Home SPU Special “ออกแบบได้” ทั้งโลกจริง VS โลกเสมือน

“ออกแบบได้” ทั้งโลกจริง VS โลกเสมือน

by author

“ออกแบบได้” ทั้งโลกจริง VS โลกเสมือน อยากเป็นสถาปนิกมือโปร ในโลก Metaverse ต้องมาดู!

โลกไหนๆ ก็ต้องมีผู้สร้าง นั่นทำให้ Metaverse เองจำเป็นต้องมีนักสร้างสรรค์หรือออกแบบโลกเสมือนด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่พ้นใครที่ไหน แต่คือสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบทั้งภายในและภายนอกในโลกเสมือน แต่จะแตกต่างหรือเหมือนโลกแห่งความจริงอย่างไร และมีอะไรที่น่าสนใจ สำหรับน้องๆ ที่อยากเป็นสถาปนิกในโลก Metaverse วันนี้เรามาอ่านมุมมองธีรบูลย์ ฉลองมณีรัตน์ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมด้วยกันเลยค่ะ

PROFILE :

ธีรบูลย์ ฉลองมณีรัตน์

ตำแหน่ง : คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

วุฒิการศึกษา :

  • ปริญญาโท : M.Arch, Honors (Architecture) (Awarded in Deserving Recognition of Exemplary Academic and Creative Achievement Amid the Master of Architecture Candidates) University of Florida
  • ปริญญาตรี : สถ.บ. (สถาปัตยกรรมศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความเชี่ยวชาญ :

  • Property/Asset Management
  • Construction Management
  • Acoustical Design
  • Architectural Program Analysis for InvestmentArchitectural Project Management

Q1 สถาปนิก Vs Metaverse?

Metaverse คือโลกใหม่ที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกจริงๆ ที่เราอยู่ ความน่าสนใจในมุมมองของนักสถาปนิกอย่างผมคือ มันเป็นพื้นที่ใหม่ในลักษณะของสิ่งจำลอง ทำให้กลายเป็นสนามแข่งขันใหม่สำหรับนักสถาปนิก ที่จะเข้าไปทำงานอยู่ในนั้น จึงสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นมา เพราะในโลกแห่งความจริง เมืองเริ่มประสบปัญหาพื้นที่ถูกครอบครอง ราคาก็สูง ทำให้การพัฒนาที่ดินต่างๆ นั้นเป็นไปได้ยาก ดังนั้นโอกาสใหม่ที่เกิดจากพื้นที่ใหม่จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก

Q2 โลกจริง Vs โลกเสมือน มีความเหมือนหรือต่าง ยังไงในมุมมองของสถาปนิก?

ความเหมือน คือเราสามารถใช้แกนหลักในด้าน พื้นฐานความรู้ ทักษะ และวิธีการคิด ของการเรียนสถาปนิกเหมือนกัน หรือจะพูดได้ว่าอิงอยู่ในความรู้, ทักษะ และ วิธีคิด ที่เหมือนกัน ส่วนความต่างที่ทำให้ Metaverse ดูน่าสนใจ คือโลกเสมือนเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้อยู่บนกายภาพอะไรเลย จึงมีความอิสระ และข้อจำกัดน้อยกว่าโลกจริง ดังนั้นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในโลกแห่งความเป็นจริง จึงเป็นไปได้เสมอในโลกของ Metaverse ครับ

Q3 สิ่งที่ SPU เตรียมให้สถาปนิกรุ่นใหม่?

ด้วยความที่เราเป็นมหาวิทยาลัยแรกๆ ที่เข้ามาทำงานด้าน Metaverse และมีความร่วมมือกับบริษัท Wasabi Global Ventures ซึ่งทำให้นักศึกษาของเราได้ทำงานในด้าน Metaverse จริงๆ เราจึงรู้ว่าควรเพิ่มทักษะจุดไหนลงไปเพิ่มเติมรายวิชาใหม่ๆ ซึ่งสิ่งที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ SPU ได้เพิ่มเติมให้กับนักศึกษา เพื่อที่จะสามารถเข้าไปทำงานด้าน Metaverse ได้คือการเขียนตัว Programming,  การทำคอนเทนต์, การทำการตลาด ใน Metaverse ซึ่งมีความแตกต่างจากโลกจริง และเนื่องจากเรามีความร่วมมือกับบริษัทเอกชน จึงทำให้นักศึกษาของเราเกิดการทำงานและได้เรียนรู้นอกห้องเรียนอีกด้วย

Q4 ทักษะที่เด็กสถาปัตย์จำเป็นต้องมี เพื่อทำงานในโลกเสมือน?

