

UploadImage
ภาพที่ 2 การนำเสนอแนวคิดจากโจทย์จริง บริษัท Isobar
 
  1. หลังจากนั้นให้ทีมแต่ละทีม เตรียมวางแผนในการผลิต นักแสดง สถานที่ถ่ายทำ อุปกรณ์ในการผลิตและหลังการผลิตUploadImage
ภาพที่ 3 การประชุมทีมนอกห้องเรียน
UploadImage

ภาพที่ 4 ภาพการออกกองผลิตงานโฆษณา

UploadImage
ภาพที่ 5 ประมวลภาพการถ่ายทำ

การสร้างแรงจูงใจในการสร้างศักยภาพ
แรงจูงใจมีส่วนสำคัญทำให้เกิดการเรียนรู้ และการกระตุ้นให้มีแรงจูงใจจะทำให้การเรียนรู้ได้ผลดี โดยมีการสอนอยู่บนฐานของการให้ความสำคัญกับผู้เรียนในการเรียนรู้
กฤษมันต์ กล่าวว่า แรงจูงใจภายใน (Internal Motivation) เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นในตนเอง (Intrinsic) และถ้าแสดงออกเป็นการกระทำก็จะเป็นการกระทำที่สนองความต้องการและความปราถนาที่มีอยู่ในตัวตน โดยอาศัยการพูดคุยกับนักศึกษาที่เรียนเพื่อให้เข้าใจกับรายวิชาเอกเลือก เพื่อให้นักศึกษาตัดสินใจเลือกอีกครั้งโดยนักศึกษาเลือกเรียนแบบเต็มใจแรงจูงใจภายนอก (External Motivation) เช่น ค่านิยมในสาขาวิชาที่เรียน  รางวัลและเกียรติยศที่ได้จากการเรียน
แรงจูงใจเรียนรู้ หรือ แรงจูงใฝ่สัมฤทธิ์ นั้นมีความเกี่ยวข้องกับความปราถนาของนักศึกษาที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการของการเรียนรู้เพื่อบรรลุหรือสัมฤทธิ์ผลตามความปราถนา  การศึกษาระดับอุดมศึกษานี้ไม่ใช่เป็นการศึกษาภาคบังคับ และนักศึกษาก็มีเหตุผลของความปราถนาอยู่ภายใต้การให้ความสนใจหรือการไม่สนใจในกระบวนการเรียนรู้และเหตุผลนั้นเป็นมูลฐานของแรงจูงใจเรียนรู้ของนักศึกษา  สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ แรงจูงใจเรียนนรู้นั้น  นักศึกษาจะแสดงออกมาให้เห็นได้จากความตั้งใจ ความมุ่งมั่น ความอดทนที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการของการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและมีระยะเวลานาน    การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่ออาจารย์ผู้ที่เป็นผู้สอนคาดหวังจะให้นักศึกษาที่เป็นผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้  นักศึกษาก็จะเกิดการเรียนรู้ได้เช่นกัน และนักศึกษาจะมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ถ้าพวกเขามีความศรัทธาในตัวอาจารย์  โดยในการเรียนการสอนในรายวิชานี้มีปัจจัยในการสร้างแรงจูงใจเรียนรู้ ดังนี้
อาจารย์ผู้สอน สร้างแรงจูงใจในการเรียน  จึงได้นำตัวอย่างของรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จมาเป็นต้นแบบจากกระบวนการเรียน A-Class เพื่อให้นักศึกษา     กำหนดเป้าหมายโดยกำหนดให้สูงเพื่อให้นักศึกษาพยามยามไปให้ถึงเป้าหมาย ให้นักศึกษาคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนพร้อมอธิบายวิธีการในการผลิตเพื่อให้ถึงเป้าหมาย อย่างมีเหตุและมีผลในการผลิตผลงาน อาจารย์ผู้สอนจะเป็นการเป็นที่ปรึกษาควบคุม Sim  Agency  และ พัฒนาไอเดียในภาพรวมแบบมหภาค คือการให้คำปรึกษาในทุกๆทีม และให้ทุกทีมสามารถเข้าใจการทำงานในแต่ละทีมเพื่อนำข้อดีข้อเสีย มาพัฒนาทีมให้ดียิ่งขึ้น  เข้าใจเหตุและผลของที่มาของความคิด   ดูแลนักศึกษาทุกทีมเพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาผลงานได้ตามการวางแผนในแต่ละสัปดาห์   รวมทั้งให้ทีมในแต่ละทีมนำเสนอไอเดียในงานขอทีมตัวเอง เพื่อให้เพื่อนๆทีมอื่น เสนอแนะโดยสร้างสรรค์เป็นการฝึกนักศึกษาในการฟัง การเสนอแนะและการยอมรับความคิดของบุคคลอื่นเพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับชิ้นงานของที่ตัวเอง  ซึ่งผู้เรียนทุกทีมจะทราบแนวคิดของเพื่อนๆ ถือว่าเป็นการกระตุ้นให้ทีมต่างๆ เร่งพัฒนาผลงานและการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อให้ได้แนวคิดที่ดีที่สุดในการผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพที่สุด   