6 ข้อควรรู้ในการโปรโมทเว็บด้วย Google Adwords โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา
6. ข้อควรรู้ในการโปรโมทเว็บด้วย Google Adwords
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุพงศ์ อวิรุทธา
การโฆษณาที่นิยมในการโปรโมทเว็บไซต์คงหนีไม่พ้นการทำโฆษณาใน Google search ตามคำค้นหาที่ต้องการ ซึ่งการโปรโมทเว็บไซต์สามารถทำได้ด้วย 2 วิธี คือ SEO (Search Engine Optimization - ฟรี) และ PPC (Pay Per Click หรือ Adwords - มีค่าใช้จ่ายต่อการคลิกลิงค์หนึ่งครั้ง)
ในตอนนี้จะพูดถึงหลักการทำการโฆษณาด้วย Google Adwords ซึ่งจะเป็นการลงโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ Google Search โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การทำโฆษณาในแบบการประมูลคำ (Keyword Bidding) โดยต้องกำหนดว่าจะจ่ายค่าโฆษณาในการเข้าไปดู (คลิก) ต่อครั้งละกี่บาทในการโฆษณาสินค้าหรือเว็บไซต์ และทาง Google จะนำข้อมูลไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันรายอื่นในการค้นหาเดียวกันว่ามีใครให้มากกว่ากัน ถ้าไม่มีข้อความโฆษณาของเราก็จะอยู่ในอันดับ 1 บนหน้า Google Search และคนที่ให้ค่าโฆษณาที่ต่ำกว่าคุณจะพบเนื้อหาต่อจากข้อความของคุณตามลำดับการมูลค่าที่จ่ายให้ Google
2. การทำโฆษณาสามารถตั้งงบโฆษณา ต่อวันได้ เช่น ตั้งงบไว้ 1,000 บาท โฆษณาจะขึ้นภายใต้ 1,000 บาท และลดลงไปเรื่อย ๆ เมื่อวันนั้นมีคนคลิกมากทำให้หมดการโฆษณา โฆษณาก็จะหยุดลงในวันนั้นและสามารถเริ่มทำการโฆษณาได้ใหม่ในวันถัดไป
3. สามารถเลือกพื้นที่แสดงโฆษณาได้ เช่น กำหนดให้เขตกรุงเทพและปริมณฑลจะสามารถเห็นโฆษณาเท่านั้น เพื่อเป็นการประหยัดงบโฆษณาในจำกัดกลุ่มคนที่อาจจะไม่ใช่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
4. สามารถเลือกวันและเวลาในการโฆษณาที่ต้องการให้โฆษณานั้นแสดง แต่ธุรกิจจำเป็นต้องวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่ามีพฤติกรรมใช้ Google อย่างไร เช่น กลุ่มลูกค้าเป็นธุรกิจหรือองค์กรทั่วไปสามารถตั้งเวลาที่แสดงที่เวลาทำงาน เช่น จันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 8:00 น.ถึง 18 :00 น.และ สินค้าจำพวกที่เหมาะกับวัยทำงานก็จะตั้งเวลาไว้ที่หลังเลิกงาน เวลา 18:00 น.ถึง เที่ยงคืน เพื่อให้การทำโฆษณาบน Google ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. Research and Negative Keywords ธุรกิจต้องวิเคราะห์ Keyword ที่ทำการซื้อกับทาง Google เพื่อให้โฆษณา แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจต้องติดตามผลการโฆษณาโดยทำการตัดคำที่มีการค้นหาแต่ไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของธุรกิจออกไป เมื่อมีการค้นหาใหม่จะไม่มีโฆษณาขึ้นอีกได้ทำให้ไม่เสียงบประมาณ
6. Call extensions การผูกเบอร์โทรศัพท์ของร้านเอาไว้กับข้อความ เมื่อมีการค้นหาที่ตั้งค่าไว้จะแสดงบน Google พร้อมกับเบอร์โทรศัพท์ ถ้าลูกค้าค้นหาผ่าน Desktop ของ Google จะพบเบอร์โทรศัพท์ แต่ถ้าลูกค้าค้นหาทางมือถือจะแสดงออกมาเป็นปุ่ม Call เมื่อลูกค้ากดปุ่ม Call ก็สามารถจะโทรมาที่ร้านได้เป็นการเพิ่มความสะดวกในการซื้อกับลูกค้า
#เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง
#สาขาวิชาการจัดการธุรกิจดิจิทัล
#คณะบริหารธุรกิจ #SPU