ท่องเที่ยวฯ SPU ลงพื้นที่จริงเก็บเส้นทางภาคเหนือ (สุโขทัย แพร่ พะยา ลำปาง เชียงราย)

สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและไมซ์ วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ ม.ศรีปทุม นำทีมโดย ดร.ปณต อัศวชัย นำนักศึกษา ลงพื้นที่จริง เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง เก็บเส้นทางภาคเหนือ (สุโขทัย แพร่ พะยา ลำปาง เชียงราย) ระหว่างวันที่ 1-5 ตุลาคม 2563

เริ่มต้นที่แรกด้วย  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นอกกำแพงเมืองศรีสัชนาลัย โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เชื่อว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุเป็นศูนย์กลางของเมืองเชลียง ตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีนาวนำถม (ประมาณ พ.ศ. ๑๗๘๐) มาแล้ว โดยมีหลักฐานยอดซุ้มปูนปั้นประตูทางเข้าวัด ซึ่งมีลักษณะรูปแบบศิลปะสมัยบายน และหลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่ยืนยันได้ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมีอายุมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘

จุดเช็คอินที่ ๒ วัดช้างล้อม 
เป็นโบราณสถานสำคัญ ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อยู่ภายในกำแพงเมืองศรีสัชนาลัยบนที่ราบเชิงเขาด้านทิศใต้ของเขาพนมเพลิง โบราณสถานที่สำคัญคือเจดีย์ประธานทรงลังกา ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้วสี่เหลี่ยมจัตุรัสตั้งอยู่บนฐานประทักษิณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นยืนหันหลังชนผนังเจดีย์อยู่โดยรอบ จำนวน ๓๙ เชือกและช้างที่อยู่ตามมุมเจดีย์ทั้ง 4 ทิศ ตกแต่งเป็นช้างทรงเครื่องมีลวดลายปูนปั้นประดับที่คอ ต้นขา และข้อเท้าส่วนทางด้านหน้าเจดีย์ประธานมีบันไดขึ้นสู่ลานประทักษิณเหนือฐานประทักษิณมีซุ้มพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัยผนังซุ้มมีรูปประติมากรรมรูปต้นโพธิ์อยู่เบื้องหลังพระพุทธรูปแต่พระพุทธรูปได้ถูกทำลายไปคงเหลือเพียงองค์เดียวทางด้านทิศเหนือบริเวณองค์ระฆังขึ้นไปเป็นบัลลังก์ก้านฉัตรประดับด้วยรูปพระสาวกปูนปั้นลีลานูนต่ำจำนวน ๑๗ องค์

จุดเช็คอินที่ ๓ วัดเจดีย์เจ็ดแถว 
เป็นหนึ่งในโบราณสถานที่สำคัญของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยตัววัดตั้งอยู่ด้านหน้าวัดช้างล้อม หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ วัดนี้ มีเอกลักษณ์โดดเด่นกว่าวัดอื่นๆ ในเมืองศรีสัชนาลัย เพราะมีเจดีย์แบบต่างๆ กันมากมาย เช่น เจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมด้านหลังพระวิหารซึ่งเป็นศิลปะแบบสุโขทัยแท้ เจดีย์ราย ๒๖ องค์ เจดีย์เจ็ดแถวมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆหลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกามด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถงส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า

จุดเช็คอินที่ ๔  วัดนางพญา 
มีบริเวณกว้างขวางพอสมควร ภายในวัดมีเจดีย์ทรงลังกาประกอบซุ้มเรือนธาตุเป็นประธาน ก่อด้วยศิลาแลงสูงใหญ่ และมีสภาพสมบูรณ์รอบฐานเจดีย์ มีเสาโคมไฟโดยตลอด มีบันไดขึ้นไปบนเจดีย์ และมีวิหารซึ่งขนาดเจ็ดห้อง ซึ่งเป็นผังที่นิยมสร้างกันในแบบสุโขทัยและสถาปัตยกรรมเมืองเหนือ ภายในวิหารตามเสาทุกด้านมีเทพพนมและลวดลายต่างๆ ทำด้วยสังคโลกไม่เคลือบ จุดเด่นของวัดนี้คือมีผนังเหลืออยู่ด้านหนึ่งโดยมีลวดลายปูนปั้น (Stucco Decoration) ที่สวยงามอยู่ แต่ปัจจุบันหลุดลอกออกไปพอสมควรแล้ว ทั้งนี้มีการสร้างหลังคาสังกะสีคลุมผนังไว้อีกทีเพื่อการอนุรักษ์ ผนังดังกล่าวเป็นผนังที่ไม่มีหน้าต่าง แต่มีช่องอากาศตามแบบสุโขทัยและอยุธยาตอนต้น