ในส่วนของการเตรียมการผลิตผู้เรียนจะวางแผนและเตรียมงานแบบมืออาชีพในกระบวนการเตรียมจึงถือเป็นส่วนสำคัญซึ่งผู้เรียนจะต้องนำเสนอให้ผ่านทุกกระบวนการ เช่น เสื้อ/ผ้า หน้า/ผม สถานที่ถ่ายทำ การกำหนดมุมภาพ นักแสดงกับการแสดง การจัดแสง จะต้องสอดคล้องกับแนวคิดที่นำเสนอแต่ละกลุ่ม   การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการผลิตจะมีการวางตัวผู้เรียนที่มีความสนใจในการผลิต และแต่ละทีมจะฝึกการใช้อุปกรณ์พร้อมถ่ายเทความรู้ที่ถนัด  วิธีลัดให้กับทีมอื่นๆ เพื่อพัฒนาข้อดีในการทำงานแต่ละทีมที่ไม่เหมือนกันเพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
การสร้างแรงจูงใจแบบจุลภาค โดยให้คำปรึกษาแยกแต่ละทีมเพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละทีมจากการนำเสนอภาพรวม และรายบุคคลในทีม เพื่อลดปัญหาในตัวของนักศึกษาแต่ละคนในระยะยาวของการเรียนในรายวิชา  วิธีการกระตุ้นแบบจุลภาค คือ การนำความคืบหน้าของทีมอื่นๆ ในการวางแผนต่างๆ มาให้เพื่อกระตุ้นให้แต่ละทีมพัฒนาได้ดีขึ้น    ทุกทีมจะไม่เห็นความคืบหน้าในช่วงการผลิตแต่จะทราบจุดเด่นของทุกๆทีมในการผลิตเพื่อพัฒนา  โดยใช้เวลาในการเตรียมผลิต หรือช่วงก่อนผลิตที่ทีมต่างๆได้ผลิตก่อนนำมาแก้ไข เมื่อเสร็จทุกกลุ่มจะมีการสรุปการผลิตผลงานเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานครั้งต่อไปโดยองค์รวม  ในส่วนอาจารย์ผู้สอนต้องรับฟังผู้เรียนในแบบมหภาคและจุลภาค พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีขวัญและกำลังใจในการผลิตผลงานที่มีคุณภาพ  โดยส่วนใหญ่ผู้สอนใช้การกระตุ้นในแบบจุลภาคเพื่อสร้างแรงขับให้ผู้เรียนมากกว่ามหภาค   เนื่องจากนักศึกษาแต่ละคนแต่ละทีมมีความแตกต่างในด้านแรงสัมฤทธิ์ รวมถึงปัจจัยภายนอกที่แตกต่างกัน
สร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียน  คือ การจัดสภาพบรรยากาศของห้องเรียนเพื่อให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาผลงาน ในการเรียนใช้ห้องในการปรับเปลี่ยนการจัดเก้าอี้เพื่อให้เหมาะกับการทำงานแบบประชุมใหญ่ และสามารถจัดกระจายเป็นทีมเพื่อใช้ในการประชุมย่อย พร้อมอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้     ใช้เทคโนโลยี Facebook กลุ่ม การใช้ Messager เข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสาร เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการสื่อสาร ติดตาม แบบมหาภาคและจุลภาค เพื่อให้นักศึกษารายงานในเวลาและนอกเวลาเรียน ติดตาม รายงานผลต่อวัน ต่อการปฏิบัติการผลิตต่างๆ เพื่อกระตุ้นทุกทีม ทุกคน รวมทั้งอาจารย์ผู้สอนที่ต้องควบคุม เตรียมสอน แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
คณะนิเทศศาสตร์ ส่งเสริมนักศึกษาในเรื่องอุปกรณ์การฝึกปฏิบัติ  การใช้ห้องปฏิบัติการที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างจริงจัง  การออกไปรับโจทย์จริงคณะนิเทศศาสตร์จะทำเรื่องรถเดินทางไปหน่วยงาน  การออกจดหมายลาเรียนเพื่อลดความกังวลใจในการกระมบการเรียนกับรายวิชาอื่นๆ รวมทั้งอาจารย์ผู้สอนติดต่ออาจารย์ที่นักศึกษาไม่ได้เขียนเพื่อปรึกษาและวิธีการแก้ไข เช่น นั่งเรียนกับกลุ่มเรียนอื่น  เรียนออนไลน์ E-Learning หรือ การส่งงานย้อนหลัง   ในกรณีฝึกปฏิบัติมีการเปิดห้องปฏิบัติการให้นักศึกษาทำทั้งวันทั้งคืน เพื่อให้นักศึกษาปฏิบัติงานได้ทันตามโจทย์ที่กำหนด โดยส่งเสริมนักศึกษาอย่างแท้จริง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้อย่างเต็มที่
ผลที่ได้รับ
1. ผู้เรียนการสอน ADS456 ปฏิบัติการผลิตสื่อโฆษณา สามารถผลักดันนักศึกษาที่ค้นพบศักยภาพของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น มีการทุ่มเทในการคิด เตรียมผลงาน ผลิตผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากโจทย์ที่นักศึกษาได้เลือกทำ และได้รับรางวัลจากโจทย์ที่นักศึกษาเลือกทำ