ในด้านความรู้พื้นฐานสถาปัตย์, การทำคอนเทนต์ และการตลาด หรือการใช้โปรแกรมทางด้านสถาปัตย์ สิ่งเหล่านี้สถาปนิกจำเป็นต้องรู้อยู่แล้ว แต่บางทักษะหรือศาสตร์นั้น ก็เหมือนกับทำไมสถาปนิกต้องมีความรู้ในด้านของโครงสร้างทั้งๆ ที่มีวิศวะอยู่ การทำงานในโลกเสมือนเอง สถาปนิกจำเป็นต้องมีความรู้ด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะสื่อสารกับทีมที่จะดูแลในเรื่องที่มีความซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

  • ความรู้ด้าน AI, Coding
  • การทำ Graphic Design, 3D modeling
  • เทคโนโลยี VR, AR ซึ่งปัจจุบันทางเราก็ได้มีการสอนอยู่แล้ว

Q5 สถาปนิกทำอะไรได้ในโลกเสมือน?

สิ่งที่จะเกิดเป็นอาชีพใหม่ อาจไม่ใช่ชื่อที่เฉพาะเจาะจงนัก แต่เราจะเรียกรวมๆ ว่า Construct Architect ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้สร้าง” ในโลก Metaverse ซึ่งทำให้มีปริมาณงานใหม่ๆ และโอกาสที่เพิ่มขึ้นสำหรับนักสถาปนิกรุ่นใหม่ ที่เตรียมความพร้อมด้านความรู้และทักษะ เพื่อเข้าไปสร้างสิ่งต่างๆ ในโลกเสมือน 

Q6 สิ่งที่จะได้เมื่อมาเรียนสถาปัตย์ฯ SPU?

คณะสถาปัตย์ฯ ม.ศรีปทุม และอาจารย์ของเรามีความคิดที่ว่า “ความหลากหลายนั้นสร้างความแตกต่าง” เราจึงมีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาบ่อยมาก ด้วยความที่เราเน้นการเรียนที่มาจากตัวจริงประสบการณ์จริง และเรียนบนพื้นที่จริงๆ จากผู้ใช้สอย ทำให้นักศึกษาของเรานั้นมีมูลค่า หรือมีต้นทุนของความเป็นสถาปนิกมากกว่าที่อื่น มีความรู้ ประสบการณ์ ทักษะความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการสร้างโอกาสให้นักศึกษาของเรามีโอกาสและอนาคตที่ดี ในการประกอบอาชีพ ที่มากกว่าสถาปนิกเพียงอย่างเดียว

Q7 ฝากถึงใครที่สนใจเรียนสถาปนิก

ถ้าใครเป็นเด็กรุ่นใหม่ ที่เชื่อในเรื่องของ Metaverse หากมองอนาคตที่ไกลออกไป อาจารย์จะบอกว่า Metaverse นั้นเป็นสิ่งใหม่และเป็นโอกาสใหม่ในอนาคต มันจะเป็นความท้าทายใหม่ๆ ของพวกเราทุกคนที่จะเข้าไปเป็นผู้สร้างในโลกอนาคต ด้วยอาชีพของสถาปนิกและการออกแบบ ถ้าใครเชื่อในเรื่องนี้ น้องๆ ต้องก้าวเข้ามาเรียนสถาปนิกเลยครับ เพราะในอีกไม่กี่ปีเทคโนโลยี Metaverse ในอนาคตจะพร้อมแล้ว ถึงวันนั้นถ้าน้องๆ ยังไม่เข้ามาเรียนก็อาจจะเอาท์ไปเรียบร้อยแล้วนะครับ

You may also like

Leave a Comment