จุดเช็คอินที่ ๕ วัดจอมสวรรค์
ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัด ๑ กิโลเมตร เป็นวัดเก่าแก่สร้างด้วยศิลปะพุกาม (พม่า) มีศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่สวยงามและทรงคุณค่า วัดนี้พิเศษ คือ มีเพียงอุโบสถไม้หลังเดียวซึ่งเป็นทั้งโบสถวิหารและกุฏิ อยู่ในอาคารเดียวกัน ตัวอาคารสร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง มีหลังคาเล็กใหญ่ลดหลั่นกันเป็นชั้นรวม ๙ ชั้น  ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดจอมสวรรค์ไว้เป็นสมบัติของชาติเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๗

จุดเช็คอินที่ ๖ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ 
สถานที่เก่าแก่โบราณนับร้อยปีที่อยู่คู่เมืองแพร่มายาวนาน เป็นอาคารที่ทรงคุณค่า ด้วยความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมที่มีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือที่มักได้ยินกันว่า “ทรงขนมปังขิง” ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ เริ่มสร้างในปี พ.ศ.๒๔๓๕ โดยเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่องค์สุดท้าย สร้างโดยช่างฝีมือชาวจีนที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้น เป็นอาคาร ๒ ชั้น มีความสง่างาม ประดับด้วยไม้แกะฉลุสลักลวดลายอย่างประณีตสวยงาม เมื่อเข้าไปภายในอาคารจะเห็นถึงความโอ่โถง หรูหรา มีประตูหน้าต่างทั้งหมด ๗๒ บาน โดยประตูแต่ละบานจะมีชื่อเรียกที่ไม่เหมือนกัน นิยมตั้งชื่อให้เป็นสิริมงคลดังเช่น ประตูตองคำใต้

จุดเช็คอินที่ ๗ คุ้มวงศ์บุรี หรือ บ้านวงศ์บุรี  
อาคารสีชมพูโดดเด่น อายุกว่า ๑๐๐ ปี ตั้งอยู่ที่ ถนนคำลือ  อำเภอเมือง จังหวัดแพร่  คุ้มวงศ์บุรี สร้างขึ้น ตามดำริของแม่เจ้าบัวถา ชายาองค์แรกในเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย  เพื่อเป็นของกำนัลในการเสกสมรส ระว่างเจ้าสุนันตา ผู้เป็นบุตรีเจ้าบุรีรัตน์ และหลวงพงษ์พิบูลย์  คุ้มหลังนี้อาคารแบบไทยผสมยุโรปสีชมพูอ่อน ซึ่งเป็นสีโปรดของแม่เจ้า บัวถา เป็นเรือนไม้สักทองขนาดใหญ่ ๒ ชั้นทรงไทยล้านนาผสมยุโรป   ประดับตกตกแต่งลวดลายด้วยไม้ฉลุที่เรียกว่าลาย“ขนมปังขิง” ตามความนิยมกันใน รัชกาลที่ ๕ ที่ถูกสร้างไว้อย่างสวยงามอยู่ทั่วตัวอาคาร เช่น หน้าจั่ว สันหลังคา ชายน้ำ ช่องลม กรอบเช็ด หน้าต่าง เหนือประตูและหน้าต่าง ระเบียง  ภายในอาคารปรากฎลายพรรณพฤกษาและเครือเถาว์ เป็นต้น ฐานรากของอาคารเป็น ท่อนไม้ซุง เนื้อแข็งขนาดใหญ่วางเรียงกันก่อนจะก่ออิฐเทปูนทับลงไป เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของอาคาร  คุ้มวงศ์บุรี ประกอบด้วย ห้องที่น่าสนใจ คือ ห้องของเจ้าบัวถา ห้องรับแขก ห้องนอน ซึ่งแต่ละห้องมีข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ อาทิ ตู้ เตียงนอน โต๊ะ เก้าอี้ โต๊ะเครื่องแป้ง  ถ้วย ชาม เครื่องเงิน กำปั่นเหล็ก อาวุธโบราณ พระพุทธรูปโบราณสมัยเชียงแสน อู่ทอง รวมถึงรูปภาพเก่าแก่ต่างๆ ที่ประดับบอกเรื่องราวของบ้านหลังนี้

จุดเช็คอินที่ ๘ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง 
เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๑๑ ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ ๑๗๕ ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นสิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่

จุดเช็คอินที่ ๙ พิพิธภัณฑ์หนังกลางแปลง (ศูนย์อนุรักษ์ภาพยนตร์ย้อนยุค)
สร้างโดยเงินทุนส่วนตัวของ คุณลุงมานิตย์ วรฉัตร เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นแหล่งรวบรวมฟิล์มหนังเก่าจำนวนมาก รวมทั้งโปสเตอร์หนังมหาศาล คุณลุงมานิตย์ยังเป็นคณะกรรมการแกะกล่องหนังไทย สำหรับท่านที่เป็นคอหนังแล้ว คงคุ้นกับหนังไทยเก่าๆ ที่ยืนโรงฉายทางไทยพีบีเอส(ไทยทีวี) ซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากที่นี่ …เพียงแต่เราบางคนไม่เคยรู้ว่ามีของดีอยู่ใกล้ตัว คุณลุงมานิตย์ เคยทำงานกับบริษัทโอสถสภา ในแผนกภาพยนตร์ ตระเวนฉายหนังขายยา (หรือหนังกลางแปลง) มาแล้วทั่วไทย  หลังจากลาออกก็ได้เก็บรวบรวมวัตถุสิ่งของที่เกี่ยวข้องจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาอย่างที่เห็น ไม่เพียงเท่านั้น พิพิธภัณฑ์ยังเป็นเครือข่ายกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) หอภาพยนตร์แห่งชาติ สมาคมนักพากย์แห่งประเทศไทย และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อีกด้วย

จุดเช็คอินที่ ๑๐ กว๊านพะเยา 
อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือ และ อันดับ ๔ ของประเทศไทย (รองจากบึงบอระเพ็ด, หนองหาน และบึงละหาน) คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” เกิดขึ้นจากกรมประมงได้ทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็กั้นไม่ให้น้ำไหลแรงไปท่วมเรือกสวนไร่นาที่อยู่ปลายน้ำ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ ๑๘ สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ ๒๙.๔๐ ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธุ์ปลาน้ำจืดถึง ๔๕ ชนิด

จุดเช็คอินที่ ๑๑ วัดร่องขุ่น 
ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทยสร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงาม แปลกตา ผสานวัฒนะ ธรรมล้านนา อย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนัง ขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัด คือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วย ลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับ ด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตา ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง

จุดเช็คอินที่ ๑๒ วัดพระแก้ว 
ตั้งอยู่ที่ถนนไตรรัตน์ ใจกลางเมืองเชียงราย วัดนี้เองที่ได้ค้นพบ พระแก้วมรกต หรือพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน ตามประวัติเล่าว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๗ ในสมัย พระเจ้า สามฝั่งแกน เป็นเจ้าเมือง ครองเชียงใหม่นั้น ฟ้าได้ผ่า เจดีย์ร้างองค์หนึ่ง และได้พบ พระพุทธรูปลงรักปิดทอง อยู่ภายในเจดีย์ ต่อมารักกะเทาะออก จึงได้พบว่า เป็นพระพุทธรูป สีเขียวที่สร้างด้วยหยก ซึ่งก็คือ พระแก้วมรกตนั่นเอง ปัจจุบัน วัดพระแก้ว เชียงราย เป็นที่ประดิษฐาน พระหยก ซึ่งสร้างขึ้นใหม่ ในวาระที่ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระชนมายุครบ ๙๐ พรรษา

จุดเช็คอินที่ ๑๓ พระธาตุดอยตุง
นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า พระมหากัสสะปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้อาราธนาอัญเชิญเอายังพระบรมสารีริกธาตุกระดูกไหปลาร้า(พระรากขวัญเบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า มามอบถวายแด่พระเจ้าอุชุตราชเจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์สิงหนวติ เป็นประธานพร้อมด้วยมุขมนตรีเสวกอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง (คือดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๔๕๔

Cr. เพจ SPU สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว

Most Popular

Categories

On Key

Related Posts

ขอแสดงความยินดีกับพี่นัส ณัสรีญา ถวายเทียน

🤩SPU ALB ปังไม่หยุดของแทร่ ติดปีกบินอีกคนแล้วค่า✈️🎊 ข่าวดีสะเทือนวงการ ALB SPU✈️ 🎉🎉ขอแสดงความยินดีและขอเสียงปรบมือดังๆ 👏🤗น.ส.ณัสรีญา ถวายเทียน

Student Volunteers ในงาน Global Sustainable Development Congress 2024

นักศึกษา จากวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้รับคัดเลือกจาก Time Higher Education (THE) และสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ (สป.อว.) ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็น

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ตะลุยสิงคโปร์

🌟 วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 🌟 อันดับ 1 ด้านการท่องเที่ยวและการบริการ มุ่งมั่นที่จะสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและความเป็นเลิศในวงการ 🌟 ยกทัพบุคลากรตะลุยสิงคโปร์

ขอแสดงความยินดีกับน้องปูเป้ จุฬาลักษณ์ มีรักษ์

🎉🎉สายตาทุกคู่…จงมองมา🎉🎉 นี่คือดอกไม้งามมมมมมมมมแห่งหอบุพชาติ ALB✈️🌺 ขอแสดงความยินดีกับ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม จากวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาวิชาธุรกิจการบิน✈️❤️🔥 ✅️นางสาวจุฬาลักษณ์ มีรักษ์ (น้องปูเป้)

ค่าเทอมสาขา

คณะ/สาขาวิชา ลักษณะการกู้ยืมฯ เทอม 1 ตลอด หลักสูตร
คณะวิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ
ธุรกิจการบิน 2 41,200 36,200 321,000
การจัดการธุรกิจโรงแรมและการออกแบบประสบการณ์ท่องเที่ยว 1 41,200 36,200 317,800
การจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ 2 40,500 35,500 328,200

ธุรกิจการบิน

ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3
สาขาธุรกิจการบิน
ปีการศึกษาที่ 1 41,200 36,200 34,600 15,300
ปีการศึกษาที่ 2 42,700 43,300 20,500
ปีการศึกษาที่ 3 44,300 44,700 14,900
ปีการศึกษาที่ 4 19,500
    ลักษณะการกู้ยืมฯ 2
    ค่าเทอม (4ปี) 321,000

การจัดการธุรกิจโรงแรมและการออกแบบประสบการณ์ท่องเที่ยว

ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3
สาขาการจัดการธุรกิจโรงแรมและการออกแบบประสบการณ์ท่องเที่ยว
ปีการศึกษาที่ 1 41,200 36,200 40,600 16,300
ปีการศึกษาที่ 2 41,300 38,600 20,500
ปีการศึกษาที่ 3 40,900 44,000 14,900
ปีการศึกษาที่ 4 19,500
    ลักษณะการกู้ยืมฯ 1
    ค่าเทอม (4ปี) 317,800

การจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ

ปีการศึกษา เทอม 1 เทอม 2 เทอม 3
สาขาการจัดการบริการธุรกิจเรือสำราญ
ปีการศึกษาที่ 1 40,500 35,500 28,800 15,300
ปีการศึกษาที่ 2 37,600 39,600 20,500
ปีการศึกษาที่ 3 41,100 40,400 19,300
ปีการศึกษาที่ 4 25,900 19,200
    ลักษณะการกู้ยืมฯ 2
    ค่าเทอม (4ปี) 328,200