UploadImage

ภาพที่ 6 ภาพหมู่ในโครงการประกวด “Close Up ยิ่งใกล้ยิ่งมั่นใจ” ทุนการศึกษา 100,000 บาท

UploadImage

ภาพที่ 7 ภาพหมู่ในโครงการประกวด “นักผลิตสื่อสร้างเสริมสุขภาวะสร้างแรงบันดาลใจ”

2. ผู้เรียนมีประสบการณ์การทำงานร่วมกันเป็นทีม มีกระบวนการทำงานตามกระบวนการอย่างเป็นระบบ และสามารถให้เหตุผลในการทำ
3. ผู้เรียนเมื่อเรียนผ่านรายวิชานี้สามารถมีชุดความคิดในการทำงานเป็นทีมและนำโจทย์อื่นๆ มาพัฒนาและได้ผลลัพท์ที่ดีในการทำงาน เช่น นักศึกษาส่งผลงานต่อและได้รับรางวัลจากการประกวด

UploadImage
 
ภาพที่ 8 ภาพรับรางวัล การแข่งขันการออกแบบโปสเตอร์และสื่อมัลติมีเดียกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร”

ข้อเสนอแนะ
รายวิชาฝึกปฏิบัติเป็นรายวิชาที่ควรให้คำปรึกษาและหาแนวทางในการแก้ไขให้นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาผลิตผลงานได้ดีที่สุด ภายใต้โจทย์ที่นักศึกษาเลือกทำ
รายวิชาภาคทฤษฎี หรือ ภาคปฏิบัติสามารถใช้โจทย์จริงจากหน่วยงาน หรือการประกวดเพื่อให้นักศึกษาเกิดการท้าทายจากโจทย์ ปัจจัยภายนอก ให้เกิดแรงจูงใจจากภายใน และภายนอกที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาผลงานจากผลงานนักศึกษาสู่ผลงานมืออาชีพ รวมถึงแรงจูงใจจากการเรียน และรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันซึ่งถือเป็นผลตอบรับจากการทำงาน
การเรียนการสอนกับการสร้างแรงจูงใจในการสร้างศักยภาพสู่มืออาชีพ ต้องเป็นโค้ชที่คอยเคียงข้าง  ช่วยนักศึกษาเพื่อพัฒนาผลงงานในทุกๆด้านที่สามารถส่งเสริมนักศึกษา เรียนรู้กับผู้เรียนและสามารถกำกับผู้เรียนให้เป็นไปในแนวทางที่ตั้งไว้ตามโจทย์ที่นักศึกษาเลือก

รายการอ้างอิง
กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2552). เทคนิคการสร้างแรงจูงใจเรียนรู้. เอกสารประกอบการบรรยายให้กับคณาจารย์ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป. กรุงเทพฯ:  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑.กรุงเทพฯ:มูลนิธิสยามกัมมาจล.
 
             บทความ โดย อาจารย์ธีระพันธ์ ชนาพรรณ
             หัวหน้าสาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล
             คณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีปทุม